ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ


ชื่อเรื่อง                           ชมฺพูปติสุตฺต (มหาชมพูบดีสูตร)สพ.บ.                             177/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           78 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 มหาชมพูบดีสูตรบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



เรื่อง พระอิศวรเมืองกำแพงเพชร พระอิศวรเป็น ๑ ใน ๓ เทพเจ้าสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม รวมเรียกว่า "ตรีมูรติ" โดยเรื่องราวของพระอิศวรปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งกล่าวแตกต่างกันออกไป บางตำนานกล่าวว่า พระองค์ถือกำเนิดเอง บ้างก็กล่าวว่าทรงจุติออกมาจากพระนลาฏของพระพรหม  ในประเทศไทยได้พบรูปเคารพหรือประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระอิศวรมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ และเป็นที่นิยมนับถือต่อเนื่องกันมาทุกยุคทุกสมัย โดยปรากฏรูปเคารพทั้งในรูปมนุษย์และรูปสัญลักษณ์  เมืองกำแพงเพชรปรากฏเทวสถานศาสนาฮินดูเพียงแห่งเดียว คือ ศาลพระอิศวร ณ ที่แห่งนี้ได้พบเทวรูปพระอิศวร หล่อด้วยสำริด สูง ๒๑๐ เซนติเมตร รูปแบบของเทวรูปเป็นงานศิลปะอยุธยาที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรแบบบายน รอบฐานมีจารึกระบุมหาศักราช ๑๔๓๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๐๕๓ อันเป็นปีที่เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้ประดิษฐานเทวรูปนี้ขึ้นมา เพื่อให้คุ้มครองมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร และยังกล่าวถึงการกระทำสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งซ่อมแซมวัดวาอาราม ขุดลอกคลองชักส่งน้ำไปหล่อเลี้ยงที่เมืองบางพาน ทั้งนี้เพื่ออุทิศถวายพระมหากษัตริย์อยุธยา ๒ พระองค์  คือ คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ผู้เสวยราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นพระองค์หนึ่ง ส่วนอีกพระองค์หนึ่งอาจหมายถึงพระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อนหน้านี้ คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ หรืออาจหมายถึงพระอาทิตยวงศ์ที่ได้รับการสถาปนาเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลกในเวลาต่อมา ซึ่งภายหลังได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ถัดมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หน่อพุทธางกูร


ชื่อวัตถุ เลียงร่อนแร่ ทะเบียน ๒๗/๑๖/๒๕๓๘ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) ไม้ ขนาด กว้าง ๔๐ เซนติเมตร ประวัติ พบที่ชายหาดกมลา บริเวณหลังภูเขา มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางเมื่อ ๑๘ พ.ค. ๒๕๓๘ Mr .Keith Andrew๔๕/๗ ถ.เจ้าฟ้า หมู่ ๙ต.ฉลอง อ.เมืองจ.ภูเก็ต เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง           “เลียง” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับร่อนแร่ ทำด้วยไม้เนื้อเหนียวและมีน้ำหนักเบา ตัวเลียงมีรูปทรงกลมก้นโค้งคล้ายกระทะแต่เลียงมีก้นที่ตื้นกว่า ขนาดของเลียงมีเส้น ผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ ๗๐-๗๖ เซนติเมตร ท้องลึกประมาณ ๗-๘ เซนติเมตร ปัจจุบันยังมีการทำขายอยู่ในราคาใบละ ๘๐๐-๑,๐๐๐บาท เลียง เป็นเครื่องมือในขั้นตอนการแยกแร่ดีบุกออกจากดิน หิน ทราย โดยคนที่จะร่อนแร่ต้องรู้ว่ามีแหล่งแร่อยู่ที่ใดบ้าง ซึ่งแร่ดีบุกนั้นพบได้ตามลำธารต่างๆ หรืออาจเป็นแร่ที่หลุดมาจากเหมืองแร่ขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่า ร่อนแร่ท้ายราง คนร่อนแร่จะต้องคุยหินแร่ กรวด และทรายที่ปะปนกันมาใส่ลงไปในเลียง และนำเลียงลงไปร่อนในน้ำ โดยต้องแยกเอาหินก้อนใหญ่ออกก่อน จากนั้นจึงใช้มือสองข้างจับเลียงแล้วแกว่งหมุนวนในน้ำ การทำดังกล่าวจะทำให้เศษดินหลุดออกไปกับน้ำ ส่วนแร่ดีบุกที่หนักกว่าจะตกลงไปอยู่ที่ก้นเลียง           “ดีบุก” เป็นแร่ธาตุที่พบมากในบริเวณชายฝั่งอันดามันทั้งในภูเก็ต พังงา และระนอง ได้พบหลักฐานเอกสารในสมัยอยุธยาที่กล่าวว่า ดีบุก เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ ต่อมาในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ชาวยุโรปสามารถคิดค้นวิธีป้องกันไม่ให้เหล็กเป็นสนิมเร็ว โดยการทำแผ่นเหล็กวิลาดหรือเหล็กอาบดีบุก ทำให้ดีบุกเป็นที่ต้องการของตลาดโลกและส่งผลให้การทำเหมืองแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้น           ในการทำเหมืองรุ่นแรกๆ ใช้แรงงานคน เป็นหลัก มีเครื่องมือต่างๆ เช่น ปุ้งกี๋ จอบ เสียม และมีเครื่องมือที่สำคัญ คือ เลียง โดยจะมีการนำเลียงไปร่อนแร่ตามที่ต่างๆ เช่น แม่น้ำ และท้ายรางส่งแร่ โดยส่วนใหญ่การร่อนหาแร่จะเป็นงานของผู้หญิงเพราะเป็นงานที่ไม่หนักมากนัก ต่างกับงานในเหมืองซึ่งต้องใช้แรงงานชายเป็นหลักเพราะเป็นงานที่หนัก ต่อมาจึงมีการคิดค้นเครื่องจักรเพื่อใช้ในเหมืองแร่โดยเฉพาะ เช่น หัวฉีดแร่ และเตาย่างแร่ เป็นต้น //ในปัจจุบันการใช้เลียงร่อนหาแร่ดีบุกยังคงมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่งพบในพื้นที่จังหวัดระนอง และพังงา ตามลำธารสายเล็กๆ ซึ่งจะมีคนในหมู่บ้านมาร่อนหาแร่ดีบุกไปขาย โดยใช้เลียงในการร่อนหาแร่ “เลียง” จึงถือเป็นของใช้ที่อยู่คู่กับชาวอันดามันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง -----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิงและภาพประกอบ - กัมพล มณีประพันธ์ และสงบ ส่งเมือง. “เหมืองแร่ในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑๐. กรุงเทพ : อมรินทร์การพิมพ์,๒๕๒๙. - “การร่อนแร่ โรงเรียนกระบุรีวิทยา” จาก www.youtube .com - www.manager.co.th


เลขทะเบียน : นพ.บ.142/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.6 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 85 (340-345) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา (ปถมพระสงฺคายนา-จตุตถพระสงฺคายนา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง              พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อเรื่อง              บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งแรก  สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์คุรุสภา    ปีที่พิมพ์          2503       จำนวนหน้า     181หน้า      หมายเหตุ               บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์มาจากคัมภีร์รามายณะภาษาสันสกฤตเป็นหนังสือสำคัญในศาสนาฮินดูและชาวฮินดูนับถือคัมภีร์รามายณะพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาเรื่องรามเกียรติ์อย่างละเอียดจึงทรงพระราชนิพนธ์บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.11/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประวัติวัดอรุณราชวราราม พร้อมด้วยแผนผังภาพปูชนียวัตถุสถานและถาวรวัตถุ ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร จำนวนหน้า : 270 หน้า สาระสังเขป : วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดมะกอก ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมะกอกนอก วัดแจ้ง วัดอรุณราชธาราม และวัดอรุณราชวราราม ตามลำดับ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดอรุณราชวรารามอย่างละเอียด รวมถึงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดในแต่ละสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อธิบายปูชนียสถานและถาวรวัตถุต่าง ๆ การบริหารภายในวัด และรายนามประวัติเจ้าอาวาส


     หีบ       รัตนโกสินทร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว      ไม้ลงรักประดับมุก      สูงพร้อมฝา ๒๐.๘ เซนติเมตร กว้าง ๑๕.๔ เซนติเมตร ยาว ๒๒.๕ เซนติเมตร      จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ประทานยืม      หีบ ภาชนะใส่สิ่งของ รูปทรงสี่เหลี่ยมมีฝา ประดับมุกเป็นลายก้านแย่งพุ่มข้าวบิณฑ์  หีบทรงสูงนี้ใบนี้ใช้เป็นหีบใส่ยา มีชั้นวางซ้อนอยู่ด้านใน      ปัจจุบันหีบใบนี้จัดแสดงในห้องเครื่องมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



    ลูกเต๋า : การละเล่นโบราณ ? ในวัฒนธรรมทวารวดี ที่เมืองอู่ทอง     บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการขุดพบลูกเต๋าโบราณทำจากดินเผา กระดูกสัตว์ และงาช้าง  มีรูปทรง ๒ ลักษณะ ได้แก่ ลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ (สี่เหลี่ยมจัตุรัส) ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลูกเต๋าในปัจจุบัน คือ เป็นลูกเต๋าที่มี ๖ ด้าน แต่ละด้านมีรอยขูดขีดลึกลงไปเป็นจุดกลม ๑ ถึง ๖ จุด  และรูปทรงอีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี ๔ ด้าน แต่ละด้านสลักเป็นจุดวงกลมล้อมรอบด้วยเส้นวงกลมหลายเส้น ด้านละ ๑, ๒, ๓ และ ๔ จุด ตามลำดับ     ลูกเต๋าโบราณทั้งสองแบบ ได้พบแพร่หลายในหลายพื้นที่ ทั้งในดินแดนตะวันออกกลาง (อาณาจักรเปอร์เชีย) ยุโรป รวมทั้งดินแดนชมพูทวีป (อินเดียตอนเหนือและพื้นที่ด้านตะวันตก)      จากการค้นพบลูกเต๋าตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ทำให้สันนิษฐานว่า ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการละเล่น กีฬา หรือการพนัน  ในอินเดียได้พบลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ ตั้งแต่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหรือในวัฒนธรรมยุคทองแดง อายุ ๔,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว (๓,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล)  ในบางแห่งขุดพบลูกเต๋าร่วมกับแผ่นดินเผาที่มีการตีเส้นตาราง สันนิษฐานว่าใช้เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการละเล่นหรือกีฬาของคนสมัยโบราณ และอาจเป็นต้นเค้าของกีฬาหมากรุกในปัจจุบัน  ในอินเดียได้พบลูกเต๋าแพร่หลายมากในชั้นวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ (สมัยเหล็กตอนปลาย) ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๗ (ประมาณ ๑,๙๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ต่อเนื่องมาถึงสมัยคุปตะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ - ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)     ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ยังพบลูกเต๋าที่แหล่งโบราณคดีเนินมะกอก อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ในพื้นที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี กำหนดอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๐ หรือเมื่อ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)     การค้นพบลูกเต๋าที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาวอินเดียในช่วงก่อนสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ แสดงถึงความสำคัญในฐานะเมืองท่าค้าขายช่วงเวลานั้น   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. เนินมะกอก : รายงานเบื้องต้นเฉพาะเรื่องชั้นดินและหลักฐานโบราณคดีบางประเภท. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี :  การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๒. Alex Fox.  Ancient Roman Board Game found in Norwegian Burial Mound: researchers unearthed a four-sided dice and 18 circular tokens. [Online.] Available from https://www.smithsonianmag.com/.../ancient-roman-board.../ Shahid Naeem. An Ancient Indus Die. [Online.] Available from https://www.harappa.com/blog/ancient-indus-die [June 15th, 2015] Shahr-e-Sukhteh: the Burnt City. [Online.] Available from http://turquoisedomes.com/2020/01/24/shahr-e-sukhteh/ [January 24, 2020.]


     มหามกุฏราชสันตติวงศ์ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๖๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๓๒ ชาววังออกพระนามว่า "เสด็จพระองค์ใหญ่" มีพระขนิษฐาพระองค์เดียว คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี เมื่อพระองค์พระชันษาได้ ๒๑ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ปีต่อมาเจ้าจอมมารดาชุ่มก็ถึงแก่อนิจกรรม ในรัชกาลที่ ๖ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังไปประทับที่พระตำหนักในสวนสุนันทา พระราชวังดุสิต กระทั่งพุทธศักราช ๒๔๖๒ เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดอย่างหนัก พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี พระขนิษฐาเพียงพระองค์เดียวก็สิ้นพระชนม์ลง พระองค์จึงประทับอยู่ในพระตำหนักเพียงพระองค์เดียวและทรงรับข้าหลวงของพระองค์เจ้าสุจิตราภรณีมาไว้ในพระอุปถัมภ์ทุกคน      ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้ทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เสด็จออกไปประทับ ณ ตำหนักทิพย์ ถนนราชวิถี บนที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระชนม์เยี่ยงคนสามัญ ประทับอยู่ในตำหนักทิพย์ร่วมกันกับเจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงสนิทสนมกัน และพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ หลานชายที่พระองค์ทรงรับอุปการะ      พุทธศักราช ๒๔๘๗ ตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการทิ้งระเบิดหลายลูกใกล้ตำหนักทิพย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาเสด็จไปประทับที่พระตำหนักเก่าของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระราชวังบางปะอิน โดยมีเจ้าจอมอาบตามเสด็จไปด้วย      ในรัชกาลที่ ๙ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๑ ในฐานะพระบรมวงศ์ผุ้ใหญ่ในรัชกาลนั้น และทรงได้รับพระมหากรุณามาโดยตลอดกระทั่งสิ้นพระชนม์      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๐๑ สิริพระชันษา ๖๙ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ   อ้างอิง ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔. วชิรญาณวงศ์, สมเด็จพระสังหราชเจ้า กรมหลวง. ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๐๑.(พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑) มหามกุฏราชสันตติวงศ์  ๑๒ เมษายน วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  และ ๑๐๐ ปีแห่งการสถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เรียบเรียง : ณัฐพล  ชัยมั่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กรมศิลปากร



องค์ความรู้จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เรื่อง พระพุทธรูปลีลา ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงจัดทำข้อมูลโดย นางสาวมณฑกาญจน์ อินทร์ทอง นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย


Messenger