เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เลียงร่อนแร่
ชื่อวัตถุ
เลียงร่อนแร่ ทะเบียน ๒๗/๑๖/๒๕๓๘
อายุสมัย
รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) ไม้ ขนาด กว้าง ๔๐ เซนติเมตร
ประวัติ
พบที่ชายหาดกมลา บริเวณหลังภูเขา มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางเมื่อ ๑๘ พ.ค. ๒๕๓๘ Mr .Keith Andrew๔๕/๗ ถ.เจ้าฟ้า หมู่ ๙ต.ฉลอง อ.เมืองจ.ภูเก็ต เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“เลียง” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับร่อนแร่ ทำด้วยไม้เนื้อเหนียวและมีน้ำหนักเบา ตัวเลียงมีรูปทรงกลมก้นโค้งคล้ายกระทะแต่เลียงมีก้นที่ตื้นกว่า ขนาดของเลียงมีเส้น ผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ ๗๐-๗๖ เซนติเมตร ท้องลึกประมาณ ๗-๘ เซนติเมตร ปัจจุบันยังมีการทำขายอยู่ในราคาใบละ ๘๐๐-๑,๐๐๐บาท เลียง เป็นเครื่องมือในขั้นตอนการแยกแร่ดีบุกออกจากดิน หิน ทราย โดยคนที่จะร่อนแร่ต้องรู้ว่ามีแหล่งแร่อยู่ที่ใดบ้าง ซึ่งแร่ดีบุกนั้นพบได้ตามลำธารต่างๆ หรืออาจเป็นแร่ที่หลุดมาจากเหมืองแร่ขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่า ร่อนแร่ท้ายราง คนร่อนแร่จะต้องคุยหินแร่ กรวด และทรายที่ปะปนกันมาใส่ลงไปในเลียง และนำเลียงลงไปร่อนในน้ำ โดยต้องแยกเอาหินก้อนใหญ่ออกก่อน จากนั้นจึงใช้มือสองข้างจับเลียงแล้วแกว่งหมุนวนในน้ำ การทำดังกล่าวจะทำให้เศษดินหลุดออกไปกับน้ำ ส่วนแร่ดีบุกที่หนักกว่าจะตกลงไปอยู่ที่ก้นเลียง
“ดีบุก” เป็นแร่ธาตุที่พบมากในบริเวณชายฝั่งอันดามันทั้งในภูเก็ต พังงา และระนอง ได้พบหลักฐานเอกสารในสมัยอยุธยาที่กล่าวว่า ดีบุก เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ ต่อมาในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ชาวยุโรปสามารถคิดค้นวิธีป้องกันไม่ให้เหล็กเป็นสนิมเร็ว โดยการทำแผ่นเหล็กวิลาดหรือเหล็กอาบดีบุก ทำให้ดีบุกเป็นที่ต้องการของตลาดโลกและส่งผลให้การทำเหมืองแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในการทำเหมืองรุ่นแรกๆ ใช้แรงงานคน เป็นหลัก มีเครื่องมือต่างๆ เช่น ปุ้งกี๋ จอบ เสียม และมีเครื่องมือที่สำคัญ คือ เลียง โดยจะมีการนำเลียงไปร่อนแร่ตามที่ต่างๆ เช่น แม่น้ำ และท้ายรางส่งแร่ โดยส่วนใหญ่การร่อนหาแร่จะเป็นงานของผู้หญิงเพราะเป็นงานที่ไม่หนักมากนัก ต่างกับงานในเหมืองซึ่งต้องใช้แรงงานชายเป็นหลักเพราะเป็นงานที่หนัก ต่อมาจึงมีการคิดค้นเครื่องจักรเพื่อใช้ในเหมืองแร่โดยเฉพาะ เช่น หัวฉีดแร่ และเตาย่างแร่ เป็นต้น //ในปัจจุบันการใช้เลียงร่อนหาแร่ดีบุกยังคงมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่งพบในพื้นที่จังหวัดระนอง และพังงา ตามลำธารสายเล็กๆ ซึ่งจะมีคนในหมู่บ้านมาร่อนหาแร่ดีบุกไปขาย โดยใช้เลียงในการร่อนหาแร่ “เลียง” จึงถือเป็นของใช้ที่อยู่คู่กับชาวอันดามันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
-----------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิงและภาพประกอบ
- กัมพล มณีประพันธ์ และสงบ ส่งเมือง. “เหมืองแร่ในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑๐. กรุงเทพ : อมรินทร์การพิมพ์,๒๕๒๙.
- “การร่อนแร่ โรงเรียนกระบุรีวิทยา” จาก www.youtube .com - www.manager.co.th
(จำนวนผู้เข้าชม 1723 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน