ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อผู้แต่ง            เสถียรโกเศศ ชื่อเรื่อง              เล่าเรื่องในไตรภูมิพระร่วง ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์       พระนคร สำนักพิมพ์         โรงพิมพ์อุดม ปีที่พิมพ์             ๒๔๙๗ จำนวนหน้า         ๒๑๓  หน้า                        หนังสือเรื่องนี้ เป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัย เป็นหนังสือเก่า น่าเชื่อว่าหนังสือไตรภูมินี้ ฉบับเดิมจะได้แต่ครั้งสุโขทัย บางที่ได้มีผู้ดัดแปลงสำนวนและแทรกเติมข้อความเข้าเมื่อในครั้งกรุงเก่าก็อาจเป็นได้ถึงกระนั้นโวหารในหนังสือเรื่องนี้เห็นว่าเก่าแก่กว่าหนังสือเรื่องใดใด ในภาษาไทยผู้แต่งหนังสือเรื่องไตรภูมินี้ พรเจ้าแผ่นดินสยามที่ได้ครอบครองราชสมบัติครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่สอบในศิลาจารึกประกอบหนังสืออื่นๆ มี ๖ พระองค์ คือ ขุนอินทรทิตย์ ขุนบาลเมือง ขุนรามคำแหง พระยาเลลิไทยหรือเสือไทย พระญาลิไทยหรือไทยราช พระเจ้าศรีสุริยพงษ์รามมหาธรรมปิกราชาธิราช


ชื่อผู้แต่ง         - ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาเสวกตรี พระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (กระจ่าง  หงสกุล )  ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       บัณฑิตการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๘ จำนวนหน้า      ๑๐๖  หน้า หมายเหตุ        อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาเสวกตรี พระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร ( กระจ่าง หงสกุล ) รายละเอียด                หนังสือที่ระลึกงานศพมหาเสวกตรี พระยาพิทักษ์ดทพมณเฑียร (กระจ่าง  หงสกุล ) เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องระเบียบสำนักพระราชวังที่เกี่ยวกับข้อราชการและประชาชนการพระราชพิธีส่วนภูมิภาคและกิริยามารยาทและการใช้ถ้อยคำ  ระเบียบการศพ ระเบียบปฏิบัติในงานสมรส ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีพระราชทาน  พระราชพิธีส่วนภูมิภาค  คำพังเพย-ทำเปรียบเทียบของโบราณ


เลขทะเบียน : นพ.บ.442/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : สัมสมาส--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.587/2                            ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4 x 48.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 190  (378-384) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : ธรรมบท--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดง "นาฏศิลป์และดนตรี" “เสาร์สนุก” วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร           รายการแสดงประกอบด้วย           1. การแสดงดนตรีสากล               - Der Erlkönig by Franz Schubert โดยมานิตย์ ธุวะเศรษฐกุล              - String Quartet No. 12 in F major, Op. 96, nicknamed the American Quartet, by Antonín Dvořá           2. วิธีการตีกลองทัด 3 ใบ โดยอนุชา บริพันธุ์           3. รำฉุยฉายมณีเมขลา โดยเสาวรักษ์ ยมะคุปต์           4. การแสดงชุดจรกาบวงสรวง โดยเยาวลักษณ์ ปาลกะวงศ์           5. รำฉุยฉายสมิงพระราม โดยเอก อรุณพันธ์   * ชมฟรี * สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. 0 2224 1342 และ โทร. 0 2221 0171 +++++++++++++++++++++++++++++++ รายการแสดงโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี  "เสาร์สนุก"   - Der Erlkönig by Franz Schubert. บทเพลง Der Erlkönig เป็นผลงาน Opus 1 อันมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของ Franz Schubert (1797-1828) คีตกวีชาวออสเตรีย ชูเบิร์ต ประพันธ์บทเพลงนี้เมื่อ ค.ศ.1815 เมื่อเขามีอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น     เนื้อร้องเป็นบทกวีที่ประพันธ์โดย Johann Wolfgang von Goethe (1749-1832) กวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน บทกวีเป็นเรื่องเล่าจากนิทานปรัมปราของชาวเดนมาร์กมีชื่อเรื่องเดิมว่า “Alder King” โดยมีฉากของเรื่องราวอยู่ในป่าชื่อว่า Black Forest in Baden ประเทศเยอรมัน บทกวีถ่ายทอดเรื่องราวผ่านบทบาทตัวละครที่ปรากฏในบทกวีอันประกอบด้วย ผู้เล่าเรื่อง (The Narrator) พ่อ(The Father) ลูกชาย(The Son) และภูตผีที่เรียกว่า Erlking (Erlkönig) บทวิเคราะห์บทเพลง  Der Erlkönig Op. 1, D328 จะประกอบไปด้วยเนื้อหาดังนี้ 1) ชีวประวัติของ Franz Schubert (1797-1828) ผู้ประพันธ์ดนตรี 2) ชีวประวัติของ Johann Wolfgang von Goethe (1749-1832) ผู้ประพันธ์บทกวีซึ่งถูกนำมาเป็นเนื้อร้องของบทเพลง 3) บทกวี Der Erlkönig และคำแปลภาษาไทย 4) กาวิเคราะห์รายละเอียดของบทเพลง  Der Erlkönig Op.1, D328   - String Quartet No. 12 in F major, Op. 96, nicknamed the American Quartet, by Antonín Dvořák String Quartet no.12 in F major ของ ดโวชาค หรือ American Quartet เป็นงานแนวโรแมนติก แต่งในช่วงที่ไปพำนักที่อเมริกา และมีความประทับใจ ตื่นเต้น กับความเจริญ วัฒนธรรมและผู้คนที่นั่นมาก โดยเฉพาะเพลงพื้นเมืองของชาวอเมริกัน ทำนองหลายตอนใช้ Pentatonic Scale มีกลิ่นอายเพลงพื้นเมืองของอเมริกัน และเพลงพื้นบ้านของชาวเช็ค ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้ประพันธ์  ท่วงทำนอง จังหวะ ลีลาและ สำเนียงหวานไพเราะและสง่างาม แสดงสปิริตจิตวิญญาณของผู้ประพันธ์ ดนตรีโดดเด่นทุกแนว ท้าทายฝีมือนักดนตรีมาก โดยเฉพาะแนววิโอลามีบทบาทสำคัญมากเป็นพิเศษ ทั้งสองบทเพลงนี้ เป็นงาน masterpiece เป็นเพลงมาตรฐานที่นักเล่นแชมเบอร์มิวสิคและนักฟังต้องเรียนรู้ เล่นและฟังกัน


         มีดแป๊ะกั๊ก          สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศศตวรรษที่ ๒๕          รับมาจากหมวดภูษามาลา แผนกพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒          ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          มีดแป๊ะกั๊ก ลักษณะเป็นอาวุธยาว ส่วนใบมีดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง (หากไม่ใช้งานจะสวมปลอกมีดไว้) มีคมด้านเดียว อีกด้านเป็นสันหนา ด้ามจับเป็นไม้ปลายข้างหนึ่งงอขึ้นสำหรับเสียบกับกั่นมีด*ทะลุด้ามเพื่อความมั่นคง           “มีดแป๊ะกั๊ก” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่า “มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้าในกองทัพสมัยโบราณ” การใช้งานมีดเล่มนี้จัดอยู่ในประเภทอาวุธฟัน เช่นเดียวกับ ดาบ ขวาน ง้าว และด้วยสัดส่วนที่ไม่ยาวมากนักจึงใช้เป็นอาวุธต่อสู้บนหลังม้าแบบประชิดตัว          หลักฐานการใช้มีดแป๊ะกั๊กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏอยู่บนภาพสลักระเบียงปราสาทนครวัด รูปขบวนทหารเดินแถว “เสียมกุก” พบทหารม้าถือมีดแป๊ะกั๊ก อย่างไรก็ตามในสมัยอยุธยาไม่ปรากฏการใช้มีดแป๊ะกั๊กในกองทหารม้า จากหลักฐานคำให้การชาวกรุงเก่าไม่ได้กล่าวถึงมีดแป๊ะกั๊กเป็นอาวุธบนหลังม้า** ส่วนหลักฐานการใช้เป็นอาวุธในราชการนั้น ปรากฏชัดเจนในพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก กองทหารที่เข้าร่วมมีบางหน่วยถืออาวุธเป็นมีดแป๊ะกั๊ก อาทิ ในคราวงานพระราชพิธีลงสรง ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ ปรากฏกองทหารที่อารักขาบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ความตอนหนึ่งว่า “...เกณฑ์หัดอย่างฝรั่งขวาเสื้อดำ ถือพร้าแป๊ะกั๊ก ๓๐ ยืนฟากตะวันตกมุมวัดพระแก้ว...” และในขบวนแห่คราวงานพระราชพิธีตรียัมปวาย มีปรากฏถึงกองตำรวจถือพร้าแป๊ะกั๊ก จำนวน ๓๐ นาย ด้วยเช่นกัน     * กั่น หมายถึง ส่วนที่ถัดจากโคนอาวุธ เช่นหอก ดาบ หรือ เครื่องมือ เช่น สิ่ว สำหรับหยั่งลงไปในด้าม **อาวุธที่ใช้บนหลังม้าของการทหารในสมัยอยุธยาระบุไว้ ได้แก่ ทวน ธนู หน้าไม้ หอกซัด ง้าว    อ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันภาคที่ ๒๒. พระนคร: มหาดไทย, ๒๕๐๖. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเพิ่ม โชดึกราชเศรษฐี (เลาหเศรษฐี) ต.จ. ณ เมรวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๖). จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: ไทควอลิตี้บุ๊คส์, ๒๕๖๐. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. สมชาย ณ นครพนม. “พร้าแป๊ะกั๊ก.” ศิลปากร ๕๖, ๕ (กันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๖), ๑๑๐-๑๑๕.  


ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/16หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               60 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ



ลูกกลิ้งดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตรยาว 6 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ลูกกลิ้งดินเผาทรงกระบอก ตรงกลางเจาะรู ทำเป็นลายวงกลม ตรงกลาง 5 วง ส่วนหัวและท้ายเป็นลายฟันปลาสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/23/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.79 ธรรมคดี_พระวินัยประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              31; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ธรรมคดี                  ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538


การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กองทัพเรือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 กองทัพเรือ โดยคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี จึงได้จัดทำแผนการดำเนินงานและมอบหมายให้หน่วยปฏิบัติจัดเตรียมกำลังพลประจำเรือพระราชพิธี ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก ---------------- -เขียงฝึก- ก่อนการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การฝึกอบรมกำลังพลฝีพายคือขั้นตอนสำคัญลำดับแรกเริ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะและความรู้พื้นฐานด้านการพายเรือพระราชพิธีให้แก่กำลังพลฝีพาย นายเรือ และนายท้าย แบ่งช่วงระยะการฝึกอบรมออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การฝึกอบรมพายเรือบนบก ระยะที่ 2 การฝึกพายเรือในน้ำ (บ่อพักเรือ) และระยะที่ 3 การฝึกเข้ารูปขบวนเรือในแม่น้ำ การฝึกอบรมพายเรือบนบก คือการฝึกพายเรือบน “เขียงฝึก” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกฝนท่าทางการปฏิบัติของกำลังพลฝีพายก่อนที่จะลงเรือจริง ทำให้กำลังพลฝีพายเกิดความคุ้นชิน สามารถจัดระเบียบร่างกายได้อย่างถูกต้องพร้อมเพรียงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เขียงฝึกที่ใช้ในการฝึกนี้ เรียกว่า เขียงไม้ มีลักษณะเป็นไม้กระดานต่อกันสูงขึ้นเหนือจากพื้น โดยจำลองโครงสร้างให้คล้ายคลึงกับเรือพระราชพิธี ส่วนที่กำลังพลฝีพายใช้นั่ง เรียกว่า “กระทง” ซึ่งเป็นไม้กระดานหน้าเรียบ วางเรียงกันในแนวขวาง แบ่งช่องว่างเป็นตอน ๆ ด้วยระยะห่างเท่ากันเหมือนกับกระทงยึดกราบเรือ ด้านล่างกระทงต่อไม้สำหรับกำลังพลฝีพายวางและยันเท้า เรียกว่า “ไม้วางเท้า” ด้านบนตรงกลางกระทรงวางไม้ทับเป็นแนวยาว เรียกว่า “ไม้ทับกระทง” นอกจากไม้กระดานแล้ว การก่อสร้างเขียงฝึกในปัจจุบันยังสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความคงทนแข็งแรงของโครงสร้างเขียงฝึกเป็นสำคัญ เนื่องจากต้องรองรับน้ำหนักของกำลังพลฝีพายเป็นจำนวนมาก อนึ่ง การฝึกอบรมกำลังพลฝีพายบนเขียงฝึกในครั้งนี้ กองทัพเรือวางแผนกำหนดการซ้อมตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม ถึงวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 แบ่งพื้นที่การฝึกเป็น 12 พื้นที่ มีเขียงฝึกจำนวนทั้งสิ้น 20 เขียง เรียบเรียงโดย นางสาวเบญญา แสงคล้าย นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เรื่อง "พรรณพฤกษา ลวดลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมเมืองศรีสัชนาลัย "     เมืองศรีสัชนาลัยพบการประดับตกแต่งโบราณสถานด้วยปูนปั้น เป็นลวดลายต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในลวดลายที่พบ คือ ลวดลายพรรณพฤกษา ดังปรากฏหลักฐานที่วัดนางพญา บริเวณผนังวิหารด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้  และวัดยายตา บริเวณผนังมณฑปประธานด้านหน้าและด้านหลัง      หลักฐานทางโบราณคดีทำให้เราทราบว่า วัดนางพญาคงจะถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ประธาน วิหาร แผนผัง และลวดลายปูนปั้นที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะอยุธยา ศิลปะล้านนา และศิลปะจีน นอกจากนี้ พบว่า ลวดลายพรรณพฤกษาที่วัดยายตา มีความคล้ายคลึงกับลวดลายปูนปั้นวัดนางพญาเป็นอย่างมาก สันนิษฐานว่า ลวดลายปูนปั้นทั้ง ๒ วัดนี้ อาจจะถูกสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันก็เป็นได้     ลวดลายพรรณพฤกษามีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อยที่มีกิ่งก้านแตกแยกแขนงกันออกไป ตามแนวของก้านเถาจะออกลายส่วนใหญ่เป็นใบไม้ ในบางเถาจะมีลายดอกไม้ประกอบอยู่ส่วนปลาย ซึ่งดอกไม้ และใบไม้ที่ปรากฏอยู่ในลวดลายพรรณพฤกษาจะมีลักษณะใกล้เคียงกับธรรมชาติ มีหลายรูปแบบ และมีความคล้ายคลึงกับลวดลายที่เขียนประดับบนเครื่องถ้วยจีน โดยเฉพาะในเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒   ซึ่งความนิยมลวดลายในวัฒนธรรมจีนมีอยู่มากในศิลปะล้านนา      การประดับปูนปั้นลวดลายพรรณพฤกษา ทำให้เราเห็นอิทธิพลศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่เข้ามาสร้างแรงบันดาลใจให้กับช่างสมัยสุโขทัยอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏยังสอดคล้องกับช่วงเวลาที่ระบุในพงศาวดารว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จยกทัพมายังเมืองเชียงชื่น (ศรีสัชนาลัย) เพื่อชิงเมืองคืนจากพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาบรรณานุกรมภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. โบราณสถานกับความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑.สันติ เล็กสุขม. ความสัมพันธ์ จีน – ไทย โยงใยในลวดลายประดับ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๐.สุรพล ดำริห์กุล. ลายคำล้านนา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๔.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. รายงานการตรวจสอบสภาพโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประจำปี ๒๕๕๘. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, ๒๕๕๘.


         ภาพปูนปั้นรูปบุรุษขี่ม้า (อัศวิน หรือ เสด็จออกมหาภิเษกกรมณ์ ) และรูปสิงห์          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น          - ขนาด กว้าง ๙๔.๕ ซม. ยาว ๘๖ ซม. หนา ๙ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ภาพปูนปั้นทั้งสองนี้ ขณะขุดค้นพบ เห็นเป็นภาพสิงห์ ต่อมาขณะที่นายช่างของกรมศิลปากร คือ นายอาภรณ์ ณ สงขลา ทำการอนุรักษ์ จึงพบว่ามีภาพบุคคลขี่ม้าถูกครอบไว้ด้านใน รูปบุคคลขี่ม้าอาจจะมาจากชาดกตอนพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นม้า หรืออาจเป็นภาพพุทธประวัติตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์(ออกผนวช)   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40108   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตากรหัสเอกสาร ภ หจภ (๓) กษ ๑.๑/๗


Messenger