ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 34/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 129/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 165/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ส.ค.ส. ย่อมาจาก ส่งความสุข เป็นบัตรอวยพรที่ส่งให้กันเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
ประวัติของ ส.ค.ส. เริ่มต้นขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ชาวเยอรมัน พบแม่พิมพ์แผ่นไม้ ทำเป็นภาพรูปบ้าน รูปพระเยซูในวัยเยาว์ พร้อมคำอวยพรว่า "Ein gut selig jar" หมายถึง "ปีที่ดีและมีสุข" ต่อมาชาวอังกฤษพัฒนารูปแบบ บัตรอวยพร ให้สวยงาม เพิ่มสีสันมากขึ้น
ส.ค.ส. ฉบับแรกของไทยมีขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๐๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช (รัชกาลที่ ๔) โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นสำหรับพระราชทานแก่คณะทูตานุทูต ข้าราชบริพาร และมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม ๑๘๖๖(พุทธศักราช ๒๔๐๙)
ส.ค.ส. ฉบับนี้ เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ทรงพระราชทานให้แก่ กัปตันจอห์น บุช หรือหลวงวิสูตรสาครดิษฐ ที่ดูแลกรมเจ้าท่าในขณะนั้น โดยตัว ส.ค.ส. มีการเขียนคำอวยพรด้วยลายพระหัตถ์สวยงามเป็นระเบียบ ความยาวทั้งสิ้น ๔ หน้า และที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลายเซ็นพระนามลงบน ส.ค.ส. ฉบับนี้ด้วย
ส.ค.ส. ฉบับแรกของไทยนี้ นอกจากเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ในการส่งมอบความปรารถนาดี ให้แก่ข้าราชบริพารทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแล้ว ยังมีนัยสำคัญเพื่อสื่อให้ชาติตะวันตกเห็นว่า สยามเป็นประเทศที่มีความเจริญ มีอารยะ รู้และเข้าใจธรรมเนียมของชาวตะวันตกเป็นอย่างดี
ชื่อเรื่อง สพ.ส.31 ตำรายาแผนโบราณและตำราดูฤกษ์ยามประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 46; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง เวชศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดสามทอง ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ วันวาเลนไทน์ หรือวันเซนต์วาเลนไทน์
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
วันวาเลนไทน์ หรือวันเซนต์วาเลนไทน์ วันสำคัญที่คู่รักทั่วโลกนิยมเฉลิมฉลอง เพื่อแสดงออกซึ่งความรัก ความปรารถนาดี ด้วยการอวยพร และให้ของขวัญแก่กัน สำหรับคำว่า ”วาเลนไทน์” นั้น มาจากชื่อของนักบวชในศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิกที่ชื่อว่านักบุญ Valentine (วาเลนไทน์) แต่ต้นกำเนิดที่แท้จริงของวันวาเลนไทน์นี้นั้นคลุมเครือที่สุด ทั้งนี้ มีการเสนอว่าวันดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากเทศกาล Lupercalia (ลูเปอร์คาเลีย) เป็นประเพณีของชาวโรมันซึ่งจัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งความรัก จัดขึ้นประมาณช่วงวันที่ ๑๓-๑๕ กุมภาพันธ์ โดยจะมีการจับฉลากของหนุ่มสาว ใครได้ชื่อใคร ก็จะได้คนคนนั้นเป็นเพื่อนร่วมเที่ยวตลอดช่วงเทศกาล ซึ่งเป็นที่มาของการพบปะของหนุ่มสาว และเกิดความรักระหว่างกัน ซึ่งในตอนท้ายของศตวรรษที่ ๕ สมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซีอุสที่ ๑ ประกาศว่าการเฉลิมฉลองเทศกาลลูเปอร์คาเลีย ไม่เป็นพิธีการส่วนหนึ่งของศาสนาคริสต์ และยังประกาศจัดวันวาเลนไทน์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยวันวาเลนไทน์ไม่ได้มีการเฉลิมฉลองขึ้นเป็นวันแห่งความรักจนกระทั่งประมาณศตวรรษที่ ๑๔
สำหรับนักบุญวาเลนไทน์นั้น ทางคริสตจักรคาทอลิก ได้รับรองนักบุญที่ชื่อวาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัสอย่างน้อยสามคน และทุกคนล้วนเป็นมรณสักขี (ผู้ที่ถูกฆ่าตายเนื่องจากไม่ยอมละทิ้งความเชื่อ โดยเฉพาะความเชื่อทางศาสนา) ตำนานหนึ่งกล่าวว่า วาเลนไทน์เป็นนักบวชในกรุงโรม ช่วงศตวรรษที่สาม เมื่อจักรพรรดิคลอดิอุสที่ ๒ ได้ออกกฎหมายห้ามการแต่งงานของชายหนุ่ม เนื่องจากมีสงครามเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เพื่อที่จะได้ไม่มีภาระผูกพัน ไม่ต้องห่วงลูก หรือภรรยาทางบ้าน วาเลนไทน์ตระหนักถึงความอยุติธรรมของการประกาศในครั้งนี้ และยังต่อต้านด้วยการดำเนินการแต่งงานกับคู่รักหนุ่มสาวต่อไปอย่างลับ ๆ เมื่อการกระทำของวาเลนไทน์ถูกพบเข้า ทำให้คาร์ดินัลสั่งให้ประหารชีวิตเขา บ้างก็ยืนยันว่าเป็นบิชอปวาเลนไทน์แห่งแตร์นี ซึ่งเป็นชื่อที่แท้จริงของวันหยุด โดยเขาก็ถูกตัดศีรษะโดยจักรพรรดิคลอดิอุสที่ ๒ นอกกรุงโรม
บางตำนานกล่าวว่าวาเลนไทน์อาจถูกฆ่าเพราะพยายามช่วยชาวคริสต์ให้รอดพ้นจากคุกอันโหดร้ายของโรมัน ซึ่งมักถูกทุบตีและทรมาน ตามตำนานกล่าวว่า นักบุญวาเลนไทน์ผู้ถูกจองจำส่ง “คำอวยพรวาเลนไทน์” เป็นครั้งแรก หลังจากที่เขาตกหลุมรักหญิงคนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นลูกสาวของผู้คุม ผู้มาเยี่ยมเขาระหว่างถูกคุมขัง ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต และมีตำนานกล่าวด้วยว่า นักบวชลงนามในจดหมายถึงหญิงผู้นั้นว่า “From your Valentine” หรือ "จากวาเลนไทน์ของคุณ" ซึ่งเป็นสำนวนที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าความจริงเบื้องหลังตำนานวาเลนไทน์จะคลุมเครือ แต่เรื่องราวทั้งหมดเน้นย้ำถึงเสน่ห์ของเขาในฐานะบุคคลผู้เห็นอกเห็นใจ กล้าหาญ และที่สำคัญที่สุดคือความโรแมนติก ในยุคกลาง อาจเป็นเพราะชื่อเสียงนี้ ส่งผลให้นักบุญวาเลนไทน์กลายเป็นหนึ่งในนักบุญที่โด่งดังที่สุดในอังกฤษ และฝรั่งเศส
คำอวยพรวาเลนไทน์นั้นเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยยุคกลาง แม้ว่าการเขียนคำอวยพรวาเลนไทน์จะไม่ปรากฏในที่ใดจนกระทั่งหลังปี ค.ศ. ๑๔๐๐ แต่คำอวยพรวาเลนไทน์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน คือบทกวีที่เขียนในปี ค.ศ. ๑๔๑๕ โดยชาร์ลส์ ดยุกแห่งออร์ลีนส์ เขียนถึงภรรยาของเขาในขณะที่ เขาถูกคุมขังในหอคอยแห่งลอนดอนหลังจากถูกจับกุมในสมรภูมิ Agincourt (ปัจจุบันคำอวยพรนี้ถูกจัดเก็บเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลกชันต้นฉบับในหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน, สหราชอาณาจักร) ในหลายปีต่อมา มีทฤษฎีเชื่อกันว่ากษัตริย์เฮนรีที่ ๕ ได้ว่าจ้างนักเขียนชื่อจอห์น ลิดเกต ให้เขียนบันทึกวาเลนไทน์ถึงแคทเธอรีนแห่งวาลัวส์
วันวาเลนไทน์ถูกจัดขึ้นทุกวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และที่อื่น ๆ ทั่วโลก มีการแลกเปลี่ยนขนม ดอกไม้ และของขวัญระหว่างบุคคลอันเป็นที่รัก ในนามของนักบุญวาเลนไทน์ ซึ่งในประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมวันวาเลนไทน์ขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในโรงเรียนจะมีการอวยพร ติดสติ๊กเกอร์ และมอบดอกไม้ให้กัน หรือจะมีกิจกรรมจัดงานจดทะเบียนสมรสสำหรับคู่รักนั่นเอง
อ้างอิง
ARNIE SEIPEL. NPR. THE DARK ORIGINS OF VALENTINE'S DAY. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก: https://www.npr.org/.../the-dark-origins-of-valentines-day
History. History of Valentine’s Day. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก: http://www.history.com/.../history-of-valentines-day-2
Britannica, The Editors of Encyclopaedia. Valentine’s Day. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก: https://www.britannica.com/topic/Valentines-Day
Scrapbook.com. History of Valentine's Day Cards. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก: https://www.scrapbook.com/articles/valentine-history
เรียบเรียง และแปลโดย
พัชมณ ศรีสัตย์รสนา
บรรณารักษ์ชำนาญการ
ชื่อเรื่อง : เสด็จฯดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ ท้าวนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ ที่ 30 มีนาคม 2513 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 170 หน้า สาระสังเขป : เสด็จฯดอย จดหมายเหตุรายวันทรงประทับภูพิงคราชนิเวศน์เชียงใหม่ พ.ศ. 2513 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2513 หนังสือเสด็จฯ ดอยจดหมายเหตุรายวัน คราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ.2513 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2513 ถึง วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2513
ชื่อผู้แต่ง พุทธทาส ภิกขุ
ชื่อเรื่อง แก่นพุทธศาสน์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ แพร่พิทยา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๘
จำนวนหน้า ๒๓๐ หน้า
หนังสือเรื่องนี้ เป็นธรรมะส่วนลึกในพระพุทธศาสนา หลักพุทธศาสนาขั้นมูลฐาน หมายความว่า เป็นหลักที่มีจุดมุ่งเฉพาะไปยังความดับทุกข์ แล้วมันเป็นสิ่งที่มีเหตุผลอยู่ที่ตัวมันเอง ที่ทุกคนอาจเห็นได้ โดยไม่ต้องเชื่อตามบุคคลนี้อย่างหนึ่ง
วารสารเครือข่ายกรมศิลปากรเป็นวารสารรายไตรมาสออกทุก ๓ เดือน
เลขทะเบียน : นพ.บ.445/1ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158 (149-162) ผูก 1ข (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.593/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 191 (385-391) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มหามูลนิพพาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เรื่อง ชลบุรีแข่งรถยนต์ทางเรียบระดับโลก บางแสนกรังปรีด์ 2023 เลียบหาด