ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
#ปราสาทพนมวัน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา #จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ปรากฏการใช้งานมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 สืบเนื่องถึงปัจจุบัน โดย ประเด็นที่จะหยิบยกมาเล่าในวันนี้ คือ จารึกทั้ง 8 หลัก ที่เราพบจากปราสาทพนมวัน ซึ่งกำหนดอายุสมัยอยู่นช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 นั่นเองครับ
.
จากการดำเนินการบูรณะปราสาทพนมวัน ด้วยวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2543 นั้น เราได้ค้นพบ #จารึก ที่ปราสาทพนมวัน จำนวน 8 หลัก โดยปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา 1 หลัก (จารึกหลักที่ 7) และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 2 หลัก (จารึกหลักที่ 1 และส่วนอีก 5 หลัก ปัจจุบันยังอยู่ที่ตำแหน่งกรอบประตูตัวข้างของปราสาทประธาน (ดูแผนผังประกอบ)
.
ผลการศึกษาวิเคราะห์และการกำหนดอายุจารึกปราสาทพนมวันจารึกปราสาทพนมวัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
#กลุ่มที่1 ได้แก่ จารึกหลักที่ 1 มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ดังปรากฏพระนามของกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ.1420 – พ.ศ.1432) และพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ.1432 – พ.ศ.1443)
#กลุ่มที่2 ได้แก่ จารึกหลักที่ 2 และหลักที่ 5 มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ดังปรากฏพระนามของกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ.1545 – พ.ศ.1593) และ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1593 – พ.ศ.1609)
#กลุ่มที่3 ได้แก่ จารึกหลักที่ 3 จารึกหลักที่ 4 จารึกหลักที่ 6 จารึกหลักที่ 7 และจารึกหลักที่ 8 มีอายุอยู่ในช่วงต้น – กลางพุทธศตวรรษที่ 17 ดังปรากฏพระนามของกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ พระเจ้าราเชนทรวรมัน (พ.ศ.1487 – พ.ศ.1511) พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ.1623 – พ.ศ.1650)
.
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างภาพจารึกและข้อความ พี่นักโบ จึงขออนุญาต นำข้อมูลรายละเอียดจารึกทั้ง 8 หลัก แยกใส่ไว้ในรายละเอียดภาพของแต่ละภาพเลยแล้วกันนะครับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ สามารถกดเข้าไปอ่านได้เลยครับ
.
ด้วยช่วงนี้อยู่ในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กรมศิลปากร จึงสั่งการให้ปิดแหล่งเรียนรู้ ต่างๆ ในสังกัดทั้งหมด อาทิ โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้นแล้ว พี่นักโบ ก็ขอเชิญชวนทุกๆคน มาท่องเที่ยวและเรียนรู้กันโบราณสถานปราสาทพนมวันแห่งนี้ รวมไปถึงแหล่งเรียนรู้ในสังกัดกรมศิลปากรอื่นๆ กันอีกครั้งครับ
.
ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ
.
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
พงศ์ธันว์ บรรทม. ปราสาทพนมวัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 นครราชสีมา. 2544.
ชื่อผู้แต่ง ปุ่น ปุณฺณสิริ
ชื่อเรื่อง ชีวประวัติของพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) และอานุภาพธรรมกาย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.พ
สำนักพิมพ์ ม.ป.ท.
ปีที่พิมพ์ 2512
จำนวนหน้า 86 หน้า
รายละเอียด
หนังสือชีวประวัติของพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) และอานุภาพธรรมกาย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นหนังสือดีควรค่าแก่การศึกษาหาความรู้ และนำไปปฏิบัติในด้านการฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดความสงบใจ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัยและยังเป็นสถานที่ต้อนรับอาคันตุกะระดับชาติของประเทศไทย จึงเป็นแหล่งที่รวบรวมมรดกวัฒนธรรมของชาติไว้เป็นจำนวนมาก เป็นการยากที่จะบอกว่า โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นไหนเป็นชิ้นเอกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เนื่องจากทุกชิ้นล้วนมีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุแนะนำ ๑๐ รายการ ที่จัดแสดงอยู่ภายในพระที่นั่ง และอาคารต่างๆ ที่ผู้เข้าชมไม่ควร พลาดชมและต้องไปให้ถึงอาคารจัดแสดงนั้นๆ ประกอบด้วย ๑. พระพุทธสิหิงค์ จัดแสดง ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระพุทธปฏิมาศิลปะสุโขทัย – ล้านนา หล่อด้วยสำริดกะไหล่ทอง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ นับถือกันว่า เป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ทรงอานุภาพ ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์กล่าวว่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานเป็นสิริมงคลยังพระนครหลวงและเมืองสำคัญแต่โบราณของไทยหลายแห่ง คือ นครศรีธรรมราช สุโขทัย กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๑ อัญเชิญจากเมืองเชียงใหม่มาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เนื่องจากพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่อำนวยความอุดมสมบูรณ์ จึงได้อัญเชิญออกไปให้ประชาชนสรงน้ำขอพรในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งภายหลังกรมศิลปากรได้ขอพระบรมราชานุญาตหล่อองค์จำลองสำหรับเทศกาลสงกรานต์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ๒. พระคเณศ จัดแสดงห้อง ศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พระคเณศ ๔ กร จากจันทิสิงหส่าหรี เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ศิลปะชวาตะวันออก อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ความสูง ๑๗๒ เซนติเมตร ลักษณะเป็นประติมากรรมจำหลักศิลานูนสูง ประทับนั่งบนบัลลังก์กะโหลกมนุษย์ หัตถ์ขวาบนถือขวาน หัตถ์ซ้ายบนถือพวงลูกประคำ หัตถ์ขวาและหัตถ์ซ้ายล่างถือถ้วยขนม ทรงศิราภรณ์ประดับด้วยกะโหลกมนุษย์ แม้แต่กุณฑล พาหุรัด เข็มขัด รัดองค์ ทองพระกร ทองพระบาท และภูษาทรงล้วนประดับด้วยลวดลายกะโหลกมนุษย์ และสวมสายยัชโญปวีตรูปงู ตามประวัติกล่าวว่า ผู้สำเร็จราชการเกาะชวาซึ่งเป็นชาวฮอลันดาน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในคราวเสด็จประพาสชวาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท ๓. พระปัทมปาณีโพธิสัตว์ จัดแสดงห้อง ศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พระปัทมปาณีโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๒ กร ศิลปะศรีวิชัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พบเพียงท่อนบนพระวรกาย พบที่วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะเอียงพระวรกาย ทรงศิราภรณ์ ส่วนยอดของชฎามกุฎหักหายไป พระเนตรเหลือบต่ำ สวมสร้อยประคำและกรองศอ พระอังสาด้านซ้ายคล้องผ้าเฉวียงบ่า และทับด้วยสายยัชโญปวีตประดับหัวกวาง สันนิษฐานว่า อาจเป็นองค์เดียวกับพระโพธิ์สัตว์ปัทมปาณี ที่กล่าวถึงในจารึกจากวัดเวียงว่า ถึงพระเจ้าธรรมเสตะสร้างปราสาทอิฐสามหลังเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์สององค์ ซึ่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนี้มีผู้นับถืออย่างมากทั้งใน พุทธศาสนามหายานและวัชรยาน ซึ่งเคารพนับถืออยู่ในชวาภาคกลางในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างอาณาจักรศรีวิชัยในคาบสมุทรภาคใต้กับราชวงศ์ไศเลนทร์ในชวาภาคกลาง ๔. ตะเกียงโรมัน จัดแสดงห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท ตะเกียงโรมัน ขุดพบที่ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ราชบัณฑิตยสภาได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ลักษณะตะเกียงหล่อด้วยสำริด ปลายด้ามมีช่องสำหรับวางไส้ตะเกียง ด้านบนมีฝาเปิดหล่อเป็นรูปพระพักตร์เทพเจ้าไซเลนุส (Silenus) ผู้เป็นอาจารย์ของเทพเจ้าไดโอนีซุส (Dionysus) เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นของโรมัน ด้ามจับหล่อเป็นลายใบปาล์มและปลาโลมาคู่หันหน้าเข้าหากัน ตะเกียงนี้อาจหล่อขึ้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย เมืองท่าทางทะเลในประเทศอียิปต์ เมื่อครั้งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันราวก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖ หรืออาจหล่อขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๐ และคงเป็นของที่พ่อค้าชาวอินเดียได้นำเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากบริเวณที่พบนั้น ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่พ่อค้าชาวอินเดียเคยเดินทางผ่านไปมา ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบเหรียญโรมันสำริดของจักรพรรดิวิคโตรินุสที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชุมชนโบราณในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก ได้แก่ กลุ่มประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคือ กรีก-โรมัน รวมทั้งเปอร์เซีย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ ซึ่งอาจเป็นการติดต่อโดยตรงกับพ่อค้าโรมันที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตามบ้านเมืองท่าชายฝั่งของอินเดีย หรือติดต่อผ่านพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาจากเมืองท่าต่าง ๆ ก็เป็นได้ ๕. พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา จัดแสดงอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาหรือที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อศิลาขาว” ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูปที่นำมาประกอบจาก ๕ ส่วนคือ พระเศียรและบั้นพระองค์ได้มาจากวัดพระยากง ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนพระอุระ พระเพลา และพระบาท ได้จากวัดพระเมรุ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยช่างในอดีตใช้เทคนิคในการเข้าสลักลิ่มเพื่อยึดชิ้นส่วนทั้ง ๕ เข้าด้วยกัน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ อาจารย์เศวต เทศน์ธรรม ผู้ซ่อมแซมพระพุทธรูปศิลาขาวทั้ง ๓ องค์คือ ประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้ใช้ปูนซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ในการซ่อมองค์พระ และใช้แท่งสแตนเลสเป็นแกนเพื่อยึดชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งทั้งสามองค์ไม่พบชิ้นส่วนพระหัตถ์เลย ผู้ซ่อมแซมจึงใช้รูปแบบปางแสดงธรรมจากพระพุทธรูปนั่งขนาดเล็กในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เป็นต้นแบบในการซ่อมแซม ๖. พระหายโศก จัดแสดงห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาทไขว้กันแลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง มีพระรัศมีรูปดอกบัวตูม พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย พระวรกายอวบอ้วน พระหัตถ์ขวาคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงด้านล่าง เป็นท่านั่งที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติตอน “มารผจญ” เป็นกิริยาที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกแม่พระธรณีมาเป็นพยานการบำเพ็ญพระบารมี ส่วนฐานพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย โดยบัวหงายมีขนาดใหญ่กว่าบัวคว่ำและปลายกลีบดอกบัวมีความอ่อนช้อย กลีบบัวมีการตกแต่งด้วยลายพฤกษา และลายช่อดอกโบตั๋น จากพุทธลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นถึงพุทธศิลป์ล้านนาแบบสิงห์ ๑ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นยุคทองของล้านนาที่นิยมสร้างพระพุทธรูปแบบฐานบัวงอน ด้านหลังที่ฐานพระพุทธรูปมีจารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ ว่า “พระหายโศก มาถึงกรุงเทพฯ วัน ๑ ๑๑+ ๕ ค่ำ (วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕) ปิ์มเสงยังเป็นอัฐศก ศักราช ๑๒๑๘” ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๙ ในรัชกาลที่ ๔ นาม “หายโศก”สะท้อนถึงธรรมเนียมการตั้งชื่อพระพุทธรูปล้านนาที่มักตั้งตามคติความเชื่อด้านพระพุทธคุณในเชิงขจัดปัดเป่า เคราะห์ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่อาจนำความทุกข์โศกมาสู่ผู้กราบไหว้บูชา แต่เดิมนั้นพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปของหลวง และใช้ในการพระราชพิธีเท่านั้น ก่อนที่กรมพระราชพิธีจะส่งมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปัจจุบันนี้ จัดแสดงอยู่ที่ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ๗. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ จัดแสดงห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และเสด็จจาริกธุดงค์ไปยังหัวเมืองเหนือเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๗๖ ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและพระแท่นมนังคศิลาบาตร ที่เนินปราสาทเก่าสุโขทัย และทรงอ่านจารึกได้เป็นพระองค์แรก เนื้อหาในศิลาจารึกแบ่งออกเป็นสามตอนคือ ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ ถึง บรรทัดที่ ๑๘ เล่าประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติใช้คำว่า “กู” เป็นหลัก ส่วนตอนที่ ๒ เล่าเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย เล่าถึงการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยเมื่อพ.ศ.๑๘๒๖ การสร้างพระธาตุเมืองศรีสัชนาลัยเมื่อพ.ศ.๑๘๒๘ และสร้างพระแท่นมนังคศิลาเมื่อพ.ศ.๑๘๓๕ โดยใช้คำว่า “พ่อขุนรามคำแหง” แทนคำว่า “กู” และจารึกตอนที่ ๓ ตั้งแต่ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๒ ถึงบรรทัดสุดท้าย เป็นคำสรรเสริญพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไป สันนิษฐานว่า เป็นการจารึกภายหลังหลายปี เนื่องจากตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ จารึกหลักนี้กำหนดอายุตามปีศักราชที่ระบุไว้คือพ.ศ.๑๘๓๕ และเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) องค์การยูเนสโก ๘. พระอิศวร จัดแสดงห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พระอิศวรสำริด สมัยสุโขทัย อายุประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลักษณะตามประวัติกล่าวว่ารับมาจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพฯ สันนิษฐานว่าคือ พระมเหศวร ที่กล่าวถึงในจารึกวัดป่ามะม่วงว่า พระมหาธรรมราชาธิราช ที่ ๑ (พญาลิไท) โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ในหอเทวาลัยมหาเกษตรพิมาน คู่กับพระวิษณุอีกองค์หนึ่ง เมื่อปีฉลู มหาศักราช ๑๒๗๑ ตรงกับปีพุทธศักราช ๑๘๙๓ ๙. พระมหาพิชัยราชรถ จัดแสดงที่โรงราชรถ พระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๘ มีขนาดกว้าง ๔.๘๕ เมตร ความยาวรวมงอนรถ ๑๘ เมตร (ความยาวเฉพาะตัวรถ ๑๔.๑๐ เมตร) สูง ๑๑.๒๐ เมตร น้ำหนักรวม ๑๓.๗๐ ตัน ปัจจุบันใช้กำลังพลฉุดชักจากกรมสรรพาวุธทหารบก ๒๑๖ นาย เมื่อแรกสร้างนั้นโปรดให้สร้างขึ้นเป็นราชรถขนาดใหญ่ตามโบราณราชประเพณีที่เคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพื่อเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง นับแต่นั้น พระมหาพิชัยราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ษานุวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าในสมัยต่อ ๆ มา และใน พ.ศ.๒๕๖๐ ใช้ทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปัจจุบันพระมหาพิชัยราชรถได้เก็บรักษาไว้ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑๐. พระที่นั่งบุษบกเกริน จัดแสดง ณ พระที่นั่งอิสราวินิจฉัย พระที่นั่งบุษบกเกรินหรือบุษบกราชบัลลังก์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระทวารกลางของพระที่นั่งมุขกระสัน ด้านทิศตะวันออกของหมู่พระวิมาน เป็นพระที่นั่งไม้ทรงบุษบกขนาบด้วยเกรินทั้งซ้ายขวา ตกแต่งด้วยไม้แกะสลักรูปยักษ์ ครุฑ และเทพนม ปิดทองประดับกระจก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงใช้เสด็จออกรับขุนนางหรือออกว่าราชการ ซึ่งบริเวณพื้นที่โดยรอบเรียกว่า ท้องพระโรงหน้า ถัดจากพระที่นั่งบุษบกเกรินเป็นชาลาและมีอาคารทิมคดตั้งอยู่สามด้านเรียกว่า ทิมมหาวงศ์ สำหรับเป็นที่ประชุมเหล่านักปราชญ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ต่อมาจากมุขกระสันและรื้อทิมมหาวงศ์ออก โดยมีพระที่นั่งบุษบกเกรินประดิษฐานเป็นประธานในอาคารหลังใหม่นามว่า พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวันพุธ – อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐-๒๒๒๔-๑๔๐๒, ๐-๒๒๒๔-๑๓๓๓
องค์ความรู้ เรื่อง เสื้อยันต์เรียบเรียงโดย นางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่การสักคาถาอาคมหรือเลขยันต์ต่างๆ ลงบนผิวหนังจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในอดีต แต่การสักเป็นเรื่องที่เจ็บปวดและต้องใช้เวลานาน ดังนั้นในสมัยต่อมามีการคิดเปลี่ยนแปลงแทนที่จะสักลงบนผิวหนังมาใช้วิธีการเขียนลงบนผ้าทำเป็น “เสื้อยันต์สวมใส่” จึงได้เกิดมีเสื้อยันต์ขึ้น โดยเฉพาะในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองปรากฏว่าเสื้อยันต์เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งเสื้อยันต์สีแดงและสีขาว (ส. พลายน้อย, ๒๕๓๙, น.๑๓๖) คำว่า “เสื้อยันต์” หมายถึง (น.) แผ่นผ้าลงยันต์ที่ทำเป็นรูปเสื้ออย่างหลวมๆ สวมเพื่อป้องกันอาวุธยามศึก (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๗, น.๗๖๔) ผ้ายันต์หรือประเจียดคือการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ บนผืนผ้าใช้เป็นเครื่องรางโดยการโพกศีรษะ ผูกแขน หากลงที่เสื้อจะเรียกว่า “เสื้อยันต์” การทำผ้ายันต์ต้องเป็นผ้าที่บริสุทธิ์ ได้แก่ ผ้าบังสุกุลย้อมด้วยน้ำว่าน ถ้าเป็นยันต์ที่มีคุณทางด้านคงกระพันต้องย้อมด้วยว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ถ้าเป็นผ้ายันต์ทางเมตตาต้องย้อมด้วยว่านเสน่ห์จันทร์ แล้วลงอักขระด้วยน้ำหมึกที่ผสมด้วยดีสัตว์ ๕ ชนิด ได้แก่ ดีไก่ดำ ดีงู ดีเต่า ดีวัว และดีเสือ อานุภาพของผ้ายันต์หรือผ้าประเจียดจะมีตามยันต์ที่ลง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหจะมีอานุภาพทางป้องกันภูตผีปีศาจกันคุณไสย ยันต์ปิโยจะมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เมื่อพกไปที่ใดจะเป็นที่รักใคร่เมตตาของคนทั้งหลาย (คลังจดหมายเหตุดิจิทัล สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, ๒๕๕๓) ดังนั้นเสื้อยันต์และเสื้อยันต์ยันต์ก่าสะท้อน เป็นยันต์ที่ให้ผลทางป้องกันอาวุธ (วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ๒๕๕๘, น.๑๙)*ตัวอย่างเสื้อยันต์ ที่จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่**สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง เครื่องถ้วยชิ้นเด่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : จานลายครามรูปกระต่ายคาบเห็ดหลินจือที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชรhttps://web.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum/posts/4805744249551962
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช จัดโครงการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ "ภูมิหลังอันดามัน”ครั้งที่ ๔ ขอเชิญร่วมรับฟังการบรรยายทางวิชาการ ในหัวข้อ ชายฝั่งทะเลอันดามัน จุดยุทธศาสตร์การค้าโบราณ (จากหลักฐานด้านโบราณคดี) โดยมีนายธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา บรรยาย เรื่อง “มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์บนคาบสมุทรภาคใต้” และ โดย ดร.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช บรรยาย เรื่อง “ร่องรอยศาสนากับการเข้ามาของชาวต่างชาติ” ผู้สนใจสามารถติดตามรับฟังการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป
กรมศิลปากร กำหนดจัดการเสวนาทางวิชาการประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน, ๒๖ พฤศจิกายน, ๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้โดยแสกนคิวอาร์โค้ด ตามที่กรมศิลปากร จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน – ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างราชอาณาจักรไทยและประเทศญี่ปุ่น ในวาระครบรอบ ๑๓๕ ปี ความ สัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น ได้กำหนดจัดกิจกรรมการเสวนาทางวิชาการประกอบนิทรรศการฯ จำนวน ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ หัวข้อ “ไทย - ญี่ปุ่น : ความสัมพันธ์ในสายธารประวัติศาสตร์”, ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ หัวข้อ "การค้าสำเภาสมัยอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๒: หลักฐานจากแหล่งเรืออับปางในเอเชียอาคเนย์" และครั้งที่ ๓ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ หัวข้อ "แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย-อยุธยา จากผลการสืบค้นศึกษาทางโบราณคดี" เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้โดยแสกนคิวอาร์โค้ดในภาพข้างต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มแผนงาน โครงการและวิเทศสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๔๐๔๘ ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมเสวนาจะได้รับแฟ้มที่ระลึก และเมื่อเข้าร่วมเสวนาครบทั้ง ๓ ครั้ง สามารถสะสมแฟ้มมาแลกรับ "ของที่ระลึกพิเศษ" ได้อีกด้วย
เนื่องในโอกาสครบรอบ 195 ปี เหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา คุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พุทธศักราช 2370
เรารู้จัก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในฐานะอนุสาวรีย์บุคคลธรรมดาแห่งเเรกของประเทศไทย เเละเป็นศูนย์รวมใจของชาวจังหวัดนครราชสีมา โดยทั้ง 32 อำเภอ จะมีการจำลองอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ไปสร้างไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอของทุกอำเภอด้วย เพราะเราชาวโคราชทุกคนล้วนมีสำนึกร่วมกันว่าเราคือ "ลูกหลานย่าโม"
โดย เดือนมีนาคม สำหรับชาวนครราชสีมา เป็นเดือนแห่งการระลึก วีรกรรมท่านท้าวสุรนารี หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ขณะท้าวสุรนารีเเละหญิงชาวเมืองนครราชสีมาถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เเต่ภายหลังเมื่อพักแรมที่บ้านสัมฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย) สามารถเข้าสู้เเละรอดพ้นภัยจากข้าศึกศัตรูได้สำเร็จ จนภายหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได่สถาปนาคุณหญิงโมขึ้นเป็นท้าวสุรนารี ในปี 2370
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นในปี 2476 โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เเละพระเทวาภินิมมิต ซึ่งพื้นเพเป็นชาวนครราชสีมา ร่วมกันออกแบบ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร หน้าประตูชุมพล (ประตูเมืองนครราชสีมาด้านทิศตะวันตก) เเละทำพิธีเปิดในช่วงต้นปี 2477 เเละได้มีการซ่อมแซมส่วนฐานอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ในปี 2510 โดยมีสภาพดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
กรมศิลปากร ได้กำหนดให้ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เเละประตูชุมพล พร้อมด้วยแนวกำแพงเมืองนครราชสีมาใบเสมาข้างละ 10 ใบ ที่ยืดออกจากประตูชุมพล เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ในปี 2480 ในเขตพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา ยังมีโบราณสถานที่กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีก 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร สถานพระนารายณ์ เเละศาลหลักเมือง ครับ
"...เป็นแสงสว่างอยู่กลางเมือง
รุ่งเรืองสตรีวีรชน
ใครไหว้ใครบน
ได้ดังอธิษฐาน..."
เผยโฉมหน้าประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก ด้วยภาพภูมิทัศน์วัฒนธรรมโบราณอันงดงามโดดเด่นของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก……………………………………………………………………………………….โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เรียกอีกชื่อว่า “วัดใหญ่” หรือ “วัดพระพุทธชินราช” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำน่าน และอยู่ภายในพื้นที่ด้านตะวันออกของเมืองพิษณุโลก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๑ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศขอบเขตที่ดินในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๖ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๘๓ ตารางวา.จากหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ ทั้งเอกสารทางประวัติศาสตร์ตลอดจนโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ ทำให้ทราบว่า โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ โดยมีลักษณะการสร้างตามคติการสร้างพระบรมธาตุเป็นหลักของเมืองที่แพร่หลายในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและดินแดนใกล้เคียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ลงมา เช่นเดียวกับที่วัดมหาธาตุในเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง สัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่มักพบในสมัยสุโขทัย ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน และมีวิหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออก โดยวิหารนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส ซึ่งคติการสร้างพระอัฏฐารสนี้ เป็นคติการสร้างที่นิยมในสมัยสุโขทัย.ต่อมาสมัยอยุธยา ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งเสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลก โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งซ่อมแซมดัดแปลงมหาธาตุให้เป็นพระปรางค์แบบอยุธยา มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแผนผังของวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ให้หันลงแม่น้ำตามคติการสร้างวัดของกลุ่มคนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเพื่อความเหมาะสมกับสภาพเมืองที่มีแม่น้ำผ่ากลาง จากนั้นคงได้มีการบูรณะและก่อสร้างพระวิหาร ระเบียงคด และพระอุโบสถให้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงนี้ด้วย.วิหารด้านทิศตะวันตกของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทั้งยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญยิ่งที่พระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เสด็จมาทำการสักการะบูชา ดังปรากฏหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพุทธชินราชที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ในพระราชนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จไปเมืองพิษณุโลกว่า “เป็นธรรมเนียมเจ้านายไปถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว ก็ต้องกระทำการสมโภชพระพุทธชินราช” . สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบพระคุณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมโบราณ เผยความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากสุดปรากฎสู่สายตาประชาชน และมีส่วนสำคัญให้แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งนี้คงอยู่อย่างสง่างามคู่กับประเทศไทยสืบไป.#พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์#วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร #วัดใหญ่ #วัดพระพุทธชินราช#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก#โบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง.……………………………………………………………………………………….☆ ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ☆กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่Facebook Fanpage https://www.facebook.com/fad6sukhothaiYoutube https://www.youtube.com/c/สํานักศิลปากรที่6สุโขทัย
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 33/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 128/2
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 164/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 18/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา