ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ
"กู่สวนแตง" อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
กู่สวนแตง เป็นปราสาทในศาสนาฮินดูอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 และมีการใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 (ราว 800-900 ปีมาแล้ว)
ลักษณะเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลัง (ยกเว้นบางส่วน เช่น กรอบประตู ทับหลัง บัวยอดปราสาท บรรพแถลง ที่ใช้หินทราย) ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีบรรณาลัย 2 หลังก่อด้วยศิลาแลง มีร่องรอยของคูน้ำรูปตัว U ล้อมรอบ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบารายประจำศาสนสถานอยู่
ปราสาท 3 หลังนี้คงสร้างเพื่อบูชาเทพตรีมูรติ ปราสาทหลังทิศเหนือถวายพระวิษณุ ปราสาทหลังทิศใต้ถวายพระพรหม และปราสาทหลังกลางถวายพระศิวะ
ในบันทึกของนายเอเตียน เอ็ดมงด์ ลูเนต์ เดอ ลาชงกิแยร์ (Étienne Lunet de Lajonquière) ได้ระบุว่าตนได้เดินทางมายังที่แห่งนี้เมื่อพ.ศ.2450 สภาพปราสาทอิฐทั้ง 3 หลังยังคงสมบูรณ์
- ปราสาทหลังกลางประดับทับหลังรูปศิวนาฏราช เหนือประตูทางเข้าด้านตะวันออก, ด้านทิศตะวันตกเป็นรูปกูรมาวตาร(พระวิษณุอวตารเป็นเต่า) ในตอนกวนเกษียรสมุทร
และยังพบทับหลังอื่นๆ ได้แก่ รูปนารายณ์บรรทมสินธุ์, วามนวตาร(พระวิษณุอวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย), พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (เดิมติดตั้งเหนือประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทหลังใต้), รูปขบวนแห่กษัตริย์? และรูปเทวดาประทับนั่งเหนือหน้ากาล
จากการขุดศึกษาโดยกรมศิลปากรเมื่อปีพ.ศ.2537 ได้พบฐานศิลาแลงที่สร้างขึ้นในสมัยหลังต่อกับฐานของตัวปราสาทและพบฐานรูปเคารพ 4 ฐานวางเรียงกัน
- ฐานที่ 1 อยู่หลังปราสาทหลังทิศเหนือ
- ฐานที่ 2 อยู่ระหว่างปราสาทหลังทิศเหนือและปราสาทประธาน
- ฐานที่ 3 อยู่ระหว่างปราสาทหลังทิศใต้และปราสาทประธาน
- ฐานที่ 4 อยู่หลังปราสาทหลังทิศใต้
เป็นที่น่าเสียดายว่า สภาพก่อนที่กรมศิลปากรจะเข้าบูรณะบริเวณปราสาทหลังกลางถูกขุดรื้อพื้นห้อง ผนังภายในถูกเจาะเพื่อค้นหาโบราณวัตถุมีค่า
สิ่งที่หลงเหลือจากการขุดรื้อของขบวนการค้าโบราณวัตถุที่กรมศิลปากรยังพบอยู่นั้น ได้แก่
- ปราสาทหลังทิศเหนือ พบชิ้นส่วนมือประติมากรรมรูปเคารพถือสังข์ และธรณี(ก้อนดิน)
- ปราสาทหลังทิศใต้ พบฐานประติมากรรมรูปเคารพสององค์และชิ้นส่วนข้อพระบาทของประติมากรรม(มีเดือย) 1 ชิ้นบริเวณด้านหน้าของกรอบประตูทางเข้า
- บรรณาลัยหลังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พบชิ้นส่วนแขนประติมากรรม และชิ้นส่วนข้อพระบาทของประติมากรรม(มีเดือย) 4 ชิ้น
- บรรณาลัยหลังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พบชิ้นส่วนหินบดยา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และกระเบื้องมุงหลังคา
นอกจากนี้จากการบูรณะยังพบชิ้นส่วนและเศียรประติมากรรมอีกจำนวนหนึ่ง
**************************************
ทับหลังกู่สวนแตงที่หายไป...
ในปีพ.ศ.2532 ศ.มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เขียนบทความเรื่อง " Stolen Art Objects Returned to Thailand" โดยระบุว่าทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์จากกู่สวนแตง ได้ถูกขโมยไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2507 และหลังจากนั้นได้ไปปรากฏในแคตตาล็อกของ Mr.Avery Brundage ซึ่งสนับสนุนโดย the Asia Foundation และนำไปจัดแสดงที่ De Young Museum ใน San Francisco หลังจากติดตามทวงคืนเป็นเวลานาน ประเทศไทยจึงได้รับทับหลังกู่สวนแตงคืนกลับสู่มาตุภูมิ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2513 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนทับหลังชิ้นอื่นๆ นั้น ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
วารสารเครือข่ายกรมศิลปากรเป็นวารสารรายไตรมาสออกทุก ๓ เดือน
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ เป็นอธิบดีแห่งอสูร โดยเป็นเทพผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา และผู้คุ้มครองโลกมนุษย์ด้านทิศเหนือ เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ที่มีขุมทรัพย์มหาศาล
Vessavana (Thao Wessuwan) is one of the Four Great Heavenly Kings and the King of Asuras. He is the guardian deity who protects Buddhism and the world in the north. Also, he is the god of wealth with immense treasure.
ผู้ออกแบบ: นายธรรมรัตน์ กังวาลก้อง
จิตรกรรมปฏิบัติการ สำนักช่างสิบหมู่
ข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม
เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค
ชื่อเรื่อง วัดในอำเภอปากเกร็ดผู้แต่ง พิศาล บุญผูกประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-616-505-308-2หมวดหมู่ ศาสนา เลขหมู่ 294.3135 พ757วสถานที่พิมพ์ นนทบุรีสำนักพิมพ์ โครงการเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการแก่สังคม สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปีที่พิมพ์ 2553ลักษณะวัสดุ 242 หน้า : ภาพประกอบ ; 24 ซม.หัวเรื่อง วัด -- ไทย -- นนทบุรี วัด -- ไทย -- นนทบุรี -- ปากเกร็ด จิตรกรรมฝาผนังพุทธศาสนา -- ไทย -- นนทบุรีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมเรื่องราวของท้องถิ่นปากเกร็ดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ในหนังสือนี้จึงนำเสนอเรื่องราวของวัดในอำเภอปากเกร็ด
เมืองโบราณโนนเมือง แหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดี ที่บอกเล่าเรื่องราวการดำรงชีวิต ของคนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำเชิญ เมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว ข้อมูลเพิ่มเติมจิ้มได้เลยค่ะ https://bit.ly/3M9fgIP #ขอนแก่น #ชุมแพ #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #รีวิวชุมแพ #รีวิวขอนแก่น ⋯⋯✧⋯✦⋯⋯✧✦✧⋯⋯✦⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี
ชื่อเรื่อง แบบเรียนศิลปศึกษา เล่ม 1ผู้แต่ง ประเสริฐ พุ่มแก้วครั้งที่พิมพ์ 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ดนตรีเลขหมู่ 780 ป421คสถานที่พิมพ์ ธนบุรีสำนักพิมพ์ อมรการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 120 หน้าหัวเรื่อง ศิลปศึกษา -- แบบเรียนภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเพลงในหลักสูตรชั้นประถมต้น และปลาย พร้อมทั้งเพลงลูกเสือ เพลงในเล่มมีเพลงไทยเดิมในบังคับ และเพลงเลือกที่ทางการอนุญาตให้ใช้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการ “ความงาม : Aestheticism” ของศิลปินเพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์ ระหว่างวันที่ 5 - 28 มกราคม 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป โดยมีคุณสุดา พนมยงค์ ประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 นิทรรศการ “ความงาม : Aestheticism” เป็นนิทรรศการที่นำเสนอผลงานจิตรกรรมสีน้ำมัน ซึ่งศิลปินได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินระดับโลก ผสมผสานกับแนวคิดทางพุทธศาสนา ทำให้ผลงานของคุณเพ็ญสินบอกเล่าเรื่องราวพระพุทธศาสนาแบบตะวันออก ในองค์ประกอบของศิลปะแบบตะวันตก ซึ่งนิทรรศการในครั้งนี้ศิลปินได้ถ่ายทอด “ความงาม” ที่แทรกซึมอยู่ในทุกสรรพสิ่ง กับการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ ซึ่งนิทรรศการจะนำพาผู้ชมไปค้นพบกับความงามที่น่าประทับใจพร้อมถ่ายทอดหลักธรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับจิตใจ
ผู้สนใจสามารถไปชมนิทรรศการ “ความงาม : Aestheticism” ได้ ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 28 มกราคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท (นักเรียน นักศึกษา ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าฟรี)
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขอเชิญร่วมกิจกรรม "อยุธยาสาระภัณฑ์ PODCAST EP.4 ตอน “เครื่องถมปัด" วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 พบกับเรื่องราวของเครื่องถมปัด ซึ่งปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
เครื่องถมปัดคืออะไร มีวิธีการทำอย่างไร และเครื่องถมปัดชิ้นนี้มีความสำคัญอย่างไร ร่วมพูดคุยไปกับ อลิสา ขาวพลับ หรือ พี่ไผ่ นักโบราณคดีปฏิบัติการ พร้อมด้วยแขกรับเชิญสุดพิเศษ ชวรัตน์ อุลิศ หรือ หัวหน้าจ๊ะ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ผู้สนใจสามารถติดตามรับฟัง EP. 4 วันที่ 3 มีนาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ วัดไชยวัฒนาราม และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และเวลา 19.00 น. ทางเพจเฟสบุ๊ก : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี แจ้งเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีในวันทำการปกติ ตั้งแต่วันที่ ๗ - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ วันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เนื่องจากกำลังปรับปรุงอาคารจัดแสดง ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ด้วย สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๕๒๕ ๑๐๑๕
ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอแนะนำหนังสือน่าอ่าน "หนังสือเรือพระราชพิธี Royal Barges" จำหน่ายราคาเล่มละ ๗๕๐ บาท ผู้ที่สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ (ในวันและเวลาราชการ) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร