ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ



        ภาชนะรูปแมว          ภาชนะจากแหล่งเตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘         นายโยธิน-นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ มอบให้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔         ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร         ภาชนะทรงโถรูปแมวนั่งมองตรง ดวงตาเปิดกลมโต จมูกยื่นเล็กน้อย (ชิ้นทางขวามีหนวดเป็นเส้น) ส่วนหูชำรุดหักหาย ด้านบนภาชนะเจาะรูเป็นวงกลม ส่วนคอ        คอด มีลายขูดขีดคล้ายกับทำเป็นสร้อยคอ (ชิ้นทางซ้ายประดับด้วยกระดิ่งไว้กึ่งกลางสร้อยคอ) ลำตัวภาชนะป่อง ก้นภาชนะสอบเข้าหากัน          ภาชนะทรงโถรูปแมวชิ้นทางขวา เคลือบสีเดียวแบบที่พบในกลุ่มเครื่องถ้วยของแหล่งเตาพนมดงเร็กคือ เคลือบสีน้ำตาล (มีที่มาจากออกไซด์ของเหล็ก) ทั้งชิ้น แต่ร่องรอยของน้ำเคลือบไม่สม่ำเสมอกัน          ภาชนะทรงโถรูปแมวชิ้นทางซ้าย มีลักษณะพิเศษคือการเคลือบสองสี ได้แก่สีเขียว (มีที่มาจากขี้เถ้าพืชเป็นส่วนประกอบ) บริเวณใบหน้ากับลำตัวช่วงอก ตัดกับสีน้ำตาล บริเวณส่วนดวงตา ปลายจมูก สร้อยคอ ลำตัวด้านข้างและเท้า นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของปูนที่ใช้ในการกินหมากติดอยู่ภายในซึ่งเป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงหน้าที่การใช้งานเดิมของภาชนะรูปแมวใบนี้ว่าเป็นภาชนะสำหรับใส่ปูนที่ใช้ในการกินหมากนั่นเอง     อ้างอิง Dawn F. Rooney. Khmer Ceramics Beauty and Meaning. Bangkok: Riverbook, 2010.



ชื่อเรื่อง                      ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ.                           240/17หมวดหมู่                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               64 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                        พุทธ                                      ศาสนา                                                           บทคัดย่อ/บันทึก     เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ



ประเพณี “เทศน์มหาชาติ” ซึ่งนิยมจัดในเดือนสิบสอง ตรงกับประเพณี “ตั้งธัมม์หลวง”ของภาคเหนือ นับเป็นพิธีใหญ่คู่กับประเพณีทานสลากภัตต์ และประเพณี “บุญผะเหวด” ตามฮีตสิบสองทางภาคอีสานคำว่า “มหาชาติ” หมายถึง พระเวสสันดรชาดก มีความสำคัญด้วยบารมีของพระโพธิสัตว์ครบบริบูรณ์ ๑๐ ประการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีเทศน์มหาชาติถือเป็นการบำเพ็ญกุศลครั้งใหญ่ภายในพระบรมมหาราชวัง มีการประดับตกแต่งพรรณไม้ล้อมรอบธรรมมาสน์ และจัดเครื่องบูชาถวายกัณฑ์เทศน์อย่างเอิกเกริกสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนา โปรดฯ ให้นิมนต์พระพิมลธรรม พระธรรมอุดม พระพุทธโฆษาจารย์ มาถวายพระธรรมเทศนาคาถาพัน โดยพระองค์ได้ถวายไตรจีวรและบริขาร พร้อมด้วยเครื่องกัณฑ์เทศน์บรรทุกเรือพระที่นั่งบรรลังก์ประดับโคมแขวนและปักธงมังกรจอดเทียบไว้หน้าพระตำหนักแพ ครั้งจบกัณฑ์ก็มีเรือคู่ชักและเรือพายข้าราชการมาส่งพระภิกษุสงฆ์ถึงพระอารามในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า มีเครื่องบูชาถวายกัณฑ์มหาชาติครั้งนี้ ถึง ๑๓ กระจาด ตั้งหน้ากำแพงพระมหาปราสาทมาจนถึงหน้าโรงทองและหอนาฬิกา สำหรับประกวดประชันกัน โดยคุณแว่น (คุณเสือ) พระสนมเอกได้ใส่ทาสเด็กศีรษะจุกแต่งตัวหมดจดถวายพระสงฆ์ไปเป็นสิทธิ์ขาดด้วยพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน กล่าวถึง พระราชพิธีเดือนอ้าย : พระราชกุศลเทศนามหาชาติ มีการตกแต่งเครื่องบูชาเทศนาภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ความว่า“...หลังพระที่นั่งเศวตฉัตรผูกกิ่งไม้ มีดอกไม้ร้อยห้อยย้อยเป็นพวงพู่ผูกตามกิ่งไม้ทั่วไป ...ตั้งหมากพนมพานทองมหากฐินสองพาน หมากพนมใหญ่พานแว่นฟ้าสองพาน แล้วพานนี้เปลี่ยนเป็นโคมเวียน มีต้นไม้เงินทองตั้งรายสองแถว กระถางต้นไม้ดัดลายคราม โคมพโอมแก้วรายตลอดทั้งสองข้าง หน้าแถวมีกรงนกคิรีบูน ซึ่งติดกับหม้อแก้วเลี้ยงปลาทองตั้งปิดช่องกลาง ปลายแถวตั้งขันเทียนคาถาพัน ตามตะเกียงกิ่งที่เสาแขวนฉากเทศน์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์...”ทั้งนี้ยังมีธรรมเนียมให้แสดงให้เห็นเครื่องบูชากัณฑ์เรียงรายจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ "โคมเวียน" เป็นโคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนา เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่างๆทั้งนี้ยังปรากฏธรรมเนียมให้พระราชโอรสฝึกหัดกัณฑ์เทศน์ถวายด้วย ครั้งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ ๕) เป็นสามเณรและได้ถวายเทศน์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้จัดเครื่องบูชากัณฑ์สำหรับเฉพาะพระองค์ อันเป็นกระจาดใหญ่รูปเรือสำเภาบริเวณหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ว่า “...พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ คราวผนวชเป็นสามเณรได้ถวายกัณฑ์เทศน์แทบทุกองค์ โปรดให้พระราชครูพิราม (ชู) อยู่ในกรมราชบัณฑิตเป็นผู้ฝึกหัด”จากพระราชพิธีพระราชกุศลเทศนามหาชาติภายในพระบรมมหาราชวัง นับเป็นพระราชพิธีบำเพ็ญราชกุศล ซึ่งทำให้เห็นความเลื่อมใสศรัทธาและสถานะองค์ศาสนูปถัมภก ตามเจตนาน้อมในพระบรมพุทธาภิเษกสมบัติ อันได้นำพาสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพานอย่างสมบูรณ์_____________________ภาพประกอบ : โคมเวียน สมัยรัชกาลที่ ๒ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔) ภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประกอบด้วย ตัวโคมและที่ครอบ ทำรูปร่างคล้ายมณฑปทรงแปดเหลี่ยม มีสามชั้น แต่ละชั้นทำมุขโถงยื่นออกมา ๔ ทิศ มีพนักระเบียง ผนังลงรักปิดทองประดับกระจกสี และเจาะเป็นช่องหน้าต่างลายอย่างเทศ เพื่อให้มองเห็นจิตรกรรมเวสสันดรชาดก มีหลังคาทรงกระโจมยอดดอกบัวตูม เมื่อจุดไฟแล้วครอบนั้นหมุนได้ สำหรับใช้ประกอบสถานที่ในพิธีเทศน์มหาชาติ..อ้างอิงจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ" พระราชพิธีสิบสองเดือน". กรุงเทพฯ: บรรณาการ, ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์.ธนิต อยู่โพธิ์. ตำนานเทศน์มหาชาติ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๔.จารุณี อินเฉิดฉาย และคณะ. คุณธรรม จริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๕๑เทศม์หาชาติ อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางมรรคาคำณวน ( ละมูล ปิ่นแสง ). กรุงเทพฯ : วรวุฒิการพิมพ์. ๒๕๑๖.ประสงค์ รายณสุข และสมิทธิพล เนตรนิมิตร .ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ใน วารสารมจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. ๒,๒(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๒)


ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 15 เซนติเมตร ปากกว้าง 14.5 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยกลาง 3,000 - 2,300 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผาก้นแหลมสีขาวนวล มีสัน มีการตกแต่งด้วยลายขูดขีด เป็นเส้นขนานและเขียนสีระหว่างช่อง เป็นเส้นตรง และเส้นโค้ง จำนวนอย่างละ 2 แถว บริเวณคอและไหล่ภาชนะ และมีการตกแต่งภาชนะส่วนที่เหลือด้วยลาย เชือกทาบสภาพ : ...ประวัติ : ได้รับมอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เดิมเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นสถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/28/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.78 เวชศาสตร์_ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย      สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              34; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    เวชศาสตร์                  ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538


           วันนี้ (วันศุกร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗) เวลา ๐๙.๔๕ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสมโภชพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ นำออกให้ประชาชนสักการะและสรงน้ำขอพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนร่วมในพิธี           กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่ จึงได้อัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมทีประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญที่ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์  เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนสืบทอดองค์ความรู้ในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่   นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์)  ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวงพระจันทร์ ทรงม้าพระอังคาร ทรงมหิงสาพระพุธ ทรงคชสารพระพฤหัสบดี ทรงกวางพระศุกร์ ทรงโคพระเสาร์ ทรงพยัคฆ์พระราหู ทรงพญาครุฑและ พระเกตุ ทรงนาค             สำหรับประติมากรรมเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ที่อัญเชิญมาประดิษฐานตามระบบทักษาในแผนผังอัฐจักรนี้ สร้างขึ้นตามแบบเทวดานพเคราะห์ของไทย แต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเทวรูปในสมุดไทยหมวดตำราภาพเทวรูปไสยาศาสตร์ เล่มที่ ๗๐ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๒ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าองค์ที่ ๔ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งประติมากรรมเทวดานี้มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมเทพยดาบนบานประตูหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ทรงร่วมในการควบคุมการก่อสร้างเช่นกัน ความพิเศษของประติมากรรมชุดนี้ คือ สามารถถ่ายทอดรูปแบบของเทวดา  นพเคราะห์ให้ออกมาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว แสดงท่าทางและลักษณะได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ และลักษณะของเทพแต่ละองค์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบลักษณะประติมานวิทยากับภาพใน  สมุดไทย และรูปสัตว์ที่มีความเหมือนจริงเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากตะวันตก    พุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เรื่อง "อมลกะ สัญลักษณ์แห่งการกำเนิดอันบริสุทธิ์และความเป็นอมตะ"     อมลกะ (Amalaka) คือ ส่วนยอดของปราสาทในศิลปะอินเดียและศิลปะขอม ลักษณะกลมแป้นเป็นลอนโดยรอบ อมลกะประกอบเข้ากับกลศใช้เป็นชุดยอดบนสุดของปราสาทเพื่อรองรับนภศูล ซึ่งคำว่า “อมลกะ” (อะ-มะ-ละ-กะ) มาจากคำว่า “อมลกิ” ในภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “ลูกมะขามป้อม” เป็นผลไม้ที่ถูกนำมาแทน “เมล็ด” แห่งการสร้างจักรวาลตามคติอินเดีย การนำมาใช้ประดับปราสาทย่อมแสดงว่าเทพเจ้าผู้ประทับในปราสาทนั้นๆ เป็นพระผู้สร้างผู้ยิ่งใหญ่ โดยในคติความเชื่อของฮินดู อมลกะเป็นสัญลักษณ์แห่งการกำเนิดอันบริสุทธิ์และความเป็นอมตะ     อมลกะยังมีความสอดคล้องกับส่วนยอดสุดของอิฐโปร่ง ๓ ก้อน (สวยมาตฤณณา) ที่จัดวางไว้ตามชั้นต่างๆ ของแท่นบูชาในยุคพระเวท เพื่อแสดงถึงโลกทั้งสามคือ โลกมนุษย์ ชั้นบรรยากาศ และสวรรค์ เนื่องจากอมลกะตั้งอยู่บนยอดวิหารจึงเป็นเครื่องแสดงถึงโลกสวรรค์ นอกจากนี้อมลกะยังเป็นชื่อของต้นไม้ที่ออกผลเป็นรูปคล้ายวงหินฟันเฟืองของวิหาร และในนิยายปรัมปราของฮินดู อมลกะคือต้นไม้ดึกดำบรรพ์ที่เติบโตขึ้นเป็นต้นแรกของโลก และเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทั้งสามในตรีมูรติ คือ พระวิษณุประทับนั่งอยู่ที่โคนต้น  พระพรหมประทับเหนือขึ้นไป และพระศิวะประทับอยู่ในระดับสูงกว่านั้น เทวดาทั้งหลายเป็นใบไม้ ดอกไม้ และผล ส่วนพระอาทิตย์ก็ทรงพักพิงอยู่ที่กิ่งก้านสาขา       อมลกะ เป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ทั่วไปในพุทธศิลป์และใช้กันแพร่หลายในสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา  นอกจากยอดแล้ว อมลกะสามารถอยู่ที่เก็จมุม (เก็จกรรณะ) ของชั้นหลังคาได้ด้วย เนื่องจากเดิมบริเวณนี้เคยเป็นอาคารจำลองยอดอมลกะ ต่อมาเมื่อกลืนหายไปกับชั้นหลังคาจึงทำให้ชั้นหลังคามีอมลกะแทรกอยู่ อมลกะอาจเข้ามาผสมผสานกับยอดแบบอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้หลายกรณี เช่น เข้ามาผสมกับสถูปิกะ หรือเข้ามากลายเป็นดอกบัวยอดปราสาท ทั้งนี้ช่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้นำเอาเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ อมลกะ คือ “ความเป็นริ้วมะเฟือง” มาใช้ในงานสถาปัตยกรรมด้วย      เมืองศรีสัชนาลัยพบสถาปัตยกรรมที่มีการประดับส่วนยอดด้วยอมลกะ ได้แก่ เจดีย์รายหมายเลข ๑๓ ของวัดเจดีย์เจ็ดแถว ซึ่งส่วนบนของเจดีย์เป็นฐานบัวตั้งซ้อนขึ้นไป ๗ ชั้น จนถึงชั้นบัวคว่ำ-บัวหงาย และหยักมุมต่อเนื่องขึ้นมาจากส่วนกลางนั้นหยักสอบขึ้นสู่ยอด ประดับด้วยทรงคล้ายลูกฟักทอง (อมลกะ) ต่อยอดด้วยทรงถ้วยคว่ำที่ประดับด้วยแถวรูปกลีบบัวคว่ำ   และเจดีย์รายของวัดพรหมสี่หน้า โดยเจดีย์รายองค์นี้อยู่ด้านหลังมณฑปประธาน ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงวิมานที่มีหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นสูง ยอดประดับอมลกะ (ซึ่งพบตกอยู่ใกล้กับองค์เจดีย์) เช่นเดียวกับเจดีย์รายของวัดเจดีย์เจ็ดแถว เอกสารอ้างอิงเชษฐ์ ติงสัญชลี. ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๒๖.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์สมัยสุโขทัย วัดเจดีย์เจ็ดแถว. นนทบุรี : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๓๔.สำนักโบราณคดี ศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๐.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. รายงานการตรวจสอบสภาพโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประจำปี ๒๕๕๘. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, ๒๕๕๘.เอเดรียน สนอดกราส. สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท. ๒๕๓๕.อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม. บัวยอดปราสาท. กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร. สืบค้นจากhttps://www.finearts.go.th/promotion/view/๓๕๗๓๖. (เข้าถึงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗).


         ปูนปั้นเล่าเรื่องชาดก สูปารคะ หรือ สมุทรวาณิชย์          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น          - ขนาด กว้าง ๙๕.๕ ซม. ยาว ๗๘ ซม. หนา ๕ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จาการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. 2511 ชาดกทั้งสองเรื่องเป็นตอน พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นคนพายเรือ ซึ่งได้นำพาผู้เดือดร้อนทั้งหลายฝ่าภัยอันตรายไปได้ โดยในเรื่องสูปารคะพระโพธิสัตว์เป็นนายเรือชรา ตาฝ้าฟาง ส่วนในเรื่องสมุทรวาณิชย์พระโพธิสัตว์เป็นนายช่างไม้ผู้มีบุญบารมีนำพาฝูงมหาชนรอดจากอันตราย   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40108   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ และเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 เรื่อง “เอกสารโบราณ มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทย ในยุคดิจิทัล” ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี


ชื่อเรื่อง                     นิพฺพานสุตฺต (นิพพานสูตร)สพ.บ.                       463/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     นิพพาน                              พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                38 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง  จ.สุพรรณบุรี


เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทอดพระเนตรกิจการของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในโอกาสที่ได้ดำเนินกิจการมาครบ ๒๕ ปี โอกาสนี้ทรงเปิดป้าย อาคารทวิช กลุ่นประทุม จากนั้นทรงพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรภายในอาคารที่ใช้เป็นอาคารร้านค้าสหกรณ์ แล้วทรงพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการที่เกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ และทรงพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการผลิตนม ยู.เอช.ที ณ อาคารเดชสหกรณ์ ห้องเก็บผลิตภัณฑ์นมและโรงงานผลิตอาหารโคนม ตามลำดับรหัสเอกสาร ภ หจภ กษ ๕.๑/๑๗


Messenger