ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.76/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4.4 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 47 (52-58) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สติปฏฺฐานสุตฺต (สติปัฏฐานสูตร) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          “กริช” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “กริช คืออาวุธชนิดหนึ่งใช้มีดสองคมปลายแหลม ใบมีดตรงก็มี คดก็มี เป็นของชาวมลายู” กริชสามารถพกพาเป็นเครื่องดับและเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่ากริชเป็นอาวุธที่มีมเหศักดิ์ ศรัทธากันว่าดั้งเดิมเป็นศัสตราภรณ์ประจาองค์พระศิวเทพ หรือพระอิศวร กริชอุบัติขึ้นด้วยกฤษฎาภินิหาร จากบุญฤทธิ์และเทวฤทธิ์ผสมกัน เช่นว่า กัตริย์ฮินดูสกุตรัม เมื่อประสูติมาก็มีกริชอยู่ข้างพระวรกาย ชื่อว่า กริช “ปโสปติ” ซึ่งคาว่า ปโสปติ ก็คือพระนามหนึ่งของพระศิวะ จากอดีตจนถึงปัจจุบันคนในสังคมเชื่อว่ากริชเป็นอาวุธที่เกิดขึ้นจากคติความเชื่อของฮินดู-ชวา และเป็นอาวุธที่เป็นตัวแทนเทพในศาสนาฮินดู จากการศึกษารูปแบบของกริชในภาคใต้ของไทยพบว่ามีกริชหลากหลายรูปแบบ แต่สาหรับกริชที่มีการพัฒนาจนมีรูปทรงและลวดลายที่เป็นรูปแบบเฉพาะของท้องถิ่นมีสองรูปแบบ คือ           ๑. รูปแบบสกุลช่างปัตตานี เรียกชื่อเป็นภาษามลายูท้องถิ่นว่าตากริชแบบ “ปาแนซาฆะห์” ลักษณะตากริชจะเรียบ มีสันตรงกลางคล้ายอกไก่ทั้งสองข้าง มีทั้งแบบคดและแบบตรง ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีลายในเนื้อเหล็กและไม่มีลาย ส่วนด้ามกริชหรือที่นิยมเรียกว่า “หัวกริช” นิยมแกะสลักจากไม้เนื้อแข็ง           ๒. รูปแบบสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช กริชสกุลช่างสงขลา-นครศรีธรรมราช ในส่วนของใบกริชหรือตากริชเป็นแบบ “ปาแนซาฆะห์” เหมือนสกุลช่างปัตตานี แต่มีลักษณะที่ต่างกันตรงฝักกริชที่ปีกฝักมีความโค้งดูคล้ายเขาควาย ปลายปีกฝักบางเล่มจะทาให้ม้วนปลายคล้ายเลยหนึ่งแบบเลขไทยหรือยอดผักกูด นิยมรัดฝักกริชด้วยปลอกเงินเป็นเปลาะๆ ส่วนหัวกริชเป็นหัวนกพังกะแบบไม่มีเคราใต้คาง แกะลายเป็นร่องตื้นๆ ผิดกับฟังกะแบบสกุลช่างปัตตานีที่นิยมแกะร่องลึก และมีลวดลายที่ละเอียดมากกว่า “กริช” ที่ยังคงความงามมีพลังและพลานุภาพ ที่มีคุณค่าสร้างความภูมิใจให้กับผู้ครอบครองเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน --------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง--------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง -ประพนธ์ เรืองณรงค์. “กริช”.ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 3, ฉบับที่ 10 (ส.ค. 2525) : หน้า 64-69 -วาที ทรัพย์สิน.“กริช : สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของมุสลิมในชายแดนใต้”วัฒนธรรมไทย. ปีที่ 49, ฉบับที่ 6 (มิ.ย. 2553) : หน้า 22-25


เลขทะเบียน : นพ.บ.136/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 5.5 x 58.4 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้  ชื่อชุด : มัดที่ 82 (326-329) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : รตนสุตฺต (รัตนสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.88/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  76 หน้า ; 4.5 x 52.4 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 51 (94-102) ผูก 11 (2564)หัวเรื่อง : วิสุทธิมคฺคปาพัตถพฺยาขฺยาน (วิสุทธิมัคปาฬัตถพยาขยาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.9/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : หลักภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ชื่อผู้แต่ง : สุธาน จักษุรักษ์ปีที่พิมพ์ : 2504สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์ จำนวนหน้า : 200 หน้า สาระสังเขป : หลักภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น เป็นตำราภาษาญี่ปุ่นโดยเนื้อหาประกอบด้วย ที่มาและวิธีการเขียนอักษรญี่ปุ่น 3 ชนิด ได้แก่ ฮิระคะนะ คะตะคะนะ และคันจิ การเรียบเรียงไวยากรณ์ของภาษา และคำศัพท์สำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน



    อยุธยา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ หรือประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ปีมาแล้ว     สำริด      สูง ๑๓๗.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๑๔ เซนติเมตร     ได้จากวัดพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี รูปโคอุสุภราชสำริด  ที่ขาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายปูนปั้นที่หน้าบันวิหารน้อย วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีการกำหนดอายุอยู่ในช่วงอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๔)  จึงกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่มีการสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ.๒๑๕๔ – ๒๑๗๑)     จากลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ทรงวินิจฉัยถึงเรื่องราวเทียนสำริดรูปเรือกิ่ง ที่วัดพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตอนหนึ่งกล่าวถึงรูปโคอุสุภราช รูปนี้ว่า “...วินิจฉัยนี้มีขัดข้องเป็นข้อสำคัญที่รูปเรือกิ่ง มีจำหลักศิลาอยู่ที่ฝาระเบียงปราสาทบายนในนครธม ซึ่งสร้างมาก่อนสมัยพระเจ้าทรงธรรมแล้วหลายร้อยปี เพราะฉะนั้นเรือกิ่งหล่อที่พระพุทธบาทอาจจะได้มาจากเมืองเขมรหรือมิฉะนั้นอาจจะหล่อขึ้นในประเทศนี้ตามแบบเขมรในสมัยเดียวกันกับรูปโคอุศุภราช ที่เคยอยู่ในพระอุโบสถวัดพระพุทธบาทอีกรูป (ซึ่งเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแล้ว) เดิมอาจจะอยู่ที่อื่นแล้วเอาไป          “ปล่อยพระพุทธบาท” เมื่อภายหลังรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมก็เป็นได้ จึงมีของโบราณหล่อทองสัมฤทธิ์ อยู่ที่พระพุทธบาทเป็น ๒ ขึ้นด้วยกัน…”     ปัจจุบันรูปโคอุสุภราชสำริด จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยา  อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   





ชื่อเรื่อง                                นิสัยสินชัย(นิไนสินชัย)สพ.บ.                                  397/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสานเส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เรื่อง ชุดความรู้ทางวิชาการ :หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอน "พระศิวะปางดุร้าย “พระวฏุกไภรวะ" ค้นคว้า/เรียบเรียง นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ




          เมืองโบราณเมืองหงส์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านเมืองหงส์ ตำบลเมืองหงส์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเนินดินทรงกลมรี มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ๑ ชั้น ขนาดประมาณ ๖๐๐ x ๑๐๐๐ เมตร แนวคูเมืองที่ยังคงเห็นได้ชัดเจน คือ หนองใหญ่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และ หนองฝายทางด้านทิศตะวันออก มีห้วยตะโกงเป็นแนวเชื่อมน้ำจากหนองฝายกับอ่างเก็บน้ำห้วยกุดแดง ที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านไปทางด้านทิศใต้ประมาณ ๕๐๐ เมตร สภาพโดยรวมพบว่า แนวคูเมืองส่วนใหญ่ตื้นเขินและถูกปรับไถเป็นที่นา เหลือให้เห็นเป็นร่องน้ำแคบๆ ทั้งนี้ข้อมูลจากการสำรวจเมื่อปี ๒๕๒๗ กล่าวว่าคูเมืองเดิมมีขนาดกว้างประมาณ ๖๐ เมตร ส่วนคันดินยังคงเหลือให้เห็นบางส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทางด้าน ทิศใต้บริเวณด้านหลังโรงเรียนชุมชนบ้านเมืองหงส์ สภาพปัจจุบันกำแพงเมืองมีความกว้างประมาณ ๓๐ เมตร สูงประมาณ ๒ - ๓ เมตร          จากรายงานการสำรวจเมืองโบราณเมืองหงส์ของกรมศิลปากรเมื่อปี ๒๕๒๗ ได้กล่าวถึงโบราณวัตถุและร่องรอยโบราณสถานที่พบในเขตเมืองโบราณเมืองหงส์ ซึ่งไม่เหลือให้เห็นแล้วในปัจจุบัน ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenware) ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง (Stoneware) และชิ้นส่วนภาชนะ ดินเผาเคลือบสีขาวไข่กา (Celadon) นอกจากชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่พบทั่วไปแล้ว ยังพบโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น ตะกรัน หรือ ขี้แร่ (Slag) ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกมนุษย์ (Burial jar) โครงกระดูกมนุษย์ ตุ๊กตาดินเผารูปสัตว์ อิฐเก่า และพระพุทธรูปสำริด เป็นต้น (กรมศิลปากร : ๒๕๒๗)          นอกจากร่องรอยของโบราณสถานภายในตัวเมืองบริเวณวัดหงส์สุวรรณารามแล้ว ยังมีโบราณสถานนอกเมืองอีก ๑ แห่ง ตั้งอยู่ห่างออกไปทางด้านทิศเหนือประมาณ ๗๐๐ เมตร สภาพเหลือเพียงส่วนฐาน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและเสริมความมั่นคงในปี ๒๕๓๕ โดยโบราณสถานหลังขุดแต่งทางโบราณคดี มีลักษณะดังนี้ องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ ๖ เมตร ทำเป็นมุขยื่นออกมาด้านละ ๓๐ เซนติเมตร สร้างซ้อนกัน ๒ ชั้น ส่วนฐานสูง ๑๔๐ เซนติเมตร ตรงกลางองค์เจดีย์มีลักษณะเป็นห้องขนาด ๒ x ๑.๕ เมตร การก่ออิฐไม่เป็นระเบียบนัก อิฐที่ก่อมีความหนาบางไม่เท่ากัน ซึ่งอาจเป็นเพราะจะต้องฉาบปูนปิดอีกที จึงไม่จำเป็นที่จะใช้อิฐขนาดเท่ากันเสมอไป หรืออาจเป็นอิฐที่ปั้นขึ้นจากศรัทธาหลายคนต่างบริจาคมาร่วมในการก่อสร้าง จึงทำให้อิฐมีขนาดไม่เท่ากัน ก่อนที่จะเริ่มก่ออิฐปรากฏหินกรวดผสมดินเหนียวและ ศิลาแลงเป็นวัสดุรองพื้น จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปสำริดศิลปะทวารวดี พุทธลักษณะประทับยืน สูง ๑๓.๗ เซนติเมตร กว้าง ๕ เซนติเมตร เม็ดพระศกเป็นก้นหอย ไม่มีรัศมี พระพักตร์กลม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา พระกรรณยาวลงมาถึงต้นพระศอ พระศอ เป็นปล้อง ครองจีวรห่มคลุมแนบพระวรกาย ชายจีวรยาวจรดข้อพระบาท พระกรทั้งสองข้าง และพระบาท หักหายไป และยังได้พบลูกปัดหินควอทซ์สีขาว ลักษณะเป็นเม็ดกลมขนาดเส้นรอบวง ๑๑ เซนติเมตร เจาะรูทะลุตรงกลาง (กรมศิลปากร : ๒๕๓๕)          จากลักษณะของคูเมืองกำแพงเมือง เจดีย์เมืองหงส์ และโบราณวัตถุที่พบจากการสำรวจเมื่อปี ๒๕๒๗ สันนิษฐานว่าเมืองโบราณเมืองหงส์ มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และพัฒนาเข้าสู่ ยุคสังคมเมืองสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ และวัฒนธรรมเขมร ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ เนื่องจากภายในเมืองโบราณและบริเวณใกล้เคียงได้สำรวจพบภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง ชิ้นส่วน ไหเท้าช้าง และภาชนะเครื่องเคลือบแบบวัฒนธรรมเขมร รวมถึงมีความต่อเนื่องมาจนถึงวัฒนธรรมอีสาน - ล้านช้าง เพราะพบว่ามีการกล่าวถึงชื่อเมืองหงส์ในตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งเป็นตำนานสำคัญทางศาสนาที่แต่งขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓          อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่ภายในตัวเมืองโบราณยังไม่เคยทำการขุดค้นทางโบราณคดี มีแต่เพียงเจดีย์เมืองหงส์ ที่ตั้งอยู่นอกเมืองเท่านั้นที่ได้รับการขุดแต่งและพบหลักฐานเพียงสมัยทวารวดี ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเมืองโบราณเมืองหงส์ จึงต้องมีการศึกษาทางวิชาการโบราณคดีต่อไป--------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี--------------------------------------------------------อ้างอิงจาก กองโบราณคดี. (๒๕๒๗). รายงานการสำรวจแหล่งเมืองโบราณ บ้านเมืองหงส์ ตำบลเมืองหงส์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. เล่มที่ ๑/๒๕๒๗, โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กรมศิลปากร : กองโบราณคดี. หน่วยศิลปากรที่ ๖. (๒๕๓๕). รายงานการขุดแต่งและเสริมความมั่นคงเจดีย์เมืองหงส์ อำเภอ จตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. ฉบับที่ ๑๘, กรมศิลปากร : กองโบราณคดี (ฝ่ายควบคุมดูแลรักษาโบราณสถาน).


ชื่อเรื่อง                     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ผู้แต่ง                        สรัญญา สุริยรัตนกรผู้แต่งเพิ่ม                   กฤษฎา พิณศรี, ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง.ประเภทวัสดุ/มีเดีย        หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 974-418-093-5หมวดหมู่                   พิพิธภัณฑวิทยาเลขหมู่                      069.0959372 ส349พสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัดปีที่พิมพ์                    2542ลักษณะวัสดุ               122 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 29 ซม.                       หัวเรื่อง                     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระปฐมเจดีย์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           ประวัติของพิพิธภัณฑ์และผังการจัดแสดงนิทรรศการถาวร แนะนำสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ เรื่องราวในอดีของนครปฐมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และยุควัฒนธรรมทวารวดี เรื่องราวของศาสนาและความเชื่อของชุมชนสมัยทวารวดีจากหลักฐานโบราณวัตถุ เรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของนครปฐม หลังจากวัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมลง จนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ มีภาคผนวกโบราณวัตถุสมัยทวารวดีสำคัญและจารึกโบราณ และเนื้อเรื่องภาคภาษาอังกฤษประกอบ


Messenger