ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 163/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
พัชนีด้ามงา
สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒
วัสดุ ผ้า และ งา
ขนาด สูง ๙๒ เชนติเมตร
ประวัติ เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือเมื่อทรงผนวช เดิมอยู่ที่วัดบวรนิเวศ
ปัจจุบันเก็บรักษา พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พัชนีหุ้มด้วยผ้าไหม บัวงาจำหลักรูปพานผลไม้ ด้ามงา ตามประวัติระบุว่าพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือพัชนีด้ามงาเล่มนี้ขณะทรงผนวชเป็นสามเณร ในแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๖๕)
พัดเล่มนี้เดิมเก็บรักษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นสามเณร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ประทานพัชนีเล่มนี้ให้ทรงถือ ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงผนวชเป็นสามเณร ได้ทรงถือพัชนีเล่มนี้เช่นเดียวกัน ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานมาเก็บรักษาในหอพุทธสาสนสังคหะ ต่อมาได้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษา ณ หอพิพิธภัณฑสถาน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน)
พัชนี เดิมเป็นเครื่องยศสำหรับคฤหัสถ์ ตั้งแต่ชั้นพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย และขุนนาง ต่อมาถวายให้แก่พระสงฆ์ใช้เป็นสมณบริขาร สำหรับลูกศิษย์พัดวีปรนนิบัติ หรือถือแทนตาลปัตร จึงเกิดเป็นธรรมเนียมพระสงฆ์ผู้มียศชั้นพระราชาคณะ ฐานานุกรม และเจ้าอธิการ ต่างก็ถือพัชนีเป็นเครื่องยศแทนตาลปัตรสืบมาทุกแห่ง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวไม่โปรดใช้พัชนี เพราะมีลักษณะคล้ายจวักเป็นอัปมงคล โปรดให้เลิกใช้พัชนีและใช้พัดขนนกถวายงานแทน พัชนีของหลวงจึงเลิกใช้ไป ต่อมาทอดพระเนตรเห็นพระสงฆ์ยังใช้พัชนีกันอยู่ จึงมีพระบรมราชโองการประกาศให้บรรดาพระสงฆ์ทั้งปวงเลิกใช้พัชนี พร้อมกับทรงพระราชดำริจัดสร้างพัดรองขึ้นสำหรับแทนพัชนีใช้โดยทั่วไป
อ้างอิง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แลหอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๕๙. (เรียบเรียงทูลเกล้าถวายเมื่อเสด็จเปิดหอพระสมุดสำหรับพระนคร ณ วันเสาร์ที่ ๖ มกราคม ปีมโรง พ.ศ. ๒๔๖๙)
ราชบัณฑิตยสภา. อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณแลพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๙.
จารุณี อินเฉิดฉาย. บรรณาธิการ. เมื่อตะวันออกพบตะวันตก: พิพิธสมบัติพระราชา ณ วังหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, ๒๕๕๗. (หนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๒ กรกฎาคม - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 18/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชุมนุมเรื่องเกี่ยวกับกรุงสุโขทัย (ภาค1). พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2498.
ชื่อผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง เบ็ดเตล็ดเจ็ดเรื่อง
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๘
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยเขษม
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๒
จำนวนหน้า ๓๖ หน้า
เบ็ดเตล็ดเจ็ดเรื่อง คณะอนุกรรมการรวบรวมและค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ ฯลฯ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเห็นว่าอยู่ในระยะของการฉลองพระบรมราชสมภพครบ ๘ รอบ และ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เลือกบทพระราชนิพนธ์รวม ๗ เรื่อง เพื่อจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติฯ ในโอกาศนี้ได้ชื่อว่า เบ็ดเตล็ดเจ็ดเรื่อง ดังนี้ มนุษยสรวยหรือไม่สรวย? โรงเรียนเรียนในฟากฟ้า เรื่องหงส์ทอง(หงส์) นักเลงฟุตบอลแสดงความกล้าหาญ ต้นหมาปลายหมา ทำให้ฟุตบอลสนุกขึ้น ยาตัวเบา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมสดับพระธรรมเทศนา เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา ตามรอยธรรมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันธรรมสวนะ ตลอดเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ชื่อผู้แต่ง ช.ทักษิณานุกูล
ชื่อเรื่อง หลวงพ่อเงิน เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเกษมบรรณกิจ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๔
จำนวนหน้า ๕๓๔ หน้า
หมายเหตุ
รายละเอียด
ประวัติหลวงพ่อเงินแห่งวัดดอนยายหอม จ.นครปฐมอย่างละเอียดเริ่มจากผู้ให้กำเนิดในตอนที่ ๑ ตอนที่ ๒ เป็นประวัติตั้งแต่เด็ก ตอนที่ ๓ เริ่มเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จนถึงได้เป็นเจ้าอาวาส ตอนที่ ๔ การศึกษาวิชาอาคม ตอนที่ ๕ การช่วยเหลือชาวบ้าน ตอนที่ ๖ ยุคความเจริญของหลวงพ่อเงิน ตอนที่ ๗ พระเครื่องหลวงพ่อเงินและที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ ๘ การปฏิบัติหน้าที่ของหลวงพ่อเงินและภาคผนวก
เลขทะเบียน : นพ.บ.440/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 3.5 x 59.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157 (141-148) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : วินัยสิกขาบท--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.585/3 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 189 (372-377) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมีหลวง--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เมืองโบราณยะรัง EP.5 : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)
องค์ความรู้ตอนที่ 5 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า "เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)”
เทคโนโลยีไลดาร์ เป็นหนึ่งเทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) โดยคำว่า Li-DAR เป็นตัวย่อจากคำว่า “Light detection and ranging” วัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือการใช้แสงเพื่อวัดระยะ หรือความสูงของพื้นผิว หลักการทำงานคือการส่งแสงเลเซอร์ไปกระทบวัตถุหรือพื้นผิวต่างๆ ซึ่งระหว่างทางระบบจะทำการคำนวณเวลาในการเดินทางของแสงตั้งแต่ถูกปล่อยออกจากอุปกรณ์จนสะท้อนกลับมาที่ตัวรับสัญญาณเพื่อวัดระยะ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์พื้นผิวได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเส้นชั้นความสูง (Contour Line) พื้นที่การมองเห็น (Viewshed) ความลาดชัน (Slope) การตกกระทบของแสง (Hillshade) การหาปริมาตรในการขุดและถมที่ (Cut and Fill) เป็นต้น อย่างไรก็ตามการใช้ไลดาร์ซึ่งใช้หลักการการสะท้อนกลับของคลื่นแสง ก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับการแปลความวัตถุประเภทกระจก โลหะหรือน้ำที่สามารถสะท้อนแสงได้ดี
ในพ.ศ.2565 สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ดำเนินการสำรวจเนินโบราณสถานเมืองโบราณยะรังด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) ในพื้นที่เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ผลการศึกษาพบตำแหน่งร่องรอยผิดวิสัยจำนวน 40 จุด (มีตำแหน่งซ้ำกัน 4 จุด) พบพื้นที่พื้นที่ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเนินโบราณสถานเพิ่มเติมจำนวน 2 แห่ง
อย่าลืมติดตามตอนสุดท้าย Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี ด้วยนะคะ
---------------------------
Ep.1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790
Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid023vs8jRqA2iqonHKfjBgCMWEC6GfQLWyYHFy8ogMX3RVt1UG1uy2pSNVxkd2s9BT6l
Ep.3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid02yA8FEeS67MfC8HzjSBSYFYPtYd2b3nmNpXf9FQuwkajWb5X4woZgmPtHJ4vyyA8dl
Ep.4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/pfbid0va5D37FDUqFdjb2uGRWXaLWPdEzE3awHxN52dk6ztdmCYgt5gfxBoVdH84dGAf5hl
EP.5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)
Ep.6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นต้น, คาถาธมฺมปท)อย.บ. 244/7หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด
พระวิษณุสี่กร
พุทธศตวรรษที่ ๑๓
ได้มาจากเมืองศรีเทพ พระยานครพระราม สมุหเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ส่งมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระวิษณุสี่กร ทรงยืนตริภังค์ พระเศียรทรงกิรีฏมกุฎ* (หมวกทรงกระบอก) พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระวรกายท่อนบนเปลือย พระวรกายท่อนล่างทรงพระภูษาสั้น ยืนตริภังค์ ทรงยืนบนฐานสี่เหลี่ยม พระวิษณุมีสี่กร จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระวิษณุจตุรภุช กล่าวคือ “จตุร” หมายถึงสี่ “ภุช” หมายถึงกรหรือแขน
ประติมากรรมองค์นี้ยังคงแสดงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียอย่างชัดเจน ได้แก่ การยืนตริภังค์ แสดงการยืนเอียงส่วนพระโสณี (สะโพก) ค่อนข้างมาก รูปแบบดังกล่าวนี้ปรากฏในงานประติมากรรมศิลปะอินเดียอย่างชัดเจนตั้งแต่สมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑) เป็นต้นมา และส่วนพระเศียรที่ทรงกิรีฏมกุฎนั้นแสดงถึงรูปแบบเดียวกับ กิรีฏมกุฎที่ปรากฏในศิลปะปัลลวะ ของอินเดียใต้ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ เป็นหมวกทรงกระบอกเรียบ ตั้งตรงไม่สอบเข้าหากัน ไม่มีลวดลาย มีเส้นรอบวงเท่ากับพระเศียร และไม่มีกระบังหน้า รูปแบบดังกล่าวปรากฏในประติมากรรมที่ทรงกิรีฏมกุฎ อาทิ พระวิษณุ พระสุริยะ แพร่กระจายทั่วพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง ทั้งในศรีวิชัย ทวารวดี และเขมรก่อนเมืองพระนคร**
อำมาตย์โท พระยานครพระราม สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก มีจดหมายรายงานการพบเทวรูป องค์นี้ ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“..ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปตรวจพบรูปพระนารายณ์หินอีกองค์หนึ่งอยู่ห่างจากกำแพงเมืองศรีเทพทางทิศใต้ราว ๒๕ เส้น มีขนาดเท่าคนร่างใหญ่ เบื้องล่างหักเพียงข้อพระบาท แต่ฐานที่ตั้งและพระบาทยังอยู่พอจะต่อเข้ารูปกันได้ ส่วนเบื้องบนพระกรขวาหักเพียงศอก พระกรซ้ายหักเพียงศอกกรหนึ่งเพียงข้อพระหัดถ์กรหนึ่ง พระพักตร์กะเทาะบ้างเล็กน้อย นอกนั้นยังดีอยู่ แต่ที่หักแล้วหายหาไม่พบ ทรงเครื่องอย่างเขมรขัดเตี่ยว (เหมือนผู้ที่แต่งตัวจะเข้าชกมวย) แต่สนับเพลาสั้นมาก มาลาที่ทรงคล้ายหมวกเตอร์กี ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งให้นำมาไว้ที่อำเภอวิเชียรแล้ว...”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยำรงราชานุภาพทรงมีลายพระหัตถ์ตอบกลับ อำมาตย์โท พระยานครพระราม สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ความตอนหนึ่งว่า
“...ของโบราณซึ่งได้พบมาแล้วที่เมืองศรีเทพมักเปนของดี ๆ เสมอ ฉันคิดว่ายังจะมีของดี ๆ เหลืออยู่อีกขอให้เจ้าคุณพยายามค้นหาต่อไป พระนารายณ์ที่เจ้าคุณได้พบแล้วนั้นก็คงจะเปนของดีอีก ขอให้จัดการส่งลงไปเถิด ฉันขอขอบใจเจ้าคุณเปนอันมากที่เอาใจใส่ในเรื่องของโบราณอันเปนราชการสำคัญของบัณฑิตยสภา...”
*กิรีฏะ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า มงกุฎ ดังนั้นจึงปรากฏกับประติมากรรม เทพเจ้า หรือบุคคลที่มีอำนาจ เช่น พระวิษณุ พระอินทร์ พระสูรยะ และบุคคลที่เป็นกษัตริย์
**โดยเฉพาะในวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ปัลลวะค่อนข้างชัดเจน อาทิ สร้อยพระนามกษัตริย์จะลงท้ายด้วย “-วรมัน” เช่นเดียวกับกษัตริย์ในราชวงศ์ปัลลวะของอินเดีย
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน,๒๕๖๒.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของรูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๕.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ. ๒.๑.๑/๕๐. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง เทวรูปศิลาซึ่งพบที่เมืองศรีเทพ เข้ามายังพิพิธภัณฑสถานฯ (๑๓-๑๕ เมษายน ๒๔๗๒).
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏธกถา ขุทฺทกนิกายฏธกถ (ธมฺมปทขั้นปลาย)อย.บ. 240/18หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ; ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธ ศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ