ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ





          กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดนิทรรศการตู้ลายทอง และนิทรรศการเหรียญที่ระลึกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ณ อาคารถาวรวัตถุ (ตึกแดง) ถนนหน้าพระธาตุ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และส่งเสริมให้ตระหนักถึงคุณค่าในการอนุรักษ์ เผยแพร่ ภูมิปัญญางานช่างไทย รวมถึงศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองจากเหรียญที่ระลึกอันเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญในอดีต          ตู้ลายรดน้ำที่จัดแสดงอยู่ภายในอาคารถาวรวัตถุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสำหรับใช้เป็นตู้ใส่หนังสือในหอพระสมุด ด้วยมีพระราชดำริว่าตู้เหล่านี้เป็นฝีมือช่างไทยสมัยโบราณที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างประณีตงดงาม ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาสืบมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ควรค่าที่จะเก็บรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย อีกทั้งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาวิชาช่างสืบไป ปัจจุบันตู้ลายทองดังกล่าวเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ (เทเวศร์) โดยได้นำบางส่วนมาจัดแสดง ณ อาคารถาวรวัตถุ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงให้เห็นบรรยากาศเมื่อครั้งที่อาคารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร          นอกจากนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญสำหรับพระราชทานเนื่องในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึก และเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกตลอดจนเป็นบำเหน็จความกล้าหาญ บำเหน็จความชอบในราชการ หรือบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์ นับเป็นหนึ่งในหลักฐานร่วมสมัยที่แสดงให้เห็นเรื่องราวความเป็นไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดี          ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการตู้ลายทอง และนิทรรศการเหรียญที่ระลึกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ณ อาคารถาวรวัตถุ (ตึกแดง) ถนนหน้าพระธาตุ หอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙. ๐๐ - ๑๖. ๐๐ น. (หยุดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)


          ภาคใต้ของไทยมีการค้นพบเหรียญโบราณที่มีรูปสัญลักษณ์มงคลของอินเดีย ซึ่งสันนิษฐานว่าใช้เป็น “เงินตรา” หรือเป็น “สื่อกลาง” ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนทางการค้าในสมัยโบราณ โดยพบมากบริเวณเมืองท่าและเมืองโบราณสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย เช่น แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แหล่งโบราณคดีคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก จังหวัดพังงา          สำหรับเหรียญที่นำมากล่าวถึงในองค์ความรู้ชุดนี้ คือ “เหรียญพระอาทิตย์ – ศรีวัตสะ” พบที่บ้านทุ่งน้ำเค็ม อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ ลักษณะเป็นเหรียญทรงกลมแบน ทำจากโลหะเงิน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย ๓ เซนติเมตร พบทั้งเหรียญที่มีสภาพสมบูรณ์ และเหรียญที่มีการตัดแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ (สองส่วนและสี่ส่วน) ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการตัดแบ่งเหรียญเพื่อให้เป็นหน่วยย่อยในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปพระอาทิตย์ มีเส้นรอบวงและลายไข่ปลาล้อมรอบ ส่วนด้านหลังของเหรียญเป็นรูปศรีวัตสะ และมีสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลล้อมรอบ ประกอบด้วย ฑมรุ (กลอง ๒ หน้า) สวัสดิกะ พระจันทร์ และพระอาทิตย์          รูปพระอาทิตย์ และศรีวัตสะ เป็นสัญลักษณ์มงคลตามคติความเชื่อของชาวอินเดีย มีการศึกษาพบว่าสัญลักษณ์ที่มักปรากฏบนเหรียญโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์ ศรีวัตสะ สังข์ และวัวมีโหนก ส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มสัญลักษณ์ของมงคล ๘ ประการ (อัษฏมงคล) และกลุ่มสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ ประการ (อัฏฐุตตรสตะมงคล) ของอินเดีย และเป็นสัญลักษณ์ที่เคยปรากฏมาก่อนบนเหรียญและตราประทับของกษัตริย์อินเดียสมัยราชวงศ์สาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ ๕ - ๘) สมัยราชวงศ์คุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑) และสมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          ความหมายของสัญลักษณ์รูป “พระอาทิตย์” (Rising Sun) ที่ปรากฏบนเหรียญ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และความเป็นมงคล ซึ่งการบูชาพระอาทิตย์ในฐานะเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และพืชพันธ์ธัญญาหารมีมาอย่างยาวนานในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอินเดียสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์จะพบมากบนเหรียญประเภทเหรียญตอกลาย (punch-marked coins) ของกษัตริย์อินเดียโบราณ โดยมักปรากฏอยู่ด้านหน้าของเหรียญ ส่วนสัญลักษณ์รูป “ศรีวัตสะ” (Srivatsa) แปลตามรูปศัพท์ว่า “ที่ประทับของศรี” เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศรีหรือลักษมีในรูปคชลักษมีหรืออภิเษกของศรี ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง มีการสันนิษฐานว่ารูปศรีวัตสะที่ปรากฏอยู่ด้านหลังของเหรียญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบมาจากรูปศรีวัตสะที่ปรากฏบนเหรียญของกษัตริย์อินเดียราชวงศ์ศาสวาหนะ (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔-๘) ต่อมาเมื่อรูปศรีวัตสะมาปรากฏบนเหรียญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งผลิตโดยกษัตริย์ท้องถิ่น จึงมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรอบศรีวัตสะทำให้มีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สำหรับสัญลักษณ์ที่ล้อมรอบศรีวัตสะ ได้แก่ ฑมรุ (กลอง ๒ หน้า) มีความหมายสื่อถึงการสร้างโลก และเป็นสัญลักษณ์ที่มักปรากฏอยู่ในพระหัตถ์ของพระศิวะ ส่วนสัญลักษณ์รูปสวัสดิกะ ถือเป็นหนึ่งในอัษฏมงคล ในพระราชพิธีราชาภิเษก          จากการศึกษาพบว่า เหรียญพระอาทิตย์ – ศรีวัตสะ พบที่บ้านทุ่งน้ำเค็ม อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชดังกล่าวมานี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเหรียญเงินรูปพระอาทิตย์ - ศรีวัตสะที่พบแพร่หลายในเมืองโบราณสมัยทวารวดีเกือบทุกแหล่งในทางภาคกลางของไทย เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม และบ้านเมืองอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เมืองออกแก้ว ประเทศเวียดนาม เมืองไบถาโน เมืองศรีเกษตร และเมืองฮาลิน ประเทศพม่า ส่วนในภาคใต้ของไทยพบเหรียญลักษณะเดียวกันนี้ เช่น แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี          ที่น่าสนใจคือพบว่ามีการค้นพบแม่พิมพ์เหรียญพระอาทิตย์ – ศรีวัตสะ (และแม่พิมพ์รูปสังข์ – ศรีวัตสะ) ในเมืองโบราณสมัยทวารดีในภาคกลางของประเทศไทย เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ จึงมีการสันนิษฐานว่าเหรียญดังกล่าวน่าจะมีการผลิตขึ้นเองในรัฐทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย โดยนำเอาสัญลักษณ์มงคลตามความเชื่อของอินเดีย ซึ่งสื่อความหมายถึงความเป็นมงคล ความอุดมสมบูรณ์ และพระราชอำนาจของกษัตริย์มาใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการผลิตเหรียญสำหรับใช้เป็นเงินตรา เพื่อที่จะควบคุมค่าเงินในการค้าขายกับชุมชนภายนอก          ดังนั้น การค้นพบเหรียญพระอาทิตย์ – ศรีวัตสะ ที่บ้านทุ่งน้ำเค็ม อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างระหว่างผู้คนในชุมชนโบราณภาคใต้ กับรัฐทวารวดีทางภาคกลางของไทย รวมถึงบ้านเมืองอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันเหรียญพระอาทิตย์ – ศรีวัตสะ จากบ้านทุ่งน้ำเค็ม อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังกล่าว เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช-----------------------------------------------------------เรียบเรียง/กราฟิก: นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช-----------------------------------------------------------อ้างอิง ๑.ฉวีวรรณ วิริยะบุศย์. เหรียญกษาปณ์ในประเทศไทย .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๖. ๒.ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๒. ๓.อนันต์ โพธิ์กลิ่นกลับ. “การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี,” วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิตสาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗. ๔.J.Allan. Catalogue of Coins of Ancient India in the British Museum. New Delhi : Oriental Book Reprint Coration, ๑๙๗๕. ๕.Kiran Thaplyal. Studies in Ancient India Seals . Lucknow : Prem


ชื่อเรื่อง                                ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ) สพ.บ.                                  376/10ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.159/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 95 (22-26) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.40/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


กายนครสมเด็จพระเจ้าจิตตราช (กายนครสมเด็จพระเจ้าจิตตราช)  ชบ.บ.80/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อานิสงส์สำแดงชิงมัตตกะ (อานิสงส์สำแดงชิงมัตตกะ)  ชบ.บ.103/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.328/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 130  (329-337) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : กมฺมวาจาวิธิ (สวดนาค สวดกฐิน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


        ผลงาน: มาลีแรกแย้ม         ศิลปิน: แสวง สงฆ์มั่งมี         เทคนิค: ประติมากรรมสำริด (ถอดพิมพ์จากต้นแบบปลาสเตอร์)         ขนาด: กว้าง 40 ซม. สูง 154 ซม.         อายุสมัย: ประติมากรรมต้นแบบปลาสเตอร์ พ.ศ. 2492         *รางวัล: เกียรตินิยมอันดับสอง เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2492         รายละเอียดเพิ่มเติม: แสวง สงฆ์มั่งมี ลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรฝีมือฉกาจ ผู้บุกเบิกสร้างสรรค์งานประติมากรรมแนวสัจจนิยม (Realism) ในยุคบุกเบิกงานศิลปะสมัยใหม่ไทย ผลงานแรกแย้มนำเสนอผ่านประติมากรรมเปลือยรูปเด็กสาวในวัยเจริญพันธุ์ อุปมาดั่งบุปผชาติที่กำลังแรกแย้มซึ่งประติมากรรมเด็กหญิงถืออยู่ในมือ กลุ่มผลงานประติมากรรมเปลือยของแสวงสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ในสังคมไทยเป็นอย่างมากในช่วงเวลาผลงานถูกสร้าง เนื่องด้วยผู้คนในสมัยนั้น ยังขาดประสบการณ์และความคุ้นชินกับแนวทางการสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่           Title: Malee Rak Yaem (sprouted flower)         Artist: Sawang Songmangmee         Technique: bronze casting (casted from prototype plaster model)          Size: 40 × 154 cm.         Year: a prototype plaster sculpted in 1949         *Award: Honorary silver medal award on sculpture, 1st National Exhibition of Art in 1949         Details: Sawang Songmangmee, a talented sculptor who is considered as among early pupils of Corrado Feroci (Silpa Bhirasri). He is also regarded as a pioneer sculptor on realist trend around 1940s. Malee Rak Yaem (sproted flower) represents a nude girl in which her body suggested a stage of transformation from a girl to adolescent. A flower (lotus bud) that a girl holds onto her right hand, is symbolized as a metaphor of sprouted flower. A group of nude sculptures by an artist, drew a lot of public attention and criticisms by the time they were created because Thai people in those days was still not familiar on artistic expressions of modern art.


          วันอังคารที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๙ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงซ่อม (หลังคา) พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พร้อมด้วยนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นางนิภา สังคนาคินทร์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม และข้าราชการเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมในพิธี


          กองโบราณคดี ร่วมกับกองโบราณคดีใต้น้ํา ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนาทางวิชาการออนไลน์ เรื่อง ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชายฝั่งกับเส้นทางสายไหมทางทะเลในประเทศไทย" การสัมมนาทางวิชาการนี้มีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจหลากหลาย ผู้สนใจสามารถร่วมรับฟังผ่านระบบ zoom Time: March 28, 2022 08:30 AM Bangkok Join Zoom Meeting https://zoom.us/j/93948739183... Meeting ID: 939 4873 9183 Passcode: 296765Time: March 29, 2022 08:30 AM Bangkok Join Zoom Meeting https://zoom.us/j/97937873005...Meeting ID: 979 3787 3005 Passcode: 016474


Messenger