ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "ทีฆายุวัฒนมงคล 100 ปี ศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต" ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบอายุ 100 ปี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส  โดยเนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย ประวัติชีวิตและการทำงาน รางวัลและเกียรติคุณ คุณูปการที่มีต่องานสำคัญ ๆ ของประเทศชาติและนานาชาติ ทั้งด้านวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และห้องสมุด ด้านการศึกษา ด้านการประพันธ์และแปลหนังสือ           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://www.nlt.go.th/service/1552


ชื่อเรื่อง                                   สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                      25/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย                คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                 พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                            44 หน้า : กว้าง 4.6 ซมง ยาว 55.8 ม.หัวเรื่อง                                    พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


พระพุทธรูปประทับยืนเหนือพนัสบดีที่สุโขทัย.พระพุทธรูปประทับยืนเหนือพนัสบดีองค์นี้พบที่วัดตระพังมะพลับ (วัดตระพังพลับ, โบราณสถานร้าง ก.38, AT.C4) ตั้งอยู่ห่างจากประตูอ้อมาทางทิศตะวันออกประมาณ 300 เมตร โบราณสถานภายในวัดประกอบด้วยฐานวิหารก่ออิฐ และฐานเจดีย์รายขนาดเล็กก่ออิฐจำนวน 6 ฐาน โดยประติมากรรมที่พบมีลักษณะเป็นพระพุทธเจ้าประทับยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงปางแสดงธรรม ครองจีวรห่มคลุมแนบพระวรกาย พระพักตร์แบน พระขนงทั้งสองต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา มีบุคคลยืนขนาบทั้งสองข้าง ด้านล่างคือ พนัสบดีที่ทำหน้าที่เป็นฐานรองพระพุทธเจ้า ซึ่งเชื่อว่าเป็นการรวมกันของสัตว์ทั้งสามคือ หงส์ โค และครุฑ ทั้งนี้ประติมากรรมพระพุทธรูประทับยืนเหนือพนัสบดีนั้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษของศิลปะทวารวดี ซึ่งเหตุที่ประติมากรรมชิ้นนี้มาพบที่โบราณสถานในเมืองสุโขทัยนั้น สันนิษฐานได้ว่าอาจมีการเคลื่อนย้ายมา เนื่องด้วยขนาดของประติมากรรมมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก.คำว่า พนัสบดี นี้ มีที่มาจากคำว่า Vanaspati สันนิษฐานว่าหมายถึง เจ้าป่า ซึ่งการทำพระพุทธเจ้าประทับเหนือพนัสบดีอาจเป็นการสื่อความหมายว่า พระพุทธเจ้าได้รับการยอมรับในหมู่สรรพสัตว์ ทั้งนี้ พนัสบดีนั้นมีลักษณะเป็น สัตว์ที่มีเขาและหูแบบโค มีปากคล้ายครุฑ และมีปีกเป็นหงส์ และยังมีการพบเป็นสัตว์ผสมชนิดอื่นๆ อีกเช่น สิงห์มีปีกและเขา ครุฑ หน้ากาล และรูปบุคคล เป็นต้น และองค์ประกอบโดยรวมของพระพุทธรูปปางนี้จะเหมือนกันคือ พระพุทธเจ้าประทับยืนอยู่ตรงกลาง มีบุคคลถือแส้ประกบอยู่ทั้งสองข้าง หรืออาจประทับยืนองค์เดียวเหนือพนัสบดี เช่นที่พบที่เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี.ที่มาหรือนัยยะของการสร้างประติมากรรมพนัสบดีนี้ มีผู้สันนิษฐานว่าอาจมาจากพระพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทั้งนี้ ศ.ฌอง บวสเซอลิเยร์ ไม่เชื่อว่าเป็นตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะในคัมภีร์หรืองานศิลปกรรมตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ไม่เคยปรากฏภาพพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์โดยประทับเหนือสัตว์เหล่านี้เลย หรืออาจเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่าศาสนาพุทธอยู่เหนือศาสนาพราหมณ์ เพราะเชื่อว่าเป็นการนำเอาพาหนะของเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์มาผสมกัน คือ ปากเป็นครุฑ (พาหนะของพระนารายณ์) หูและเขาเหมือนโค (พาหนะของพระศิวะ) และปีกเป็นหงส์ (พาหนะของพระพรหม) ซึ่งแนวความคิดการสร้างประติมากรรมแสดงความยิ่งใหญ่เหนือศาสนาพราหมณ์นั้น ได้พบที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี หรืออินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-17 ก็ปรากฏงานศิลปะที่พยายามแสดงถึงการข่มกันของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ซึ่งอาจมีการแพร่แนวคิดนี้เข้ามาในทวารวดีก็เป็นได้ นอกจากนี้ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้เสนอว่า ประติมากรรมนี้อาจสร้างขึ้นในลัทธิมหายาน นิกายสุขาวดี ที่พบในประเทศจีน โดยภาพบุคคลที่ปรากฏทั้งสองข้างของพระพุทธเจ้าก็คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กับพระโพธิสัตว์สถามาปราปตะ โดยพระพุทธเจ้าจะประทับอยู่เหนือครุฑเพื่อเสด็จลงมานับดวงวิญญาณของผู้ที่พ้นทุกข์ แต่ทั้งนี้ นิกายสุขาววดีไม่เคยปรากฏว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่เหนือสัตว์ที่เป็นพาหนะใดๆ ส่วนใหญ่จะประทับอยู่เหนือก้อนเมฆ รวมทั้งยังไม่เคยพบหลักฐานว่าศิลปะทวารวดีมีความเกี่ยวข้องกับลัทธิสุขาวดีที่นิยมในจีน เกาหลี และญี่ปุ่นเลย หลักฐานที่พบโดยส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นลัทธิเถรวาทที่มีความใกล้เคียงอินเดียเป็นอย่างมาก.เอกสารอ้างอิง1) กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง. กรุงเทพ : บริษัท ประชาชน จำกัด.2) ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ทวารวดี ศิลปกรรมยุคเริ่มแรกในดินแดนไทย. เอกสารคำสอน รายวิชา 317 403 ศิลปะในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6-14. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. (อัดสำเนา)3) ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542.4) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร, 2561.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 128/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 164/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           18/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี นำเสนอ องค์ความรู้ เตาเผาบ้านเตาหม้อ


ชื่อผู้แต่ง             ธนิต  อยู่โพธิ์ ชื่อเรื่อง               อุดมคติอันแตกต่างกัน ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๑ จำนวนหน้า         ๔๙  หน้า                          อุดมคติอันแตกต่างกัน เป็นความรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายหินยานและมหายาน พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นพระธรรมคำสอนของพระโคดมศากยมุนีที่เกิดขึ้นในอินเดีย เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว อาจแบ่งเป็น ๔ สมัย คือ ก.พระพุทธศาสนาแบบแรกเริ่ม ข.พระพุทธศาสนาแบบหินยาน ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๑๐๐ ถึงราว พ.ศ. ๖๐๐ ค.พระพุทธศาสนาทั้งแบบหินยานและแบบมหายาน ต่างกำลังรุ่งเรืองด้วยกัน ง.พระพุทธศาสนาแบบมหายานสมัยรุ่งเรืองที่สุด



เลขทะเบียน : นพ.บ.444/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 76 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : พระธาตุวิภังคกถา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.588/4                          ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 190  (378-384) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : อภิธรรม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเรื่อง "การใช้พื้นที่ภายในคุ้มหลวงนครน่าน"ในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่านแป้นเกล็ด ฉบับที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid0KcZBdwciL8GQtce6stW5q5...



          พูดจา “ภาษาเพชร” โดย ทองใบ แท่นมณี            “ภาษา” คือ ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่นเดียวกันกับ “ภาษาถิ่น” ที่จะเป็นเอกลักษณ์และสื่อให้เห็นถึงตัวตนของท้องถิ่นนั้น ๆ จังหวัดเพชรบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีภาษาถิ่นเพชรบุรีหรือภาษาเมืองเพชร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นสำเนียงซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษ            ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัวของภาษาถิ่นเมืองเพชร คือ การพูดเสียงเหน่อ เรียกกันว่า “เหน่อเพชรบุรี” โดยเอกลักษณ์ของระดับเสียงเหน่อเมื่อเทียบกับเสียงภาษากลางแล้ว เทียบได้โดยผ่านการออกเสียงของวรรณยุกต์  ยกตัวอย่างเช่น การออกเสียงวรรณยุกต์ของภาษาถิ่นเมืองเพชร ถ้าจะเทียบกับภาษากลางแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็น “การออกเสียงวรรณยุกต์แบบถอยหลัง” เช่น เสี่อน ถอยระดับเสียงจาก เสี้ยน, อ่วน ถอยระดับเสียงจาก อ้วน (ซึ่งจะแตกต่างจากเสียงเหน่อกาญจนบุรี              สุพรรณบุรี ที่มักเป็น “การออกเสียงวรรณยุกต์แบบเดินหน้า” เช่น ด่ากัน เป็น ด้ากั๋น, พ่อแม่ เป็น พ้อแม้ เป็นต้น) และในบางเสียงเมื่อเทียบกับภาษากลาง จะออกเสียงวรรณยุกต์แบบข้ามระดับ เช่น จากเสียงสามัญ ไปเสียงจัตวา เช่น น้วล ข้ามระดับเสียงจากคำว่า นวล, เถ้าแก๋ ข้ามระดับเสียงจากคำว่า เถ้าแก่           ซึ่งความน่าสนใจเกี่ยวกับภาษาถิ่นเมืองเพชร ก็คือ ลักษณะของรูปประโยค โดยจะขอเริ่มจากการใช้ประโยคปฏิเสธ คำว่า “ไม่” โดยทั่วไปแล้วมักใช้เป็นคำปฏิเสธ อย่างเช่น ไม่เอา ไม่กิน ไม่สวย แต่สำหรับภาษาถิ่นเมืองเพชรแล้วคำว่า “ไม่” ในรูปประโยคปฏิเสธจะค่อนข้างแตกต่างจากภาษากลางที่ใช้โดยทั่วไป กล่าวคือ ภาษาถิ่นเมืองเพชร ใช้คำว่า “ไม่” ตามหลังคำที่ปฏิเสธและเปลี่ยนวรรณยุกต์ของคำหน้า “ไม่” เป็นเสียงตรี ยกตัวอย่าง                   ไม่กิน คนพื้นเมืองเพชรบุรีพูดว่า กิ๊นไม่                ไม่เอา คนพื้นเมืองเพชรบุรีพูดว่า เอ๊าไม่                ไม่สวย คนพื้นเมืองเพชรบุรีพูดว่า ซ้อยไม่                ไม่ร้อน คนพื้นเมืองเพชรบุรีพูดว่า ร้อนไม่             กรณีฟังเสียงจริง ๆ คำว่า “ไม่” อาจจะเลือนแผ่วเหลือแต่เสียงตัว ม ม้า ซึ่งสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยอาจเข้าใจว่าไม่ได้ปฏิเสธ สำหรับวิธีการพูดปฏิเสธของคนเพชรบุรีเอง ก็มีความบังเอิญตรงกับการพูดปฏิเสธของกะเหรี่ยงเผ่าปโว (ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี) อีกด้วย นอกจากนี้ ได้มีความคิดเห็นเกี่ยวประเด็นนี้ว่า คนเพชรบุรี คงพูดปฏิเสธตามแบบไทยโบราณ ที่พูด “หา . . . ไม่” เช่น ประโยคพูดที่ว่า “เขา หา ได้ทำร้ายผู้ใด ไม่ (เขาไม่ได้ทำร้ายผู้ใด)” หรือ “หา เป็นไร ไม่ (ไม่เป็นอะไร)” เป็นต้น           อีกหนึ่งวิธีการพูดปฏิเสธ โดยจะใช้คำว่า ฮึ หรือ ฮึอึ้ เป็นคำตอบที่ใช้ในการปฏิเสธ ซึ่งแปลว่า “ไม่” แต่ไม่ค่อยนิยมใช้นัก เพราะเป็นคำที่ไม่สุภาพมากนัก           ต่อมาเป็นการใช้ประโยคคำถามในภาษาถิ่นเมืองเพชร โดยทั่วไปคำที่ใช้ลงท้ายในประโยคคำถามเป็นคำที่ใช้กับคำที่ใช้ในภาษาเขียน ไม่นิยมใช้ในภาษาพูด โดยคำที่ต่อท้ายประโยคคำถามที่ปรากฏให้เห็นอยู่ก็จะมีคำว่า “หรือ” “รึ” “เหรอ” แต่สำหรับชาวพื้นเมืองเพชรบุรีใช้กันหลากหลายเสียง เช่น เหรี่ย, หรี่, เหยี่ย, เหร่, เหร่อ ตัวอย่างประโยค เช่น                  ไปนามาเหรี่ย ? (ไปนามาหรือ)                กิ๊นไม่หรี่ ? (ไม่กินหรือ)                เอ๊าไม่เหร่ ? (ไม่เอาหรือ)                มาแล้วเหร่อพ่อตัวดี ? (มาแล้วรึพ่อตัวดี)              เรื่องราว “ภาษาถิ่นเมืองเพชร” ที่ได้เรียบเรียงขึ้นมา เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือของ “อาจารย์ทองใบ แท่นมณี” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาของจังหวัด ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อต้องการส่งเสริมการใช้และสืบทอดภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ให้เป็นมรดกทางวัฒธรรมที่สำคัญของชาติต่อไป     เอกสารสำหรับการสืบค้น       ทองใบ แท่นมณี.  (2552).  พูดจา ภาษาเพชร. พิมพ์ครั้งที่ 4.  เพชรบุรี : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี. .


Messenger