ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ
องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง สมมาพระ : ว่าด้วยการขอขมาพระรัตนตรัยแบบอีสาน ปริวรรตและเรียบเรียงโดย นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ธมฺมปทฺธ)
สพ.บ. 376/12ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด-ลองรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.159/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 95 (22-26) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.40/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (สุวณฺณสาม,มโหสถ,วิธูร,เนมิราชชาตก)
ชบ.บ.105.7ข/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.331/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 131 (338-342) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มิลินฺทปญฺหา(พระยามิลินทะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
แม่พิมพ์เครื่องประดับ จำนวน ๒ ชิ้น พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
แม่พิมพ์เครื่องประดับชิ้นที่ ๑ ขนาดกว้าง ๖.๗ เซนติเมตร ยาว ๘.๗ เซนติเมตร เป็นแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุมล่างซ้ายชำรุดหักหายไป บนผิวหน้าแกะลึกลงไปในเนื้อหินเป็นรูปตุ้มหูแบบห่วงกลม ๒ พิมพ์ เรียงคู่กัน โดยทั้ง ๒ พิมพ์ มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือใช้สำหรับหล่อตุ้มหูแบบห่วงกลม ที่มีส่วนบนเรียวเล็ก ส่วนล่างใหญ่และหนา ปลายส่วนล่างไม่ติดกัน แม่พิมพ์ตุ้มหูด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าและตื้นกว่าพิมพ์ด้านขวา ด้านบนของแม่พิมพ์ทั้งสองมีร่องสำหรับเทน้ำโลหะ ที่มุมบนซ้ายและล่างขวาเจาะรูกลม ผิวด้านหลังของแผ่นแม่พิมพ์แบนเรียบ
แม่พิมพ์เครื่องประดับชิ้นที่ ๒ ขนาดกว้างกว้าง ๔.๓ เซนติเมตร ยาว ๑๒ เซนติเมตร เป็นแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนล่างชำรุดหักหายไป บนผิวหน้าแกะเป็นพิมพ์สำหรับหล่อตุ้มหูทรงห่วงกลม ๒ พิมพ์ เรียงคู่กัน พิมพ์ด้านซ้ายค่อนข้างตื้น ส่วนล่างหักหายไปแต่สันนิษฐานว่าเป็นพิมพ์สำหรับหล่อตุ้มหูแบบห่วงกลม ส่วนบนเรียวเล็ก ส่วนล่างใหญ่กว่า ปลายส่วนล่างไม่ติดกัน ผิวด้านในตกแต่งลวดลาย พิมพ์ด้านขวาลึกกว่าด้านซ้าย เป็นพิมพ์สำหรับหล่อตุ้มหูแบบห่วงกลม ส่วนบนเรียวเล็ก ส่วนล่างใหญ่และหนา ปลายส่วนล่างไม่ติดกัน ด้านบนของพิมพ์ตุ้มหูทั้งสองมีร่องสำหรับเทน้ำโลหะ ที่มุมบนขวาเจาะรูกลม ผิวด้านหลังของแผ่นแม่พิมพ์หินแบนเรียบ
สันนิษฐานว่าแม่พิมพ์ทั้ง ๒ ชิ้นนี้ เป็นแม่พิมพ์แบบประกบ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่แม่พิมพ์ชุดเดียวกัน แต่สันนิษฐานว่ารูกลมที่เจาะทะลุบริเวณมุมของแผ่นแม่พิมพ์หินทั้งสองชิ้นนี้ น่าจะมีไว้สำหรับร้อยเชือก เส้นลวดหรือสลักเพื่อยึดให้แม่พิมพ์นี้ประกบติดกับอีกชิ้นหนึ่งไม่ให้ขยับ สำหรับขั้นตอนการเทน้ำโลหะลงไป เครื่องประดับที่ทำจากโลหะในสมัยทวารวดีที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง มีทั้งทองคำ ดีบุก และตะกั่ว โดยเฉพาะมีการค้นพบตุ้มหูที่ทำจากดีบุกและตะกั่วเป็นจำนวนมาก ตุ้มหูเหล่านี้มีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งแบบห่วงกลมเรียบไม่มีลวดลายแบบเดียวกับที่ปรากฏบนแม่พิมพ์ชิ้นที่ ๑ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบมาก แบบที่ค่อนข้างแบนมีลวดลายคล้ายคลึงกับที่ปรากฏบนแม่พิมพ์ชิ้นที่ ๒ และยังพบตุ้มหูรูปแบบอื่น เช่น ตุ้มหูแบบห่วงกลมประดับด้วยปุ่มแหลม นอกจากนี้ยังพบแม่พิมพ์เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่เมืองโบราณสมัยทวารวดีแห่งอื่น เช่น เมืองโบราณจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น
แม่พิมพ์เครื่องประดับทั้ง ๒ ชิ้นนี้ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ดังปรากฏหลักฐานการสวมใส่เครื่องประดับเหล่านี้ในประติมากรรมปูนปั้นและดินเผารูปบุคคลสมัยทวารวดี กำหนดอายุแม่พิมพ์ทั้ง ๒ ชิ้นนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
ศรีศักร วัลลิโภดม. “จันเสนเมืองแรกเริ่มในลุ่มลพบุรี-ป่าสัก”. ใน สังคมและวัฒนธรรมจันเสนเมืองแรกเริ่มในลุ่มลพบุรี-ป่าสัก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๓๙.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ, ๒๕๖๒.
ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕
คณะสตรีอาสาสมัครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มอบให้เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๗
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
หีบบุหรี่ทำด้วยทองคำลงยา ฝาหีบดุนนูนเป็นรูปมัจฉานุ (บุตรของหนุมานและนางสุพรรณมัจฉา จากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์) ลงยา ๗ สี ที่มุมบนด้านซ้าย มีพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ประดับเพชรเหลี่ยมกุหลาบ ภายในกล่องมีข้อความเขียนด้วยหมึก “ given to me by the king of Siam, August 6 1897 ”
หีบบุหรี่ใบนี้มีประวัติว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ให้แก่ เซอร์ วิลเลี่ยม คาริงตัน (Sir William Carington) ราชองครักษ์ (ขณะมียศเป็นพันโท) ในสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งรัฐบาลอังกฤษจัดให้มาประจำรับสนองเบื้องพระยุคลบาท ในคราวที่พระองค์เสด็จมาถึงกรุงลอนดอน ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงลอนดอนได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสถานที่ต่าง ๆ เช่น พระราชวังบักกิ้งแฮม (Buckingham Palace) โรงเรียนฮาโรว์* (Harrow School) รัฐสภา สวนพฤกษศาสตร์คิวการ์เดน (Kew gardens) เป็นต้น ครั้นเสด็จออกจากกรุงลอนดอน พันโทคาริงตันได้ติดตามส่งพระองค์ถึงเมืองคาเล** ประเทศฝรั่งเศส ดังความในพระราชโทรเลขวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...ออกจากลอนดอนเช้าวันนี้เวลา ๕ โมง มีทหารม้าแห่แลมีแถวกาด ออฟออเนอด้วย กินกลางวันที่เมืองคาเลล์ แลลอดแบก็อต กับนายพันโทแคริงตันได้ตามมาส่งฉันถึงที่นี้...”
การเสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทรงมีจุดมุ่งหมายอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ ประการแรกทำให้สยามเป็นที่รู้จักแก่นานาประเทศทางยุโรป ประการที่สอง เพื่อได้เรียนรู้วิทยาการต่าง ๆ ในประเทศยุโรป และประการที่สามเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบทางการค้าและการเมืองระหว่างสยามกับฝรั่งเศส โดยเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ และเสด็จนิวัตถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ รวมระยะเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ ทั้งสิ้น ๒๕๓ วัน
*ในช่วงเวลานั้น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรและหม่อมเจ้าเสฐศิริ (โอรสในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์) กำลังทรงศึกษาอยู่
**เมืองคาเล (Calais) เป็นเมืองท่าชายฝั่งของประเทศฝรั่งเศสตั้งอยู่บริเวณช่องแคบโดเวอร์ (Strait of Dover)
อ้างอิง
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. การเสด็จประพาสยุโรปของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๑๖ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
ธิดา สาระยา. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-เจ้าแผ่นดินสยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๑.
50Royalinmemory ๕ เมษายน ๒๓๙๙ (๑๖๖ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นเอก]
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าจอมมารดาสังวาล พระสนมโท (สกุลเดิม ณ ราชสีมา) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ มีพระโอรส-ธิดา ๒๖ พระองค์ สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗ พระชันษา ๖๙ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่ ณ อยุธยา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๕๘.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๓๑ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
ชื่อเรื่อง ประชุมพงศาวดารภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่าผู้แต่ง พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เลขหมู่ 959.303 บ923ปบสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์ 2479ลักษณะวัสดุ 318 หน้าหัวเรื่อง ไทย -- ประวัติศาสตร์ – กรุงศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา – ประวัติ ไทย -- โบราณสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเรื่องต่างๆ 4 เรื่อง คือ เรื่องแก้คดีพระเจ้าปราสาททอง เรื่องตำนานกรุงเก่า เรื่องเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และพรรณาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา
เนื่องในวาระครบรอบ 70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองการพัฒนาด้านงานจดหมายเหตุในฐานะองค์กรวิชาชีพหลักของงานจดหมายเหตุในประเทศไทย และเพื่อประชาสัมพันธ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีกำหนดจัดกิจกรรมในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 ระหว่างเวลา 13.00 – 17.00 น. ประกอบด้วย
เวลา 13.00 - 14.00 น. การแถลงข่าว “ก้าวต่อไป ARCHIVES THAILAND เนื่องในวาระครบรอบ 70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” โดยนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร และพิธีเปิดนิทรรศการ “70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” ณ อาคารสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ชั้น 1
เวลา 14.00 – 15.00 น. การแสดงปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” โดยนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ห้องประชุมใหญ่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
เวลา 15.00 – 17.00 น. กิจกรรมเสวนา “70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน และอนาคต” ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสด ในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 - 17.00 น. ทางเว็บไซต์สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (www.nat.go.th) facebook live ของกรมศิลปากร และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ