ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.39/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มาลยสุตฺต (มาลยสูตร)  ชบ.บ.77/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สงฺคีติกถา (ปถม-ปญฺจมสงฺคายนา)  ชบ.บ.101/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.323/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 43 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130  (329-337) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อฏฺฐงฺมคฺค (มรรค 8)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         ชื่อวัตถุ: แบบร่างศึกษา ต้นแบบปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)       ศิลปิน: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี       เทคนิค: ประติมากรรม (ปลาสเตอร์)       ขนาด: สูง 47 ซม.       อายุสมัย: พ.ศ. 2473 - 2474       รายละเอียดเพิ่มเติม: ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากร กรมศิลปากร  ณ ขณะนั้น ได้รับมอบหมายจากราชสำนักพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ให้เป็นผูู้ปั้นต้นแบบปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สำหรับประดิษฐานบริเวณเชิงสะพานพระพุทธ แบบร่างศึกษาชิ้นนี้ ศาสตราจารย์ศิลป์ ปั้นเพื่อศึกษาสัดส่วนและรายละเอียด ก่อนที่จะขยายเป็นต้นแบบประติมากรรมขนาดเท่าจริงและส่งไปหล่อยังกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ก่อนนำมาประดิษฐานเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 150 ปี เมื่อพุทธศักราช 2475          Title: Étude sculpture for the monument of HM King Somdej Phra Puttha Yodfah (Rama I)        Artist: Corrado Feroci (Silpa Bhirasri) Technique: Sculpture (plaster)        Size: 47 cm. (H.)        Year: 1930 – 1931        Detail: Professor Silpa Bhirasri who worked as a sculptor in the Fine Arts Department of Siam during that time, took charge on sculpting prototype model for the monument of His Majesty King Somdej Phra Puttha Yodfah (Rama I) which will be constructed nearby a new bridge (Phra Puttha Yodfah Bridge), this task was given by Siamese court in the reign of HM King Prajadhipok (Rama VII), to celebrated 150th years anniversary of Bangkok establishing or “Rattanakosin” as the new capital city on east bank of Chao Phraya river. Professor Silpa Bhirasri sculpted this étude sculpture as an early draft, and then a final or a monumental size prototype was sculpted, and was transported to Milan, Italy, for bronze casting process, and finally shipped back to installed in Siam in 1932.



โบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา #โบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล มีปราสาทประธาน 3 หลัง เรียงกันตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปราสาททั้ง 3 หลัง มีประตูทางเข้าเฉพาะด้านทิศตะวันออก ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัยตั้งอยู่ ศาสนสถานถูกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และคูน้ำเว้นทางเข้าตามแนวแกนทิศด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก ใช้วัสดุศิลาแลงและหินทราย ทั้งนี้ ปรากฏภาพสลักทับหลังที่น่าสนใจ ที่ติดกับตัวงปราสาท จำนวน 6 ชิ้น ดังนี้ #ชิ้นที่1 ทับหลังปราสาทหลังกลาง #สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประทับนั่งในท่ามหาราช (นั่งชันเข่า) ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันออก ประทับยืนอยู่เหนือหน้ากาล ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่2 ทับหลังปราสาทหลังทิศเหนือ #สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า อยู่ในกรอบซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่3 ทับหลังบรรณาลัยด้านทิศใต้ #สลักภาพบุคคลไว้เครา ประทับนั่ง ขนาบข้างด้วยสตรี ซ้ายและขวา ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่4 ทับหลังบรรณาลัยด้านทิศเหนือ #สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า มือขวาถือดาบ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย ขนาบด้วยสิงห์มือจับท่อนพวงมาลัย สันนิษฐานว่าเป็นเทพผู้ปกปักรักษาศาสนสถานแห่งนี้ #ชิ้นที่5 ทับหลังฝั่งตะวันออกของโคปุระด้านตะวันตก #สลักภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ เหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล #ชิ้นที่6 ทับหลังฝั่งตะวันออกของโคปุระด้านตะวันตก #สลักภาพพระวรุณทรงหงส์ ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันตก ยืนอยู่เหนือหน้ากาล ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล จากรูปแบบศิลปกรรมของภาพสลักทับหลัง มีลักษณะคล้ายกับทับหลังศิลปะเขมร แบบาปวน จึงกำหนดอายุสมัยโบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล มีอายุอยู่ในช่วง ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 หลายคนคงสงสัยว่า #ทับหลังแบบบาปวน ดูจากอะไร? ขอให้ทุกคนสังเกต โครงสร้างหลักของทับหลังแบบบาปวน คือ หน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านล่างของทับหลัง เหนือหน้ากาลมีรูปบุคคล ซึ่งอาจมีพาหนะหรือไม่ก็ได้ หน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยวกขึ้นแล้วตกลงเป็นกรอบสี่เหลี่ยม ใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ม้วน เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ตั้ง ทั้งนี้อาจมีรูปแบบอื่นปรากฏ เช่น สลักเป็นภาพเล่าเรื่อง นั่นเอง ติดกันด้านทิศเหนือ ยังมี #ปราสาทนางรำ ซึ่งเป็น โบราณสถานประเภท “อโรยคศาล” หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วยนะครับ หากมีโอกาส ลองแวะเวียนไปเยี่ยมชมกันดูนะครับ ทั้งนี้ “กู่พราหมณ์จำศีล” และ “ปราสาทนางรำ” เป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณเป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก มาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีศาสนสถานขนาดใหญ่ อย่างกู่พราหมณ์จำศีล เป็นศาสนสถานประจำชุมชน และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 จึงมีดำริให้สร้างโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ข้อมูลโดย นายวรรณพงษ์ ปาะละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ เอกสารอ้างอิง -กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร. 2535 -รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ปราสาทขอมในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน. 2551.


ชื่อผู้แต่ง          สำนักราชเลขาธิการ  ชื่อเรื่อง           ประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในโอกาสต่างๆตั้งแต่พุทธศักราช 2498 – 2508   ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       พระจันทร์ ปีที่พิมพ์          2516 จำนวนหน้า      232  หน้า รายละเอียด                    สำนักราชเลขาธิการรับพระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือประมวลพระราชดำรัสและ        พระบรมราโชวาทที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ  ตั้งแต่พุทธศักราช 2498 จนถึง พ.ศ. 2508  สำรับพระราชทานแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายจำนงราชกิจ  (จรัญ  บุณยรัตนพันธุ์) ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลา อิศริยาภรณ์  วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2516  เป็นหนังสือที่มีประโยชน์และ มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องถึงนายจำนงราชกิจ ในฐานะที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณในสำนักราชเลขาธิการยั่งยืนมาช้านานตลอดชีวิต 


ชื่อผู้แต่ง        - ชื่อเรื่อง         พระอภิธรรม – พระมหาชัย ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    - สำนักพิมพ์      - ปีที่พิมพ์         - จำนวนหน้า   ๑๕๘ หน้า หมายเหตุ.    - (เนื้อหา)            พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ประกอบด้วยพระสังคิณี พระวิภังค์ พระธาตุกถา พระบุคคลบัญญัติ พระกถาวัตถุ พระยมก และพระมหาปัฏฐาน พระมหาชัยเป็นบทสวดเพื่อความเป็นสิริมงคล ชนะแก่ศัตรูหมู่มาร ทั้งปวง


แนะนำหนังสือหายากจดหมายจางวางหร่ำเล่มนี้ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์เอก พระยาเกษตรรักษา (เจียง โปษะกฤษณะ)เป็นพระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นวรรณกรรมคำสอนในรูปแบบของจดหมายจากพ่อ คือ นายจางวางหร่ำ เศรษฐีเมืองฉะเชิงเทรา ไปถึงลูกชาย นายสนธิ์ ผู้ออกไปเรียนวิชาอยู่ในเมืองอังกฤษ จดหมาย 7 ฉบับ ที่ถ้อยคำในเล่มแม้สำนวนจะดูเก่าตามยุคสมัย เนื่องจากผ่านกาลเวลามายาวนาน แต่เนื้อหาคำสอนยังคงไม่ล้าสมัย ให้ข้อคิดเตือนใจในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การใช้เงิน การมีครอบครัวได้จนถึงปัจจุบันจดหมายฉบับที่ 1 ถึงนายสนธิ์ บุตร์ ผู้ออกไปเปนนักเรียนอยู่ในประเทศอังกฤษจดหมายฉบับที่ 2 มีถึงบุตร์ชาย เมื่อได้เห็นใช้เงินฟุ่มเฟือยนักจดหมายฉบับที่ 3 ถึงนายสนธิ์ ผู้บุตร์ ผู้ได้บอกว่าจะขอไปเรียนยุนิเวอร์ซิตี เมื่อไล่ได้เปน บี.เอ. แล้วจึงจะกลับจดหมายฉบับที่ 4 มีถึงนายสนธิ์ผู้บุตร์ เมื่อนายสนธิ์บอกเข้ามาว่าเวลากลับจากยุโรป จะขออ้อมกลับทางอเมริกาแลญี่ปุ่น ด้วยการเที่ยวดูภูมิฐานบ้านเมืองต่างประเทศ ย่อมนับว่าเปนการเรียนวิชาประเภทหนึ่งเหมือนกันจดหมายฉบับที่ 5 เขียนถึงนายสนธิ์ ผู้บัตร์ เมื่อนายสนธิ์ขอถอนคำเรื่องที่คิดจะกลับอ้อมทางอเมริกาและญี่ปุ่น อนึ่งเมื่อได้เขียนจดหมายฉบับที่ 4 ไปถึงบุตร์ชายแล้ว จางวางหร่ำก็ออกจากฉะเชิงเทราไปธุระทางเชียงใหม่ นายสนธิ์กลับมาจากยุโรปยังไม่ได้พบกับบิดา แต่ได้เข้าทำการในบริษัทไม่สู้พอใจอยู่บ้าง จึงเขียนหนังสือฟ้องไปยังบิดาจดหมายฉบับที่ 6 เขียนถึงนายสนธิ์ ผู้บัตร์ เมื่อได้ทราบว่าลูกชายคิดจะมีเมียจดหมายฉบับที่ 7 (ฉบับที่ผู้แต่งเขียนเพิ่มขึ้น)"การที่จะเรียนวิชาได้ด้วยวิธีใดนั้นไม่สำคัญ ข้อสำคัญอยู่กับตัวผู้เรียนต่างหาก เปรียบเหมือนแตงกวาจะดองด้วยน้ำซ่มฝรั่งก็ได้ ดองด้วยน้ำกระเทียมก็ได้ เมื่อดองแล้วอร่อยทั้งสองอย่าง ข้อสำคัญคือ แตงกวาที่เอาลงดองจะต้องเปนแตงที่ยังไม่เน่า บุคคลที่สืบเสาะร่ำเรียนวิชาก็เหมือนแตงกวาดอง ถ้านิสัยใจคอมันเน่าเสียแล้วถึงจะร่ำเรียนด้วยวิธีใด มันก็คงไม่เปนเรื่องทั้งสิ้น"สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่ออ่านในรูปแบบ e-book ได้ค่ะ


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ทิศทางการพัฒนากับก้าวสู่ปีที่ ๗๐ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ” วิทยากรโดย นางณิชชา จริยเศรษฐการ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นายนภดล ภู่ชัย ผู้อำนวยการกลุ่มบันทึกเหตุการณ์ และนางภาวิดา สมวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์เอกสาร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร


          วัดสุริโย หรือ วัดสุริโยกำแมด หมู่ที่ ๑ บ้านกำแมด ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร     ตามประวัติระบุว่าตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์     พ.ศ. ๒๔๖๓ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ อุโบสถ (สิม) หลังเก่า            อุโบสถ (สิม) หลังเก่า ตามประวัติระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยพระปลัดสี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น พร้อมคณะศิษย์และชาวบ้าน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมได้รับอิทธิพลญวน ดังจะเห็นได้จากเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทำวงโค้งประดับระหว่างช่วงเสาและเหนือขอบหน้าต่าง ระหว่างช่วงเสาผนังด้านนอกทำปูนปั้นลายท่อนพวงมาลัยห้อยอุบะประดับ ทาสีน้ำเงิน สีเหลืองสีแดง ตกแต่งปูนปั้นเป็นหลัก           ตัวอาคารมีขนาด ๓ ห้อง ทำมุขด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นที่กึ่งกลางด้านผายออก หัวเสาประดับด้านหน้าทำเป็นบัวแวงทาสี ถัดขึ้นไปเป็นขอบหน้าบันมีข้อความเขียนด้วยสีน้ำเงินว่า “ต่อมา (อ.จ.ท พันธ์) ทำลาย พ.ศ. ๒๔๙๐ สิมานี้ (พระปลัดสี) พร้อมศิษย์และชาวบ้าน สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๒” ถัดขึ้นไปเป็นหน้าบันประดับปูนปั้นรูปเทพเทวาผุดจากดอกบัว มือทั้งสองข้างถือเครื่องสูง และทำลายเครือเถาประดับทั้งสองข้าง หน้าบันด้านหลังทำเป็นปูนปั้นรูปหนุมาน ไม่มีลายอื่นใดประกอบ ในอดีตน่าจะมุงด้วยแป้นเกล็ดหรือกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันมุงด้วยสังกะสี           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดสุริโย (วัดกำแมด) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๒๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา ------------------------------------------------------------------ อ้างอิงจาก กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,  ๒๕๓๘. หน้า ๔๕๒   ------------------------------------------------------------------ ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี  




          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ และร่วมฟังการเสวนาวิชาการ เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕  เรื่อง "จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี" โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการและงานเสวนาในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ ณ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ วิทยากรโดย  รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา  นายเจตน์กมล วงษ์ท้าว นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี  และพันเอกปราโมทย์ เกตุอำไพ ผู้จัดการศาลพระกาฬ ดำเนินรายการโดย นางสาวนันทลักษณ์ คีรีมา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์           นิทรรศการพิเศษ "จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี" จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๒๙ กันยายน - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์  เปิดให้เข้าชมวันพุธ - วันอาทิตย์ ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.  ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร



Messenger