ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง : จินดามณี   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๓   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์                    จินดามณี เป็นหนังสือสำคัญเรื่องหนึ่งในวรรณคดีของไทย ใช้เป็นแบบเรียนตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื้อหานอกจากจะเป็นการสอนพื้นฐานอักขรวิธีเบื้องต้นแล้วยังเน้นในเรื่องของการประพันธ์ร้อยกรองแบบต่างๆ


สุนทรโวหาร (ภู่), พระ. สุภาษิตสอนสตรี. พระนคร : กรมศิลปากร, 2506.         เนื้อหาเป็นกลอนสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป โดยไม่บ่งว่าแต่งให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จแหล่งผลิตน้ำมันสิริกิติ์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๒๖(รหัสภาพ นรม ๑.๑.๑.๓ (อ.๗๕) ภาพที่ ๑๔ ใน ๑๐๓ ภาพ )ภาพรถบรรจุน้ำมันมีป้ายข้อความระบุว่า “น้ำมันดิบลานกระบือ คือทรัพยากรของไทย อนาคตต้องสดใส เพราะคนไทยเรากลั่นเอง” เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๖ (รหัสภาพ นรม ๑.๑.๑.๓/๑๓๗)แหล่งน้ำมัน “สิริกิติ์” ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ถือเป็นแหล่งผลิตน้ำมันดิบแห่งแรกในประเทศไทย จากข้อมูลการสำรวจหาแหล่งน้ำมันดิบในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๖๔ โดย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ขณะดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันดำเนินการสำรวจหาน้ำมันดิบบริเวณอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยวิทยาการทางเทคโนโลยีที่ยังไม่ทันสมัย จึงไม่สามารถดำเนินการเจาะหาน้ำมันดิบได้ ต่อมาเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๕ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประกาศเชิญบริษัทต่างประเทศ ให้ยื่นขอสัมปทานอีกครั้งทำให้ บริษัท เชลล์ เป็นผู้ชนะในการขอสัมปทานในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร และส่งต่อให้ บริษัท ไทยเชลล์ เอ๊กพลอเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น จำกัด รับโอนสัมปทานได้สำรวจต่อ บริษัท ไทยเชลล์ เอ๊กพลอเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น จำกัดจึงได้ดำเนินการสำรวจโดยใช้วิธีการวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กทางอากาศและธรณีฟิสิกส์โดยละเอียด พบว่ามีแอ่งของหินที่จะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำมันได้ จนกระทั่งเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงได้ทำการทดลองเจาะพิสูจน์ จำนวน ๒ หลุม ได้แก่ หลุมที่ ๑ อยู่ในพื้นที่ตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย มีความลึก ๓,๖๐๐ เมตร พบน้ำมันดิบมีอัตราการไหลวันละ ๔๐๐ บาร์เรล หลุมที่ ๒ อยู่ในพื้นที่ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร มีความลึก ๑,๙๖๐ เมตร พบน้ำมันดิบมีอัตราการไหลวันละ ๗๐๐ – ๔,๑๐๐ บาร์เรล และพบก๊าซธรรมชาติปนออกมากับน้ำมันดิบในอัตราส่วนประมาณ ๗๒๐ ลูกบาศก์ฟุตต่อน้ำมันดิบ ๑ บาร์เรล จากการทดสอบพบว่าพื้นที่ตำบลลานกระบือ มีปริมาณน้ำมันมากเพียงพอที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ จึงได้มีการเจาะเพิ่มอีกจำนวน ๙ หลุม จากการประเมินผลในชั้นต้นคาดว่าจะมีน้ำมันดิบถูกกักอยู่ในโครงสร้างลานกระบือทั้งหมดประมาณ ๑๙๖ ล้านบาร์เรล ในจำนวนนี้สามารถจะผลิตน้ำมันขึ้นมาใช้ได้โดยกรรมวิธีธรรมดาประมาณ ๓๐ ล้านบาร์เรล ผลผลิตขั้นต้นจากหลุมประเมินผล ซึ่งได้ดัดแปลงเป็นหลุมผลิตคาดว่าในขั้นต้นจะผลิตน้ำมันดิบได้วันละประมาณ ๕,๐๐๐ บาร์เรล และจะเพิ่มเป็นวันละ ๒๐,๐๐๐ บาร์เรล ภายในระยะ ๒ ปีถัดไป ผลจากการค้นพบแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชรครั้งนั้น ถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญในวงการน้ำมันของไทย พร้อมกับเป็นช่วงเวลาสำคัญ เนื่องจากเป็นโอกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประเทศชาติและประชาชน รัฐบาลในขณะนั้นโดยนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระนามาภิไธย “สิริกิติ์” เป็นชื่อแหล่งเจาะสำรวจน้ำมันและตั้งชื่อน้ำมันว่า “น้ำมันดิบเพชร” ตามชื่อจังหวัดกำแพงเพชร ในคราวนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธานในการเปิดแหล่งน้ำมัน “สิริกิติ์” ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ . . . เรียบเรียงโดย นางสาวพัชราภรณ์ สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. (๒๕๔๔). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. นรม ๑.๑.๕.๑/๓๔๘ เอกสารคำกราบบังคมทูลรายงาน ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในวโรกาสเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิดแหล่งน้ำมัน “สิริกิติ์” (๑๒ ม.ค. ๒๕๒๖) หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. ภ นรม ๑.๑.๑.๓/๑๓๗ ภาพกองงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภาพพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรับมอบน้ำมันดิบจากโรงกลั่นน้ำมันบางจาก หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. ภ นรม ๑.๑.๑.๓ (อ.๗๕) ภาพที่ ๑๔ ใน ๑๐๓ ภาพ ภาพสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จแหล่งผลิตน้ำมันสิริกิติ์ ลานกระบือ กำแพงเพชร


บรรณานุกรม หนังสือหายาก ชื่อหนังสือ  อนุสรณ์พิธีมหากุศลพุทธาภิเศกเฉลิมสมโภช วัดมังกรกมลาวาส(เล่งเนยยี่)



***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 16(7)     ฉบับที่ 665(259)    วันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2534


สมัยก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1209 ศฏ ปีมะแมพ่อขุนรมคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีเมื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้...



ชื่อเรื่อง                           วิมานวตฺถุ (พระวิมานวัตถุเผด็จ)สพ.บ.                                  173/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 56.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี    


ชื่อเรื่อง                                อานิสงส์โกนจุก (อานิสงส์โกนจุก)สพ.บ.                                  118/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               ขนบธรรมเนียม ประเพณีลักษณะวัสดุ                           18 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 โกนจุก                                           ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรไทย  เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข  ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


     พระพิมพ์รูปพระสาวกมีจารึก       จากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง      พระพิมพ์ดินเผา จำนวน ๘ องค์ ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๑ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตก ใกล้เชิงเขาทำเทียม ในพื้นที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบพร้อมกับธรรมจักร แท่นและเสาตั้ง พระพุทธรูปสำริด และประติมากรรมดินเผารูปพระเจ้าสุทโธทนะ       รูปแบบศิลปกรรมของพระพิมพ์ทั้ง ๘ องค์ บางองค์มีสภาพสมบูรณ์สามารถศึกษารูปแบบศิลปกรรมได้ บางองค์ชำรุดเหลือเฉพาะส่วนฐาน สันนิษฐานว่า พระพิมพ์ทุกองค์น่าจะมีรูปแบบเดียวกัน คือเศียรไม่มีอุษณีษะเหมือนพระพุทธรูป ดังนั้นจึงได้รับการตีความว่าเป็นรูปพระสาวก มีพักตร์กลม ขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา นาสิกแบน โอษฐ์แบะ ครองจีวรห่มเฉียง หัตถ์ทั้งสองประสานกันในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานหน้ากระดานเรียบ แผ่นหลังอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมปลายมน พระพิมพ์รูปแบบนี้ยังพบที่เจดีย์พุหางนาคหมายเลข ๑ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ในพื้นที่ตำบลอู่ทอง ด้วย      ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับพระพิมพ์ในกลุ่มนี้คือ ด้านหลังพระพิมพ์จำนวน ๗ องค์ มีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ (ราว ๑,๔๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) แต่ละองค์มีจารึกแตกต่างกัน ซึ่งเป็นพระนามของพระสาวก ได้แก่ สาริปุตฺโต, เมตฺเตยฺยโก, มหาก…, โกลิวีโส, กงฺขาเร..., ...รนฺโต, และ ...ธ...  ซึ่งตรงกับนามพระสาวกในกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” หมายถึงพระสาวกสำคัญ คือ พระอสีติมหาสาวก จำนวน ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์ภาษาบาลีของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ดังนี้  สาริปุตฺโต  คือ พระสารีบุตร มหาก …   หมายถึง มหากสฺสโป หรือ มหากจฺจายโน คือ พระมหากัสสปะ หรือ พระมหากัจจายนะ โกลิวีโส    หมายถึง โสโณ โกฬิวิโส คือ พระโสณโกฬิวิสะ กงฺขาเร...  หมายถึง กงฺขาเรวโต คือ พระกังขาเรวตะ ...รนฺโต     หมายถึง ปุณโณ สุนาปรนฺโต คือ พระปุณณะสุนาปรันตะ  ...ธ...        ไม่สามารถระบุได้      ส่วนพระพิมพ์มีจารึกว่า เมตฺเตยฺยโก อาจการแปลความได้ ๒ แบบ คือ      ๑. หมายถึง พระศรีอาริยเมตไตรย พระอนาคตพุทธ ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป แต่มีข้อสังเกตว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาดังกล่าว (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒) ไม่นิยมสร้างพระศรีอาริยเมตไตรยในรูปลักษณ์ของพระสงฆ์ แต่พระพิมพ์องค์นี้อาจเป็นความนิยมเฉพาะท้องถิ่นก็เป็นได้     ๒. หมายถึง พระติสสเมตเตยยะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” เช่นเดียวกับจารึกด้านหลังพระพิมพ์องค์อื่น ๆ  แต่มีข้อสังเกตว่า นามที่ปรากฏในคัมภีร์คือ ติสฺสเมตฺเตยฺโย ซึ่งมีความแตกต่างจากจารึก เมตฺเตยฺยโก อยู่เล็กน้อย  ปัจจุบันพระพิมพ์กลุ่มนี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เอกสารอ้างอิง ธนกฤต ลออสุวรรณ. การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.  ปีเตอร์ สกิลลิ่งและศานติ ภักดีคำ. จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่องความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี.  สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ ๒, ๒๕๔๖.


เลขทะเบียน : นพ.บ.77/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  66 หน้า ; 4.4 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 47 (52-58) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : พระเจ้า 28 พระองค์ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.138/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  32 หน้า ; 5.5 x 58.4 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 82 (326-329) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.89/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger