ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "พฤศจิกายน" เชิญพบกับ "ใบหน้าบุคคล" ประติมากรรมปูนปั้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๑ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "ใบหน้าบุคคล" ประติมากรรมปูนปั้นศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบจากการขุดแต่งโบราณสถานเนินทางพระ ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี มีลักษณะเป็นใบหน้าบุคคลหรือเทวดา รูปหน้าค่อนข้างกลม สีหน้าอิ่มเอิบ ทรงผมมวยเกล้าจุกทั้งสองข้างกระหม่อม แสดงอาการสงบดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นการสร้างประติมากรรมอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผสมผสานกับฝีมือช่างฟื้นถิ่น
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "ใบหน้าบุคคล" ประติมากรรมปูนปั้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร) ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ควันหลงวันแมวโลก (8 สิงหาคม) วันนี้หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ มีหนังสือนิทานอ่านสนุก เอาใจน้องๆ สายทาสเหมียว รักแมวมาแนะนำหลายเล่มเลย แต่ละเล่มมีแมวเป็นตัวละครเอก มีทั้งแมวส้ม แมวดำ แมวสามสี และอีกหลายแมวมาอ่านกันได้ที่ห้องหนังสือเยาวชน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่นะ เมี๊ยว #นิทานทาสแมว#NLTCHIANGMAI#แนะนำนิทานอ่านสนุก#บรรณารักษ์ชวนอ่าน
ชื่อเรื่อง สพ.ส.77 โหราศาสตร์_ตำราดูฤกษ์ยามประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ โหราศาสตร์ลักษณะวัสดุ 23; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง โหราศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗
วันพุธที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗) เวลา ๑๔.๓๐ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร เฝ้าฯ รับเสด็จ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์การจัดนิทรรศการฯ และขอพระราชทานพระราชานุญาตทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแผ่นทองคําจารึกพระราชสมัญญา “พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย” (พระ-อัก-คะ-ระ-รา-ชู-ปะ-ถำ-พิ-กา-การจดหมายเหตุไทย)ด้วยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการจดหมายเหตุไทย นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กราบบังคมทูลเบิกผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นและผู้สนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ได้แก่ พระภิกษุ จำนวน ๕ รูป และบุคคลทั่วไป จำนวน ๓๑ ราย เข้ารับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย จากนั้นเสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ และทอดพระเนตรนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ โอกาสนี้ ทรงเขียนไปรษณียบัตรที่ระลึก จำนวน ๒ แผ่น และทรงหย่อนไปรษณียบัตรลงในตู้ไปรษณีย์ด้วย คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของเอกสารสำคัญในความดูแลของกรมศิลปากร นิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยจัดแสดงเอกสารต้นฉบับ ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่
๑. “จารจารึก บันทึกสยาม” เป็นชุดเอกสารโบราณที่บันทึกอยู่ในรูปของศิลาจารึก หนังสือสมุดไทย และเอกสารใบลาน ได้แก่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง คัมภีร์อัลกุรอาน ไตรภูมิฉบับพระมหาช่วยจารที่วัดปากน้ำ จินดามณี จุลศักราช ๑๑๔๔ รามเกียรติ์ บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ หนังสือสมุดไทย เรื่อง สามก๊ก มหาชาติคำหลวง และ อุรังคธาตุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพเค้าโครงทางประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัยจนถึงก่อนการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. “แผนภูมิของแผ่นดิน” จัดแสดงแผนที่โบราณของประเทศไทย ประกอบด้วย แผนที่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ และตราประจำจังหวัด
๓. “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” นำเสนอเอกสารด้านกฎหมายและความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาทิ กฎหมายตราสามดวง สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เอกสารเกี่ยวกับการเลิกทาส
๔. “เมื่อแรกมีการพิมพ์” จัดแสดงชุดเอกสารกลุ่มแรก ๆ ในสังคมไทยที่เปลี่ยนจากการจดจารด้วยวัสดุและเทคนิคแบบโบราณ มาเป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก เช่น หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ คัมภีร์ครรภ์ทรักษา ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔
๕. “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” จัดแสดงเอกสารการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่สำคัญต่าง ๆ ตามรูปแบบตะวันตก เช่น แบบแปลนวังพญาไท แบบยอดพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
๖. “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำ ที่สะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมตะวันตกได้มีอิทธิพลมาสู่วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย เช่น การเขียนจดหมาย การส่งไปรษณียบัตร
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตามหาร่องรอย "#เมืองพิมาย" ใน นิทรรศการพิเศษ "#เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม"
.
พี่นักโบ ตั้งใจพามาชม นิทรรศการพิเศษ กรมศิลปากร ประจำปี พุทธศักราช 2567 ภายใต้เรื่อง ”เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม“ ในส่วนของหัวข้อ "แผนภูมิของแผ่นดิน" โดยนิทรรศการพิเศษในปีนี้ ตั้งใจนำเสนอสุดยอดเอกสารสำคัญในความดูแลของกรมศิลปากรฉบับจริงจำนวนกว่า 41 ชุด รวมทั้งสิ้นกว่า 200 รายการ ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อน ถูกนำมาจัดแสดงให้ชมในนิทรรศการนี้เป็นครั้งแรก
.
เอกสารฉบับหนึ่ง ที่พี่นักโบหยิบยกมานำเสนอในวันนี้ ได้แก่ "แผนที่ยุทธศาสตร์ ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" โดยฉบับที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ พิมพ์จากต้นฉบับเดิมของกรมแผนที่ทหาร ซึ่งได้ทูลเกล้าถวายล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 คราวพระองค์เสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2513
.
หากเอ่ยถึงพระนาม "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" หลายคงอาจหลงคิดไปไกลว่าคือปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อพิจารณาจากชื่อบ้านนามเมืองที่ปรากฏในแผนที่แล้ว "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในที่นี้คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นั่นเองครับ โดยสันนิษฐานว่าแผนที่ฉบับนี้ถูกร่างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ แล้วเขียนเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2367-2394)
.
ความน่าสนใจของแผนที่ฉบับนี้ คือการเขียนลักษณะภูมิประเทศ ทั้งภูเขา แม่น้ำไว้อย่างชัดเจน รวมไปการกำหนดจุดหมายตา หรือ Landmark ในจุดต่าง ๆ อาทิ ต้นไม้ใหญ่ หนองน้ำ บันทึกลงไว้ในแผนที่เพื่อเป็นจุดกำกับในการเดินทางระหว่างเมืองด้วย นอกจากนี้ยังมีการกำกับระยะทางระหว่างเมือง ด้วยเส้นสีดำ ว่าแต่ละเมืองอยู่ห่างกันเป็นจำนวนกี่คืน หรือกี่วัน ซึ่งง่ายสำหรับผู้ใช้แผนที่
.
"#เมืองพิมาย" เป็นหนึ่งในหลายเมืองในภูมิภาคอีสานใต้ที่ถูกเขียนไว้ในแผนที่ด้วย จากแผนที่พบว่าทางด้านทิศเหนือของ เมืองพิมาย มีแม่น้ำมูล ซึ่งเชื่อมลำน้ำเชียงไกรไหลผ่าน ซึ่งถูกต้องตามภูมิประเทศ และยังทำให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่า ถ้าเราต้องการเดินทางจาก เมืองพิมาย ไป เมืองพุทไทสง (อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์) ใช้เวลา 1 คืน จากเมืองพุทไทสง ไป เมืองแปะ (อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์) จะต้องข้ามแม่น้ำมูลและจะพบกับต้นดุม ใช้เวลา 3 คืน ซึ่งจากเมืองแปะ สามารถเดินทางไปเมืองอื่น ๆ ได้ อาทิ เมืองนางรอง (อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์) เมืองตะลุง (อ.ประโคนชัย จ.สุรินทร์) หรือเมืองสุริน (อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์)
.
ความน่าสนใจอีกประการของแผนที่ฉบับนี้ คือ เมืองนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ของ เมืองพิมาย มิได้ถูกเขียนชื่อกำกับไว้ แต่กลับมีข้อความ เขียนกำกับไว้นอกกรอบเมืองว่า "โคกพะญา" มีเส้นทางน้ำไหลเข้ามายังกลางเมือง ซึ่งปัจจุบันไม่หลงเหลือสภาพแล้ว หรืออาจเป็นทางน้ำเชื่อมระหว่างลำตะคองกับคูเมืองด้านทิศเหนือ บริเวณแยกประตูน้ำ ? ถึงแม้ว่าจะไม่มีการกำกับชื่อเมืองเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ไว้ แต่เมื่อพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้ง จึงทราบได้ทันทีว่าเป็น เมืองนครราชสีมา
.
จากแผนที่แสดงให้เห็นว่า #เมืองนครราชสีมา เป็นจุดศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า "ประตูสู่อีสาน" เมื่อเดินทางมาจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีเมืองสำคัญ ๆ อยู่รายรอบ อาทิ เมืองปัก (อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา) ด้านทิศใต้ เมืองสี่มุม (อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ) ด้านทิศเหนือ เมืองชนบท (อ.ชนบท จ.ขอนแก่น) ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมืองพิมาย ด้านทิศตะวันออก
.
แผนที่อายุกว่า 170 ปี ฉบับนี้ นับเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่สำคัญที่ปรากฏชื่อบ้านนามเมือง ลักษณะภูมิประเทศ และจุดหมายตาทั้งพระราชอาณาจักรสยามขณะนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในภูมิภาคอีสานใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ชื่อบ้านนามเมืองในตอนนั้นกลายเป็นชื่ออำเภอ และจังหวัดในปัจจุบัน นับเป็นหนึ่งใน "แผนภูมิของแผ่นดิน" อันทรงคุณค่าของชาติ หากมีโอกาส พี่นักโบ ขอเชิญชวนทุกคนไปเยี่ยมชมนิทรรศการพิเศษ "เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม" ได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ กันครับ
.
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
.
อ้างอิงข้อมูลจาก
- ป้ายข้อมูลภายในนิทรรศการพิเศษ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม"
- กรมศิลปากร. เอกสารประกอบนิทรรศการ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม". กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2567.
เดือนเมษาร้อน ๆ แวะมาดูเรื่องน้ำกันหน่อยดีกว่า ว่าด้วยเรื่องระบบประปาในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ตอน "ก่อเกิดระบบประปาในเมืองลพบุรี"
ชื่อเรื่อง โคลงตำราไม้ดัด ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาคหนึ่ง ภาคสอง และภาคสามผู้แต่ง หลวงมงคลรัตน (ช่วง ไกรฤกษ์)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ รวมเรื่องทั่วไปเลขหมู่ 089.95911 ม116คศสถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.สำนักพิมพ์ ม.ป.พปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 164 หน้า หัวเรื่อง รวมเรื่อง ไม้ดัด มโหรี เพลงไทยเดิมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องโคลงตำราไม้ดัด ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และประชุมบทเพลงไทยเดิมเป็นบทที่คัดหรือดัดแปลงมีเค้าเงื่อนมาจากหนังสือเรื่องอะไรครั้งแรกรวบรวมได้ 22 บทจัดพิมพ์ไปหนึ่งครั้งให้ชื่อว่า ประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาคที่ 1 ต่อมารวบรวมไว้อีก 21 บท พิมพ์ขึ้นเป็น ภาคที่ 2 กรมศิลปากรรวบรวมบทเพลงต่างๆ 22 เพลง จัดพิมพ์เป็น ภคที่ 3 จึงมีบทเพลงไทยที่พิมพ์แล้ว 3 ภาค รวม 65 บท
ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องกัจฉปะ
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น
- ขนาด กว้าง ๑๐๒ ซม. ยาว ๘๐ ซม. หนา ๕ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์อวทานกัลปดาของกเษเมนทระ เล่าเรื่องเมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเต่า ได้ให้ความช่วยเหลือพ่อค้าที่เรือแตกให้ปลอดภัย แต่เมื่อพระองค์บรรทมหลับ พ่อค้าเหล่านั้นพยายามจะฆ่าและกินเนื้อเต่าเป็นอาหาร เมื่อพระโพธิสัตว์รู้สึกพระองค์ก็ทราบว่าพ่อค้าเหล่านั้นคงจะหิวมาก จึงทรงบริจาคเนื้อของพระองค์เป็นทาน และทรงได้บารมีอันสูงสุดๆ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40113
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
เมื่อวานนี้ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่2 สุพรรณบุรี พร้อมผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนในสังกัด นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานทางด้านโบราณคดี “การวิเคราะห์และจัดการหลักฐานทางโบราณคดีประเภทโครงกระดูกมนุษย์“ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธี
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่าน เรื่อง “เงาะ พันธุ์สีชมพู และ เงาะโรงเรียน”
เงาะ เป็นผลไม้ปลูกกันมากในจันทบุรี นอกเหนือจากทุเรียน ช่วงนี้กำลังมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาด ทั้งเงาะ พันธุ์สีชมพู และเงาะโรงเรียน เราจะมาทำความรู้จักกับ “เงาะ” ผลไม้ที่ชาวสวนจันทบุรีปลูกกัน
“เงาะ” เป็นผลไม้ที่ทุกคนรู้จักกันดี ที่ปัตตานีบางคนจะเรียกเงาะว่า “พรวน” อังกฤษเรียก “รัมบูตาน” ตามอินโดนีเซีย (รัมบุท แปลว่า ขน) ฟิลิปปินส์เรียก รัมบูตาน บ้าง ยูซาน (Usan) บ้าง เขมรเรียก “ซาวมาว” เวียดนามเรียก “ไหวทิว” (Vai thieu)
เงาะในธรรมชาติเป็นต้นไม้สูงใหญ่ สูงได้กว่า 10 เมตร แต่เงาะปลูกจะสูงได้ประมาณ 4 – 7 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขา รัศมีพุ่มประมาณ 4 – 5 เมตร เงาะปลูกส่วนมากมีใบเพียง 3 คู่ ด้านบนเกลี้ยง บางครั้งก็มีขนอ่อนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่าง (ใต้ใบ) มีขนบ้าง ไม่มีขนบ้าง ปลายใบตัดเรียวแหลม เส้นใบเห็นเด่นชัด ยอดอ่อนมีขน ช่อดอก มีทั้งที่แทงออกจากยอดเทียม (ตามด้านข้างกิ่ง) และยอดแท้ (ปลายกิ่ง) ดอกถ้าไม่เป็นดอกเพศผู้ ก็เป็นดอกเพศกระเทย ชาวสวนเรียกเงาะกระเทย หรือเงาะตัวเมีย
ชาวสวนจันทบุรีนิยมปลูกเงาะอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีชมพู ซึ่งเป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองที่มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมในจันทบุรี เนื้อนุ่มหวาน เมื่อสุกผลจะมีสีชมพูทั้งลูกและขนสวยสดชื่นยิ่งนัก
อีกพันธุ์ คือ เงาะโรงเรียน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีผู้นำมาปลูกในจังหวัดจันทบุรี เมื่อราวปี พ.ศ. 2505 – 2510 ลักษณะของผลเงาะโรงเรียน จะใหญ่กว่าเงาะสีชมพู เนื้อนุม กรอบ หวาน หอม เมื่อสุกผลจะมีสีแดงเข้มแซมด้วยขนสีแดงอมเขียว ราคาซื้อขายสูงกว่าพันธุ์เงาะสีชมพู แต่ให้ผลผลิตต่อต้นน้อยกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู และการบำรุงรักษาเมื่อติดลูกจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยวค่อนข้างสิ้นเปลืองและยากกว่าพันธุ์สีชมพู
อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533.
ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. ผลไม้ไทยๆ : สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
การจัดสร้างพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์จำลอง โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งรัฐบาลทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติฯ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2562 ชาวหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ได้ร่วมกันทำกิจกรรม Big cleaning day นอกเหนือจากการให้ความรู้แล้ว ความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสถานที่ให้บริการเช่นกัน