ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบึงพะไล ตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา พร้อมกับศึกษาหาความรู้และทักษะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในบ้านเกิด ในโครงการทัศนศึกษาตามนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ โดยมีคณะครูระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน ๑๖ คน และนักเรียน จํานวน ๑๙๖ คน
รายงานการเดินทางไปราชการ ในการสมโภชเพื่อเป็นพุทธบูชา
โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา
ณ พระมหาโพธิเจดีย์ เมืองคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
..................................................
๑. ชื่อโครงการ หุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้รู้จักมากขึ้นในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วโลก ผ่านการแสดงทางวัฒนธรรม
๒.๒ เพื่อเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยและประชาชนอินเดีย
๒.๓ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
๒.๔ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๔. สถานที่
พระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
๕. หน่วยงานผู้จัด
คณะกรรมการโครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย
๖. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๗. กิจกรรม
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๐๓.๐๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี ออกเดินทางจากสำนักการสังคีตไปสนามบินดอนเมือง
๐๓.๓๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี พร้อมกันที่สนามบินดอนเมือง เคาน์เตอร์แอร์เอเซีย
๐๖.๐๐ น. เดินทางออกจากสนามบินดอนเมือง โดยสายการบินแอร์เอเซีย เที่ยวบิน FD 1
๐๗.๓๐ น. ถึงสนามบินคยา เมืองคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย
๐๘.๓๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี เข้าพักที่โรงแรมตถาคต (คณะนาฎศิลป์แต่งหน้า แต่งตัว
สำหรับการแสดงในห้องพักของตนเอง)
๑๑.๐๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี รับประทานอาหารกล่อง ที่ห้องอาหารของโรงแรม
ตถาคต
๑๒.๓๐ น. นักร้องและนักดนตรีเดินทางไปเวทีการแสดง เพื่อเตรียมเครื่องดนตรีและเครื่องขยายเสียง
๑๓.๐๐ น. คณะนาฎศิลป์เดินทางไปเวทีการแสดง เพื่อซ้อมกำหนดจุดบนเวทีและจัดเตรียมชุดการแสดง
๑๔.๐๐ น. การบรรเลงโหมโรงดนตรีไทย
๑๔.๑๐ น. การแสดงชุดระบำภารตะ น้อมอภิวาทพระศาสดา
๑๔.๒๐ น. เจริญพระพุทธมนต์พระปริตร
๑๕.๐๐ น. นั่งสมาธิ ๑๐ นาที
๑๕.๑๐ น. การแสดงละครเรื่อง พระมหาชนก ตอน พระมหาชนกสดับธรรม
หยุดการแสดงเพื่อเตรียมการรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๑๕.๔๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จถึงลานหน้าพระมหาโพธิเจดีย์
- ทรงวางพวงมาลา
- ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธเมตตา
- เสด็จถึงต้นมหาโพธิ์
- ทรงห่มผ้ารอบต้นพระศรีมหาโพธิ์
- ขั้นตอนพิธีการสมโภชหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์
- ทรงเปิดแพรคุ้มแผ่นป้าย
- เสด็จออกจากมณฑลพิธี
๑๖.๐๐ น. การแสดงชุดเทพประทานพร
๑๖.๑๐ น. การแสดงชุดระบำดอกบัวไทย
๑๖.๓๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี เดินทางกลับโรงแรมตถาคต เพื่อเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย
จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องแต่งกายและเครื่องดนตรี
๑๘.๐๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี เดินทางไปรับประทานอาหารเย็นที่วัดเมตตาพุทธาราม
และถวายปัจจัยไทยทานแด่เจ้าอาวาส (พระอาจารย์ ดร.กฤษฎา สิริวฑฺฒโน)
วัดเมตตาพุทธาราม
๑๙.๐๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี เที่ยวชมและซื้อสินค้าจากร้านค้าใกล้โรงแรมตถาคต
๒๑.๐๐ น. เดินทางกลับโรงแรมตถาคต พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๐๙.๐๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี Check out
๐๙.๑๐ น. เดินทางไปรับประทานอาหารเช้าที่วัดเมตตพุทธาราม
๐๙.๕๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรีร่วมทำบุญทอดผ้าป่าทองคำกับคณะกรรมการโครงการ
หุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์และพุทธศาสนิกชน ณ วัดเมตตาพุทธาราม
๑๐.๓๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรีเดินทางไปพระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยาเพื่อเที่ยวชมและ
สักการระ
๑๑.๓๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรีเดินทางไปสนามบินคยา
๑๔.๐๐ น. เดินทางออกจากสนามบินคยา โดยสายการบินแอร์เอเซีย เที่ยวบิน FD 2
๑๘.๓๐ น. ถึงสนามบินดอนเมือง โดยสวัสดิภาพ
๒๐.๐๐ น. คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี เดินทางถึงสำนักการสังคีต
๘. คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยข้าราชการ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จำนวน ๒๕ คน คือ
ลำ
ดับ
ชื่อ – นามสกุล
ตำแหน่ง
ปฏิบัติหน้าที่
๑
นางพัชรา บัวทอง
นาฏศิลปินอาวุโส
หัวหน้าคณะ
๒
นางนพวรรณ จันทรักษา
นาฏศิลปินชำนาญงาน
เลขาคณะและนักแสดง
๓
นายฉันทวัฒน์ ชูแหวน
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๔
นายวัลลภ พรพิสุทธิ์
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๕
นางสาวเยาวลักษณ์ ปาลกะวงศ์
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๖
นางพรทิพย์ ทองคำ
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๗
นางนาฏยา รัตนศึกษา
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๘
นางสาวมณีรัตน์ มุ่งดี
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๙
นางสาวรจนา ทับทิมศรี
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๐
นางสาวสุชาดา ศรีสุระ
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๑
นางสาวพิมพ์รัตน์ นะวะศิริ
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๒
นางสาวเอกนันท์ พันธุรักษ์
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๓
นางสาวปภาวี จึงประวัติ
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๔
นางสาวหนึ่งนุช เคหา
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๕
นางสาวกษมา ทองอร่าม
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๖
นางสาวจุฑามาศ สกุลณี
นาฏศิลปินชำนาญงาน
นักแสดง
๑๗
นางสาวสุพัตรา แสงคำพันธุ์
นาฏศิลปินปฎิบัติงาน
นักแสดง
๑๘
นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม
นาฏศิลปินปฎิบัติงาน
นักแสดง
๑๙
นายกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ
คีตศิลปินอาวุโส
นักร้อง
๒๐
นางสาวกานต์สิณี สังเวียนทอง
คีตศิลปินชำนาญงาน
นักร้อง
๒๑
นายวรศิลป์ สังจุ้ย
ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
นักดนตรี
๒๒
นายถาวร ภาสดา
ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
นักดนตรี
๒๓
นายกิตติศักดิ์ อยู่สุข
ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
นักดนตรี
๒๔
นายพรชัย ตรีเนตร
ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
นักดนตรี
๒๕
นายสุภร อิ่มวงค์
ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
นักดนตรี
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภชหุ้มทองคำและทรงเปิดแพรคุ้มแผ่นป้าย ณ พระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดี ซึ่งคณะกรรมการโครงการ หุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา สาธารณรัฐอินเดียเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการโครงการดังกล่าว
โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย โดยประธานอำนวยการ (ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ) ได้มีหนังสือที่ ทกจ ๒๐๑๓/๑๑/๐๐๔ ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์นักแสดง ถึงอธิบดีกรมศิลปากร โดยมีสาระสำคัญขอรับรายชื่อคณะนาฏศิลป์ฯ และรายการแสดงกรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักการสังคีตจัดการแสดงในครั้งนี้ ซึ่งมีนายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต เป็นผู้มอบหมายให้นางพัชรา บัวทอง นาฎศิลปินอาวุโสเป็นหัวหน้าคณะฯ และผู้กำกับการแสดง พร้อมด้วย ข้าราชการสำนักการสังคีตอีก ๒๔ คน ปฏิบัติหน้าที่ เลขานุการคณะ นาฏศิลปิน ดุริยางคศิลปิน และคีตศิลปิน
กำหนดการเดินทางของคณะนาฎศิลป์ตามหนังสือที่ทกจ ๒๐๑๓/๑๑/๐๐๔ ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ จะอยู่ระหว่าง วันที่ ๒๓ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีกำหนดการแสดง ๑ วัน ซึ่งกำหนดการแสดงเพื่อเป็นพุทธบูชา ณ บริเวณมลพิธีสมโภชหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ มี ๕ ช่วงคือ
ช่วงที่ ๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. การบรรเลงโหมโรงดนตรีไทย
ช่วงที่ ๒ เวลา ๑๔.๑๐ น. การแสดงชุดระบำภารตะ น้อมอภิวาทพระศาสดา
ช่วงที่ ๓ เวลา ๑๕.๑๐ น. การแสดงละครเรื่อง พระมหาชนก ตอน พระมหาชนกสดับธรรม
ช่วงที่ ๔ เวลา ๑๖.๐๐ น. การแสดงชุดเทพประทานพร
ช่วงที่ ๕ เวลา ๑๖.๑๐ น. การแสดงชุดระบำดอกบัวไทย
ส่วนในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ คณะนาฎศิลป์ นักร้องและนักดนตรี ได้เดินทางไปรับประทานอาหารเช้าที่วัดเมตตพุทธารามและร่วมทำบุญทอดผ้าป่าทองคำกับคณะกรรมการโครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์ พร้อมกับพุทธศาสนิกชน ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยคณะนาฎศิลป์และนักดนตรี ได้มีโอกาสไปพระมหาโพธิเจดีย์ พุทธคยา เพื่อเที่ยวชมและสักการระ
ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑.สมควรให้การสนับสนุนการเดินทางไปปฏิบัติราชการเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในต่างประเทศเช่นนี้อีก ซึ่งอาจจะเป็นการเสนอโครงการของกรมศิลปากร หรือการให้ความอนุเคราะห์กับหน่วยงานอื่น เพราะ
๑.๑ เป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นมรดกสำคัญของชาติให้ประจักษ์สู่สายตาชาวโลก
๑.๒ สร้างเสริมประสบการณ์การแสดงและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากร
๑.๓ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ
๒. รายการแสดงหรือชุดที่ใช้ในการแสดง ควรปรับให้เหมาะสมกับการแสดงเพื่อผู้ชมต่างชาติโดยเฉพาะ ไม่ควรจะใช้เวลาแสดงนานในแต่ละชุด เพื่อสร้างความประทับใจ
๓.การประสานงานที่สำคัญเช่น
-เรื่องเวลาที่ใช้สำหรับการแสดง ในแต่ช่วงหรือแต่ละชุด
-ลักษณะเวทีที่ใช้แสดงและการเข้า-ออกของผู้แสดง
-ห้องหรือสถานที่ที่นักแสดงต้องใช้เปลี่ยนเสื้อผ้า ระยะห่างของเวทีการแสดงกับสถานที่เปลี่ยนเสื้อผ้า
ปัจจัยทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการประสานในเบื้องต้นให้ชัดเจน เพราะส่งผลถึงการจัดชุดการแสดง การซ้อมการแสดง การจัดชุดเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดงและการขนส่งสัมภาระในการเดินทาง เช่นในการเดินทางไปแสดงครั้งนี้เป็นงานที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ชุดการแสดงต้องสอดคล้องกับงานบุญ การแต่งกายสำหรับแสดงควรเน้นความสวยงามแต่มิดชิด เนื่องจากมีคณะสงฆ์หรือนักบวชมาร่วมงานจำนวนมาก เวทีการแสดงเป็นลักษณะกลางแจ้ง สถานที่เปลี่ยนชุดการแสดงคับแคบมาก ประกอบกับมีฝนตกพร่ำๆ ซึ่งต้องระมัดระวังความเสียหายที่อาจจะเกิดกับเครื่องแต่งกาย
(นางนพวรรณ จันทรักษา)
นาฏศิลปินชำนาญงาน
เลขาคณะฯ
ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เป็นเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425 อันเป็นมหามงคลสมัย
เลขทะเบียน : นพ.บ.20/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 11 (114-122) ผูก 1หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.44/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 26 (254-266) ผูก 4หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระชื่อเรื่อง : บทละคอนเรื่องเงาะป่าครั้งที่พิมพ์ : -สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ตีรณสารปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑จำนวนหน้า : ๑๖๖ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก หลวงหาญรอนรบ (เจือ ศาลิคปต) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ พระราชนิพนธ์ เรื่อง เงาะป่านี้ เป็นวรรณคดีเอกเรื่องหนึ่ง มีแนวเรื่องและฉากเหตุการณ์แตกต่างจากเรื่องอื่น ๆ ยังให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับบุคคลประเภทที่เราเรียกว่า “เงาะ” ตลอดจนภาษาของเขาในที่บางแห่งทรงพรรณาได้งดงามกินใจ และในที่บางแห่งก็ทรงแทรกคติชีวิตไว้อย่างคมคาย ผู้อ่านจะได้รับทั้งความรู้ความเพลิดเพลิน และความรู้สึกสะเทือนใจ ตามลักษณะของวรรคดีเอกครบถ้วน
ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่อง เพื่อนตาย หาโล่ งดการสมรส
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา
จำนวนหน้า : 212 หน้า
สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย บทละครพูด 4 เรื่อง ได้แก่ละครพูดเรื่อง เพื่อนตาย มีเค้าเรื่องมาจากละครพูดภาษาอังกฤษ ชื่อ ไมเฟรนต์ ยารเลด์ เป็นเรื่องราวสมมุติว่ามีกองทัพต่างประเทศยกมาในพระราชอาณาเขต ละครพูดเรื่อง หาโล่ เป็นบทละคร 4 องก์ และละครพูดเรื่อง งดการสมรส แปลจากภาษาอังกฤษของ แอลเฟรด สูโตร
เรื่องที่ 322 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดใหญ่พลิ้ว ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2532 เนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ นี้ มีเรื่องใหญ่ แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑. วิมานวัตถุ เรื่องวิมาน แสดงว่า ใครทำความดีอย่างไร ให้ได้วิมานอย่างไร ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตร เทพธิดา ถึงอดีตกรรมที่ ส่งผลให้ได้เกิดในวิมานนั้น ๆ ๒. เปตวัตถุ ๓. เถรคาถา ๔. เถรีคาถา เรื่องที่ 323 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดใหญ่พลิ้ว ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2532 เนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ นี้ มีเรื่องใหญ่ แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑. วิมานวัตถุ ๒. เปตวัตถุ เรื่องของเปรต คือผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้รับทุกข์ทรมานในสภาพของเปรต มีลักษณะต่าง ๆ กัน ๕๑ เรื่อง ๓. เถรคาถา ๔. เถรีคาถา
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ