ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

ชื่อผู้แต่ง        - ชื่อเรื่อง         พระอภิธรรมแปล ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    - สำนักพิมพ์      - ปีที่พิมพ์         - จำนวนหน้า   ๑๕๘ หน้า หมายเหตุ.    - (เนื้อหา)            พรรณนาหลักธรรมที่พุทธบริษัท ๔ พึงนำมาประพฤติปฎิบัติและอธิบายถึงโทษของการผิดศีล ๕ และ คุณของการรักษาศีล 5


แนะนำหนังสือหายากตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญชัย จังหวัดลำพูนตำนานพระธาตุเจ้าหริภุญชัยฉบับนี้ เขียนในรูปจดหมายเหตุ บันทึกข้อเท็จจริง มีวัน เดือน ปี ไว้อย่างชัดแจ้ง โดยได้แปลแปลงมาจากต้นฉบับภาษาไทยของหอสมุดแห่งชาติ และฉบับภาษาลานนาไทยพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานสมโภชสมณศักดิ์ พระครูประสาท สุตาคม เจ้าคณะอำเภอเมืองลำพูน เลื่อนเป็นพระครูรองเจ้าอาวาส พระอารามหลวงชั้นเอก คณะหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อ.เมืองลำพูน


          ลาวโซ่ง ลาวทรงดำ หรือ ไทยทรงดำ เป็นคำเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่สิบสองจุไทย หรือ เมืองแถง อยู่ตอนเหนือของประเทศเวียดนาม และถูกกวาดต้อนเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้กลุ่มชาวลาวโซ่งมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันกลุ่มชาวลาวโซ่งมีการเคลื่อนย้ายและตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น           เรือนลาวโซ่งทำจากวัสดุธรรมชาติ เป็นเรือนมีใต้ถุนสูง ตัวเสาเรือนทำจากไม้เนื้อแข็งทั้งต้นที่มีง่ามสำหรับวางคาน พื้นบ้านใช้ไม้กระดานหรือใช้ฟากที่ทำจากไม้ไผ่ทุบเป็นแผ่นแล้วปูแผ่ หลังคามุงด้วยหน้าแฝกด้านหน้าและด้านหลังเป็นทรงโค้งมาเสมอกับชายคา และลาดต่ำคลุมลงมาถึงพื้นเรือนรอบผนังบ้านทุกด้าน ยอดจั่วประดับไม้แกะสลักคล้ายเขากวางไขว้ เรียกว่า “ขอกุด” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเรือนลาวโซ่ง เนื่องจากถิ่นฐานเดิมของลาวโซ่งอยู่ในเขตหนาวมาก่อน การทำผนังลาดต่ำจึงช่วยป้องกันลมหนาวได้           การแบ่งพื้นที่การใช้งานภายในบ้าน บริเวณใต้ถุนบ้านใช้สำหรับเป็นพื้นที่ทอผ้า ตำข้าว สีข้าว เลี้ยงหมู เก็บเครื่องใช้ในการทำนาและจับปลา มีบันไดขึ้นที่ทางชานหน้าบ้าน มีผนังด้านสกัดกั้นภายในบ้านกับชานบ้าน ภายในบ้านไม่มีการกั้นห้องแต่มีการแบ่งพื้นที่สำหรับประกอบอาหาร รับประทานอาหาร และที่นอน มุมของเสาบ้านเป็นที่เซ่นไหว้ผีเรือนทุกวันที่ ๕ และ ๑๐ วัน เรียกว่า “ปาดตง” โดยมีขันน้ำและชามข้าววางอยู่           สิ่งสำคัญที่คู่กับเรือนลาวโซ่งคือ ยุ้งข้าว สำหรับเก็บข้าวเปลือก ซึ่งมีขนาดและรูปทรงคล้ายตัวบ้าน อาจมีสะพานทอดเดินถึงกันได้ และที่สำคัญคือ มีฝาผนังที่สามารถเปิดเพื่อขนข้าวได้ มีพื้นสูงกว่าพื้นเรือน อาจเป็นเพราะชาวลาวโซ่งถือว่าข้าวมีพระแม่โพสพ ต้องเทิดทูนไว้ให้สูงกว่าบ้าน           ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เป็นที่ตั้งของเรือนลาวโซ่งที่มีความสมบูรณ์ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเรือนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง (ไทยทรงดำ) อย่างแท้จริง จำนวน ๒ หลัง ได้แก่ เรือนผู้ท้าว ซึ่งเป็นเรือนหลักสำหรับพักอาศัยและประกอบพิธีกรรม และเรือนยุ้งข้าว นอกจากนั้นยังจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่แสดงถึงวิถีชีวิต ประเพณี และความเชื่อของชาวลาวโซ่ง อีกด้วย ------------------------------------------------------------ เอกสารอ้างอิง บังอร ปิยพันธุ์. ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๑. ธิดา ชมพูนิช. การศึกษาศิลปหัตถกรรมไทยโซ่งในจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครปฐม, ๒๕๓๙. ------------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/153378118193282/posts/1831062817091462/  



องค์ความรู้ เรื่อง พระแว่นสูรยกานต์ โดย นายธนากรณ์ มณีกุล นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                               สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                  26/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                             พุทธศาสนา    ลักษณะวัสดุ                       38 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป้นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           34/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา บทหัดอ่านเขียนเรื่องมาตราตัวสะกดของสุนทรภู่ โดย นางสาวนิศารัตน์ แขงามขำ นักอักษรศาสตร์ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 129/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 165/1เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๕ มกราคม ๒๔๐๑ วันประสูติหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์           มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ที่ประสูติแต่หม่อมบาง และเป็นพระราชนัดดารุ่นใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ประสูติเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๐๑           ทรงเริ่มรับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตั้งแต่ตำแหน่งเสมียนเอกกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แล้วเป็นนายเวร ต่อมาเป็นผู้ช่วยตรวจบัญชีกลาง เลขานุการเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อธิบดีกรมสรรพภาษี อธิบดีกรมเก็บ และตำแหน่งสุดท้ายในราชการคือ ปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยรัชกาลที่ ๖ มียศเป็น มหาอำมาตย์โท           หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถเป็นคนกลุ่มแรกในสยามที่เลี้ยงกล้วยไม้ ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช           หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถได้รับสมบัติจากพระบิดาคือ พระไภษัชยคุรุ เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ซึ่งมีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศจีนและทิเบต องค์พระหล่อด้วยสำริด สร้างขึ้นในศิลปะลพบุรี (ศิลปะแบบเขมรในประเทศไทย) เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ทำเป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ต่อมาหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถทรงขายให้กรมศิลปากร ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ห้องลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร           หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ ถึงชีพิตักษัยในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๗๑ สิริชันษา ๗๐ ปี   ภาพ : หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           19/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 13 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีทรัพย์ รามสูต ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2515 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 244 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีทรัพย์ รามสูต ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2515 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 13 นี้ รวมเรื่องราวต่างๆ ไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องตำนานวังหน้า เทศนาบวรราชประวัติ และเรื่องพระนามเจ้านายในพระราชวังบวร


ชื่อผู้แต่ง         อบ ไชยวสุ.ชื่อเรื่อง          สะกดให้ถูกตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๖สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์     สำนักงาน หอสมุดกลาง๐๙ปีที่พิมพ์        ๒๕๒๒จำนวนหน้า    ๖๗๙ หน้ารายละเอียด สะกดให้ถูกตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำศัพท์เฉพาะที่สะกดยาก ชวนให้ไขว้เขวผิดได้ง่าย พร้อมทั้งให้ความหมายตามแบบพจนานุกรม มีคำที่มักสะกดผิด ซึ่งประมวลจากบัญชีที่สถาบันการศึกษาต่างๆรวบรวมขึ้นไว้ คำพ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ และที่มีความหมายคล้ายกัน และการใช้วรรณยุกต์ตรีทับศัพท์คำต่างประเทศ


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการแสดงเนื่องในงานสมโภชหลวงพ่อโสธร ระหว่างวันที่ ๒ - ๖ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา มีรายการแสดงดังนี้ วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖ การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามราชจักรี วันจันทร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖ การบรรเลงและขับร้องวงดนตรีสากล วันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖ การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดสามอสุรีพ่าย วันพุธที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖ การแสดงละคร เรื่องไกรทอง ตอนไกรทองปราบชาลวัน วันพฤหัสบดีที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖ การบรรเลงและขับร้องวงดนตรีสากล / การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดราพณ์ร้ายรอนราม   นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต อำนวยการแสดงโดย  ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต * ชมฟรี * สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


Messenger