ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (มาลัยหมื่น-มาลัยแสน)
สพ.บ. 240/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุ เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่ 959.373 ศ528รสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ 2509ลักษณะวัสดุ 48 หน้า : ภาพประกอบ,แผนที่..หัวเรื่อง โบราณคดี โบราณวัตถุ – ไทย ไทย – โบราณสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก บันทึกรายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง การขุดแต่งเจดีย์ สภาพก่อนการขุดแต่ง ลักษณะของฐานเจดีย์ โบราณวัตถุที่ขุดพบ พร้อมภาพถ่าย แผนผัง แผนที่ประกอบรายงา
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ)
สพ.บ. 376/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.158/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 94 (17-21) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.39/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สงฺคีติกถา (ปถม-ปญฺจมสงฺคายนา)
ชบ.บ.101/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.322/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130 (329-337) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อิสิติสิสุตฺต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๑ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๓ (ต่อ)-๕๗) พงศาวดาร เมืองสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ชวา และโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๑ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : คุรุสภาลาดพร้าวจำนวนหน้า : 324 หน้า สาระสังเขป : หนังสือชุดประชุมพงศาวดารเป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะได้รวบรวมเรื่องเก่าๆที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด หนังสือพงศาวดาร เล่มที่ ๓๑ นี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง พงศาวดารและโบราณวัตถุสถานในเกาะชวา เรื่องเหตุการณ์เมืองเขมรตอนเสร็จสงครามไทยญวน เรื่องโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๑ เป็นต้น
#พี่นักโบชวนเที่ยวทิพย์ "...ตามรอยสยามมกุฎราชกุมาร ทอดพระเนตรโบราณสถาน...เมืองนครราชสีมา..."
.
นับตั้งแต่ กิจการรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 โดยมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมา ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดเส้นทางเป็นปฐมฤกษ์ นั้น กิจการรถไฟสยามก็เติบโตเรื่อยมา โดยนำความเจริญมาสู่เมืองนครราชสีมา ในฐานะประตูสู่ที่ราบสูง ก่อให้เกิดการคมนาคม การแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภคและบริโภคได้สะดวก และหลากหลายมากยิ่งขึ้น จึงนับได้ว่ากิจการรถไฟทำให้เมืองนครราชสีมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบัน
.
หลังจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชได้ 3 ปีนั้น ในปี พ.ศ.2446 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวดำรงพระอิสริยายศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (ขณะนั้นมีพระชนมายุ 22 พรรษา) พร้อมด้วยสมเด็จพระลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ (ขณะนั้นมีพระชนมายุ 14 พรรษา) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นมีพระชนมายุ 41 พรรษา) ได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 10-20 มกราคม พ.ศ.2446 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ในฐานะศูนย์กลางมณฑลนครราชสีมา (ลาวกลาง) และเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานในหลายแห่ง อาทิ 1. อำเภอสูงเนิน ประกอบด้วย เมืองโบราณเสมา ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ 2. อำเภอพิมาย ประกอบด้วย ปราสาทพิมาย ท่านางสระผม กุฏิฤาษี ไทรงาม และ 3. อำเภอเมืองนครราชสีมา ประกอบด้วย ปราสาทพนมวัน
.
โดยในวันนี้ พี่นักโบ ขอพาทุกท่านตามรอยสยามมกุฏราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เเละคณะ เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน กันครับ
#เริ่มต้นเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน...
°วันที่ 12 มกราคม เวลาเช้า 1 โมงเศษ ได้เสด็จทรงม้าไปประทับรถไฟพิเศษไปประพาสอำเภอสูงเนิน เมื่อถึงสะเตชั่นสูงเนิน ได้เสด็จทรงม้าไปประทับที่ว่าการอำเภอประมาณครู่หนึ่ง แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรเสมาร้าง (สันนิษฐานว่าคือเมืองโบราณเสมา) แลเทวสถานที่เมืองเก่า ซึ่งราษฎรเรียกว่าเมืองแขก กับเทวสถานกู่แลเทวสถานที่เมืองเก่า แล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นรถไฟพิเศษที่ตำบลกุดจิก กลับไปประทับพลับพลาเมืองนครราชสีมา
.
°วันที่ 14 มกราคม เวลาเช้า 1 โมงเศษ เสด็จทรงม้าออกจากหนองบัวบ้านตูม (บ้านตูม ตำบลทองหลาง อำเภอจักราช) ไปประทับร้อนที่พลับพลาห้วยศักราช (ปัจจุบันเรียก ห้วยจักราช) อำเภอ #เมืองพิมาย เวลาบ่าย 1 โมงเศษ เสด็จทรงช้างไปถึงวังหิน แล้วเสด็จประทับเรือทอดพระเนตรลำน้ำวังหิน ไปขึ้นที่ท่าริมเมือง แล้วเสด็จทรงช้างมาประทับแรมที่พลับพลาเมืองพิมาย เวลาประมาณย่ำค่ำเศษ
.
°วันที่ 15 มกราคม เวลาเช้า เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร #ปราสาทหินแลคลังเงิน (ปัจจุบันเรียก พลับพลาเปลื้องเครื่อง ปราสาทพิมาย) ซึ่งก่อด้วยหิน ตามที่ราษฎรได้เรียกกันมาแต่เดิม เมื่อทรงทอดพระเนตรทั่วแล้ว ได้เสด็จกลับยังพลับพลา ครั้นเวลาบ่ายได้เสด็จวอทอดพระเนตร #สระเพลง แล #เมรุพรหมทัตแล้วเสด็จประทับพลับพลาที่สนามหญ้าริมที่ว่าการอำเภอ ทอดพระเนตรมวย แล้วเสด็จประทับที่ว่าการอำเภอพิมาย มีรับสั่งให้นายเหม นายอำเภอเมืองพิมาย ทดลองเครื่องสัญญาชนิดที่เรียกลูกบ้าน มาประชุมจับโจรผู้ร้าย เมื่อลูกบ้านถือสาตราวุธมาประชุมพร้อมกัน ทอดพระเนตรแล้วเสด็จกลับพลับพลาที่ประทับ
.
°วันที่ 16 มกราคม เวลาเช้า เสด็จทรงม้าไปทอดพระเนตร #ท่านางสระผม #กุฏิฤาษี #ไทรงาม แล้วเสด็จลงประทับเรือมาตามลำน้ำมูล มาขึ้นที่ท่าสงกรานต์ เลยเสด็จกลับมายังพลับพลา ทอดพระเนตรการที่นายอำเภอลองเครื่องสัญญาชนิดจับโจรอีก เพื่อให้ช่างถ่ายรูปลูกบ้านที่มาประชุมนั้นไว้ แล้วทอดพระเนตรมวย ซึ่งนายอำเภอจัดมาถวาย
.
°วันที่ 17 มกราคม เวลาเช้า เสด็จทรงช้างออกจากอำเภอเมืองพิมายมาประทับร้อนที่พลับพลาบ้านโคกพระ เวลาบ่ายประมาณ 2 โมง เสด็จทรงม้ามาประทับแรมที่พลับพลาบ้านทองหลาง อำเภอกลาง (สันนิษฐานว่าคือ บ้านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง) ในที่นั้นได้มีมวยถวายทอดพระเนตร 1 คู่
.
°วันที่ 18 มกราคม เสด็จทรงช้างจากพลับพลาบ้านทองหลางมาประทับพักร้อนพลับพลาวัดพนมวัน ท้องที่อำเภอเมือง แลทรงทอดพระเนตรเพลงและ #ปราสาทหิน เวลาบ่าย เสด็จทรงช้างเข้าเมืองนครราชสีมา ประทับพลับพลาที่กองทหาร จนกระทั่งเช้าวันที่ 20 มกราคม จึงประทับรถไฟพิเศษกลับกรุงเทพฯ
กว่า 6 วัน ที่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ให้
.
ความสนใจในการเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน ทั้งในเขตอำเภอสูงเนิน อำเภอพิมาย และอำเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นในการสำรวจโบราณสถานต่างภูมิภาค เพราะหลังจากเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชาสีมาได้ 4 ปีนั้น พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรโบราณสถานที่เมืองกำแพงเพชร เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัย เมืองพิษณุโลก และเมืองพิจิตร กว่า 67 วัน ดังปรากฏในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ซึ่งสามารถตามไปอ่านกันได้เลยครับ
.
เอกสารอ้างอิง
อ้างอิงข้อมูลจาก สำเนา ลายพระหัตถ์ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ถึง กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จตรวจประพาสตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา ที่ 2453/13050 ลงวันที่ 4 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 122 (พ.ศ.2446) จากหนังสือรวมเรื่องเมืองนครราชสีมา น.178-182
.
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
ออกแบบกราฟฟิกโดย นายธันยธรณ์ วรรณโพธิพร ผู้ช่วยนักโบราณคดี
ชื่อผู้แต่ง หลวงทรงพล
ชื่อเรื่อง ตำราหมอดู ฉัตร 9 ชั้น มีวิธีพยากรณ์ สมพงศ์ และค่ธาตุ 12 ราศรี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ เขษมบรรณกิจ
ปีที่พิมพ์ ม.ป.ป
จำนวนหน้า 60 หน้า
รายละเอียด
ตำราหมอดูฉัตร 9 ชั้น เป็นเกร็ดส่วนหนึ่งของโหราศาสตร์ที่แม่นยำเกี่ยวกับการพยากรณ์ โชคลาภ ของหาย เนื้อคู่ การเดินทาง ฯลฯ เป็นตำราที่เข้าใจง่าย สามารถดูได้ด้วยตนเอง
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขยายเวลาการรับหนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร จนถึงวันที่ 29 เมษายน 2565
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กลุ่มบันทึกเหตุการณ์ โทร 0 2282 8423 ต่อ 143, 145 (ในวันและเวลาราชการ) หรือ inbox เพจ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง โคบุตร
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๕๖ หน้า
หมายเหตุ. -
(เนื้อหา) โคบุตรเป็นบุตรของพระอาทิตย์และนางอัปสรที่จุติอยู่ในดอกบัว เมื่อโตขึ้นบุตรได้รับแหวนและสังวาลจากบิดา ได้รับยาชุบชีวิตจากราชสีห์ โคบุตรได้ครองเมืองอย่างสงบสุข พร้อมด้วยบุตรและชายา คือ นางอำพันมาลาฯ
บทความวิชาการ เรื่อง โรงพิมพ์ยุคแรกของล้านนา (The Early Printery of Lanna) โดยนางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564 อ่านบทความได้ที่ https://anyflip.com/gjdys/caqr/