ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.443/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 58 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158 (149-162) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แปลสามเณรสิขา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.588/3 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 82 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 190 (378-384) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : อภิธรรม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
‘A Room Full of Strangers’ คือนิทรรศการศิลปะที่บอกเล่าเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้เสมือนเป็น “คนนอก” ที่เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งบนแผ่นดินไทยและได้ทิ้งร่องรอยเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่หล่อหลอมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของเรา นิทรรศการประกอบด้วยผลงาน 15 ชิ้น ตีความผ่านมุมมองของนิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเชิญชวนให้ผู้ชมมาสัมผัสกับเรื่องราวสารพันของผู้คนแปลกหน้า ในประสบการณ์ของสีสัน แสง เสียง การแสดง และอื่นๆ อีกมากมาย
นิทรรศการ ‘A Room Full of Strangers’ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอศิลป์เจ้าฟ้า) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการพร้อมกิจกรรมพิเศษกับเหล่าคนแปลกหน้า (Strangers) ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 – 20.00 น. และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการในวันที่ 13 - 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 – 20.00 น.
---------------------------------------------
ข้อมูลการเดินทางมายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
Location https://goo.gl/maps/DmDkWgFLHezz1QR76
สถานที่จอดรถที่ใกล้ที่สุด: วัดชนะสงคราม https://goo.gl/maps/a9yqHecGLvBKK9iw5
อาคารรับฝากรถ กทม. https://goo.gl/maps/kTjR1XNSgBdj2krP9
(วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม สามารถจอดรถได้ที่สำนักงานสรรพากรภาค 3 ตั้งแต่ 17.00 - 20.00 น.) https://goo.gl/maps/d25Kuqyjxx9Cehfo7?coh=178571&entry=tt
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT: สถานีสนามไชย / สถานีสามยอด
ทางเรือ: ท่าพระอาทิตย์
ขอเชิญรับชม Facebook Live การบรรยาย “เส้นทางความสัมพันธ์ไทย-จีน จากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ในเอกสารจีน”
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ประจำปี 2566 ครั้งที่ 4 การบรรยาย เรื่อง “เส้นทางความสัมพันธ์ไทย-จีน จากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ในเอกสารจีน” วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. - 12.00 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ประจำปี 2566 กำหนดจัดกิจกรรม 5 ครั้ง โดยจัดเป็นรูปแบบการบรรยาย การอภิปราย การเสวนา การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของวิทยากรที่มีประสบการณ์จากหลากหลายสาขาวิชา โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 เป็นการบรรยายเรื่อง “เส้นทางความสัมพันธ์ไทย - จีน จากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ในเอกสารจีน” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ : National Library of Thailand (www.facebook.com/NationalLibraryThailand)
ศีรษะหุ่นหลวงตัวพระ ตัวนาง
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
ไม้ เขียนสี ทองคำประดับกระจก
กรมพิณพาทย์และโขนหลวงส่งมาให้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙
หุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ มักนิยมสร้างขนาดความสูงจากระดับศีรษะถึงปลายเท้าตั้งแต่ ๘๕ – ๑๑๐ เซนติเมตร มีลำตัว แขน ขา และแต่งตัวเช่นเดียวกับละคร ภายในตัวหุ่นทำสายโยงติดกับอวัยวะของตัวหุ่นและปล่อยเชือกลงมารวมกันที่แกนไม้ส่วนล่างเพื่อใช้ดึงบังคับให้เคลื่อนไหว หุ่นหลวงหนึ่งตัวใช้ผู้เชิดเพียง ๑ คน การเล่นหุ่นปรากฏหลักฐานมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งนอกจากเล่นเรื่องรามเกียรติ์แล้ว ยังเล่นเรื่องอื่น ๆ อาทิ พระไชยทัต สังข์ศิลป์ชัย โสวัต ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการเล่นหุ่นสืบมา จนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ ก็ยังปรากฏการกล่าวถึงหุ่นไทย ในงานมหรสพสมโภชต่าง ๆ
นับแต่พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๕๓ โปรดเกล้าฯ ให้งดมหรสพสมโภชประกอบพระเมรุมาศกลางเมือง จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าหุ่นหลวงได้นำออกแสดงอีก จนถึงพ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จึงจัดสร้างหุ่นหลวงเพื่ออนุรักษ์และพัฒนา และได้นำออกแสดงเป็นมหรสพสมโภชอีกครั้งในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สำหรับศีรษะหุ่นหลวงคู่นี้มีความพิเศษกว่าศีรษะหุ่นอื่นด้วยเครื่องศิราภรณ์ที่ตกแต่งบุดุนจากทองคำประดับกระจก ปรากฏตามลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๘๕ เรื่องรัดเกล้าไม่ปรากฏในงานจิตรกรรม มีแต่นางละครกับนางหุ่นที่สวม โดยเนื้อความตอนหนึ่งทรงกล่าวว่า
“...ได้เห็นหน้าหุ่นใส่ลุ้งไว้ไม่ได้เอาออกเล่น ว่าเป็นหุ่นครู มีหน้าคู่เป็นพระกับนาง ประดับด้วยเครื่องทองคำทั้งสองหน้า หน้านางใส่รัดเกล้า แต่รัดเกล้านั้นเป็นมาลา (คือ “อุณหิศ” อย่างที่ลิงใส่ มีหนุมานเป็นต้น) เห็นได้ว่าข้างบนว่างจึงเติมชั้นและปักเครื่องใหญ่ ๆ จะว่าเป็นของใหม่ไม่ได้ แต่ทำไมรูปเขียนจึงไม่มี”
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๕.
ไพโรจน์ ทองคำสุก, บรรณาธิการ. หุ่นหลวง: นาฏลักษณ์วิจิตรอันทรงคุณค่า. นนทบุรี: กรมศิลปากร, ๒๕๕๙.
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ เล่ม ๒๔. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๕.
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/15หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 62 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 28 หน้าบทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 16.3 เซนติเมตร ปากกว้าง 11.2 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยกลาง 3,000 - 2,300 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง มีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ขูดขีด และเขียนสีแดงสภาพชำรุด บริเวณเชิง และปากหักหายไปสภาพ :...ประวัติ : ได้จากการขุดค้นที่หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในเมื่อปี 2546สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/15/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
ชื่อเรื่อง สพ.ส.80 ตำราภาพพระโยคาวจร พิจารณาพระกรรมฐานประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ธรรมคดีลักษณะวัสดุ 58; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ธรรมคดี ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538
#เรื่องเล่าจากบันทึกเหตุการณ์ : โครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
----------------------
-บึงสีไฟ-
บึงสีไฟเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของจังหวัดพิจิตร เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีมาตั้งแต่อดีต มีความอุดมสมบูรณ์และมีความสำคัญต่อชาวจังหวัดพิจิตรมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีพื้นที่จำนวน 5,390 ไร่ จัดเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีความสำคัญในภาคการเกษตร การชลประทาน และเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน เมื่อปี 2556 บึงสีไฟได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งอย่างหนัก ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานทำให้น้ำในบึงแห้งขอด และในปี 2560 เกิดไฟไหม้บริเวณเกาะกลางบึงสีไฟ เนื่องจากมีวัชพืชแห้งทับถมกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ทำให้ประชาชนเกิดความเดือนร้อน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระบรมราโชบายในการพัฒนาแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำในพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั่วประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการปรับปรุงและพัฒนาบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในการเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวพิจิตร
ในปี 2567 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดพิจิตร จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาบึงสีไฟเฉลิมพระเกียรติ” เพื่อพัฒนาบึงสีไฟให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง ตลอดจนเป็นสนามแข่งขันจักรยานระดับนานาชาติ โดยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานชื่อสนามจักรยานว่า “สนามจักรยานสราญจิตมงคลสุข” มีความหมายว่า สนามจักรยานเป็นสถานที่ทำให้ใจสำราญเป็นมงคลและสุขสบาย ภายในสนามมีการสร้างทางจักรยาน ทางเดิน และลู่วิ่ง รอบบริเวณบึงสีไฟ ระยะทางยาว 10.28 กิโลเมตร พร้อมทั้งสร้างสนามจักรยานบีเอ็มเอ๊กซ์ (BMX) สนามปั๊มแทร็ค (Pumptrack) และสนามขาไถสำหรับเด็กเล็ก (Balance Bike)
สนามจักรยานบีเอ็มเอ๊กซ์ สนามปั๊มแทร็ค ออกแบบโดย นางมารี เครปส์ และนายฮาวี่ เครปส์ จากสมาพันธรัฐสวิสชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ฝึกสอนจักรยานบีเอ็มเอ๊กซ์ทีมชาติไทย สนามจักรยานบีเอ็มเอ๊กซ์ มีความยาว 356 เมตร ความสูง 5 เมตร มีพื้นที่รวมทั้งหมด 8,400 ตารางเมตร เป็นสนามที่ได้มาตรฐานของสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (Union Cycliste Internationale: UCI) และสามารถจัดการแข่งขันในระดับ World Cup และ World Championships ได้ ส่วนสนามปั๊มแทร็ค มีความยาว 350 เมตร ความกว้าง 2 เมตร มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,683 ตารางเมตร สนามจักรยานขาไถสำหรับเด็กเล็ก ออกแบบโดยนายอัถร ชัยมาโย ผู้ฝึกสอนจักรยานบีเอ็มเอ๊กซ์ทีมชาติไทย มีความยาว 120 เมตร พื้นที่รวมทั้งหมด 1,600 ตารางเมตร ทั้ง 3 สนาม ผู้รับผิดชอบในการก่อสร้าง คือ แขวงการทางจังหวัดพิจิตร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “โครงการพัฒนาบึงสีไฟเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” และทรงเปิดสนามจักรยาน “สราญจิตมงคลสุข” ณ บริเวณโครงการพัฒนาบึงสีไฟเฉลิมพระเกียรติ ฯ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา
เรียงเรียงโดย นายวันชัย ภูมิซองแมว นักจดหมายเหตุ
----------------------
เอกสารอ้างอิง
- คำกราบบังคมทูลรายงานการแสดงปั่นจักรยานของพลเอก เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- คำกราบบังคมทูลของนายอดิเทพ กมลเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการพัฒนาบึงสีไฟเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนเมษายน ๒๕๖๗ เรื่อง " ประติมากรรมปูนปั้น “หน้ากาล” วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง " หน้ากาล คือ รูปหน้าสัตว์ในเทพนิยาย บางครั้งเรียกว่า “เกียรติมุข” บ้างก็เรียกว่า “สิงหมุข” เพราะดูคล้ายหน้าสิงห์ มักทำประดับเหนือประตูทางเข้าอาคารหรือคูหา มีนัยว่าเพื่อปกป้องรักษาศาสนสถาน คติเรื่องหน้ากาลและเกียรติมุขโดยสังเขป หน้ากาลเป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลา ซึ่งมีเรื่องเล่ากล่าวถึงผู้ที่กลืนกินตนเอง แม้แต่ริมฝีปากล่างของตน หน้ากาลในศิลปะไทยจึงปรากฏแต่เพียงหน้า ไม่มีตัว ดังนั้นคำว่า “กาล” หรือ“กาละ” ในอีกความหมายหนึ่งคือ “เวลา” มีนัยว่าเวลาย่อมกลืนกินทุกสิ่งทุกอย่าง ดังที่อสูรตนนี้กลืนกินแม้กระทั่งร่างของตนเอง ส่วนเกียรติมุขเกิดจากนรสิงห์ตนหนึ่งที่พระศิวะเคยประทานพรให้แล้วเกิดความทะเยอทะยาน พระองค์จึงกลับมาปราบโดยตัดเศียรแล้วนำไปประดับไว้ที่ทางเข้าศาสนสถาน เพื่อให้ลมหายใจของมันมอบพลังให้แก่ผู้ที่เข้ามายังศาสนสถาน หน้ากาลเป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับโบราณสถาน โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งคติ ความเชื่อที่ปรากฎในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูกใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างศีรษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็นกระบังหน้า ในเมืองศรีสัชนาลัยพบประติมากรรมปูนปั้นหน้ากาลที่มีลักษณะคล้ายราหูที่ประดับซุ้มประตูกำแพงล้อมรอบบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง งานศิลปะที่เกี่ยวกับราหูในประเทศไทย จึงมักเป็นลายปูนปั้นประกอบในสถาปัตยกรรมทำเป็นหน้ายักษ์หรืออสูร ไม่มีลำตัว มีแต่ส่วนของมือและแขน สองข้างจับรูปวงกลมซึ่งทำเป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิตย์และพระจันทร์มาอมไว้ในปาก โดยรูปแบบทางศิลปกรรมของราหูจึงไปคล้ายคลึงกับหน้ากาล ซึ่งเป็นอสูรหรือหน้ายักษ์เช่นกัน ในงานประติมากรรมปูนปั้นราหูมักจะทำไว้ที่หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือตามซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถานบรรณานุกรมนภาธิต วัฒนถาวร. “พระราหู : ภาพสะท้อนของสังคมเมืองยุคโลกาภิวัฒน์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๘.พลอยชมพู ยามะเพวัน. “พัฒนาการจากหน้ากาลมาเป็นราหูในสมัยรัตนโกสินทร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.สันติ เล็กสุขุม. งานช่าง คำช่างโบราณ. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.ปาริสุทธิ์ เลิศคชาธาร. หน้ากาล-เกียรติมุข-ราหู. วัฒนธรรมออนไลน์. สืบค้นจาก http://article.culture.go.th/index.php/gallery/๓-column-layout-๕/๒๘๒-๒๐๒๒-๐๑-๑๔-๐๙-๑๑-๔๒. (เข้าถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗).พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย. โบราณวัตถุชิ้นเด่น เกียรติมุขหรือหน้ากาล. กรมศิลปากร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/ramkhamhaengmuseum/view/๗๘๕๐. (เข้าถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗).
ภาพเล่าเรื่องรูปบุคคลนั่งท่ามหาราชลีลา
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น
- ขนาด กว้าง ๘๔.๕ ซม. ยาว ๘๕.๕ ซม. หนา ๑๒ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ปูนปั้นรูปบุคคล พิจารณาจากเครื่องประดับ และท่านั่งน่าจะเป็นบุคคลชั้นสูง หรือเทวดา
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40101
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
วัดผาลาด วัดผาลาด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผาลาด มาจากคำว่า ผะเลิด เพราะคนและช้างต่างลื่นล้มเมื่อเดินมาตามเส้นทางขึ้นเขา และเมื่อตั้งวัดจึงตั้งชื่อว่าผาลาด วัดผาลาดปรากฏหลักฐานในเอกสาร ตำนาน และพงศาวดาร มีประวัติศาสตร์ร่วมกับพระธาตุดอยสุเทพ ตามที่ปรากฏในพงศาวดารโยนก ความว่า “พระเจ้านครเชียงใหม่ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง ซึ่งเสด็จมาใหม่ไว้ในวัดบุปผารามนั้น ส่วนพระบรมสารีริกธาตุองค์เดิมซึ่งพระมหาสุมณนำมาจากเมืองสุโขทัยนั้น เพื่อจะแสวงหาที่อันสมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ จึงเชิญผอบพระบรมธาตุขึ้นสถิตเหนือพระคชสาร อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ช้างทรงพระบรมธาตุนั้นก็บ่ายหน้าเดินออกประตูหัวเวียงไปขึ้นสู่ดอยอุสุจบรรพต (ดอยสุเทพ) ไปถึงผาลาดก็หยุดรออยู่ครู่หนึ่งก็ขึ้นไปถึงจอมเขาแล้วก็หยุดอยู่ ณ ที่นั้น” อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์เป็นศิลปะพม่าสมัยครูบาศรีวิชัย วิหารสร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัยโดยช่างชาวพม่า ฐานโบราณสถาน (โบสถ์) (วิหารพระเจ้ากือนา) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปเป็นศิลปะพม่า วัดยังมีบ่อน้ำที่มีการสร้างทับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัย และศาลาเก่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางขึ้นสู่วัดผาลาดตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติจากบริเวณด้านสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง ๗ ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร จะถึงวัดผาลาด และสามารถเดินลัดป่าขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมระยะทางไปกลับประมาณ ๑๐ กิโลเมตร นับว่าเป็นเส้นทางโบราณครั้งที่พระเจ้ากือนา อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นไปประดิษฐาน ณ ดอยสุเทพ ที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติ และโบราณสถานสำคัญตลอดเส้นทางเรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. (เอกสารจดหมายเหตุชุด ภ หจช ชม ชม สศก ๗.๑.๔๑)อ้างอิง กรมศิลปากร. ๒๕๐๔. พงศาวดารโยนกฉบับหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บุรินทร์การพิมพ์ บัณฑิตชาวนครเชียงใหม่. ๒๕๓๓. ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ. เชียงใหม่ : โสภณพิพรรฒธนากร