ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จัดนิทรรศการ “๗๐ ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” เนื่องในวาระครบรอบ ๗๐ ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” เปิดให้ประชาชนเข้าชมจนถึงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
นิทรรศการฯ มีเนื้อหา ๓ หมวด ได้แก่ หมวดที่ ๑ นำเสนอประวัติและพัฒนาการของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นับแต่การประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๙๕ ตั้งกองจดหมายเหตุแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาและขยายขอบข่ายการปฏิบัติงานออกไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาคอีก ๙ แห่ง หมวดที่ ๒ นำเสนอข้อมูลงานจดหมายเหตุชุดสำคัญของหอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ พร้อมจำลองเอกสารจดหมายเหตุชุดดังกล่าวมาจัดแสดง หมวดที่ ๓ ก้าวต่อไป ARCHIVES THAILAND นำเสนอการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์กับงานจดหมายเหตุ อาทิ การให้บริการสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุผ่านระบบออนไลน์ทั้งทางเว็บไซต์และ Mobile Application การเสนอขึ้นทะเบียนเอกสารเป็นมรดกความทรงจำของประเทศไทยผ่านทางเว็บไซต์ และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอ่านภาพจดหมายเหตุผ่านโครงการเพิ่มข้อมูลพูนค่าภาพ
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ “๗๐ ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน (ยกเว้นเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ชั้น ๑ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ www.nat.go.th หรือ facebook ของกรมศิลปากร และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือโทรศัพท์ ๐ ๒๒๘๒ ๘๔๒๓ ต่อ ๑๔๓, ๑๔๕
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ทิศทางการดำเนินงานด้านโบราณคดีในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน” วิทยากรโดย นางสาวนาตยา ภูศรี ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่, นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ และนายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
กรมศิลปากร. ศิลปะถ้ำผีหัวโต กระบี่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533.
รวบรวมข้อมูลการค้นพบความเป็นมาของศิลปะถ้ำผีหัวโต การเดินทาง ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดกระบี่ ที่ตั้งสภาพภูมิศาสตร์ สภาพทั่วไปของถ้ำผีหัวโต แผนผังถ้ำผีหัวโต แสดงตำแหน่งกลุ่มภาพ ที่ตั้งและตำแหน่งของภาพ การดำเนินงานศึกษาภาพเขียนสี รูปลักษณ์ของภาพเขียนสีและการใช้สี สีที่ใช้เขียนภาพ แหล่งศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้เคียง รายละเอียดกลุ่มภาพและอายุสมัย
โบราณสถานวัดหินตั้ง.โบราณสถานวัดหินตั้งหรือโบราณสถานร้าง น.๒๐ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูศาลหลวงทางทิศเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร โดยอยู่ริมฝั่งลำคลองแม่ลำพันด้านฝั่งตะวันออก ข้อมูลจากหนังสือทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑ ได้อธิบายถึงสภาพก่อนการขุดค้นทางโบราณคดีว่า วัดหินตั้ง มีสภาพถูกทิ้งร้างเป็นเนินดิน สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าประกอบไปด้วย ฐานเจดีย์ประธานก่อด้วยอิฐมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ด้านทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของฐานเจดีย์ปรากฎแนวฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และคูน้ำ ล้อมรอบโบราณสถาน ปัจจุบันคูน้ำบางส่วนตื้นเขินและเสื่อมสภาพ. ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการขุดค้น ขุดแต่ง โบราณสถานวัดหินตั้ง ทำให้ทราบว่าเจดีย์ประธานของวัดฐานก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดกว้างด้านละประมาณ ๑๑.๓๐ เมตร แต่ด้วยการลักลอบขุดหาของตั้งแต่ครั้งอดีตทำให้ด้านบนของเจดีย์ได้ทำความเสียจนไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ นอกจากนี้ทิศทั้งสี่ของเจดีย์ประธานมีเจดีย์บริวารประจำทิศจำนวน ๔ องค์ หรือทิศละ ๑ องค์ (องค์ด้านทิศเหนือชำรุดเป็นอย่างมากจากการลักลอบขุดปรากฏร่องรอยเหลือเพียงเล็กน้อย) ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ปรากฏช่องประตูเข้า-ออกทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก ซึ่งการก่อสร้างกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่นี้ปรากฏหลักฐานการสร้างในลักษณะคล้ายกันกับโบราณสถานหลายแห่งตามแนวถนนพระร่วง อาทิเช่น โบราณสถานวัดโบสถ์เมืองบางขลัง, โบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคลเมืองบางขลัง รวมถึงโบราณสถานอีกหลายแห่งในเมืองศรีสัชนาลัยด้วย ทางด้านทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้ว ปรากฏแนวอาคารสันนิษฐานว่าเป็นวิหารผนังก่ออิฐพื้นอัดด้วยดิน . นอกจากนี้วัดหินตั้งยังได้พบศิลาจารึกวัดหินตั้ง (สท.๓๗) อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จารึกได้เล่าเรื่องราวย้อนกลับไปถึงสมัยพระมหาธรรมราชาผู้ปู่ กระทำหอมาฬก(พลับพลา ปะรำ โรงพิธี) พระมหาธาตุเจ้า การบำเพ็ญกุศลในการสร้างถาวรวัตถุ และวัตถุอื่นๆ ในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันศิลาจารึกวัดหินตั้งถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง . และปี พ.ศ.๒๕๖๔ ได้ดำเนินโครงการปรับภูมิทัศน์และบูรณะโบราณสถานวัดหินตั้ง เพื่อพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย นอกจากนี้ยังทำการขุดค้นขุดแต่งและขุดตรวจทางโบราณคดีแนวคูน้ำเพิ่มเติม พบว่าพื้นที่โดยรอบไม่ปรากฏแนวของคูน้ำล้อมรอบวัด แต่กลับปรากฏลักษณะสันฐานของพื้นที่ตั้งวัดที่มีลักษณะเป็นเนินสูงจากพื้นที่ลุ่มโดยรอบ ซึ่งการเลือกพื้นที่สร้างวัดเป็นเนินสูงอาจเกิดจากบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงหน้าฝน และระหว่างการบูรณะเจดีย์ประธาน ยังได้พบหลักฐานการก่อเอ็นด้วยอิฐเป็นโครงสร้างภายในขององค์เจดีย์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงเทคนิคการก่อสร้างในสมัยสุโขทัยที่น่าสนใจอีกด้วย.เมื่อประมวลหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นขุดแต่งกับศิลาจารึกวัดหินตั้งที่พบจากวัดแห่งนี้ ทำให้ทราบว่าวัดหินตั้งถูกสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จากเนื้อความในจารึกกล่าวถึงพระมหาธารรมราชาผู้ปู่ และอาจเป็นไปได้ว่าจารึกที่พบวัดหินตั้งหลักนี้อาจถูกจารขึ้นในช่วง พ.ศ.๑๙๔๓-๑๙๖๒ ซึ่งเป็นรุ่นหลานของพระมหาธรรมราชาลิไทแล้ว แสดงให้เห็นว่าวัดหินตั้งยังคงมีการใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลายและถูกทิ้งร้างไปในที่สุด.เอกสารอ้างอิง.๑. กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี มอบให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๔๘. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://digital.nlt.go.th/items/show/18858).๒. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดหินตั้ง. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/233....๓. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟีเจอร์วัน. รายงานการดำเนินงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๔. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่https://drive.google.com/.../1c4nRmVgjTvConQYAGpV.../view...).๔. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : พระรามครีเอชั่น, ๒๕๖๑. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มได้ที่ https://drive.google.com/.../1Xto.../view...).๕. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../1EoIqbl9qQ8z4ieqBF.../view...).๖. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๖๓. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../15ejCdIo8kBAmqRf.../view...)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 33/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 128/3
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 164/2 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 18/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
แนะนำ E-book หนังสือหายาก
เรื่อง ประวัติศาสตร์สากล เล่ม 3
ประวัติศาสตร์สากล เล่ม 3. พระนคร: โรงพิมพ์วิริยานุภาพ, 2472.
ชื่อผู้แต่ง สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร
ชื่อเรื่อง สารคดีไทย ชุด ๒
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ บุรินทร์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐
จำนวนหน้า ๙๕ หน้า
สารคดีไทย จะแบ่งออกเป็นหมวด ๆ ดังนี้ คือ หมวดประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ขนบธรรมเนียมและประเพณี รวมตลอดทั้งเรื่องที่น่ารู้สำคัญต่างๆ ของไทย
ชื่อผู้แต่ง ลิขิตฮุนตระกูล
ชื่อเรื่อง ประวัติการสัมพันธ์ระหว่างชาติไทย วันชาติจีน ภาคผนวก เล่ม ๒
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ อมรการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๖
จำนวนหน้า ๑๓๖ หน้า
หมายเหตุ -
รายละเอียด
หนังสือประวัติความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน เล่ม 1 จัดพิมพ์ จำนวน 8 ครั้ง และได้รับความสนใจ เพราะเน้นประวัติตั้งแต่ปฐมกษัติริย์จีนราชวงศ์ที่ 1 เมื่อยุค 2154 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงสมัยราชวงศ์ที่ 9 ปี พ.ศ.763 และมีเสียงเรียกร้องให้เขียนต่อจากสมัยราชวงศ์ที่ 9 จนถึงสมัยราชวงศ์ที่ 28