ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ



***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 16(7)     ฉบับที่ 667(261)    วันที่ 1-15 ธันวาคม 2534




ชื่อเรื่อง                           สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาธาตุกถา-มหาปัฎฐานเผด็จ)สพ.บ.                                  169/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  117/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระอภิธรรม                                           พระไตรปิฎก  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


      สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี ตอนที่ ๒   สถาปัตยกรรมในเมืองโบราณอู่ทอง       เมืองโบราณอู่ทอง เป็นเมืองสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำจระเข้สามพัน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ผังเมืองเป็นรูปวงรี มีขนาดกว้าง ๗๕๐ เมตร ยาว ๑,๖๕๐ เมตร วางตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้จากการสำรวจและทำแผนผังเมืองโบราณอู่ทอง โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ พบเนินดินโบราณสถานกระจายตัวอยู่ทั้งภายในและภายนอกเมืองกว่า ๒๐ แห่ง ซึ่งเมื่อขุดศึกษาแล้วพบว่าเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) โบราณสถานส่วนใหญ่พังทลายลงเหลือเพียงส่วนฐาน บางแห่งเสื่อมสภาพจนไม่สามารถศึกษารูปทรงได้ และบางแห่งพบร่องรอยการใช้งานในสมัยอยุธยาด้วย เช่น เจดีย์หมายเลข ๑ และเจดีย์บนยอดเขาพระ      เจดีย์และวิหารที่สร้างขึ้นในศาสนาพุทธ พบกระจายตัวอยู่ทั้งภายในและภายนอกเมืองโบราณอู่ทอง นอกจากนี้ยังพบสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่นอกเมืองอู่ทอง บริเวณเชิงเขาคอก เรียกว่า กลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน  โบราณสถานสมัยทวารวดีมักก่อสร้างด้วยอิฐที่มีขนาดใหญ่ อิฐกว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร หนา ๑๐ เซนติเมตร เนื้ออิฐมีแกลบข้าวผสมอยู่มาก บางแห่งใช้ศิลาแลงกับก้อนหินปูนในการก่อสร้างเพื่อเสริมความมั่นคงด้วย       จากการศึกษาส่วนฐานสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ พบว่า โบราณสถานเมืองอู่ทองส่วนใหญ่สร้างอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า บางแห่งสร้างในผังแปดเหลี่ยมหรือวงกลม ส่วนฐานนิยมตกแต่งด้วยการ “ยกเก็จ” หรือยกกะเปาะ อาจทำยกเก็จเฉพาะที่มุม หรือที่กึ่งกลางด้าน มีเสาอิงประดับเป็นระยะๆ ระหว่างเสาอิงมักประดับภาพปูนปั้น หรือดินเผารูปพระพุทธรูป รูปบุคคล สัตว์ ยักษ์หรือคนแคระแบก นอกจากนั้นยังนิยมประดับส่วนท้องไม้ด้วย “ขื่อปลอม” และลวดบัวขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “บัววลัย” โบราณสถานบางแห่งมีบันไดทอดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณ ได้แก่ เจดีย์หมายเลข ๒       เนื่องจากสถาปัตยกรรมที่พบส่วนใหญ่หักพังเหลือเพียงส่วนฐาน สันนิษฐานว่าส่วนเรือนธาตุ และส่วนยอดของเจดีย์สมัยทวารวดีที่เมืองโบราณอู่ทอง น่าจะมีรูปทรงที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไป แต่มีรูปแบบหนึ่งที่น่าจะได้รับความนิยมในการสร้าง คือ การสร้างองค์ระฆังเป็น “ทรงหม้อ” เหนือองค์ระฆังน่าจะประดับด้วยฉัตรซ้อนชั้นลดหลั่นกัน เช่น เจดีย์ศิลาสมัยทวารวดีที่พบจากจังหวัดนครปฐม      ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ศึกษา เก็บข้อมูลจากซากโบราณสถานภายในเมืองโบราณอู่ทอง จำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข ๑,๒,๓,๙, ๑๐, ๑๐.๑, ๑๑ และ ๑๓ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบสันนิษฐานของโบราณสถานเหล่านี้ โดยใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกับสถาปัตยกรรมต้นแบบจากอินเดียหรือจากแหล่งศิลปกรรมใกล้เคียง รวมถึงทำการศึกษาเทียบเคียงกับหลักฐานประเภทจิตรกรรมและภาพจำหลักต่างๆ จากนั้นจึงทำแบบวิเคราะห์รูปแบบสันนิษฐานของโบราณสถานแต่ละแห่งด้วยโปรแกรมสามมิติ และจัดทำหุ่นจำลองโบราณสถานเหล่านั้น นำไปสู่ความเข้าใจในรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีมากยิ่งขึ้น  อ้างอิง : ข้อมูลและวีดิทัศน์ จากนิทรรศการพิเศษและการบรรยายประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “สถาปัตยกรรมทวารวดีเมืองอู่ทอง : รูปแบบสันนิษฐาน” เมื่อวันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม


เลขทะเบียน : นพ.บ.76/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.4 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 47 (52-58) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : สติปฏฺฐานสุตฺต (สติปัฏฐานสูตร) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง กล้องสูบฝิ่น จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง


เลขทะเบียน : นพ.บ.136/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 5.5 x 58.4 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 82 (326-329) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : รตนสุตฺต (รัตนสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.89/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.9/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


          วันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีบำเพ็ญกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ครบรอบ ๑๑๐ ปี (๒๗ มีนาคม ๒๕๖๔) และมอบรางวัลให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น และผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในสังกัดกรมศิลปากร โดยมี นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธี ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          นับแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ เพื่ออนุรักษ์ คุ้มครอง สร้างสรรค์ และสืบทอดงานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบมาจนบัดนี้ นับเป็นเวลา ๑๑๐ ปี ที่กรมศิลปากร ได้ดำรงหน้าที่ในการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ คุ้มครอง สืบทอด ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สร้างสรรค์ และเผยแพร่งานที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เอกสารโบราณ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม จารีตประเพณี ศิลปกรรมแขนงต่างๆ ตลอดจนงานด้านนาฏศิลป์และดนตรีอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด มีเป้าหมายในการขับเคลื่อน งานด้านมรดกวัฒนธรรมของชาติ ได้รับการพัฒนาสร้างสรรค์บนหลักความถูกต้องทางวิชาการ มีคุณภาพและมาตรฐาน สังคมและประเทศชาติได้ประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษา การเรียนรู้ และด้านการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้สำคัญให้กับชุมชนและประเทศชาติ          ปัจจุบันกรมศิลปากร เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ ด้าน โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ ด้านนาฏดุริยางคศิลป์ ด้านภาษา เอกสารและหนังสือ ด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แบ่งส่วนราชการเป็น สำนักบริหารกลาง สำนักการสังคีต กองโบราณคดี กองโบราณคดีใต้น้ำ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ สำนักช่างสิบหมู่ สำนักสถาปัตยกรรม สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม สำนักศิลปากรที่ ๑ – ๑๒ และหน่วยงานขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมศิลปากร ๒ หน่วยงาน คือ กลุ่มตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร           กรมศิลปากร ตระหนักถึงภาระหน้าที่ในการทำนุบำรุง สืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ และ การสนองงานรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานในการธำรงรักษาจารีตประเพณี การอนุรักษ์ บำรุงรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยี และสร้างสรรค์ต่อยอด เพิ่มคุณค่ามรดกศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนถ่ายทอดเผยแพร่องค์ความรู้สู่ประชาชน อันจะส่งผลให้มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป


    อยุธยา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ หรือประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ปีมาแล้ว     ไม้ ลงรักปิดทอง     ขนาด สูง ๕๔ เซนติเมตร กว้าง ๔๘ เซนติเมตร ยาว ๗๘ เซนติเมตร     หีบพระธรรม ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขียนลายรดน้ำทั้งสี่ด้านตลอดทั้งใบ ลายในช่องกระจกของตัวหีบทั้ง ๔ ด้านเขียนพื้นหลังด้วยลายพันธุ์พฤกษาและโขดหินมีสัตว์ต่างๆ แสดงป่าหิมพานต์ ลายในช่องกระจกเล็กๆ ๑๒ ช่องของฝาหีบ มีรูปสัตว์ประจำปีนักษัตรรูปละช่องเรียงกันไป ดังนี้ ด้านหน้า ๔ ช่อง ได้แก่ ชวด (หนู) ฉลู (โค/วัว) ขาล (เสือ) เถาะ (กระต่าย) ด้านข้างซ้าย ๒ ช่อง ได้แก่ มะโรง (งูใหญ่) มะเส็ง (งูเล็ก) ด้านหลัง ๔ ช่อง ได้แก่ มะเมีย (ม้า) มะแม (แพะ) วอก (ลิง) ระกา (ไก่) ด้านข้างขวา ๒ ช่อง ได้แก่  จอ (สุนัข/หมา) กุน (หมู) ธรรมเนียมการใช้ปีนักษัตร สัตว์ทั้ง ๑๒ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำแต่ละปี  มาจากจีนโบราณ และเป็นที่รู้จักในพื้นที่สุวรรณภูมิ แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ในศิลาจารึกเขมร ปรากฏหลักฐานการใช้ปีนักษัตรมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว)       ปัจจุบันหีบพระธรรม ลายรดน้ำ จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยา  อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร    ค้นคว้าโดย นางสาวเณศรา ประสพถิ่น นักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ


Messenger