ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ โบราณสถานเมืองรุกขนคร วัดร้างศรีจันทร์ วัดร้างนาป่ง และวัดแต้มร้าง ตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี โดยมีผู้บริหารกรมศิลปากร หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ ทั้งนี้ท่านอธิบดีได้ให้แนวทาง ทิศทางในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โบราณสถานวัดแก้ว (วัดรัตนาราม) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านวัดแก้ว ถนนสันตินิมิต ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดโบราณคู่กับวัดหลง มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ทรงปราสาทโครงสร้างก่ออิฐไม่สอปูน อยู่ในผังรูปกากบาทประกอบด้วย เรือนธาตุ และมุขทั้งสี่ด้าน ฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานเขียงรูปกากบาท ลักษณะเป็นฐานประทักษิณ มีบันไดทางขึ้นด้านตะวันออก และตะวันตก ผนังด้านนอกอาคารมีการตกแต่งด้วยเสาติดผนัง และเซาะร่องผ่ากลางเสาจากโคนไปถึงยอดเสา
ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับจันทิกะลาสันในศิลปะชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซีย และปราสาทมิเซน และปราสาทดงเดือง ในศิลปะจาม ประเทศเวียดนาม จึงกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15
ปัจจุบันอาคารโบราณสถานพังทลายเหลือเพียงส่วนฐานถึงเรือนธาตุ ส่วนเครื่องยอด หรือหลังคาหักพังลงมาหมดแล้ว กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 1532 วันที่ 27 กันยายน 2497
ใน พ.ศ. 2564 สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ดำเนินการขุดค้นเจดีย์วัดแก้วบริเวณทิศใต้ติดกับส่วนฐานเจดีย์ ขนาดหลุมกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร ความลึก 1.20 เมตรจากระดับผิวดิน เพื่อตรวจสอบฐานอาคารโบราณสถานเจดีย์วัดแก้ว ผลจากการขุดค้นพบสิ่งสำคัญ ได้แก่
1. เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน พบในระดับผิวดิน โดยจะพบเป็นเศษภาชนะดินเผาผิวเรียบมี 2 สี ได้แก่ สีเทา และสีส้ม สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาพื้นเมือง
2. เศษแก้ว และลูกปัดแก้ว พบในระดับผิวดิน เป็นเศษแก้วใสสีฟ้า และลูกปัดแก้วสีเหลือง
3. เศษเครื่องถ้วยจีน พบในระดับลึกลงไปจากระดับผิวดิน พบเครื่องถ้วยจีนเคลือบเขียว เคลือบน้ำตาล และลายคราม บางชิ้นสามารถกำหนดอายุสมัยราชวงศ์หมิง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22) ลักษณะเป็นเครื่องถ้วยจีนลายคราม เขียนลายดอกไม้ และเส้นรอบก้นถ้วย 2 เส้น
4. แนวฐานเจดีย์โบราณสถานวัดแก้ว พบแนวอิฐเรียงตัวในแนวเดียวกัน นับจากระดับผิวดินลงไปได้ 7 ชั้น ซึ่งชั้นล่างสุดของอาคารโบราณสถานมีการนำเศษอิฐมาปรับพื้นที่ให้ได้ระนาบ หรือบดอัดเป็นส่วนฐานรากก่อนการก่อสร้างอาคาร
จากการขุดค้นโบราณสถานวัดแก้ว พบโบราณวัตถุประเภทเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน สันนิษฐานว่าเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้ผลิตขึ้นจากแหล่งเตาพื้นเมือง และพบเศษเครื่องถ้วยจีน ซึ่งบางชิ้นสามารถบอกอายุสมัยได้ว่าอยู่ช่วงราชวงศ์หมิง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22) แสดงให้เห็นการใช้งานพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้ในสมัยอยุธยา
นอกจากนี้ ยังพบว่าส่วนฐานอาคาร มีการนำเศษอิฐมาปรับพื้นที่ให้ได้ระนาบหรือบดอัดเป็นส่วนฐานรากก่อนการก่อสร้างอาคาร และพบร่องรอยการปรับพื้นที่ก่อนการบูรณะอาคารโบราณสถานอีกด้วย
-------------------------------------------------------------
เรียบเรียง/กราฟิก : นายณัฐพล พิทักษ์รัตน์ นักวิชาการวัฒนธรรม
ตรวจทาน : นายจักรพันธ์ เพ็งประไพ นักโบราณคดีชำนาญการ
-------------------------------------------------------------
อ้างอิง
1. กรมศิลปากร. โบราณสถานแหล่งโบราณคดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2553. (อัดสำเนา)
2. กรมศิลปากร. รายงานการบรรยาย และเสวนา คาบสมุทรภาคใต้ตอนบนของไทย ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. 2564.
3. เขมชาติ เทพไชย. การสำรวจขุดค้นวัดแก้ว อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. นิตยสารศิลปากร. 24, 2523. หน้า 13-23.
4. นภัคมน ทองเฝือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2563.
--------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
https://www.facebook.com/100055227468299/posts/pfbid025navCF8gEisfk6FtAk6nxJp8B3aD98pQX4ppaMbai41BhGatDoToVfaF67btkPK4l/?d=n
---------------------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ใกล้ถึงงานประเพณีลอยกระทงประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ แล้ว #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า ขอนำเสนอ ❝ รวมข้อมูลองค์ความรู้ : ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ❞.เพื่อให้ผู้สนใจทุกท่านได้รับทราบข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ #งานประเพณีลอยกระทง ไม่ว่าจะเป็นตำนาน ความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระประทีป ไฟพระฤกษ์ พระแว่นสูรยกานต์ ฯลฯ โดยทีมงาน #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า ได้รวบรวมมาไว้ ณ ที่นี้แล้ว และหวังว่าทุกท่านจะร่วมเที่ยวชมงานประเพณีลอยกระทง ณ ทุกสถานที่อย่างสุขสันต์มีอรรถรสกันยิ่งขึ้นนะคะ.. ::: จัดทำข้อมูลและ infographic เผยแพร่ โดย ::: สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ๒๑๖ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ๖๔๒๑๐ โทร. ๐๕๕๖๙๗๓๖๔ email : fad_060@hotmail.com.::: ที่มา ::: ข้อมูลเกี่ยวกับงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย โดย นายธนากรณ์ มณีกุล นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเรียบเรียง.#พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์#ลอยกระทง2565 #งานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟจังหวัดสุโขทัย #อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย #มรดกโลก #งานประเพณีระดับชาติ #แหล่งข้อมูลองค์ความรู้_ประเพณีลอยกระทง#ไฟพระฤกษ์ #ไฟพระฤกษ์พระราชทาน #ขบวนอัญเชิญไฟพระฤกษ์ #พระประทีป #พระประทีปพระราชทาน #พระแว่นสูรยกานต์.……………………………………………………………………………………….☆ ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ☆กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่Facebook Fanpage https://www.facebook.com/fad6sukhothaiYoutube https://www.youtube.com/c/สํานักศิลปากรที่6สุโขทัย
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 128/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 163/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มุขลึงค์
สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓
พบที่หลังสถานีหนองหวาย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำมาไว้ในพิพิธภัณฑสถานฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ศิลาสลักรูปศิวลึงค์ แบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนฐานสลักเป็นฐานสี่เหลี่ยม ส่วนกลางสลักเป็นทรงแปดเหลี่ยม ส่วนยอดสลักเป็นทรงโค้งมน กึ่งกลางส่วนยอดด้านหนึ่งสลักรูปพระเศียรพระศิวะ ทรงรวบพระเกศาขึ้นเป็นชฎามงกุฏ (การเกล้าผมขึ้นเป็นมวยแบบนักบวช) ทัดจันทร์เสี้ยว* กึ่งกลางพระนลาฏมีพระเนตรที่สาม พระเนตรเปิดมองตรง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียบ พระกรรณยาว
ศิวลึงค์นี้แสดงสัญลักษณ์ของการรวมเทพเจ้าสามองค์ ได้แก่ ส่วนบนสุดทรงโค้งมนเรียกว่า รุทรภาค หมายถึงพระศิวะ ส่วนกลางทรงแปดเหลี่ยม เรียกว่า วิษณุภาค หมายถึงพระวิษณุ และส่วนล่างทรงสี่เหลี่ยม เรียกว่า พรหมภาค หมายถึงพระพรหม
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา ทรงประทานความเห็นเกี่ยวกับมุขลึงค์ชิ้นนี้ภายหลังจากที่ทอดพระเนตรภาพถ่าย ความตอนหนึ่งว่า
“...ได้ตรวจดูรูปสัณฐานที่ปรากฏในฉายาลักษณ ศิวลึงค์อย่างนี้ต้องตำราเรียกว่า “มุขลึงค์” แบบอย่างและฝีมือที่ทำเปนของสมัยศรีวิชัย ประมาณในระวาง พ.ศ. ๑๖๐๐ จน พ.ซศ. ๑๘๐๐ เปนของแปลกดีหายากด้วย สมควรจะเอามารักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร...”
พร้อมทั้งพระองค์มีลายพระหัตถ์ถึง ยัง อำมาตย์ตรี พระสุราษฎร์ธานีฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในขณะนั้น เพื่อสอบถามถึงผู้ที่ค้นพบและสถานที่พบ และต่อมาได้รับรายงานว่าผู้ค้นพบคือ หลวงวิชิตภักดี นายอำเภอเขาขาว เป็นผู้ค้นพบและแจ้งเรื่องไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ขอเรียนให้ทราบว่า ศิลาศิวะลึงค์องค์นี้ ข้าพเจ้าได้ไปค้นพบที่ปากชาวบ้าน**เรียกว่า วัดเนะ หรือภิเนก อยู่ในตำบลท่าชนะใกล้สถานีหนองหวาย ในท้องที่อำเภอเมืองไชยา ที่ตรงศิวลึงค์ตั้ง ๆ บนแท่นศิลา ๔ เหลี่ยมกว้างยาวขนาด ๑ เมตร์ เมื่อข้าพเจ้าได้พบแล้วจึงได้จัดการพาไปไว้...”
*มีที่มาจากตำนานว่า พระจันทร์ได้ขอประทับอยู่บนพระเศียรของพระศิวะ หลังจากถูกพระทักษะสาปให้เสื่อมแสง
**หมายถึง คำที่คนในพื้นที่เรียก ซึ่งปัจจุบันคือ วัดพิฆเณศวร (ร้าง)
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปแบบ พัฒนาการ ความหมาย.พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ.๒.๑.๑/๔๗. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ขอให้ส่งมุขลึงค์ ซึ่งขุดพบที่แขวงจังหวัดสุราษฎร์ธานี (๒๑ มีนาคม ๒๔๗๑ - ๑๙ มิ.ย. ๒๔๗๒).
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 18/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
แนะนำ E-book หนังสือหายาก
ป.พิบูลสงคราม, จอมพล. ประวัติศาสตร์สุโขทัย (ภาค1). พระนคร: ไทยบริการ, 2498.
ชื่อผู้แต่ง อนุมานราชธน , พระยา
ชื่อเรื่อง เรื่องเมืองสวรรค์และโลกหน้า
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์แพร่การช่าง
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๓
จำนวนหน้า ๑๑๒ หน้า
นายสมบัติ พัฒน์พงศ์พานิช ประสงค์จะได้เรื่องหนังสือไปตีพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางทองอยู่ พัฒน์พงศ์พานิช ผู้เป็นพี่ชาย ข้าพเจ้า(เสถียรโกเสฐ) เลือกได้สวรรค์และเรื่องโลกหน้า ซึ่งพอจะจัดพิมพ์ได้ทันกับงานในเวลาอันกระชั้นชิดมอบให้ไปตามประสงค์ เรื่องเมืองสวรรค์ตามที่มีพรรณาไว้ในหนังสือเล่มนี้ มีที่มาจากหนังสือไตรภูมิ เมื่อเอ่ยถึงเมืองสวรรค์ใครๆที่เป็นชาวพุทธย่อมรู้จักและอยากขึ้นไปเกิดอยู่บนนั้น ความจริงเรื่องเมืองสวรรค์มีอยู่ในศาสนาพราหมณ์ก่อนพุทธศาสนามานานแล้ว
เลขทะเบียน : นพ.บ.441/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.6 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157 (141-148) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ทศชาติ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.586/3 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 190 (378-384) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : สิงคาลสุด--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม