ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


หนังสือเล่าเรื่องในไตรภูมิ เป็นเรื่องเกี่ยวกับนรกสวรรค์ ซึ่งคนส่วนมากเชื่อว่ามีจริง หนังสือนี้นอกจากจะมีประโยชน์ในการศึกษาด้านวรรณคดีแล้ว ยังมีคุณค่าทางด้านปรัชญาและจิตวิทยา เพราะเป็นเรื่องสอนให้คนทราบถึงบาปบุญคุณโทษ


สาระสังเขป  :  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อเสด็จไปยุโรปครั้งหลัง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นลายพระราชหัตถเลขา พระราชทานมายังสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล ซึ่งสนองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระบรมชนกนาถฯ เป็นตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายในอยู่ในสมัยนั้น เสด็จประพาศเล่ามาในพระราชหัตถเลขามีข้อความต่างๆ เช่น ทรงพรรณาสิ่งที่ได้ทอดพระเนตรเห็น และกิจการซึ่งได้ทรงทราบ ทั้งกระแสพระราชดำริห์วินิจฉัยในเรื่องนั้นๆผู้แต่ง  :  สิบพันการเสนอ โสณกุล, ม.จ.โรงพิมพ์  :  การศาสนาปีที่พิมพ์  :  2509ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.5007จบเลขหมู่  :  914            ว148จ



เลขทะเบียน : นพ.บ.16/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 10 (105-113) ผูก 3หัวเรื่อง : คณฺถาภรณ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


SEMINAR REPORT CULTURE OF THE SOUTHEAST ASIA-SIMILARITIES IN THEIR WAYS OF LIVINGชื่อผู้แต่ง : สิวารีชื่อเรื่อง : SEMINAR REPORT CULTURE OF THE SOUTHEAST ASIA-SIMILARITIES IN THEIR WAYS OF LIVINGครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๙          รายงานการสัมมนาวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการสัมมนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ในสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมโบราณของพม่า ประเพณีบุญประเวศ ความเพียรของวัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมและอุดมการณ์ที่เปลี่ยนไปของประเทศไทย ตลอดจนแนวโน้มของวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคโลกาภิวัตน์


ชื่อผู้แต่ง        :   อนุมานราชธน , พระยาชื่อเรื่อง          :   เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสฐียรโกเศศครั้งที่พิมพ์      :    -สถานที่พิมพ์    :   ม.ป.ท.สำนักพิมพ์      :   -ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๑๒จำนวนหน้า     :  ๑๙๒ หน้าหมายเหตุ        :   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายนาม  ภูมมะภูติ  นางสาวดารณี  ภูมมะภูติ ณ เมรุวัดประยุรวงศาสาส ธนบุรี วันที่๗ มิถุนายน  ๒๕๑๒                     ไตรภมิ เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นสมัยสุโขทัย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชี้แจงไว้ในบานแพนกแห่งหนังสือเล่มนั้นว่า หนังสือไตรภูมิฉบับนี้ เป๋นของพระยาลิไทยแห่งกรุงศรีสัชนาลัย สุโขทัย คือ พระยาฦาไทย หรือพระธรรมราชาที่ ๑ นั่นเอง โตรภูมิ แปลว่า แดนสาม ซึ่งแยกเป็นภามภูมิ ๑ รูปภูมิ ๑ และอรูปภูมิ ๑



เอกรัฐ คำวิไล.อวสาน มะเร็งปากมดลูก.จันท์ยิ้ม.(2):6;สิงหาคม - กันยายน 2560.          แทบไม่น่าเชื่อว่าวันหนึ่ง เราจะมีวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่คร่าผู้หญิงทั่วโลก 7 ชีวิต ทุกรอบที่ เข็มนาฬิกาเดินครบชั่วโมง ขึ้นมารับมือกับโรคมะเร็งบนโลกใบนี้ HPV : Human Papilloma Virus คือ สาเหตุสำคัญ ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ในประเทศไทยมีผู้หญิงปีละกว่า 8,000 คน โชคร้ายเสียชีวิตด้วยโรคนี้ และนับเป็นความโชคดี ที่หญิงไทยกว่า 400,000 คน กำลังจะมีโอกาสได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย “วัคซีน HPV"


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


พระพุทธรูปปางมารวิชัย ทองเหลือง ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส          พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียง ประดับลวดลายรูปสัตว์ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย มีลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเปิดและมองตรง เส้นขอบเปลือกพระเนตรและพระขนงป้ายเป็นแผ่น พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กบาง พระรัศมีเหนืออุษณีษะเป็นรูปเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระวรกายมีลักษณะอวบอ้วน พระอังสาค่อนข้างใหญ่ ทรงจีวรห่มเฉียง บริเวณพระอังสาซ้ายสังฆาฏิแตกออกเป็นริ้ว และมีสังฆาฏิพาดเฉียงจากพระอังสาซ้ายผ่านกลางพระอุระลงมาจรดพระนาภี ชายสังฆาฏิเป็นแบบปลายตัด          ฐานพระพุทธรูปเป็นฐานทรงสูงประดับลวดลายรูปสัตว์ 12 ตัว โดยเริ่มจากรูปหนู วัว เสือ กระต่าย งูใหญ่ งูเล็ก ม้า แพะ ลิง ไก่ สุนัข และหมูตามลำดับ ซึ่งการเรียงสัตว์ในลักษณะเช่นนี้เป็นไปตามปีนักษัตร โดยเริ่มต้นจากปีชวดไปจนถึงปีกุน ซึ่งความสำคัญของปีนักษัตรนั้น พบว่าในประวัติศาสตร์ไทยปรากฏการใช้ปีนักษัตรมาเป็นเวลานาน แต่ในทางศิลปกรรมไม่ปรากฏมากนัก อีกทั้งการสะท้อนความหมายก็ไม่สามารถสืบความได้อย่างชัดเจนนัก นอกเหนือไปจากความเชื่อในเรื่องของโหราศาสตร์ก็อาจจัดเข้ากับการเป็นลวดลายประดับเพียงเท่านั้น           อย่างไรก็ตามในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย รวมทั้งในคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พบว่ามีเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องปีนักษัตรคือ จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชมีเมืองภายใต้การปกครอง 12 เมือง เรียกว่าเมือง 12 นักษัตร ประกอบไปด้วยเมืองสายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันทายสมอ สะอุเลา ตะกั่วป่า และกระบุรี โดยแต่ละเมืองใช้ตราสัญลักษณ์รูปสัตว์ใน 12 นักษัตรเป็นตราประจำเมือง คือ เมืองสายบุรีใช้ตราหนู (ชวด) เมืองปัตตานีใช้ตราวัว (ฉลู) เมืองกลันตันใช้ตราเสือ (ขาล) เมืองปาหังใช้ตรากระต่าย (เถาะ) เมืองไทรบุรีใช้ตรางูใหญ่ (มะโรง) เมืองพัทลุงใช้ตรางูเล็ก (มะเส็ง) เมืองตรังใช้ตราม้า (มะเมีย) เมืองชุมพรใช้ตราแพะ (มะแม) เมืองบันทายสมอใช้ตราลิง (วอก) เมืองสะอุเลาใช้ตราไก่ (ระกา) เมืองตะกั่วป่าใช้ตราสุนัข (จอ) และเมืองกระบุรีใช้ตราหมู (กุน)           ทั้งนี้ ความเชื่อเรื่องเมือง 12 นักษัตรอาจจะส่งผลต่องานประดับตกแต่งงานศิลปกรรมในสมัยต่อมาก็เป็นได้ ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของเมืองทั้ง 12 เมืองนักษัตรในอดีตก็ใช้ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเป็นรูปสัตว์ทั้ง 12 นักษัตร และยังพบว่ามีการนำเอารูปสัตว์ใน 12 นักษัตรมาใช้ในการประดับตกแต่งสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่พบในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย รวมทั้งในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอีกด้วย เช่น ขันน้ำลาย 12 นักษัตรทั้งแบบที่ทำจากสำริดและทำเป็นแบบเครื่องถมแบบนครศรีธรรมราช เข็มขัดเงินสลักดุนเป็นลาย 12 นักษัตรที่นิยมใช้กันในหมู่ผู้มีฐานะดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น           นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ความนิยมในการประดับลวดลายด้วยสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจีนได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ โดยนิยมทำลวดลายประดับเป็นรูปสัตว์ใน 12 นักษัตรในงานศิลปกรรม ทั้งใช้ในการประดับตกแต่งฐานโบราณสถาน อาคารต่าง ๆ หรือฐานพระพุทธรูป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำรูปสัตว์ใน 12 นักษัตรมาทำตราประทับบ้าง ทำเป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวงบ้าง เมืองต่าง ๆ บ้าง ซึ่งได้รับความนิยมมาก่อนแล้วในจีน อีกทั้งในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย รวมทั้งในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีชาวจีนเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก ทำให้พบรูปแบบงานศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นจำนวนมาก และอาจรวมถึงการนำรูปสัตว์ใน 12 นักษัตรมาใช้ในการประดับตกแต่งในงานศิลปกรรมด้วย           อย่างไรก็ตามในเรื่องที่มาและแรงบันดาลในการสร้างลวดลายประดับฐานพระพุทธรูป มีความเป็นไปได้ ว่าอาจจะเป็นเรื่องของความเชื่อในเรื่องของเมือง 12 นักษัตรที่สืบต่อกันมา หรืออาจจะเป็นคติที่มีมาก่อนแล้วในกลุ่มชาวจีนที่เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในงานศิลปวัฒนธรรมของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับอายุสมัยในการสร้างพระพุทธรูป คือสมัยรัตนโกสินทร์ก็เป็นได้ เรียบเรียง : นางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม /ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฎิบัติการ/ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง : 1. กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส. ม.ป.ท., 2525. 2. จินดา จันเส้ง. “ตราประจำจังหวัดในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 5 (2542): 2501-2505. 3. นฤมล สารากรบริรักษ์. "ฐานพระพุทธรูปกับงานประดับที่มีความหมายในศิลปะรัตนโกสินทร์จากพิพิธภัณฑ์ของวัดโชติทายการาม จังหวัดราชบุรี." สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549. 4. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร. ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา, 2544. 5. สมพร อยู่โพธิ์. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2549. 6. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548. 7. สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. “เมืองสิบสองนักษัตร.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 13 (2542): 6155-6159. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/3092279494169298



ชื่อเรื่อง : จารึกสมัยสุโขทัย   ผู้แต่ง : กรมศิลปากร   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๖   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร   หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พุทธศักราช ๒๕๒๖                      จารึกเป็นสิ่งที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับวิชาการด้านภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ เป็นหลักใหญ่ ในส่วนของเนื้อหาสาระถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่แสดงวัฒนธรรมของชนชาติ เจ้าของจารึกว่ามีอดีตความเป็นมาอย่างไร ดังนั้นในศุภสมัยฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พุทธศักราช ๒๕๒๖ กรมศิลปากร จึงดำริรวบรวมจารึกสุโขทัยทั้งหมดจัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ทางวิชาการและเพื่อน้อมเกล้าฯ สักการะถวายแด่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงมีพระราชวิริยะอุตสาหะประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๖ อันเป็นการวางรากฐานทางการศึกษาของชาติ เป็นผลให้ชาวไทยมีตัวอักษรใช้เป็นของตนเอง


กองทัพเรือ.  เรื่องชวนคิด. พระนคร : โรงพิมพ์สยามอักษรกิจ, 2480.         เรื่องชวนคิดนี้ เป็นการรวบรวมบทประพันธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หลาย ๆ ด้าน ได้แก่ เรื่อง ชาติกำศรวล, จาคะ, สงคราม, และผลของการเป็นเมืองขึ้น เป็นต้น



Messenger