ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.88/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 52.4 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 51 (94-102) ผูก 10 (2564)หัวเรื่อง : วิสุทธิมคฺคปาพัตถพฺยาขฺยาน (วิสุทธิมัคปาฬัตถพยาขยาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.9/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : เอกสารของโครงการส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีวัยรุ่น เล่ม 2 ชื่อผู้แต่ง : สถาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ จำนวนหน้า : 100 หน้าสาระสังเขป : คณะกรรมการสวัสดิภาพสตรีวัยรุ่นมีความห่วงใยสตรีที่อาจได้รับเคราะห์และประสพเหตุกาณณ์ที่ไม่คาดฝันและไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างใด เกิดให้มีความกระทบกระเทือนทางจิตใจและร่างกาย ซึ่งทางกรรมการเห็นว่าถ้าสตรีวัยรุ่นได้มีที่ปรึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้จึงใช้ไปชี้แจงแนะแนวปฏิบัติตนตามโรงเรียนและสถานศึกษาหลายแห่งปรากฏว่านักเรียนวัยรุ่นได้มีปัญหาข้องใจมากจึ้งได้ตอบปัญหาข้อฉงนและข้องใจของนักเรียนวัยรุ่น แล้วมาเกิดความคิดว่าถ้าได้พิมพ์คำถามคำตอบเหล่านั้นเป็นเล่ม อาจจะเป็นทางชี้แจง เป็นทางช่วยเหลือสตรีวัยรุ่น หนังสือจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับสตรีวัยรุ่น


    รัตนโกสินทร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ หรือประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว     ทองเหลือง      สูง ๒๗.๕ เซนติเมตร      สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร      ประติมากรรมลอยตัว มีพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเกศารวบมุ่นมวยกลางพระเศียร ประดับด้วยรัดเกล้า และมีเครื่องหมายอุณาโลมด้านหน้ามวยผม ทรงเครื่องประดับ คือ อุณหิศ (กระบังหน้า)  กุณฑล (ต่างหู) กรองศอ  พาหุรัด ทองพระกร และสายยัชโญปวีตเฉวียงบ่าซ้าย  ในหัตถ์ขวาทรงคันศรรูปนาค ทรงสะพายกระบอกลูกศรเบี่ยงไว้ด้านหลัง  ประทับบนหลังโคในท่ายกเข่าขวาขึ้นชัน      พระศุกร์ หรือ ศุกราจารย์ เทวดานพเคราะห์ประจำวันศุกร์ ในทัศนะของชาวอินเดียเชื่อว่าพระศุกร์นั้นเป็นเพศชายมีฤทธิ์เดชสามารถอำนวยความสำเร็จแก่มนุษย์ เป็นอาจารย์ของเหล่ายักษ์อสูรทั้งหลาย  คัมภีร์เฉลิมไตรภพรจนาไว้ว่า “พระอิศวรทรงสร้างจากโค ๒๑ ตัว เอามาร่ายพระเวทย์จนละเอียดเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีฟ้าอ่อน พรมด้วยน้ำอมฤตจนเป็นพระศุกร์ จึงมีผิวกายเป็นสีฟ้า ทรงพระโคอุสุภราชเป็นพาหนะ” พระศุกร์ประจำอยู่ทิศเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ กิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชื่นชอบงานศิลปะทุกแขนง      ปัจจุบันรูปพระศุกร์ เก็บรักษาภายในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   ค้นคว้าโดย นางสาวณิชากร ปุงคานนท์ นิสิตฝึกงาน สาขานวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ  คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ


หอแจก (ศาลาการเปรียญ) วัดราษฎร์ประดิษฐ์ หอแจก (ศาลาการเปรียญ) วัดราษฎร์ประดิษฐ์ ตั้งอยู่บ้านกระเดียน ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกหนึ่งหลังในวัดราษฎร์ประดิษฐ์ หากแต่มีความแตกต่างกับกุฏิ คือ ตัวอาคารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนโครงสร้างหลังคาจึงใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง คำว่า หอแจก มีความหมายคือ เป็นสถานที่ซึ่งใช้แจกจ่ายหรือแผยแผ่คำสอนทางพุทธศาสนา องค์ประกอบที่สำคัญของหอแจก คือ ธรรมาสน์ อันหมายถึงที่นั่งหรืออาสนะหรือแท่นของพระภิกษุสามเณรสำหรับแสดงธรรม หอแจก วัดราษฎร์ประดิษฐ์ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2468 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะญวน เนื่องด้วยมีช่างชาวญวนร่วมสร้างกับประชาชนชาวบ้านกระเดียน ซึ่งสถาปัตยกรรมในโซนอีสานจะพบว่ามีร่องรอยศิลปะทั้งจีนและยุโรปปะปนอยู่ในงานศิลปะ ซึ่งในทัศนะส่วนตัวขอใช้คำว่า ศิลปะอีสานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะญวนนะคะ ด้วยศิลปะดังกล่าวส่วนหนึ่งถูกสร้างหรือนำเข้าจากช่างชาวญวนที่อพยพย้ายถิ่นมาจากประเทศเวียตนามในปัจจุบันหรือที่รู้จักกันในชื่อคนญวน ด้วยชาวไทยอีสานมีความชำนาญในงานไม้มากกว่างานปูน ในส่วนของการปั้นแอวขันหรืองานปูนส่วนหนึ่งจึงได้ว่าจ้างช่างญวนก่อสร้าง ทำให้เราพบเห็นประติมากรรมในศาสนสถานหลายแห่งที่มีความแตกต่างจากศิลปะไทยภาคกลาง เช่น การปั้นตัวนาก (กินปลา) บริเวณหน้าสิมหรืออุโบสถแทนการปั้นพญานาค (ความจริงชาวบ้านต้องการพญานาค แต่ช่างไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับพญานาคจึงได้ปั้นตัวนากขึ้นแทน เป็นต้น) โดยการก่อสร้างนั้นประชาชนชาวบ้านกระเดียนได้ร่วมแรงกันเผาอิฐที่ได้จากดินหนองคันไส (อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน) หอแจก วัดราษฎร์ประดิษฐ์ เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะเป็นอาคารทรงจั่ว มีหลังคาหลุมหรือปีกนกทั้งสี่ด้าน โดยด้านหน้า(ทิศตะวันตก) และด้านหลัง (ทิศตะวันออก) มีการทำมุขลดหรืออาคารลดชั้นด้านละหนึ่งชั้น ลักษณะมุขลดเป็นหลังคาทรงจั่วเช่นเดียวกัน เป็นห้องโปร่ง มีเสาหน้าสองต้นและเสาหลังสองต้น โครงหลังคาหอแจกก่อสร้างจากไม้ มุงด้วยแป้นเกล็ด ประดับ โหง (ช่อฟ้าด้านหน้า) ใบระกา หางหงส์ และประดับช่อฟ้าที่บริเวณกลางสันหลังคา ตัวอาคารหอแจกผนังทึบทั้งสี่ด้าน ผนังด้านสกัดหรือด้านกว้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีบันไดอยู่ตรงกลาง ผนังด้านข้างแต่ละด้านมีการเจาะช่องเป็นหน้าต่างเป็นรูปวงโค้งครึ่งวงกลมจำนวน 2 ช่อง และเจาะช่องแสงเป็นทรงกลมประดับกรงซี่รูปดอกไม้ที่ผนังช่องสุดท้ายซึ่งติดกับมุมอาคาร ส่วนผนังด้านแปหรือด้านยาวหรือด้านข้าง แบ่งผนังออกเป็น 7 ช่วงเสา ส่วนที่ติดมุมอาคารนั้นเป็นผนังทึบ อีก 5 ช่วง เจาะเป็นหน้าต่างรูปทรงโค้งครึ่งวงกลมเช่นเดียวกัน ลักษณะหน้าต่างของหอแจกมีลักษณะเด่นที่ด้านล่างทำเป็นราวเจาะช่องทรงรีประดับและใช้บานหน้าต่างไม้ บันไดหอแจกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนของราวบันไดมีการปั้นปูนประดับเป็นรูปสัตว์ ด้านหน้า(ทิศตะวันตก) เป็นสัตว์ผสมซึ่งมีกีบเท้า อาจเป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของม้า ทำให้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็น กิเลน ส่วนราวบันไดด้านหลัง(ทิศตะวันออก) ปั้นปูนเป็นรูปมกรคายนาคซึ่งมีรูปสิงห์อยู่ด้านหน้า ภายในหอแจก ประดิษฐานธรรมาสน์ ลักษณะเป็นธรรมาสน์ติดแน่นกับตัวโบราณสถาน ส่วนฐานก่ออิฐถือปูน ส่วนเรือนธาตุและส่วนยอดเป็นการแกะสลักจากไม้ โดยส่วนเรือนธาตุแกะสลักเป็นลายเคลือเถาทอดลงทอดจากบนลงล่างเป็นช่องยาวสลับกับช่องไม้ทึบทาสี บริเวณฐานของเรือนประดับด้วยฐานบัวลูกฟักลงรักปิดทอง สำหรับส่วนหลังคาเป็นหลังคาทรงมณฑปซ้อนสองชั้น มีนาคพาดประดับบริเวณสันทั้งสี่ด้านทั้งสองชั้น ส่วนยอดเป็นชั้นบัวหงายซ้อนส่วนบนเป็นกิ่งหลาวหลายกิ่งลักษณะกิ่งตรงกลางสูงกว่ากิ่งโดยรอบคล้ายพุ่มดอกไม้ โดยธรรมาสน์ในหอแจกวัดราษฎร์ประดิษฐ์จะใช้เทศนาในช่วงงานบุญเทศมหาชาติในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี ผู้เรียบเรียง นางสาวสิริพัฒน์ บุญใหญ่ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี -------------------------------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี .รายงานการบูรณะโบราณสถานกุฏิไม้วัดราษฎร์ประดิษฐ์ บ้านกระเดียน ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี,พ.ศ. 2556




ชื่อเรื่อง                                นิสัยสินชัย(นิไนสินชัย)สพ.บ.                                 397/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสานเส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้ เรื่อง ย่านลิเภา โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช



          พระสุพรรณบัฏสถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้านครน่าน พุทธศักราช ๒๔๔๖ มีลักษณะเป็นแผ่นทอง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๔.๑ เซนติเมตร ยาว ๑๔.๙ เซนติเมตร          เจ้านิรมิต ธิดาเจ้าบุญตุ้ม และเจ้าคำนพ มหาวงศนันท์ (เจ้าบุญตุ้ม เป็นธิดาเจ้าราชวงศ์ หรือเจ้าสิทธิสาร ณ น่าน ผู้เป็นบุตรของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ) มอบพระสุพรรณบัฏนี้ให้กับจังหวัดน่าน เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยร้อยตำรวจตรีธนะพงษ์ จักกะพาก ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านในขณะนั้น เป็นผู้รับมอบ          ข้อความที่ปรากฏในพระสุพรรณบัฏ ความว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิ์กิตติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครน่าน จงเจริญทฤฆชนมายุสุขสวัสดิ์ เทอญ”           พระสุพรรณบัฏนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าให้จารึกเพื่อเลื่อนฐานันดรศักดิ์เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ หรือที่ชาวน่าน เรียกว่า “พระเจ้าน่าน”           พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ มีพระนามเดิมว่า เจ้าสุริยะ ณ น่าน ประสูติเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๗๔ และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคชรา ในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ (ปัจจุบัน ในทุกๆปีจะมีการจัดงาน “วันพระเจ้าน่าน” ณ บริเวณลานสนามหญ้าด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน)สิริรวมพระชนมายุได้ ๘๗ พรรษา พระองค์เป็นบุตรเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒ และเจ้าสุนันทา และทรงมีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา ร่วมแม่เจ้ามารดา ๕ พระองค์ ได้แก่ เจ้ามหาพรหม เจ้าสิทธิสาร เจ้าบุญรังษี เจ้านางหมอกแก้ว ณ น่าน และเจ้านางคำทิพ ณ น่าน          พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ครองเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๖๑ รวมระยะเวลา ๒๖ ปี พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาและดูแลกิจการบ้านเมืองนครน่าน ตลอดจนช่วยราชการสยามหลายครั้งหลายครา โดยใน พ.ศ. ๒๔๔๕ คราที่เกิดกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ส่งกำลังทหารจำนวน ๑,๐๐๐ คนไปช่วยปราบกบฏเงี้ยว แต่เจ้าราชบุตรเมืองแพร่หรือเจ้าน้อยยอดฟ้าบุตรของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชที่ได้แต่งงานกับเจ้าสุพรรณวดี บุตรีของเจ้าพิริยเทพวงศ์เจ้านครแพร่ มีส่วนพัวพันกับการก่อกบฏเงี้ยว เมื่อสิ้นสุดการปราบกบฏ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชไม่ได้ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่บุตรของตนแต่อย่างใด การตัดสินโทษของเจ้าราชบุตรให้เป็นไปตามระเบียบราชการ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาในเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นอย่างมาก ประกอบกับที่ผ่านมาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ช่วยงานราชการของสยามเป็นอย่างดี          เนื้อความในประกาศเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ ความว่า “ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๔๖ พรรษา ปัตยุบันกาลจันทรคตินิยม สะสะสังวัจฉระ กติกมาศ กาฬปักษ์ จตุทสีดิถีพุฒวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ พฤศจิกายนมาศ อัฏฐารสมมาสาหคุณพิเศษ บริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ ฯลฯ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาช้านาน แลได้เคยไปราชการทัพศึก มีบำเหน็จความชอบมาแต่ยังเปนตำแหน่งเจ้าราชวงษ์ในนครเมืองน่าน ครั้นเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เปนเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ก็อุสาหปกครองบ้านเมืองต่างพระเนตร์พระกรรณ์โดยซื่อสัตย์สุจริต มีความโอบอ้อมอารี เปนที่นิยมนับถือของเจ้านายท้าวพระยา แลไพร่บ้านพลเมืองทั่วไปเปนอันมาก ทั้งมีความสวามิภักดิ์ต่อราชการเปนนิตย์ แม้มีราชการสำคัญเกิดขึ้นข้างฝ่ายเหนือคราวใด เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ก็ได้พร้อมใจกับเจ้านายบุตร์หลานช่วยราชการโดยแขงแรงทุกคราวมา จนเมื่อเกิดเหตุผู้ร้ายก่อการจลาจลขึ้นในมณฑลพายัพ เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๑ นี้ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ก็ได้จัดเจ้านายบุตร์หลานแลท้าวพญาไพร่พลนครเมืองน่านช่วยปราบปรามผู้ร้าย แลเปนกำลังจัดเสบียงอาหารพาหนะส่งกองทหาร ได้รับราชการเปนที่พอพระราชหฤไทยเปนอันมาก อนึ่ง เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทโดยฉะเพาะ แม้อยู่เมืองไกล ก็มิได้คิดแก่ความลำบาก อุสาหฝ่าทางกันดารมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทเนือง ๆ ผิดกับเจ้านครเมืองน่านแต่ก่อน ๆ มา เปนเหตุให้ทรงพระกรุณาสนิทชิดชอบพระราชอัธยาไศรยเปนอันมาก ทรงพระราชดำริห์ว่า นครเมืองน่านก็เปนนครใหญ่อันหนึ่งในหัวเมืองประเทศราชข้าขอบขัณฑสิมา เจ้านายที่ปกครองนครเมืองน่านต่างพระเนตร์พระกรรณ์สืบตระกูลวงษ์ต่อ ๆ กันมา ยังหาได้มีเจ้าตนใดได้เคยรับพระราชทานเกียรติยศเปนพระเจ้าประเทศราชไม่ แลบัดนี้ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ก็เจริญชนม์ไวยยิ่งกว่าบรรดาเจ้าประเทศราชทั้งปวง ทั้งมีอัธยาไศรยเปนสัตย์ธรรมมั่นคง จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทเนืองนิจ แลมีความชอบความดีมาในราชการเปนอันมาก สมควรจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกย่องอิศริยยศเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ให้เปนเกียรติยศแก่นครเมืองน่านแลตระกูลวงษ์สืบไปได้ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนยศถานันดรศักดิ์เจ้านครเมืองน่านขึ้นเปนพระเจ้านครเมืองน่าน มีนามตามจาฤกในสุพรรณบัตร์ว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุระมหาราชวงษา ธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิกิติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน ได้ปกป้องเจ้านายบุตร์หลานแสนท้าวพระยาลาวราษฎรในเมืองน่านแลเมืองขึ้นทั้งปวง ให้ปรากฏเกียรติยศ เดชานุภาพสืบไป ขอจงเจริญชนมายุพรรณศุขพล ปฏิภาณคุณสารสมบัติ สรรพศิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลทุกประการ ปกป้องพระราชอาณาเขตร์ขันขสีมา โดยความซื่อตรงต่อกรุงเทพมหานคร ดำรงอยู่ยืนยาวสิ้นกาลนาน เทอญ”          นอกจากพระสุพรรณบัฏที่ได้จารึกเฉลิมพระนามสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านแล้วนั้น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ยังได้รับพระราชทานเครื่องประกอบอิสริยยศ อันได้แก่ เสื้อครุย พระชฎา สังข์เลี่ยมทองคำ ๑ หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยา ๑ กากระบอกทองคำ ๑ กระบี่ฝักทองคำศีร์ษะนาคลงยา ๑ เสื้อเยียรบับ ๒ ผ้านุ่งเยียรบับ ๑ ผ้านุ่งเขียนทอง ๑ และเจียรบาด ๑          พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ นับเป็น “พระเจ้านครเมืองน่าน” พระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับพระราชทานมหามงกุฎจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าประเทศราช ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครพระองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศนี้ -----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน -----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่านเล่มที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๔๗. - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๐ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๖, หน้า ๖๐๙ – ๖๑๑


ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณหิสวิไชย) สพ.บ.                                  241/1ฆประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                     พระราชนิพนธ์ลิลิตนิทราชาคริตผู้แต่ง                        อาหรับราตรี อาบูหะซันประเภทวัสดุ/มีเดีย        หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณกรรม วรรณคดีเลขหมู่                      895.9115 จ675พจสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คลังออมสินปีที่พิมพ์                    2498ลักษณะวัสดุ               220 หน้า                    หัวเรื่อง                     หนังสืออนุสรณ์งานศพภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องนิทานต่างๆ ในประเทศตะวันตกของเมืองเรา คือ อิรเดีย อาหรับ อาฟริกา อันเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวิทยาการมาก่อนประเทศอื่นๆ        


ชื่อเรื่อง                                ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ) สพ.บ.                                  376/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.38/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger