ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
เข็มทิศ ทะเบียน ๒๗/๓๖/๒๕๓๖ (๑๕/๒๕๓๖/๑) อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) ทองเหลือง ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ๗.๕ เซนติเมตร สูง ๒ เซนติเมตร ประวัติ ใช้สำหรับการเดินทางเรือเล็กบริเวณชายฝั่ง เมื่อประมาณ ไม่ต่ำกว่า ๘๐ ปีมาแล้ว เป็นของขุนวิจารณ์โลหะกิจ นายเริก ณ ตะกั่วทุ่ง อดีตนายอำเภอถลางคนแรก สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เข็มทิศ คือ เครื่องมือสำหรับใช้หาทิศทาง มีเข็มแม่เหล็กที่แกว่งไกวได้อิสระในแนวนอนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลก และที่หน้าปัดมีส่วนแบ่งสำหรับหาทิศทางโดยรอบ เข็มทิศจึงมีปลายชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ การบอกทิศทางในแผนที่โดยทั่วไป คือ การบอกเป็นทิศที่สำคัญ ๔ ทิศ สันนิษฐานกันว่าเข็มทิศเป็นการค้นพบของชาวจีน โดย โจเซฟ นีดแฮม(Joseph Needham) นักวิทยาศาสตร์สาขาชีวเคมี ชาวอังกฤษ ผู้ที่ใช้เวลาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับจีนอย่างยาวนาน กล่าวว่า ชาวจีน “ล้ำหน้าความรู้เกี่ยวกับการเบี่ยงเบนขั้วแม่เหล็กของชาวยุโรปไปราวหกศตวรรษ ชาวจีนคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเบี่ยงเบนขั้วแม่เหล็กก่อนที่ยุโรปจะรู้จักขั้วแม่เหล็กด้วยซ้ำ” ไม่มีการกล่าวถึงเข็มทิศแม่เหล็กและขั้วสนามแม่เหล็กโลกในงานเขียนใดๆ ของตะวันตกจนกระทั่งปี ค.ศ.๑๑๙๐ (พ.ศ.๑๗๓๓) ซึ่งชาวจีนมี เข็มทิศมาแล้วถึงหนึ่งพันห้าร้อยปีก่อนหน้านั้น โจเซฟ นีดแฮม สรุปไว้ว่า ยุโรปได้รับเข็มทิศมาจากชาวจีน และไม่ได้เข้าสู่ยุโรปผ่านทางชาวอาหรับ เป็นไปได้ว่าชาวยุโรปและชาวอาหรับดูเหมือนจะรับเข็มทิศแม่เหล็กมาใช้เดินเรือในช่วงเวลาประมาณเดียวกันจากการเดินทางติดต่อทางเรือกับประเทศจีน ถือได้ว่าจีนเป็นชาติแรกของโลกที่ประดิษฐ์เข็มทิศขึ้น และนำเข็มทิศไปใช้ในการเดินเรือ สันนิษฐานว่าในประเทศไทยน่ามีการได้รับการใช้เข็มทิศจากจีนด้วยเช่นกัน เข็มทิศ แม้เป็นเครื่องมือที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบันแต่เป็นเครื่องแสดงในเห็นถึงความสามารถของชาวจีนตั้งแต่อดีตที่มีการค้นพบเครื่องมือชิ้นสำคัญให้กับโลกใบนี้ไว้ใช้ประโยชน์ จวบจนปัจจุบัน -----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง -โรเบิร์ต เทมเพิล. ต้นกำเนิด ๑๐๐ สิ่งแรกของโลก. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๔.
เลขทะเบียน : นพ.บ.137/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5.5 x 58.4 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ ชื่อชุด : มัดที่ 82 (326-329) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : จุนฺทสูกริกสุตฺต (จุนทสูกริกสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.89/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.9/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง จิรภา อ่อนเรือง
ชื่อเรื่อง จดหมายเหตุสภาสตรีแห่งชาติฯ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ นครหลวง
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วรพากย์พินิจ(นิวสแตนดร์ด)
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๑๐ หน้า
หมายเหตุ หนังสือที่ระลึกเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๕
หนังสือที่ระลึกเนื่องในวันเฉลิมพระเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๕ ของสภาตรีแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมถ์ เนื้อหาประกอบด้วยบทความเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถโดยผู้ที่ทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระนางเจ้า ฯ
ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับและตรัสรู้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยสาเหตุนี้ต้นโพธิ์จึงเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในทางพุทธศาสนา คำว่า “ต้นโพธิ์” มิได้หมายถึงชื่อพันธุ์ไม้ทั่วไป แต่เป็นชื่อเรียกเฉพาะต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มเงาขณะตรัสรู้ คำว่า “โพธิ” หมายถึงการตรัสรู้ ดังนั้น พระอดีตพุทธเจ้า พระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และพระอนาคตพุทธเจ้า ต่างทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ทั้งสิ้น แต่เป็นต้นโพธิ์ที่ต่างสายพันธุ์กันออกไป เช่น พระศรีอาริยเมตไตรย พระอนาคตพุทธเจ้า จะตรัสรู้ใต้ต้นกากะทิง พระสมณโคดมหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ หรือโพใบ ซึ่งเป็นไม้ในสกุล Ficus religiosa L. วงศ์ MORACEAE มีใบคล้ายรูปหัวใจ ดังนั้นพันธุ์ไม้ชนิดนี้ปัจจุบันจึงนิยมเรียกกันว่า “ต้นโพธิ์” ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องการบูชาต้นโพธิ์ในประเทศไทย น่าจะเข้ามาพร้อมกับการนับถือพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่าในสมัยทวารวดีคงมีการนับถือ และเคารพบูชาต้นโพธิ์ด้วยเช่นกัน โดยปรากฏหลักฐาน ได้แก่ ชิ้นส่วนประติมากรรมดินเผารูปต้นโพธิ์ ตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย พบจากเมืองโบราณอู่ทอง และชิ้นส่วนประติมากรรมรูปต้นโพธิ์ดินเผา พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่น่าเสียดายที่ไม่พบหลักฐานว่าประติมากรรมรูปต้นโพธิ์ที่พบจากเมืองโบราณอู่ทองนั้น เคยประกอบร่วมกับชุดสิ่งสักการบูชาอื่นหรือไม่ ทั้งนี้ต้นโพธิ์ดินเผานี้อาจสร้างขึ้นเพื่อประกอบรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูป หรือภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ก็เป็นได้ อนึ่งการทำต้นโพธิ์เป็นรูปเคารพ มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ก่อนการทำพระพุทธรูป โดยสัญลักษณ์รูปต้นโพธิ์หมายถึงการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. การนับถือบูชาต้นไม้ใหญ่และต้นโพธิ์ในสมัยทวารวดี, ดำรงวิชาการ : รวมบทความทางวิชาการคณะโบราณคดีปี ๒๕๔๗. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗. สมบัติ พลายน้อย. พฤกษนิยาย. พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๕๑๒. https://plantgeneticssite.wordpress.com/2017/11/19/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-ficus-religiosa-l/
องค์ความรู้ เรื่อง หลักฐานการค้าทางทะเลในสมัยทวารวดี จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๘.๓๐ น. ภายหลังการจัดพิธีบวงสรวงต้อนรับทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว กลับสู่ประเทศไทย เรียบร้อยแล้วนั้น เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้เคลื่อนย้ายทับหลัง ทั้ง ๒ ชิ้น เข้าไปภายในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเตรียมจัดนิทรรศการให้ประชาชนได้ชมต่อไป ทั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังคงปิดให้บริการชั่วคราว ตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ที่มีการขยายเวลาไปอีก ๑๔ วัน ระหว่างวันที่ ๑ - ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ หากสนใจเข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการทับหลังดังกล่าว โปรดติดตามข่าวสารได้ทางเฟสบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
“มโหระทึก” เป็นเครื่องประโคมตระกูลฆ้อง-ระฆัง ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดง ดีบุกและตะกั่ว บ้างเรียก “กลองทอง(แดง)” “ฆ้องบั้ง” หรือ “ฆ้องกบ” พบได้ตั้งแต่เหนือสุดทางมณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) ถึงบริเวณหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย เป็นเครื่องมือโลหะที่คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใช้ตีในพิธีกรรมสำคัญ ถือเป็นวัฒนธรรมที่มีร่วมกันของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามบริเวณแหล่งโบราณคดีดองซอน จังหวัดธานหัว ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและรูปแบบจากจีนสมัยราชวงศ์จิวและราชวงศ์ฮั่นเมื่อกว่า ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว
ส่วนการหล่อมโหระทึกแต่ละใบ จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมาก เช่น ไม้ไผ่ ดินเหนียว แกลบ ขี้วัว ขี้ผึ้ง สายชนวน แร่โลหะ รวมถึงเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการขึ้นรูป ทำแม่พิมพ์ขี้ผึ้ง การใช้ไฟหรือการควบคุมความร้อนที่เหมาะสม ลายที่ปรากฏบนมโหระทึกส่วนใหญ่เป็นลวดลายเรขาคณิต ภาพเล่าเรื่องวิถีชีวิตของคนยุคนั้น ซึ่งลายหนึ่งที่ทุกท่านน่าจะคุ้นตา คือ ลายแฉก สันนิษฐานได้ว่าคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อาจมีความเชื่อเรื่องการนับถือดวงอาทิตย์เป็นดั่งพระเจ้า ทั้งนี้ คติการบูชาดวงอาทิตย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์น่าจะมีความเชื่อสืบมาถึง “วัฒนธรรมทวารวดี” ผสมผสานกับความเชื่อจากอินเดีย จนปรากฏรูปดวงอาทิตย์บนเหรียญกษาปณ์ ซึ่งในนิทรรศการพิเศษได้จัดแสดงต่อเนื่องกับมโหระทึก เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยปัจจุบันมีการค้นพบมโหระทึกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั่วทุกภูมิภาคของไทยแล้ว จำนวนมากกว่า ๔๐ ใบ นอกจากนี้ “มโหระทึก” ยังคงถูกใช้ในพระราชพิธีสำคัญของราชสำนักสืบมาจนปัจจุบัน
ภาพมโหระทึก คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรีศรีรามเทพนคร” พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง นิสัยสินชัย(นิไนสินชัย)สพ.บ. 397/10ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสานเส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
แผ่นดินเผารูปพระสงฆ์สามองค์อุ้มบาตร พบจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อาจเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดซึ่งเกี่ยวข้องกับการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนไทย เนื่องจากรูปแบบการครองจีวรของภาพพระภิกษุบนแผ่นดินเผา เป็นแบบห่มคลุม ริ้วจีวรมีขนาดใหญ่ คล้ายกับการครองจีวรของพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ซึ่งกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว) สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น มิได้เป็นการนำเข้ามาจากภายนอก เนื่องจากทำด้วยดินเผาที่มีส่วนผสมของดินดิบ และแกลบค่อนข้างหยาบ ประกอบกับประติมากรรมนี้มีแผ่นหลังซึ่งน่าจะใช้ประดับติดเข้ากับผนังของศาสนสถาน อนึ่ง ภายในเมืองโบราณอู่ทองยังพบชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถานแสดงภาพระพุทธรูปประทับ นั่งขัดสมาธิอย่างหลวมๆ เหนือขนดนาค ซึ่งนักวิชาการบางท่านกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปกรรมว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการค้นพบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น และมีรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัยกันกับแผ่นดินเผารูปพระภิกษุสามองค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปเหนือขนดนาคปูนปั้นที่กล่าวไป ทำให้นักวิชาการบางท่านมีความเห็นเรื่องอายุสมัยของโบราณวัตถุดังกล่าวแตกต่างกันออกไป โดยหากเชื่อว่าโบราณวัตถุนี้ มีอายุสมัยใกล้เคียงกับศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ก็จะนับเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนแถบนี้ได้เปลี่ยนจากความเชื่อท้องถิ่นดั้งเดิม หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีการสร้างรูปเคารพ รวมทั้งศาสนสถาน แสดงให้เห็นว่าระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑ พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลง ณ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับในหมู่ชนพื้นเมืองแล้ว โดยมีเมืองโบราณอู่ทองเป็นศูนย์กลางสำคัญของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในระยะแรกเริ่ม--------------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี --------------------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย,๒๕๔๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
รำตงนอกจากจะเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงเติมเต็มทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ยังมีลักษณะเด่นและความน่าสนใจในด้านที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหลายได้ซึมซับเอาคุณค่าความดีงามในคติธรรม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมเรื่องการสร้างความสามัคคี อันเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับกลุ่มชน อีกทั้งยังเป็นทางออกและทางต่อสู้สำหรับความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการกล่อมเกลาจิตใจและปลูกฝังความดีงามให้กับลูกหลาน วันนี้แม้มีเพียงแค่คนกลุ่มน้อยที่จะได้ชมการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยง แต่สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงเองแล้ว การแสดงรำตงถือเป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงคนในชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เชื่อมโยงคนกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นวิถีการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคม การแสดงรำตงที่นำไปแสดงในทุกครั้งจะต้องผ่านการสร้างสรรค์ด้วยความประณีตบรรจง รูปแบบของการแสดงต้องผ่านกระบวนการอันละเอียดอ่อน ทั้งนี้เพื่อให้คุณค่าของงานเป็นการตอบสนองผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการมอบสิ่งดีๆให้กับสังคมสมกับเจตนารมณ์ของผู้สร้างงานที่มิได้หวังผลทางด้านธุรกิจอื่นใด สิ่งสำคัญอีกประการของความสำคัญในการแสดงรำตง คือ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชุมชนนักอนุรักษ์ ทั้งในด้านเอกลักษณ์และจารีตประเพณี การแสดงรำตงยังคงปรากฏถึงจารีตปฏิบัติ อันถือเป็นธรรมเนียมสำคัญได้แก่ การบูชาในสิ่งที่ควรแก่การบูชา ในที่นี้คือ การบูชาแม่พระโพสพในพิธีกรรมทำบุญข้าวใหม่ ซึ่งชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญในฐานะที่เป็น เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมโดยตรง ดังนั้นพวกเขาจึงทำการบูชาด้วยการมอบสิ่งที่ดีต่อผู้มีพระคุณ และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาในสังคม-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ-----------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง ณัฐกานต์ บุญศิริ. การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง : กรณีศึกษารำตงบ้านใหม่พัฒนา อำเภอสังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. ปรียา ดวงเที่ยง (และคนอื่นๆ). การแสดงรำตงของชาวไทยเชื้อสายกระเหรียงโป บ้านห้วยดินดำ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. ศิลปนิพนธ์ ( ศศ.บ) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. 2551. สรุปผลการจัดกิจกรรม : การจัดพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงบ้านตะเพินคี่. สุพรรณบุรี : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านช้าง. 2550. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) “รำตง วัฒนธรรมกะเหรี่ยง” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.prapayneethai.com (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. การแสดงรำตง.. สุพรรณบุรี : สำนักงานฯ , 2550.