ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


             กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เปิดลายแทงบูชาพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ” วิทยากร นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร             รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗


สำนักนายกรัฐมนตรี.  ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักทำนียบนายกรัฐมนตรี, 2514.


ผู้แต่ง : วิชัย ตันกิตติกร ปีที่พิมพ์ : 2533 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร     วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นโบราณสถานที่สำคัญในภาคเหนือตอนบน ภายในหนังสือ นำชมกลุ่มโบราณสถานวัดป่าสัก เล่มนี้จะมีเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและลักษณะทางศิลปกรรมของวัดป่าสักพร้อมภาพถ่ายประกอบของสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจในวัดเพื่อให้ผู้ที่สนใจในหนังสือและวัดป่าสักสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมือนำชมได้ด้วยตัวเองและได้เห็นภาพของวัดจะได้ช่วยให้เข้าใจมายิ่งขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2562 ครบรอบ 22 ปี หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลให้หอสมุด และเจ้าหน้าที่ มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่ที่มอบความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการไปอีกยาวนาน


พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง สุพรรณบุรี: www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรีนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี นับตั้งแต่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเมืองสุพรรณบุรีในอดีตหลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรี      ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ลพบุรี อยุธยา และรัตนโกสินทร์เหตุการณ์ยุทธหัตถีกลุ่มชนต่างๆที่อาศัยในจังหวัดสุพรรณบุรีประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีตวรรณกรรมสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีเพลงพื้นบ้านหรือเพลงลูกทุ่ง จนถึงสุพรรณบุรีในวันนี้      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำเมือง เมื่อปีพุทธศักราช 2538 เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสนองแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานให้กรมศิลปากรเพิ่มสาขาวิชาอื่นๆ ในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ      การจัดแสดงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี มีลักษณะของการผสมผสานระหว่างการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ กับสื่อจัดแสดงประเภทต่างๆ เช่น หุ่นจำลอง ระบบโสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับทั้งความรู้ และความเพลิดเพลิน โดยแบ่งหัวข้อการจัดแสดงเป็นห้องต่างๆ      เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น มีพื้นที่ภายในประมาณ 3,200 ตารางเมตร ประกอบด้วย ส่วนสำนักงาน ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องประชุมสัมมนา ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ ห้องศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้า และส่วนให้บริการประชาสัมพันธ์


เทปบันทึกการถ่ายทอดสดสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๕๘ เรื่อง “เทวสตรี : คติพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อในประเทศไทย” เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 


เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙ ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 22 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


เนื่องวันพิพิธภัณฑ์ไทย ปี ๒๕๕๘ นี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงได้จัดนิทรรศการพิเศษเรื่อง “การสื่อความหมายจากโบราณวัตถุ” มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอเรื่องราวของล้านนา โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับ คน และชุมชน ทั้งวิถีชีวิต ความเชื่อ ความศรัทธา โดยให้โบราณวัตถุเป็นผู้สื่อเรื่องราวและความหมายด้วยตนเอง และนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้จากการดำเนินการทางโบราณคดี และการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานในจังหวัดเชียงใหม่ มาจัดแสดงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในอดีตที่เก็บซ่อนอยู่ในโบราณวัตถุแต่ละชิ้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้ขยายเวลาเปิดนิทรรศการพิเศษฯ จนถึงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารสำนักงาน (เดิม) เปิดให้เข้าชมวันพุธ - อาทิตย์ หยุดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ติต่อสอบถาม ๐๕๓ - ๒๒๑ - ๓๐๘ ต่อ ๑๒



ปราสาทตาเมือนธม   ที่ตั้ง บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์   อายุสมัย  อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖   รายละเอียด             ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ก่อสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง ๓ องค์ ประกอบด้วย ปราสาทประธานขนาดใหญ่ แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ภายในห้องกลางปราสาทประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ(พระอิศวร) เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ลักษณะของศิวลึงค์นี้ตกแต่งจากแท่งหินทรายธรรมชาติที่มีรูปร่างคล้ายศิวลึงค์ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้มาแต่เดิม ภายหลังจึงสร้างปราสาทครอบ สันนิษฐานว่านี้น่าจะเป็นศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเอง เรียกว่า “สวายัมภูลึงค์” ซึ่งเป็นศิวลึงค์ที่สำคัญที่สุดของลัทธิไศวนิกาย ตัวปราสาทมีซุ้มประตู ๔ ทิศ ประตูมุขด้านทิศใต้ต่อเข้ากับมุขหน้าหรือมณฑปยื่นออกมา โดยแบ่งเป็น ๓ คูหา หลังคาทำด้วยหินทราย ปราสาทประธานมีการสลักลวดลายที่บริเวณฐาน โดยสลักเป็นรูปเทวรูปยืน นอกจากนี้ยังพบทับหลังหินทรายสลักภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ภายในซุ้มบนแท่นเหนือหน้ากาลที่คายท่อนพวงมาลัย        ปราสาทบริวาร หรือ ปรางค์น้อยมี ๒ องค์ สร้างด้วยหินทราย ตั้งอยู่ด้านหลังเยื้องไปทางซ้ายและขวาของปราสาทประธาน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีซุ้มประตูเข้าออกอยู่ด้านทิศใต้ ส่วนอีก ๓ ด้านทำเป็นประตูหลอก        บรรณาลัย จำนวน ๒ หลัง  สร้างด้วยศิลาแลง  หลังหนึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนอีกหลังหนึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส        ปราสาทประธาน ปรางค์บริวาร และบรรณาลัย มีระเบียงคดล้อมรอบ ซุ้มประตู(โคปุระ) สร้างด้วยหินทราย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช่องทางเดินภายในกว้างประมาณ ๑.๔๐ เมตร มีซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน  โดยซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก มีลักษณะเหมือนกัน ส่วนซุ้มประตูด้านทิศใต้จะมีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นซุ้มประตูหลัก โดยแบ่งออกเป็น ๓ คูหา คูหากลางมีแผนผังเป็นรูปกากบาท มีหน้าต่างติดลูกกรงหินและบริเวณระเบียงคดนี้ได้พบศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ใช้ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ มีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระศิวะและกล่าวถึงนามของทาสและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาเทวสถานแห่งนี้(อ่านแปลโดยนางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร)        นอกจากนี้ยังพบท่าน้ำสร้างด้วยหินทรายนอกระเบียงคดด้านทิศใต้ ห่างออกไปประมาณ ๑๐ เมตร และสระน้ำกรุด้วยศิลาแลงสอบลงไปถึงก้นสระ อยู่บริเวณนอกระเบียงคดทิศตะวันตกเฉียงเหนือ        เมื่อพิจารณาจากลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ศิลาจารึก ประติมากรรมรูปเคารพ และลวดลายบนทับหลังที่พบที่ปราสาทแห่งนี้ กล่าวได้ว่า ปราสาทตาเมือนธมเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ศิลปะขอมแบบบาปวน        ปัจจุบันปราสาทตาเมือนธมได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้ว และโบราณวัตถุบางส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์   การเดินทางจากอำเภอเมืองสุรินทร์ ถนนหมายเลข ๒๑๔ ถึงอำเภอปราสาทเลี้ยวขวาเข้าถนนหมายเลข ๒๔ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข ๒๓๙๗ เลี้ยวขวาเข้าถนนหมายเลข ๒๒๔ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข ๒๔๐๗ ระยะทาง ๘๒.๗ กิโลเมตร    


บริเวณทางเข้าชมการจัดแสดง จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรีในอดีต ได้แก่ ข้อความในจารึกหลักต่าง ๆ ที่มีข้อความกล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณบุรี อาทิ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารึกลานทองสมัยอยุธยา พบที่วัดสองคบ จังหวัดชัยนาท และหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น จัดแสดงพัฒนาการของเมืองตั้งแต่สมัยก่อนสุพรรณบุรี ประวัติศาสตร์ กระทั่งเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยทวารวดี ลพบุรี อยุธยา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตามลำดับโดยจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดี และโบราณสถานสำคัญต่างๆ ในจังหวัด


กิจกรรม "ลานวัฒนธรรม นำน้องน้อยย้อนรอยอดีต" ครั้งที่ ๖   ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระปฐมเจดีย์


วันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๒ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา จัดกิจกรรม "การซ่อมและสงวนรักษาหนังสือ" ภายใต้โครงการเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนเพื่อการบำรุงรักษาและซ่อมแซมหนังสือ ณ หอสมุดเทศบาลตำบลประโคนชัย ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์


Messenger