ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
ปญฺจพุทฺธา (ปญฺจพุทฺธา)
ชบ.บ.76/1-1ค
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สงฺคีติกถา (ปถม-ปญฺจมสงฺคายนา)
ชบ.บ.101/1-1ข
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.320/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 52 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 129 (321-328) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : ปฐมกัปป์(ปฐมกัปป์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
กู่บ้านหัวสระ ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
นอกจาก กู่บ้านกุดยาง แล้ว ในเขตพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ยังพบร่องรอยหลักฐานการมีอยู่ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมรอีกหลายแห่ง อาทิ โบราณสถานปรางค์บ้านตาล โบราณสถานสบน้ำมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกู่บ้านหัวสระ ห่างไปประมาณ 4 กิโลเมตร และ 10 กิโลเมตร
ร่องรอยของ #กู่บ้านกุดยาง ปรากฏให้เห็นเฉพาะส่วนฐานของสิ่งก่อสร้าง จากหลักฐานพบว่า กู่บ้านหัวสระ มีปราสาทประธานหลังเดียว หันด้านหน้าไปทางตะวันออก ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย ส่วนฐานชั้นล่างสุดถูกฝังจมอยู่ใต้ดินทั้งหมด ไม่เห็นรูปทรงที่ชัดเจนและไม่สามารถตรวจสอบขนาดความกว้าง – ความยาวได้ บนผิวดินพบร่องรอยของหินทรายสีแดงที่วางเรียงเป็นกรอบส่วนฐานของชั้นเรือนธาตุของปราสาท แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดกว้าง – ยาว ด้านละประมาณ 4.30 เมตร ทางด้านตะวันออกที่ตำแหน่งประตูทางเข้า พบร่องรอยของหินกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตู ทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ที่ทางด้านตะวันออก ยังพบหลักฐานหินทรายสีแดงวางเรียงเป็นกรอบฐานของห้องมุข ขนาดกว้าง 2.50 เมตร ยื่นออกมากจากฐานของปราสาท ระยะ 1.50 เมตร เหนือจากส่วนฐานขึ้นไปซึ่งตามรูปแบบแล้วจะเป็นส่วนเรือนธาตุและชั้นยอดของปราสาท พังทลายลงหมดแล้ว
ด้านทิศตะวันออกของกู่บ้านหัวสระ ระยะทางประมาณ 140 เมตร ปรากฏ #บารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 150 เมตร ยาว 220 เมตร ปัจจุบันได้รับการขุดลอกและปรับปรุงแล้ว มีการใช้ประโยชน์ในการเก็บกักน้ำ
จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่พบและวัสดุที่นำมาใช้สร้างปราสาท จึงสันนิษฐานว่ากู่บ้านหัวสระมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18
นอกจาก กู่บ้านกุดยาง แล้ว ในเขตพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ยังพบร่องรอยหลักฐานการมีอยู่ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมรอีกหลายแห่ง อาทิ โบราณสถานปรางค์บ้านตาล โบราณสถานสบน้ำมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกู่บ้านหัวสระ ห่างไปประมาณ ๔ กิโลเมตร และ ๑๐ กิโลเมตร
ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ
ชื่อผู้แต่ง อาจินต์ ปัญจพรรค์
ชื่อเรื่อง จุฬา ฯ ปฏิเสธข้าพเจ้า
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บรรณกิจเทรดดิ้ง
ปีที่พิมพ์ 2519
จำนวนหน้า 196 หน้า
รายละเอียด
“จุฬา ฯ ปฏิเสธข้าพเจ้า” เนื้อหาในเล่มมีอยู่ 3 ภาค ภาค 1 ความล้มเหลวจากจุฬา ภาค 2 เรื่องสั้นที่เอ่ยพระนามจุฬาลงกรณ์ และภาค 3 โลกยังไม่ปฏิเสธข้าพเจ้า เป็นงานเขียนที่เกี่ยวพันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขาเคยเป็นศิษย์เก่าและชีวิติที่เกี่ยวพันกับเหมืองแร่ เมื่อครั้งยังไม่ทันสำเร็จการศึกษา พ่อก็พาลงไปปักษ์ใต้เพื่อทำงานในเหมืองแร่ที่จังหวัดพังงา 4 ปีเต็ม ซึ่งเคยเป็นเบ้าหลอมชีวิตหลังถอดเครื่องแบบนักเรียนมหาวิทยาลัย การเป็นนิสิตรีทายร์กับการเป็นกรรมกรเหมืองแร่แม้จะเป็นความขมขื่น เป็นรอยแผลที่ตราอยู่บนความทรงจำแต่ก็มิได้อับอาย เขากลับมาอีกครั้งในฐานะนักเขียนของเมืองไทยคือ “อาจินต์ ปัญจพรรค์” ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้
ศิริรัตน์ ทวีทรัพย์. หุ่นวังหน้า. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2551.
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระมหาอุปราชหรือวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐ์หุ่นขึ้น 2 สำรับ คือ หุ่นจีนและหุ่นไทยเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งหุ่นทั้ง 2 สำรับประกอบด้วยตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง ใช้เป็นเครื่องบันเทิงอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคลและนำออกแสดงภายนอกในงานสมโภชต่างๆ เป็นครั้งคราว และสันนิษฐานว่าหุ่นดังกล่าวคงเลิกเล่นตั้งแต่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคต เมื่อปีพุทธศักราช 2428 ในปีพุทธศักราช 2536 กรมศิลปากรและมูลนิธิซีเมนต์ไทย ได้ขอให้อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เป็นผู้ซ่อมแซม หุ่นวังหน้าจึงมีสภาพสมบูรณ์งดงาม ดังที่ได้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครในปัจจุบัน
แนะนำหนังสือหายากคำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ เป็นโครงการวิจัยโดย ดร.ฮันส์ เพนธ์ เป็นผู้ค้นคว้าและรวบรวมขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาจารึกที่ฐานพระพุทธรูป และที่ฐานรูปพระสาวก ซึ่งพบในภาคเหนือของประเทศไทย และเป็นคำจารึกที่มิได้ใช้อักษรและภาษาไทยในปัจจุบัน โดยเลือกศึกษาพระพุทธรูปในวัดบริเวณตำบลศรีภูมิ และตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของนครเชียงใหม่ และรวบรวมเป็นบัญชีพระพุทธรูปที่มีคำจารึก จำนวน 312 รายการ นับว่าเป็นเรื่องที่ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างดี
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสด Facebook live การประชุมวิชาการหอสมุดแห่งชาติประจำปี ๒๕๖๕ หัวข้อ “บทบาทและการปรับตัวของห้องสมุดในยุคดิจิทัล” ในวันที่ ๑๙ – ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖๐๐ น. ติดตามชมผ่านทางเพจ Facebook National Library of Thailand ทั้งนี้ ทางสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ปิดรับลงทะเบียนผ่านระบบ zoom แล้ว เนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวนแล้ว จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร ครั้งที่ ๑๐/งป.๒๕๖๕ (สัญจร) ณ โรงแรมฟอร์จูนวิวโขง อ.เมือง จ.นครพนม พร้อมนี้ อธิบดีกรมศิลปากรได้แสดงความยินดีและมอบของที่ระลึกให้แก่นายสถาพร เที่ยงธรรม นางรักชนก โคจรานนท์ นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมศิลปากร
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 16 ราชสำนักจีนราชวงศ์หมิงได้มีนโยบายห้ามคนจีนออกนอกประเทศ ทำให้การค้าเครื่องปั้นดินเผาของจีนต้องหยุดชะงักลง จึงเป็นช่วงที่เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาในประเทศไทยเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นสินค้าที่ถือได้ว่าเป็นที่นิยมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควบคู่ไปกับเครื่องปั้นดินเผาเวียดนามแทนที่เครื่องปั้นดินเผาจากประเทศจีน
หนึ่งในดินแดนที่มารายงายการพบเครื่องปั้นดินเผาไทยมากแห่งหนึ่ง คือ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะจากแหล่งเรือจม ในโพสต์นี้เราจะนำเสนอข้อมูลหลักฐานการค้าทางทะเลที่บ่งชี้ว่าสินค้าเครื่องปั้นดินเผาไทย มีบทบาทสำคัญในประเทศฟิลิปปินส์ผ่านแหล่งเรือจม 2 แหล่ง คือ แหล่งเรือจมซานตาครูซ (Santa Cruz) และ แหล่งเรือจมลีนาโชล (Lena Shoal)
ในประเทศฟิลิปปินส์ มีรายงานการพบเครื่องปั้นดินเผาไทยในแหล่งเรือจมหลายแห่ง เป็นผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องเคลือสีเขียวไข่กาจากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และไหเคลือบสี่หูเนื้อแกร่งจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี โดยเฉพาะไหจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อยมีรายงานว่าพบในแหล่งเรือจมหลายแห่ง ประกอบด้วยแหล่งเรือจมปันดานัน ลีนาโชล ซานตาครูซ ซานอซิโดร และ กันดูลี ประเภทที่พบมากที่สุด คือ ไหลำตัวกว้างขนาดใหญ่ ไหลำตัวกว้างขนาดกลางกลาง และไหทรงสูงขนาดเล็ก
ไหลำตัวกว้างขนาดใหญ่ ประกอบด้วยไหปากกว้างคอสั้นมีขอบปากผายออก ไหคอสั้นแคบปากกลม ไหคอสูงและขอบปากคล้ายแตรหรือคอยาวมีขอบเว้าออกขนาดใหญ่ ไหลำตัวกว้างขนาดกลางมีหู 2 ข้างที่ไหล่ คอสั้นมีขอบปากผายออกและมีรอยบากรอบไหล่และลำตัว ไหทรงสูงขนาดเล็กคอสั้นและมีหูแนวนอนสี่หูที่ไหล่ ส่วนเคลือบปกติจะเคลือบตั้งแต่ปากจนถึงครึ่งล่างของลำตัว
ส่วนเครื่องสังคโลกเคลือบสีเขียวไข่กา (celadon) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบที่แหล่งเรือจมซานตาครูซ ประกอบด้วย ขวดทรงกลม ขวดทรงยาวมีหูหิ้วสองอัน ขวดแบบมีหู และขวดขาดเล็กทรงน้ำเต้า
ขวดทรงยาวตกแต่งด้วยลายขุดเป็นวงกลมรอบไหล่และบางใบมีร่องหรือลายตาข่ายรอบลำตัว ส่วนไหทรงน้ำเต้าตกแต่งด้วยการขูดที่ไหล่ ขวดทรงกลมมีหลายขนาดและตกแต่งด้วยลายขุดรูปวงกลมและลายขุดเป็นรอยบากหรือลายตาข่ายรอบไหล่
------------------------------------------------------
อ้างอิง : National Museum of the Philippines. (2021). Thailand Sawankhalok Ceramics Found in Philippine Shipwrecks [dated from the 15th to 16th centuries CE]. Retrieved from www.yodisphere.com: https://www.yodisphere.com/2021/02/Sawankhalok-Ceramics.html"
------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดีใต้น้ำ
https://www.facebook.com/UADThailand/posts/330903885892852
------------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
✦เมืองพิชัย หมู่ ๒ บ้านหน้าพระธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ .#โบราณคดีจังหวัดอุตรดิตถ์ #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า.::: เรียบเรียงเนื้อหา โดย :::นางรัตติยา ไชยวงศ์ นักโบราณคดีชำนาญการ .::: ออกแบบศิลป์ :::นายสรธัช โรจนารัตน์ นักโบราณคดีชำนาญการ.เผยแพร่ โดย กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย..#โบราณคดีจังหวัดอุตรดิตถ์ #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า#โบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง #เมืองพิชัย#องค์ความรู้ออนไลน์.☆ ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ☆กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่Facebook Fanpage https://www.facebook.com/fad6sukhothaiYoutube Channel https://www.youtube.com/channel/UCD2W0so8kn4bL-WOu8Doqnw
อิติปิโส พาหุ (อิติปิโส พาหุ) ชบ.บ 127/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)