ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

ชื่อผู้แต่ง        :   ดำรงราชานุภาพ , สมเด็จฯ กรมพระยาชื่อเรื่อง          :   จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕ครั้งที่พิมพ์      :   พิมพ์ครั้งที่ ๒๙สถานที่พิมพ์   :   กรุงเทพสำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์          :   ๒๕๓๑จำนวนหน้า     :  ๑๑๖ หน้าหมายเหตุ        :   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฉลวย  ชุทรัพย์  ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๓  พฤศจิกายน  พุทธศักราช ๒๕๓๑                       เรื่อง จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายไว้เมื่อคราวพิมพ์ครั้งแรกว่า พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโปรดฯ ในการเด็จประพาสตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเหตุที่เรียกว่าประพาสต้นนั้น เกิดเมื่อเสด็จในคราวนี้ โปรดให้เจ้าหมื่นเสมอใจราช เป็นผู้คุมเครื่องครัว (เจ้าหมื่น ชื่ออ้น จึงทรงดำรัสเรียก เรือลำนั้นว่า “เรือตาอ้น” เรียกเร็วๆ เสียงเป็น “เรือต้น”                             



Staminamad.ชันโรง.จันท์ยิ้ม.:12;กันยายน 2559 “ชันโรง” เจ้าตัวนี้มันคืออะไร ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินชื่อ มาก่อน วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับเจ้าชันโรง แมลงสีดำตัวเล็ก ๆ ที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ชอบอยู่ใกล้ชิดกับคนโดยชอบทำรัง ตามบ้านเรือน เช่น ตามหน้าต่าง หลังคา ฝาผนัง เจ้าแมลงตัวนี้ เป็นตัวที่ช่วยผสมเกสรให้พืชเจริญเติบโตให้ดอกให้ผล ช่วยเพิ่มผลผลิต ผลไม้ในสวนแบบปลอดสารเคมี แถมยังมีผลพลอยได้เป็นน้ำ


“โอม มณี ปัทเม หุม” ดวงแก้วมณีที่อุบัติขึ้นในดอกบัว บทสวดสรรเสริญพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร           พระโพธิสัตว์ มาจากคำว่า “โพธิ” หมายถึง ความรู้แจ้งเห็นจริงในทุกสิ่ง และ “สัตว์” หมายถึง แก่น สาระ และ ปัจจัย ตามคติพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานพระโพธิสัตว์มีหน้าที่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์และบรรลุนิพพาน พระโพธิสัตว์ในคติความเชื่อของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้นมีมากมายเปรียบเสมือนเม็ดทรายในมหาคงคานที โดยพระโพธิสัตว์ที่มีการนับถืออย่างแพร่หลายมีนามว่า “อวโลกิเตศวร” อวโลกิเตศวร ตามรูปศัพท์แปลว่า ผู้มองลงเบื้องล่าง ด้วยความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ คุณสมบัติคือ “มหากรุณา” ด้วยทรงปฏิเสธนิพพานเพื่อประสงค์จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหมดให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ถือกำเนิดจากธยานิพุทธอมิตาภะ มีหน้าที่ปกป้องดูแลสัตว์โลกในยุคปัจจุบัน หรือ “ภัทรกัลป์” กล่าวคือ ในช่วงที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (โคตมพุทธเจ้า) เสด็จปรินิพพาน จนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ (พระศรีอาริยะเมตไตรย) มาตรัสรู้จึงจะหมดหน้าที่ ในภายหลังที่ลัทธิตันตระหรือวัชรยานถือกำเนิด พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้รับยกย่องเป็น “ผู้คุ้มครองโลก” ปรากฏในนาม “พระโลกนาถ” คัมภีร์โลเกศวรศตกะ ระบุว่า พระองค์เป็นผู้เป็นใหญ่ในโลก ให้แสงสว่างอันมั่นคง แสงของพระองค์ที่คงอยู่ตลอดกาลได้กำจัดความมืดมนอันหนาแน่นแห่งอวิชชาซึ่งเกิดจากสังสารวัฏ รูปแบบสำคัญของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่พบแพร่หลายในลัทธินี้ คือ “พระโพธิสัตว์ปัทมปาณี” หมายถึง “อวโลกิเตศวรผู้ถือดอกบัว” โดยดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจในการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นอำนาจที่ได้รับจากธยานิพุทธอมิตาภะ นอกจากนี้ ยังพบการเคารพบูชาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในปางสมันตมุข หรือเอกาทศมุข โดยเป็นการเนรมิตกายในรูป 11 เศียร 22 กร สมันตมุข แปลว่า มีพระพักตร์รอบทิศหรือเห็นได้โดยรอบ มีความหมายสอดคล้องกับข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงดูแลสรรพสัตว์ทุกภพทุกภูมิทุกทิศ ช่วยเหลือให้พ้นจากมหันตภัยนานัปการ คติการบูชาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแพร่หลายเข้าสู่คาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อย่างน้อยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ผ่านการรับนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 พุทธศาสนาลัทธิตันตระหรือวัชรยานได้เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คน ในช่วงเวลานี้พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้รับความเคารพอย่างสูงสุด ปรากฏหลักฐานประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจำนวนมากกระจายอยู่ตามชุมชนโบราณทั้ง 2 ฝั่งทะเลสาบสงขลา ทั้งในรูปแบบของพระโพธิสัตว์โลกนาถ พระโพธิสัตว์ปัทมปาณี และพระโพธิสัตว์สมันตมุข เหตุแห่งความแพร่หลายนั้น สันนิษฐานว่ามาจากคุณสมบัติเฉพาะของพระองค์คือ ทรงเป็นผู้ปกป้องรักษาผู้เดินทางให้ปลอดภัย “Om mani padme hum” Jeweled Ornament Emerging in the Lotus Chantra for Avalokitesvara Bodhisattva Bodhisattva is derived from “Bodhi”, which means transcendental enlightenment, and “Sattva”, which means cores or qualities. According to Mahayana Buddhism, Bodhisattva is committed to enable all beings to let go of suffering and achieve enlightenment or “nibbhana”. For Mahayanists, Bodhisattvas are as countless as the grains of sand at the bottom of the sacred river Ganges. A Bodhisattava that is widely worshipped is “Avalokitesvara”. The name Avalokitesvara means “The Lord who looks down with divine compassion.” One of his quality is “great mercy”, for he postponed his own enlightenment in order to free all creatures from their suffering. Avalokitesvara is an emanation of Amitabha, presiding to safeguard all beings in the present age which is a period between the time the present Buddha, Gautama Buddha, attained Parinibbhanaand – the total release from the cycle of rebirth – and the enlightenment of the future Buddha, “Phra Sri-Araya-Metrai”. After Tantrism or Vajrayana Buddhism originated, Avalokitesvara was revered as the “Protector of The Universe” or “Lokanath”. According to the Lokesvara-Sataka scripture, he is a supreme being who shines an eternal cleansing light upon the darkness of Avijja; the ignorances born of the cycle of rebirth. One of the most prominent form of Avalokitesvara among Vajrayana Buddhism tradition is “Padmapani Bodhisattva”, which means “the Lord who holds the lotus”; the lotus symbolizes the power of creation given by Amitabha Buddha. Avalokitesavara Samuntamuk Bodhisattva, the form in which he possessed 11 heads and 22 hands, was also worshipped. “Samuntamuk” means having circumambient faces and abilities to see all that surround, which is consistent with the scripture in the Lotus Sutra: “Avalokitesvara Bodhisattva tended to all beings in all worlds, protecting them from calamities.” The worship of Avalokitesvara Bodhisattva has been manifested to Sathing Phra Peninsula and Songkhla Lake Basin since the 12th century Buddhist Era (BE) through Mahayana Buddhism. Later in the 14th-15th centuries BE, Tantric or Vajrayana Buddhism started to have more influence. It was during this era that Avalokitesvara Bodhisattva gained the highest veneration. A myriad of Avalokitesvara Bodhisattva statues was found in forms of Lokanath Bodhisattva, Padmapani Bodhisattva, and Samuntamuk Bhodisatava in the two ancient communities on the sides of Songkhla Lake. It is assumed that his prevalence came from the belief that he protects travelers from harm ............................................................ เรียบเรียง/ ออกแบบกราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ / ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา แปล: นางสาวพุทธวรรณ เจนจิต, นายณัฐพงศ์ ไพรัชวรรณ อ้างอิง: 1. ชัยวุฒิ พิยะกูล. พระพุทธศาสนาบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ. ใน พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมโม). ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์. 205 - 236. สงขลา: วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (พระอารามหลวง), 2562. 2. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543. 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ปฐมบทพระพุทธศาสนาในภาคใต้ ประเทศไทย: หลักธรรมและหลักฐานโบราณคดี. นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง จำกัด, 2557. 4. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. 5. องอาจ ศรียะพันธ์. รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/pg/songkhlanationalmuseum/photos/?tab=album&album_id=3039042366159678


  ชื่อเรื่อง :  จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗   ผู้แต่ง :  ศิลปากร,กรม   พิมพ์ครั้งที่  :  ๑   ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๘   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์                          จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นี้รวบรวมจารึก ๔ หลัก พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้สร้างขึ้นเมื่อประดิษฐานไว้ ณ สถานพยาบาลซึ่งพระองค์ให้สร้างไว้ในเมืองต่างๆ รอบอาณาจักร ได้แก่ จารึกปราสาทตาเมียนโตจจารึกด่านประคำ จารึกปราสาท จารึกทั้ง ๓ หลักนี้พบในบริเวณ จังหวัดสุรินทร์และจารึกพิมายพบที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา



จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕



***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 16(7)      ฉบับที่ 668(262)    วันที่ 16-31 ธันวาคม 2534


หลักฐานจากเอกสารจดหมายเหตุสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างประเทศไทยกับอาเซียน พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์


เมืองโบราณบ้านแม่ต้าน นางสาวนาตยา ภูศรี นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของรายงานการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีพื้นที่ชุมชนโบราณในเขตจังหวัดตากเพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งเมืองฉอด . เมืองโบราณบ้านแม่ต้านตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมฝั่งแม่น้ำเมย ในเขตตำบลแม่ต้าน อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก กรมศิลปากร ได้ดำเนินการสำรวจเมืองโบราณแห่งนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น และนายชิน อยู่ดี ได้สำรวจพบว่ามีโบราณสถานที่มีร่องรอยการบูรณะหลายสมัย และโบราณวัตถุที่พบเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นหลัง ซึ่งมีอายุไม่เก่ากว่าสมัยสุโขทัย ในพ.ศ. ๒๕๑๖ หน่วยศิลปากรที่ ๓ ในขณะนั้น (สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ในปัจจุบัน) ได้สำรวจเมืองโบราณแม่ต้านอีกครั้งหนึ่ง พบว่ามีร่องรอยของกำแพงเมืองที่เป็นคันดิน ด้านทิศตะวันตกมีรอยตัดเนินดินธรรมชาติให้เป็นคูติดกับลำห้วยลึก ซึ่งมีคันเนินดินโค้งอ้อมไปตามเชิงเขาติดลำห้วยลึกไปทางทิศเหนือจรดภูเขา ด้านทิศใต้ของเมืองติดแม่น้ำเมยซึ่งกำแพงเมืองคงพังลงน้ำไปมาก มีโบราณสถานสำคัญ ๖ แห่ง ได้แก่ วัดพระธาตุเมืองเก่าห้วยลึก วัดห้วยพระธาตุ วัดห้วยลึก วัดริมเมย วัดวังต้อม และวัดสองห้วย . ในพ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ กลุ่มโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ได้ศึกษาวิจัยชุมชนโบราณในจังหวัดตากเพื่อวิเคราะห์หาตำแหน่งที่ตั้งเมืองฉอด ซึ่งมีงานศึกษาวิจัยในส่วนของเมืองโบราณบ้านแม่ต้านรวมอยู่ด้วย ผลการศึกษาพบว่า บริเวณพื้นที่เมืองโบราณบ้านแม่ต้าน มีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพราะได้พบหลักฐานประเภทขวานหินขัด และเครื่องมือโลหะ แสดงให้เห็นความสำคัญของพื้นที่บริเวณเมืองแม่ต้าน ที่ตั้งอยู่บริเวณลานตะพักแม่น้ำเมย จึงเป็นพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพราะอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำและเป็นพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง ผลการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบ หลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่าง ๆ ทั้งหลักฐานด้านสถาปัตยกรรม และหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ ในส่วนของหลักฐานด้านสถาปัตยกรรม พบว่ามีอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปกรรมแบบล้านนา และเมื่อศึกษาจากโบราณวัตถุประเภทเศษภาชนะดินเผา พบว่าส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัยและแหล่งเตาสันกำแพง และภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาในประเทศจีน ที่กำหนดอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จึงสันนิษฐานได้ว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ได้มีการสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างเนื่องในพุทธศาสนาขึ้นในพื้นที่เมืองโบราณแห่งนี้ และมีการใช้พื้นที่ต่อเนื่องจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ดังปรากฏหลักฐานประเภทภาชนะดินเผาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเวียงกาหลง และผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตากอร์ดอน ในเขตรัฐมอญ ประเทศเมียนมา และผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น ในประเทศจีน ก่อนที่ชุมชนจะถูกทิ้งร้างไปในช่วงเวลาหลังจากนี้ . เมื่อเปรียบเทียบกับชุมชนโบราณที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ เวียงยวม ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งพร้าว อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินรูปร่างไม่สม่ำเสมอ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยวม ปัจจุบันยังปรากฏคันดินเป็นกำแพงเวียง มีคูน้ำทางด้านทิศตะวันออกและบางส่วนทางทิศใต้ พบว่ามีความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนลานตะพักแม่น้ำ เมืองโบราณบ้านแม่ต้าน ตั้งอยู่บนลานตะพักแม่น้ำเมย ขณะที่เมืองยวม ตั้งอยู่บนลานตะพักฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยวม ซึ่งจะไหลไปรวมกับแม่น้ำเมย ก่อนที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำสาละวิน และไหลออกสู่ทะเลอันดามันที่เมืองท่ามะละแหม่ง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ชุมชนโบราณบริเวณลุ่มน้ำเมย มีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณบริเวณลุ่มน้ำสาละวิน เนื่องจาก แม่น้ำเมยเป็นแม่น้ำสายย่อยของแม่น้ำสาละวิน โดยมีต้นกำเนิดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ไหลตามหุบเขาเป็นแนวยาวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทำหน้าที่เป็นแนวเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสหภาพเมียนมา ผ่านอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง ในเขตจังหวัดตาก จากนั้นจึงไหลไปบรรจบรวมกับแม่น้ำสาละวินที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนั้นจึงพบว่าวัฒนธรรมของชุมชนบริเวณลุ่มน้ำเมยตอนล่างและลุ่มน้ำสาละวิน เป็นกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน โดยเฉพาะชุมชนในเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณในเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีความสำคัญต่อล้านนา เพราะเป็นช่องทางออกสู่ทะเลของล้านนา โดยใช้เส้นทางจากแม่น้ำสาละวิน ออกสู่ทะเลที่เมืองมะละแหม่ง ความสำคัญของชุมชนโบราณเหล่านี้อาจพิจารณาได้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของล้านนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๒ ในรัชสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าลก (พระเจ้าติโลกราช) ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองยวมใต้ ซึ่งสันนิษฐานว่า คือ เมืองยวม ในอำเภอแม่สะเรียงในปัจจุบัน แสดงว่าเมืองยวมที่อำเภอแม่สะเรียง ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นเมืองชายแดนของล้านนาในขณะนั้น และอำนาจของล้านนาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อาจจะครอบคลุมลงมาจนถึงเมืองแม่ต้าน ดังที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี ทั้งสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุจำนวนมากภายในเมืองโบราณบ้าน แม่ต้าน ผลการดำเนินงานทางโบราณคดี แสดงให้เห็นว่าเมืองโบราณบ้านแม่ต้านมีอายุอยู่ในสมัยล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ โดยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นช่วงที่มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองแม่ต้านอย่างเบาบาง แต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นช่วงที่เมืองโบราณบ้านแม่ต้านเจริญรุ่งเรืองสูงสุด และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่นขึ้นด้วย แต่หลังจากช่วงเวลานี้ไปแล้ว ไม่พบว่ามีการอยู่อาศัยที่เมืองโบราณแม่ต้านอีกเลย . อ้างอิง : 1. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), แม่น้ำเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๒. เข้าถึงได้จาก http://learn.gistda.or.th/thailandfromthaichote/moei-river/ 2. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี (เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๓๘), ๖๐.



ชื่อเรื่อง                           สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาธาตุกถา-มหาปัฎฐานเผด็จ)สพ.บ.                                  169/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  117/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระอภิธรรม                                           พระไตรปิฎก  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี



Messenger