ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,822 รายการ

           ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอแนะนำหนังสือน่าอ่าน "หนังสือเรือพระราชพิธี Royal Barges" จำหน่ายราคาเล่มละ ๗๕๐ บาท ผู้ที่สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ (ในวันและเวลาราชการ) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร





            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาเป็นครอบครัว เด็กและเยาวชน ได้ร่วมทำกิจกรรมศิลปะ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และสานความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว โดยกิจกรรมจะหมุนเวียนเปลี่ยนรูปแบบทุกเดือน พบกับกิจกรรมสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าจากวัสดุธรรมชาติ ECO Print ได้ทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ ตลอดเดือนกันยายน ๒๕๖๗ ณ อาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เลขที่ ๑๒๐ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดกำแพงเพชร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐ ติดตามข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทาง Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet National Museum https://www.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum 


ชาวเชียงใหม่ เตรียมมันส์  กับ  มหกรรม “เสน่ห์ไทย “HOP Chiangmai  Art & Music Festival” จัดพร้อมกัน ๓ เวที :           ๑. เวที Main Stage: ณ ลานประตูท่าแพ            ๒. เวที Classic Stage: ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์           ๓. เวที Hopping Stage: หน้าห้าง MAYA / MORe SPACE / ลานข้างโรงแรมDusitD2 เชียงใหม่ไนท์บาซาร์ เริ่มสนุกตั้งแต่ วันที่ ๒๐ - ๒๙ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๐๐ – ๒๒.๐๐ น.                    เทศกาลดนตรีและศิลปะครั้งแรกใจกลางเมืองเชียงใหม่ ๑๐ วันเต็ม! กับศิลปินกว่า ๕๐๐ ชีวิต ๗๐ วง ที่มาระเบิดความสนุก อาจทำให้เพื่อนๆ ไม่ได้กลับบ้าน ย้อมเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งแสง สี ศิลปะและเสียงดนตรี! ชมการประดับตกแต่งเมืองด้วยซุ้มไฟ และ Art Installation ภายใต้บรรยากาศ Harmony & Art performance                นอกจากนี้ยังได้ชิม ช้อป กันแบบเพลินๆ แบบจัดหนัก จัดเต็มกว่า ๑๓๐ ร้านค้ากันอีกด้วย ชวนเพื่อนมา ฮ๊บ ไป จอย ตวยกั๋นเน้อ!!  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร ๑๖๗๒



ผู้แต่ง : นิพนธ์ ทิพย์วานิชกุล ปีที่พิมพ์ : 2532 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพาน      ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายในงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนอยู่ แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปเทคโนโลยี เข้ามาพร้อมด้วยความสะดวกสบาย ทำให้ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่ล้วนละทิ้งความหลัง เข้าสู่ภวังค์แห่งความสะดวกสบาย ส่งผลให้ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพาน โรงเรียนพานพิเศษพิทยา จังหวัดเชียงรายตระหนักถึงการละทิ้งความหลังของผู้คนในท้องถิ่น จึงได้จัดพิมพ์ ศิลปหัตถกรรมในอำเภอพานนี้ขึ้น เพื่อใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ หรือแนวทางแก่ผู้ที่สนใจ




พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง จันทรเกษม: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chantharakasem     ความเป็นมาของการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นั้นมีมูลเหตุมาจากความพยายามในการรวบรวมโบราณวัตถุที่กระจัดกระจายอยู่   พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก หรือ ที่เรียกว่า คูขื่อหน้า ในอดีตทางด้านทิศเหนือ มุมตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้กับตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า พระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชา ประมาณ พุทธศักราช 2120 ด้วยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ      - สมเด็จพระนเรศวรมหาราช      - สมเด็จพระเอกาทศรถ      - เจ้าฟ้าสุทัศน์      - สมเด็จพระนารายณ์มหาราช      - ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)      - สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ      - สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ     - กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์      ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พุทธศักราช 2310 พระราชวังจันทรเกษม ได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม      ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้ พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ทำการ      เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงวัง ด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยา มาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น   สถาปัตยกรรมพระราชวังจันทรเกษม      สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากนั้นจึงมีการใช้งานกันเรื่อยมา ทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงได้มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่าง ๆ ขึ้นนมาอีกครั้ง ดังนี้     กำแพงพระราชวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมาทับแนวบน มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน คำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า แต่เดิมวังจันทรเกษมมีกำแพง 2 ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง     พลับพลาจัตุรมุข พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขแฝดใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการ และที่ประทับในเวลาเดียวกัน      พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นหมู่ตึกกลางพระราชวัง ประกอบด้วย อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยา และศาลาเชิญเครื่อง พุทธศักราช 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกลุ่มอาคารพระที่นั่งพิมานรัตยานี้ ให้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวรากฐานเดิม ที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อทรงใช้เป็นที่ศึกษาดาราศาสตร์      โรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพง ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ       อาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ตรงบริเวณกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันออก       ตึกที่ทำการภาค หรืออาคารมหาดไทย สร้างขึ้นเมื่อครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกก่อกับทิศใต้




วัดพระศรีรัตนศาสดาราม                                                                วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้วมรกต วัดสำคัญที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์    จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยารัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่    พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประ          ข้อมูลวัด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง เขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก ติดท้องสนามหลวงแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ : วัดคู่กรุง, ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) สังกัดคณะสงฆ์ : ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา (ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง) พระประธานในพระอุโบสถ :  พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง :  วัดพระแก้ว  พระบรมมหาราชวัง






Messenger