ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
“บัลลังก์จำลอง” โลหะผสมปิดทอง ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๒
ขนาด กว้าง ๑๖.๘ เซนติเมตร ยาว ๓๖.๘ เซนติเมตร สูง ๓๒.๙ เซนติเมตร
ประวัติ ได้จากการขุดค้นวัดเจดีย์สูง ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเมื่อสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
บัลลังก์จำลอง - อาสนา - ราชอาสน์ - ราชบรรจถรณ์ พร้อมเครื่องสูงสำหรับกษัตริย์ในวัฒนธรรมล้านนา สร้างขึ้นเพื่ออุทิศในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย อาสนาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพนักสูง ประดับเครื่องราชภัณฑ์สำหรับอภิเษกกษัตริย์ ได้แก่ กลด (ฉัตรชั้นเดียว) จามร (แส้ขนจามรี) ระแอบังหมู่วัน (บังสูรย์) วาลวิชนี (พัด) และเขียงเท้า (ฉลองพระบาท) ฉลุลายกลีบบัวคว่ำ ๑ คู่
นอกจากนี้ ในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกายชาดก ภาคที่ ๒ ยังระบุถึง “เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์” (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่า กกุธภัณฑ์ [กะกุดทะ-] น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์... (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้). ประกอบด้วย พัดวาลวิชนี (แส้จามร) อุณหิส (กรอบพระพักตร์) พระขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาทประดับด้วยทอง ส่วนเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในวัฒนธรรมไทย ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน
อ้างอิงจาก หนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เรื่อง “นครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ” สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง นิสัยสินชัย(นิไนสินชัย)สพ.บ. 397/8ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสานเส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ิิ พระพิมพ์ดินดิบแบบศรีวิชัย กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 ขนาดสูง 8.5 เซนติเมตร กว้าง 7 เซนติเมตร วัสดุดินดิบ ศิลปะศรีวิชัย โดยพระพิมพ์แบบนี้มักสร้างจากดินดิบ ด้านหลังมีประทับจารึกคาถา เย ธมฺมา ฯ เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่ง คาถาเย ธมฺมา ฯ นั้นเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ในความเชื่อการสร้างพระพิมพ์ดินดิบจะปั้นดินและมีการกดประทับเพื่อให้เกิดลวดลาย ในเนื้อดินได้มีการตรวจพบมีอัฐิผสมอยู่ ทำให้สันนิษฐานว่า การสร้างพระพิมพ์นี้ นอกเหนือจากการสืบอายุพระพุทธศาสนานั้น จะเป็นการสร้างกุศลให้กับอัฐิบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ให้เจริญอยู่ในพระพุทธศาสนาสืบไป ปัจจุบันจัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันอังคารที่ ๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร รับมอบหนังสือเอกสารทางวิชาการอันทรงคุณค่า และหนังสือหายาก จากศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม และในโอกาสนี้ ท่านอธิบดีและท่านรองอธิบดีได้ร่วมมอบหนังสือเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์และคลังความรู้ทางวิชาการ ณ ห้องสมุดสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ชั้น ๖ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์
เมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณในจังหวัดปราจีนบุรีที่มีพัฒนาการตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือกว่า ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมฟูนัน ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ศรีมโหสถจึงเป็นทั้งเมืองท่าการค้าที่ติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเล ศูนย์กลางการคมนาคมของบ้านเมืองตอนใน และเมืองชายฝั่งทะเลใกล้เคียง เมืองโบราณแห่งนี้จึงมีความหลากหลายในด้านศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้คนจากต่างแดน ทั้งนี้ พบหลักฐานในการประดิษฐานพระพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดเป็นลำดับต้นของประเทศไทย ดังนี้ รอยพระพุทธบาทคู่ที่เก่าที่สุด รอยพระพุทธบาทคู่ โบราณสถานสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ (๑,๓๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) รอยพระพุทธบาทคู่สลักลึกลงในพื้นศิลาแลง ลักษณะฝ่าพระบาทเสมือนรอยเท้ามนุษย์จริงตามธรรมชาติ ทั้งรูปร่างและความยาวของนิ้วพระบาทที่ไม่เสมอกัน กึ่งกลางรอยพระพุทธบาทสลักเป็นรูปธรรมจักรมีกากบาทไขว้ ตรงจุดตัดกากบาทเป็นหลุมสันนิษฐานว่าเป็นหลุมสำหรับปักฉัตร กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทคู่ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง และเป็นร่องรอยหลักฐานการนับถือพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งทั้งในเมืองศรีมโหสถ และดินแดนประเทศไทย พระพุทธรูปที่เก่าที่สุด พระพุทธรูปปางสมาธิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑- ๑๒ (๑,๔๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) พระพุทธรูปปางสมาธิแกะสลักจากหินทราย พบในบ่อน้ำหน้าอาคารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท โบราณสถานสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะของพระพักตร์ และองค์พระพุทธรูปมีรูปแบบที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมฟูนันและศิลปะอินเดียแบบอมราวดี พระคเณศที่เก่าที่สุด พระคเณศหินทราย ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) พระคเณศ เทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ และฮินดู เป็นโอรสของพระศิวะ กับนางปารวตี (พระอุมา) มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากเทพเจ้าองค์อื่น คือ มีเศียรเป็นช้างขณะที่ร่างกายเป็นมนุษย์ พระคเณศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าผู้รอบรู้ และได้รับการยอมรับนับถือในฐานะ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา และเทพเจ้าแห่งอุปสรรค ผู้สร้างและขจัดอุปสรรคทั้งปวง พระคเณศศิลาองค์นี้ พบเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๕ จากโบราณสถานหมายเลข ๒๒ หรือโบราณสถานกลางเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสมัยทวารวดี พระคเณศลักษณะเหมือนช้างธรรมชาติและไม่ทรงเครื่องประดับ เทียบรูปแบบได้กับพระคเณศสมัยก่อนเมืองพระนครในศิลปะเขมร อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถือได้ว่าพระคเณศองค์นี้ เป็นพระคเณศที่เก่าแก่องค์หนึ่งในบรรดาพระคเณศที่พบในประเทศไทย และมีขนาดสูงที่สุด คือ ราว ๑.๗๐ เมตร-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี-----------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ)
สพ.บ. 376/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.39/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สงฺคีติกถา (ปถม-ปญฺจมสงฺคายนา)
ชบ.บ.101/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.321/2กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 129 (321-328) ผูก 2ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ผลงาน: Untitled
ศิลปิน: อินสนธิ์ วงศ์สาม
เทคนิค: ประติมากรรมไม้สลัก
ขนาด: สูง 135 ซม.
อายุสมัย: ราว พ.ศ. 2520
รายละเอียดเพิ่มเติม: อินสนธิ์ วงสาม ศิลปินแห่งชาติผู้บุกเบิกสร้างสรรค์งานประติมากรรมแนวนามธรรม (abstract) ลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี งานประติมากรรมไม้สลักของอินสนธ์ แสดงสุนทรียภาพในเชิงความงามของรูปทรง แบบงานประติมากรรมนามธรรมสมัยใหม่ ทว่ากลับสะท้อนกลิ่นอายรากเหง้าวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งภูมิหลังครอบครัวช่างสลักไม้จากเมืองลำพูนของศิลปิน ที่สืบทอดภูมิปัญญาในงานไม้สลักมาหลายชั่วคน ได้อย่างสุขุม เรียบง่ายและแยบคาย ในขณะเดียวกัน
Title: Untitled
Artist: Inson Wongsam
Technique: sculpture (wood carving)
Size: 135 cm. (H.)
Year: approximately sculpted around late 1970s
Details: Inson Wongsam, national artist who considered as Feroci (Silpa Bhirasri)’s last generation pupils, a pioneer sculptor on abstract theme around 1970s. His wood carving sculpture emphasizes on modern abstract forms but, at a same time, reflects the atmosphere of an artist’s ancestral wisdom on wood carving from Lamphun that inherited on his skill, and represented through his works discreetly, simply, and significantly.