ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

เนื่องในโอกาสมงคลสมัยที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชนมายุ ๘ รอบ ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ รัฐบาลและประชนชาวไทยต่างมีความปลื้มปีติและสำนึกในพระคุณูปการที่ทรงมีต่อการพระพุทธศาสนาและประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ รัฐบาลในนามคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พิจารณาคัดสรรและดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือเพื่อเป็นสิ่งอนุสรณ์รำลึกถึงพระเมตตาคุณและเชิดชูพระเกียรติคุณให้ปรากฏสืบไป คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้พิจารณาดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกที่มีความสำคัญอันเนื่องด้วยการพระศาสนา ทั้งยังเป็นบันทึกสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ จำนวน ๓ รายการ โดยมอบหมายกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย ๑ หนังสือจดหมายเหตุงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๒ หนังสือเรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ๓ หนังสืออัมพโรวาท : ประมวลพระธรรมเทศนา พระดำรัส พระโอวาท พระสัมโมทนียกถา พระสังเวชนียธรรม และพระปรารภของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นอกจากนี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติยังได้รับมอบหมายให้รวบรวมเอกสารและบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องในงานดังกล่าว ไว้เป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงต่อไปในอนาคต อาทิ ๑ พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ “อายุวัฒน์” และมังคลาภิเษกเหรียญพระรูป สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันจันทร์ ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒ คณะสงฆ์ธรรมยุตจัดพิธีเจริญนวัคคหายุสมธัมม์ สลับโหรหลวงบูชาเทพยดานพเคราะห์ ถวายพระกุศลฉลองพระกรุณาคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันพุธ ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๓ พิธีที่เกี่ยวเนื่องในโครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๗ รูป ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันศุกร์ที่ ๑๖ และวันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ ๔ คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทยจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์อายุวัฒนะมงคลสูตร บูชาเทพยดานพเคราะห์ น้อมถวายพระกุศลฉลองพระกรุณาคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในมงคลสมัยฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันศุกร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ อุโบสถวัดสมณานัมบริหาร ๕ พิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระกุศลงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๖ งานบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ และวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง "จานเชิงเบญจรงค์สมัยอยุธยา" ซึ่งจัดแสดงอยู่ในห้องศิลปะอยุธยา อาคารพระที่นั่งพิมานมงกุฎชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์


         ภาพปูนปั้นชาดกเล่าเรื่อง หัสติง          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น          - ขนาด กว้าง ๘๗.๕ ซม. สูง ๘๒ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์ชาดกมาลา ของอารยสูร เล่าเรื่อง เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็น พระยาช้างหัสติง และอุทิศพระองค์ให้เป็นทานแก่คนหิวโหย   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40098   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์พระราชทานแก่ช้างสำคัญ ในการพระราชพิธีน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายช้างสำคัญ และพระราชพิธีขึ้นระวางสมโภช ณ มณฑลพิธีสนามหน้าเขาวัง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีรหัสเอกสาร ฉ/ร ๖๕๑


สำนักหอสมุดแห่งชาติ.  การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนา กำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ.  กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2557.


ผู้แต่ง : พระครูอดุลย์สีลกิตติ์ (ประพัฒน์ ฐานวุฑโฒ)ปีที่พิมพ์ : 2557 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ดาราวรรณการพิมพ์     การเชื่อถือในเรื่องวันดี วันเสีย ฤกษ์งามยามดีต่างๆ เป็นเรื่องที่ยึดถือกันไม่ว่าจะชนชาติใด ต่างก็มีตำราที่ยึดถือต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน คนล้านนาก็เช่นเดียวกันมีความเชื่อในเรื่องวันดี วันเสียอย่างเหนียวแน่น แต่เนื่องจากคนล้านนามีความหลากหลายในเชื้อชาติที่มาอยู่รวมกัน ทำให้มีการนำวัฒนธรรม ความเชื่อและตำราต่างๆผสมผสานกันเป็นจำนวนมาก หนังสือ วันดี วันเสีย ฤกษ์ยาม ตามปฏิทินล้านนา ฉบับธาตุคำ จะรวบรวมเรื่องราวความเชื่อต่างๆเข้ารวมไว้ด้วยกันภายในเล่ม






อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


ประวัติ สันนิษฐานว่ากลุ่มโบราณสถานเป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิขของพญามังราย ซึ่งตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และพงศาวดารโยนก กล่าวว่า พญามังรายถูกฟ้าผ่ากลางตลาดและพญาไชยสงคราม พระราชโอรสได้ก่อเจดีย์บรรจุอัฐิไว้กลางตลาด อย่างไรก็ดีบริเวณที่ตั้งกลุ่มโบราณสถานตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองเชียงใหม่ อีกทั้งมีชื่อสัมพันธ์กับคำว่า "วัดดือเมือง" ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนาน 15 ราชวงศ์ ฉบับสอบชำระเกี่ยวกับตำแหน่งของที่ตั้งกลุ่มโบราณสถาน อาจกล่าวได้ว่าอยู่ประมาณกลางเมืองชียงใหม่ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เขียนในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือหนังสือ "รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณในเมืองเชียงใหม่" ได้เรียกตำบลบ้านบริเวณนี้ว่า "แขวงด้าวกลางเวียงเชียงใหม่" เจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้ได้รับอิทธิพลของหริกุญไชย มาเป็นแบบแผนในยุคแรกๆ ประวัติในเอกสาร 1. "วัดอินทขิล ตั้งอยู่แขวงด้าวกลางเวียงเชียงใหม่ เจ้าอธิการชื่อ สุลินทอาคิ เป็นนิกายเชียงใหม่ ยังไม่ได้เป็นอุปัชฌายะ รองอธิการไม่มี จำนวนพระลูกวัดในพรรษานี้ไม่มี พรรษาก่อน 2 องค์ ขึ้นแก่วัดองมง (อุโมงค์)" (รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์ฯ, หน้า 3) 2. สมัยพระยากาวิละ "...ศักราช 1156 ตัว (พ.ศ.2337) ปีกาบยีเดือน 8 เพ็ญเม็ง วัน 1 ปฐมมหามูลศรัทธา เจ้ามหาอุปราชได้สร้างพระวิหาร อินทขีล และได้สร้างพระพุทธรูปเจ้าองค์หนึ่งไว้เป็นที่ไหว้และบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย..." (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 105) 3. ในสมัยพระยาคำฟั่น 2366 โปรดให้ทำพิธีสักการบูชาและทำบุญเมืองที่ทักษาเมืองทั้งแปดแห่ง (บริวารเมือง อายุเมือง เดชเมือง ศรีเมือง มูลเมือง มนตรีเมือง อุตสาหเมือง และกาลกิณีเมือง) ที่ประตูเมืองทั้ง 10 แห่ง ที่สะดือเมือง ที่เสาอินทขีล และช้างเผือกทั้ง 2 ตัว ความว่า "ขณะยามนั้น เทพสังหรณ์หื้อหันนิมิตหลายประการ คือว่าหื้อหันพระอาทิตย์ออก 2 ลูก พระจันทร์ก่อออก 2 ลูก ต่ำแน้ ฟาน (เก้ง) ก็เข้าเวียง ท่านองค์พระเป็นเจ้าหื้อหาหมอและปราชญ์มาบูชาทิสสะพละและอินทอุปปะ แล้วนิมนต์พระสังฆเจ้าสูตรปริยัติมังคละและกรณีพันคาบ ไชยทั้ง 7 ในที่ทั้งหลาย 28 แห่ง คือว่า ปอาเตศรีอุมะกาแห่งเมืองและประตูเมืองทั้งสิบ สะดือเมือง ที่อินทขีล และช้างเผือกสองตัวหัวเวียง พระสังฆะสูตรและแห่งและ 19 องค์ กระทำบุญหื้อทานและบูชาตามอุปเทศ แล้วก็บูชาเสื้อเมือง คือว่า อินทขิล 7 วัน 7 คืน หั้นแล" (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 130) ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เจดีย์ประธานทรงระฆัง : ขนาดฐาน 7.80 x 7.80 เมตร ได้รับการบูรณะแล้วโดยยังคงเหลือให้เห็นร่องรอยของการสร้างเจดีย์องค์นอกทับเจดีย์องค์ใน ส่วนฐานลักษณะหน้ากระดานสี่เหลี่ยมสามชั้น และฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ท้องกระดานมีลวดบัวคาดประดับสองเส้น รองรับฐานหน้ากระดานกลมและชุดมาลัยเถาค่อนข้างสูงสามชั้น ชุดมาลัยเถารองรับองค์ระฆังทรงกลม บัลลังก์สี่เหลี่ยม แกนปล้องไฉน บัวฝาละมี ปล้องไฉน และปลี เป็นเจดีย์ศิลปะพื้นเมืองล้านนา จากลักษณะของเจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นเจดีย์ในยุคต้นๆ ของเชียงใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้ยังสร้างพอกทับเจดีย์อีกองค์หนึ่ง เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ซึ่งยังเห็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน ทิศตะวันออกใกล้กันเป็นวิหารหลวงพ่อขาว โดยภาพรวมแล้ววัดนี้ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนและถนนที่มีการจราจรหนาแน่น เจดีย์รายทรงปราสาทแปดเหลี่ยม : ประกอบด้วย หน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนสามชั้น ฐานบัวลูกแก้วแปดเหลี่ยม ท้องกระดานมีลวดบัวลูกแก้วอกไก่สองเส้น รองรับเรือนธาตุแปดเหลี่ยม มีซุ้มจระนำทุกด้าน ทางด้านตะวันออกเปิดเป็นโพรงเข้าไป น่าจะประดิษฐานพระพุทธรูป เหนือเรือนธาตุเป็นชุดมาลัยเถา ลักษณะเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมสามชั้นรองรับองค์ระฆัง ปล้องไฉน และปลี โดยไม่มีบัลลังก์ เจดีย์ก่อสร้างโดยการก่ออิฐฉาบปูน เรียงอิฐแบบสั้นสลับยาว ตกแต่งเรือนธาตุแต่ละด้านด้วยการทำเป็นกรอบซุ้ม ในซุ้มแต่ละด้านมีซุ้มจระนำ ประดับลายปูนปั้น องค์ระฆังประดับกลับบัวโดยรอบ เจดีย์น่าจะได้รับอิทธิพลจากเจดีย์กู่กุดในศิลปะหริภุญชัยและยังส่งอิทธิพลต่อกลุ่มเจดีย์แบบเจดีย์ป่อง คือ เจดีย์วัดตะโปทาราม เจดีย์เก่าวัดพวกหงส์ และเจดีย์ป่องวัดเชียงโฉม เจดีย์องค์นี้มีอายุอยู่ในระยะพุทธศตวรรษที่ 20 สภาพปัจจุบัน ปัจจุบันได้รับการยกเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาแล้ว ปรากฎหลักฐานเจดีย์ประธานทรงระฆัง วิหารหลวงพ่อขาว และเจดีย์รายทรงมณฑป 8 เหลี่ยม (ในกำแพงรั้วหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่) จากหลักฐานแผนที่เมืองนครเชียงใหม่พบว่ายังไม่มีถนนอินทวโรรส เพียงแต่มีเส้นทางเข้ามาถึงด้านหน้าวัดเท่านั้น


ประเพณียี่เป็งหรือประเพณีลอยกระทงในภาคเหนือ หรือที่เรียกตามหนังสือตำนานโยนก และจามเทวีวงศ์ว่า “ประเพณีลอยโขมด” หรือลอยไฟนั้น เป็นประเพณีที่สนุกสนานครึกครื้นมาก แม้ว่าจะไม่เป็นการใหญ่โตเหมือนปัจจุบัน คือ ก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ ใต้ ก็จัดการปัดกวาดแผ้วถางบ้านเรือน สถานที่ให้สะอาดเรียบร้อย ประดับประดาด้วยธงชาติ จัดเปลี่ยนดอกไม้ในแจกันหิ้งบูชาพระ จัดเตรียมประทีปหรือเทียนขี้ผึ้งไว้สำหรับจุดบูชาพระ ที่ประตูบ้านก็จะหาต้นกล้วย ต้นอ้อย ก้านมะพร้าว หรือไม้อื่นๆ มาประดิษฐ์ทำเป็นซุ้มประตูป่า แบบต่างๆ ให้เป็นที่สวยงาม บ้างก็จัดหาดอกบานไม่รู้โรยหรือที่เมืองเหนือเรียกว่า “ดอกตะล่อม” มาร้อยเป็นอุบะห้อยไว้ตามขอบประตู ประตูเรือน หรือประตูห้อง หรือหิ้งบูชาพระ ผู้ที่มีใจศรัทธาแรงกล้าถึงกับทำมากๆ แล้วนำไปประดับประดาตามวัดเป็นพุทธบูชา หรือเมื่อประดับประดาดอกไม้เรียบร้อยแล้ว ก็หาโคมญี่ปุ่นหรือประทีปมาเตรียมไว้ เพื่อจะได้ใช้ตามไฟในงาน อ้างอิง มณี พยอมยงค์. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕ ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๔๗.


วันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒  เวลา ๐๙.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพัฒนาเด็ก อ. เมือง จ. ขอนแก่น จำนวน ๕๒ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น โดยมีนางแพรว ธนภัทรพรชัย และนางสาวนิตยาพร สมภาร เป็นวิทยากรนำชม


Messenger