ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ผู้แต่ง : เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ ปีที่พิมพ์ : 2554 สถานที่พิมพ์ : พะเยา สำนักพิมพ์ : นครนิวส์การพิมพ์      ท่ามกลางกองซากอิฐซากปูนของวัดโบราณ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัดร้าง ค่อนข้างจะมีอุปสรรคมากมายในการเข้าไปสำรวจ ค้นหาหลักฐานที่จะนำข้อมูลต่างๆมาเขียนเป็นหนังสือ วัดโบราณในเมืองพะเยา ทำให้หนังสือเล่มนี้มีข้อมูลที่เปรียบเสมือนกับเป็นแผนที่เดินทาง ที่จะทำให้ผู้อ่านย้อนไปในอดีตศึกษาวัดโบราณในเมืองพะเยาที่สูญหายไปแล้วและกำลังจะสูญหาย บางวัดที่มีเพียงชื่อปรากฏอยู่ในตำนาน เนื้อหาภายในเล่มจะครอบคลุมและประกอบไปด้วยเรื่องราวของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการสำรวจทางโบราณคดีท้องถิ่นเมืองพะเยา พุทธศาสนาในล้านนา การเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนาลังกาวงศ์ในเมืองพะเยา วัดโบราณในเมืองพะเยาที่จะทำให้ผู้ที่มีความสนใจเมืองพะเยาในทางประวัติศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลเรื่องราวของวัดโบราณในเมืองพะเยาได้อย่างครอบคลุม


ขอเชิญร่วมกิจกรรม”ศิลปะสร้างสรรค์ จินตนาการสร้างนักคิด” ในวันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ เข้าร่วมกิจกรรมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น




อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 20 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


ชุดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ "พระแสนแซ่ว : พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ล้านนา"



โครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายในการใช้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเพื่อการเรียนรู้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นระหว่างวันที่ ๒๐-๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๒



ทรัพย์ในดินสิงห์บุรี แสดงสภาพภูมิศาสตร์ธรณีวิทยา แหล่งกำเนิดของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะดิน หิน แร่ ของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   แหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ  แสดงหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีสมัยทวารวดี  ขุดค้นพบที่ บ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทะรูปศิลา ภาชนะดินเผา แท่นหินบดยา ชิ้นส่วนศาสนสถาน เช่น ยอดสถูปดินเผา     แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นเตาเผาผลิตเครื่องปั้นดินเผาสมัยอยุธยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่  ๒๐– ๒๔ ตั้งอยู่ที่วัดพระปรางค์ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งกรมศิลปากรได้ขุดแต่งแล้วเป็นเตาเผาขนาดใหญ่ ๓ เนิน ปัจจุบันนี้สร้างหลังคาคลุมเตา ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเตาเผาแห่งนี้มี ๒ ประเภท คือ ภาชนะใช้สอย เช่น ไห กาน้ำ และเครื่องมือประกอบสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องเชิงชาย มกร     พระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยต่างๆ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ และเครื่องถ้วยต่างๆ ที่พระเทพสุทธิโมลี (ผึ่ง โรจโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์และผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ได้เก็บรวบรวมไว้  


วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ทางสำนักช่างสิบหมู่ ได้ต้อนรับ "สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์" เข้าเยี่ยมชมสำนัก   โดยมีสมาชิกทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมชมในครั้งนี้ ทางศูนย์ศิลปะและการช่างไทยในนามสำนักช่างสิบหมู่ ขอขอบคุณ คณะศึกษาดูงานจากทางสยามสมาคม   ในพระบรมราชูปถัมภ์ที่ให้ความสำคัญกับทาง สำนักฯในครั้งนี้ด้วยครับ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ ยังได้รับของที่ระลึกอันทรงคุณค่าจากทางสยามสมาคมฯ ซึ่งเป็นหนังสือหายาก อันได้แก่หนังสือ   "Art and Art-Industry in Siam" โดยทางศูนย์ฯขออนุญาตนำมาจัดแสดงเพื่อใช้เผยแพร่ให้กับบุคคลทั่วไปได้รับ   ทราบข้อมูลที่สำคัญสืบต่อ



ผลการตรวจสอบแหล่งโบราณสถานได้รับแจ้งข้อมูลการพบร่องรอยโบราณสถานในเขตตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ 1.ข้อมูลเบื้องต้นแหล่งโบราณสถานชื่อ “บาพระเจ้า” ที่ตั้งหมู่ที่ 2 บ้านหนองพอก ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ พิกัด 16°15'13.11"น 102°22'40.58"ตะวันออก 48 Q 219735.00 ม. ตะวันออก 1798787.00 ม. เหนือ (48 QTD 197987 มาตราส่วน 1:50,000 WGS 84 อำเภอหนองเรือ พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD L7018 ระวาง 5441 I ) ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้เป็นพื้นที่ครอบครองของเอกชน คือ นางทองเหลือง นันทชน ราษฎรบ้านหนองพอก2.สภาพที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพโดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ทิศเหนือ บ้านหนองพอก ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ทิศใต้ บ้านโนนตุ่น ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวและอ้อย ทิศตะวันออก บ้านหนองดินดำ ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวและอ้อย ห่างไป 480.00 เมตร มีลำห้วยไผ่ ไหลผ่าน ทิศตะวันตก บ้านโนนทัน ตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวและอ้อย ห่างไป 350 เป็นถนนสายท้องถิ่นสายบ้านหนอง พอก – หนองหญ้าปล้อง3.การเดินทางเข้าสู่แหล่งโบราณสถาน จากที่ว่าการอำเภอแก้งคร้อ เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ประมาณ 650 เมตร ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2389 ประมาณ 21.5 กิโลเมตร ถึงสี่แยกตำบลหนองสังข์เลี้ยวขวา ประมาณ 1.5 กิโลเมตรถึงบ้านหนองพอกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายท้องถิ่นสายบ้านหนองพอก – หนองหญ้าปล้อง ประมาณ 1.7 กิโลเมตร แหล่งโบราณสถานอยู่ด้านซ้ายมือ ห่างจากถนนสายท้องถิ่นประมาณ 350 เมตร4.สภาพแหล่งโบราณสถาน โบราณสถานปัจจุบันเป็นเนินดินขนาดเล็กอยู่ในสภาพพังทลายและถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกต้นไผ่ บนเนินปรากฏกลุ่มศิลาแลงก้อนสี่เหลี่ยมหล่นกระจายทั่วเนิน และมีร่องรอยจากการลักลอบขุดค้นหลายจุด สันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานอาคารโบราณสถานประเภทปราสาทขอม ก่อด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันพบศิลาแลงกระจายอยู่ในพื้นที่มีขอบเขตโดยประมาณ กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร มีร่องรอยการลักลอบขุดเป็นหลุมลึกกระจายในพื้นที่ศิลาแลงกระจายอยู่ทั่วไป ไม่สามารถกำหนดอายุได้ชัดเจนเนื่องจากหลักฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมไม่เพียงพอ ในเบื้องต้นทราบว่าเป็นโบราณสถานปราสาทขอมในศิลปะขอม (กำหนดอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 – 18)5.จากการเดินสำรวจทางโบราณคดีบนผิวดินโดยรอบไม่พบโบราณวัตถุ เนื่องจากสภาพพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงและใช้งานเป็นพื้นที่เกษตรกรรม6.ตรวจสอบแหล่งโบราณสถานการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบาพระเจ้า ยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน




Messenger