ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เล่ม ๒
ผู้แต่ง : พระครูบุณยากรวิโรจน์ ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ใจดีดี มีเดีย จังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า มีโบราณสถาน โบราณวัตถุทั้งวัดวาอารามที่สำคัญและเก่าแก่ วัดพันเตาก็เช่นเดียวกันถือเป็นวัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ หนังสือวัดพันเตา กลางเวียง เชียงใหม่ จะเป็นหนังสือที่มีการบอกเล่าประวัติพันเตา เพื่อบ่งบอกความเป็นมาของการสร้างวัด รวมถึงประวัติพระวิหารหอคำหลวง เป็นพระวิหารหอคำที่มีแห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ และประวัติโบราณวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญต่างๆภายในวัดพร้อมรูปภาพประกอบกับการบรรยาย
บทความจากนิตยสารศิลปากร ปี่ที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕ เดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๔ คอลัมน์ภาพเก่า-เล่าอดีต : อิตาลีเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส ร.ศ.๑๒๖ เขียนโดยนางสาวนัยนา แย้มสาขา เหตุการณ์ครั้งนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ภาพเก่าจะเล่าประวัติศาสตร์ให้ท่านได้รับทราบ อยากรู้ต้องอ่่านต่อ...
ประกาศกรมศิลปากร พ.ศ.๒๕๕๒ - พ.ศ.๒๕๕๘
ประเภท/ชื่อเรื่อง
เล่ม
ตอน
วันที่ประกาศ
หน้า
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๑ [กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๒๖
๑๑ ข เล่มที่ ๐๐๗
๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
๗๖
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานธาตุลูกฆ่าแม่ หรือธาตุก่องข้าวน้อย]
๑๒๖
พิเศษ ๖ ง
๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๒
๑๑
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานธาตุถาดทอง]
๑๒๖
พิเศษ ๖ ง
๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๒
๑๒
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ยกเลิกประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานธาตุลูกฆ่าแม่ หรือก่องข้าวน้อย หรือธาตุกล่องข้าวน้อย]
๑๒๖
พิเศษ ๖ ง
๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๒
๑๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานศาลหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร]
๑๒๖
พิเศษ ๖๒ ง
๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒
๖๑
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วังมะลิวัลย์)
๑๒๖
พิเศษ ๑๔๐ ง
๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
๗๒
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)
๑๒๖
พิเศษ ๑๔๐ ง
๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
๗๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (ในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระบุรี)
๑๒๖
พิเศษ ๑๕๒ ง
๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
๒๗
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
๑๒๖
พิเศษ ๑๕๒ ง
๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
๒๘
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๒ [กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๒๗
๖ ข เล่มที่ ๐๐๗
๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓
๑๖๗
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตท้องที่เป็นเขตสำรวจโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป
๑๒๗
พิเศษ ๒๗ ง
๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓
๑๘
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๓ [กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๒๘
๑๖ ข เล่มที่ ๐๐๗
๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔
๗๔
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง สร้างและจำหน่ายตราไปรษณียากรที่ระลึก ๑๐๐ ปี กรมศิลปากร
๑๒๘
พิเศษ ๖๑ ง
๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔
๓๙
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน
๑๒๘
๑๒๑ ง
๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔
๑๗
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๔ [กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๒๙
๒๔ ข เล่มที่ ๐๐๗
๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕
๘๓
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๐๐ ปี กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๕๔
๑๒๙
พิเศษ ๑๑ ง
๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕
๒
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัตถุและศิลปวัตถุ [รวม ๗๖ แห่ง จำนวน ๔๐๑ รายการ]
๑๒๙
พิเศษ ๑๖๗ ง
๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕
๗
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๕ [กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๓๐
๑๖ ข เล่มที่ ๐๐๗
๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖
๘๓
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๕ [พนักงานราชการ กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๓๐
๑๖ ข เล่มที่ ๐๑๔/๕
๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖
๑๑๖
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน [โบราณสถานวัดโพธาราม จังหวัดสุพรรณบุรี]
๑๓๐
พิเศษ ๕๖ ง
๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖
๕๔
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ
๑๓๐
พิเศษ ๑๖๐ ง
๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖
๑๐
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๖ [กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๓๑
๑๑ ข เล่มที่ ๐๐๗
๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗
๗๘
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๖ [พนักงานราชการ กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร]
๑๓๑
๑๑ ข เล่มที่ ๐๑๔/๕
๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗
๑๒๘
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน
๑๓๑
พิเศษ ๒๑ ง
๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗
๑๑
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ [รวม ๘๐ แห่ง จำนวน ๔๐๒ รายการ]
๑๓๑
พิเศษ ๗๐ ง
๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗
๒
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ [จำนวน ๓๐๔ รายการ]
๑๓๑
พิเศษ ๙๙ ง
๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗
๓
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ [จำนวน ๒๗ แห่ง]
๑๓๑
พิเศษ ๒๑๕ ง
๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗
๑
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน
๑๓๒
พิเศษ ๙ ง
๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๘
๓๐
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน
๑๓๒
พิเศษ ๖๕ ง
๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘
๒๖
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ
๑๓๒
พิเศษ ๑๖๒ ง
๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘
๒
กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร
ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น
กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้
๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙
๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ
- โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท
- โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน
๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว
๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้
๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน
๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔
๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา
๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ
๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน
หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 26 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
วันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒
เวลา ๑๐.๐๐ น.
คณะครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบุญพร้อง
อ. เมือง จ. ขอนแก่น
จำนวน ๘๖ คน
เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น โดยมีนางสาวศลิษา ศรีสมครุฑ และนางสาวสกุลทิพย์ จรดอน เป็นวิทยากรนำชม
กิจกรรมภาคฤดูร้อนเพื่อน้อง ๆ (อายุระหว่าง 7-12 ปี) สอนโดย อ.นาฎลดา เดชอรัญ จากโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ ซึ่งตั้งใจข้ามเล เขเรือ (ลงเรือ ข้ามทะเล) มาสอนงานศิลปะให้แก่น้อง ๆ ที่มีใจรักในงานศิลปะ ลงชื่อสมัครได้ที่ หอสมุดแหงชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง ในเวลาราชการ อังคาร - เสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น. (รับจำนวนจำกัด)
ประวัติเมืองอินทร์บุรี
อินทร์บุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเคยมีชุมชนโบราณอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) โดยมีการพบโบราณวัตถุหลายชนิดที่แหล่งโบราณคดี บ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี
ในสมัยอยุธยา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง และเมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองหน้าด่านรายทาง ทางด้านทิศเหนือโดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองด่านหลักแสดงให้เห็นว่าเมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี เป็นเมืองมาก่อนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าเมืองทั้งสามได้สร้างขึ้นในสมัยใด
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการจัดรูปแบบการปกครองใหม่ กำหนดให้หัวเมืองที่อยู่ใกล้ วงราชธานี หรือหัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวาหัวเมืองที่อยู่นอกเขตวงราชธานี ออกไปกำหนดฐานะ เป็นหัวเมืองเอก โท ตรี โดยลำดับตามขนาดและความสำคัญของเมือง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี ซึ่งก่อนหน้านี้เป็น หัวเมืองชั้นในจึงเปลี่ยนเป็นเมืองจัตวา
สมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองหลายครั้ง และในพ.ศ. ๒๔๓๘ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี รวมเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (มณฑลอยุธยา) ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ลดฐานะเมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี ลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี
ขอขอบพระคุณวีดีโอ เรื่องเล่าเมืองอินทร์บุรี จากคุณnirun pinthong
ในวันจันทร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จทรงเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระรูปเหมือนพระสุพรรณกัลยา
ณ โรงเททองศิลปากร พุทธมณฑลสาย ๕ เวลาฤกษ์ ๑๗.๓๙ ถึง ๑๘.๓๐ น.
วันศุกร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา จัดโครงการเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์เบื้องต้นและเพิ่มพูนบัญชีเอกสารโบราณในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา