ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,758 รายการ

          วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “Bridge of Colors” สะพานแห่งสีสัน เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๗ ปี วันชาติของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีนายระห์หมัด บูดีมัน (H.E. Mr. Rachmat Budiman) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร และนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เข้าร่วมในพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ             กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ “Bridge of Colors” สะพานแห่งสีสัน เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบวันชาติของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ครบรอบ ๗๗ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และเป็นสะพานเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินโดนีเซียเข้าไว้ด้วยกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผ่านความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยนิทรรศการในครั้งนี้ถ่ายทอดความหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ผ่านภาพวาดที่หลากหลายทั้งทางด้านสุนทรียศาสตร์ การใช้สีสัน แนวความคิดการถ่ายทอดภาพและเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างกันของศิลปินชาวอินโดนีเซีย ๑๑ ท่าน           ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ นับตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลา ๗๒ ปีแล้ว แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน ได้มีการแลกเปลี่ยน การส่งเสริม และการสานสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมนั้น ทั้งสองประเทศต่างมีวัฒนธรรมร่วมกัน ดังจะเห็นได้จากศิลปะ วรรณกรรม นาฏยศิลป์ แตกต่างเพียงบริบทแวดล้อมทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเท่านั้น การสร้างความรับรู้และเข้าใจในความหลากหลายผ่านผลงานศิลปะ นับเป็นวิธีการสื่อสารทางการทูตรูปแบบหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของชาติ โลกศิลปะที่ไร้พรมแดนสามารถหล่อหลอมให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกรับรู้ร่วมกันได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และตกผลึกกลายเป็นความตระหนักรู้ถึงคุณค่า และ “อัตลักษณ์” แห่งวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องที่ สร้างพลังแห่งศรัทธาและสายสัมพันธ์ที่เชื่อมผู้คนเข้าไว้ด้วยกันผ่านงานศิลปะ           นิทรรศการพิเศษ “Bridge of Colors” จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. หยุดวันจันทร์และอังคาร ค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท 


ขั้นตอนการทำลายเอกสาร ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อ 66-70 ได้กำหนดขั้นตอนการทำลายเอกสาร ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้1.สำรวจเอกสารที่จะทำลาย ภายใน 60 วัน นับจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บเอกสาร ดำเนินการสำรวจเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานและครบอายุการเก็บรักษาตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนด2.การจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลาย ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายตามแบที่ 25 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 โดยจัดทำอย่างน้อย 2 ฉบับ คือ ต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับเพื่อเก็บไว้ที่หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่อง 1 ฉบับ และส่งมอบให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณา 1 ฉบับ2.1 การลงรายการในบัญชีหนังสือขอทำลาย(1) ชื่อบัญชีขอทำลายประจำปี ให้ลงเลขของปี พ.ศ. ที่จัดทำบัญชี(2) กระทรวง ทบวง กรม กอง ให้ลงชื่อส่วนราชการที่จัดทำบัญชี(3) วันที่ ให้ลงวันที่ที่จัดทำบัญชี(4) แผ่นที่ ให้ลงลำดับของแผ่นที่(5) ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับของเรื่องที่ขอทำลาย(6) รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขรหัสหมวดหมู้ของแฟ้มเอกสาร(7) ที่ ให้ลงเลขของหนังสือแต่ละฉบับ(8) ลงวันที่ ให้ลง วัน เดือน ปี ของหนังสือแต่ละฉบับ(9) เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขทะเบียนรับของหนังสือแต่ละฉบับ(10) เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ(11) การพิจารณา ให้คณะกรรมการทำลายเอกสารลงผลการพิจาณา(12) หมายเหตุ ให้ลงข้อความอื่นใด (ถ้ามี) เช่น ความเห็นแย้ง เห็นสมควรขยายเวลา ในกรณีขยายเวลาขยายเวลา ให้ระบุระยะเวลาที่ขอขยายเวลา และปี พ.ศ. ที่ครบกำหนดเวลาไว้ ทั้งในบัญชีและบนปกแฟ้มหรือบนปกเอกสารแต่ละฉบับ2.2 การลงบัญชีหนังสือขอทำลาย กรณีส่วนราชการมีระบบจัดเก็บเอกสารและประสงค์จะขอทำลายทั้งแฟ้มเรื่อง ให้ลงรายการในบัญชีหนังสือขอทำลาย ดังนี้(1) ลำดับที่ ให้ลงลำดับที่แฟ้มที่จะขอทำลาย(2) รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขรหัสหมวดหมู่ของแฟ้ม(3) ที่ เรื่อง ให้เว้นว่าง ไม่ต้องลงรายละเอียด (4) ลงวันที่ ให้ลงวัน/เดือน/ปี พ.ศ. ที่เปิดปิดแฟ้ม เช่น 2 มกราคม - 29 ธันวาคม 2560(5) เลขทะเบียนรับ ให้เว้นว่าง ไม่ต้องลงรายละเอียด(6) เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องแฟ้มเอกสาร(7) การพิจารณา ให้คณะกรรมการทำลายเอกสารลงผลการพิจารณา(8) หมายเหตุ ให้ลงข้อความอื่นใด(ถ้ามี)3.การแจ้งผลการสำรวจให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา เมื่อจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในกรณีราชการส่วนกลางให้จัดทำบันทึกเสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือในกรณีราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมบัญชีหนังสือขอทำลาย และเสนอรายชื่อคณะกรรมการทำลายเอกสาร4.หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายเอกสาร คณะกรรมการทำลายเอกสารประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และคณะกรรมการอย่างน้อย 2 คน รวม 3 คน ก็ได้ คณะกรรมการทำลายเอกสารโดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หน้าที่ของคณะกรรมการทำลายเอกสาร(1)พิจารณาเอกสารที่ขอทำลายตามบัญชีหนังสือขอทำลาย การพิจารณามี 2 กรณี คือ ควรทำลาย ให้ทำเครื่องหมาย (x) ในช่องการพิจารณาในบัญชีหนังสือขอทำลาย ไม่ควรทำลาย ในกรณีขยายเวลาการเก็บหรือห้ามทำลาย ให้แก้ไขอายุการเก็บ หรือระบุไว้ว่า "ห้ามทำลาย" ในช่องการพิจารณาในบัญชีหนังสือขอทำลาย โดยให้ประธานกรรมการทำลายหนังสือลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข(2)รายงานผลการพิจาณา ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการต่อไป(3)เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายหนังสือแล้ว รายงานผู้อนุมัติทราบ5.การพิจารณาสั่งการของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับรายงานการขอทำลายเอกสารจากหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการ ดังนี้5.1 หากพิจารณาเห็นว่าหนังสือฉบับใดควรขยายเวลาการเก็บหรือห้ามทำลายให้สั่งการส่วนราชการที่ขอทำลายเก็บเอกสารไว้ต่อไปจนกว่าจะครบระยะเวลาทำลาย5.2 หากพิจารณาเห็นว่าหนังสือฉบับใดควรทำลาย ให้ส่งบัญชีหนังสือขอทำลายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณาก่อน เว้นแต่เอกสารที่ได้รับความตกลงเป็นหลักการไว้กับสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ส่วนราชการไม่ต้องส่งเรื่องให้พิจารณา แต่จะส่งสำเนาเรื่องแจ้งผลการดำเนินการทำลายเอกสารตามข้อตกลงเพื่อให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บไว้เป็นสถิติการทำลายเอกสารต่อไป6.ผลการพิจารณาของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกเอกสารประวัติศาสตร์จากบัญชีหนังสือขอทำลายส่วนราชการส่งมาภายใน 60 วัน ในกรณีที่ต้องการข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ อาจส่งนักจดหมายเหตุไปสำรวจเอกสารหรือประสานขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ผลการพิจารณาของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มี 2 กรณี คือ6.1 ขอสงวนเอกสารประวัติศาสตร์ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาขอสงวนเอกสารประวัติศาสตร์ทั้งหมดหรือบางส่วนให้หน่วยงานของรัฐทราบและให้หน่วยงานขิงรัฐดำเนินการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ที่ขอสงวนตามรายการที่ระบุไปในหนังสือให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ6.2 เห็นชอบให้ทำลายเอกสาร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ พิจารณาบัญชีหนังสือขอทำลายแล้วไม่ประสงค์จะสงวนเอกสาร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการทำลายเอกสารนั้นได้ตามระเบียบต่อไป


       50Royalinmemory ๘ มิถุนายน ๒๔๑๗ (๑๔๘ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ [สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๕ พระองค์เจ้าชั้นเอก]        พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับเจ้าจอมมารดาอ่วม (สกุลเดิม พิศลยบุตร) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ มีพระโอรส-ธิดา ๑๒ พระองค์ ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติยากร ณ อยุธยา สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๗๔ พระชันษา ๕๘ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๘๓.)       Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๑๖ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖)     (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


ชื่อเรื่อง                               อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์) สพ.บ.                                  อย.บ.2/11ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ประเพณียี่เป็ง ตอนที่ ๓  : ผางประทีป แสงสว่างส่องนำทางศรัทธาแห่งล้านนา         ผางประทีป ภาชนะดินเผาขนาดเล็ก ใส่น้ำมันหรือขี้ผึ้ง มีไส้ทำมาจากเส้นฝ้าย ใช้จุดให้เกิดแสงสว่าง เพื่อสักการบูชาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยจุดวางตามวัดวาอารามหรือศาสนสถานในวันสำคัญทางศาสนาหรือเทศกาลสำคัญ         ก่อนถึงช่วงประเพณียี่เป็ง จะมีการนำดินเหนียวที่มีการหมักมาปั้นเป็นตัวภาชนะขนาดเล็กใหญ่ต่างกันไป ในปัจจุบันมีวางขายทั่วไป มักจากมีขนาดประมาณ ๒ - ๓ เซนติเมตร จากนั้นนำมาผึ่งลมทิ้งไว้ให้พอหมาดนำไปเผา ใส่ไส้เทียน เทขี้ผึ้ง ทิ้งไว้จนขี้ผึ้งแข็งตัวเป็นอันเรียบร้อย         เมื่อถึงช่วงประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาจะนิยมจุดผางประทีปเป็นพุทธบูชา และใช้จุดบูชาแสดงออกถึงความเคารพผู้มีพระคุณ สักการบูชาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ประตูบ้าน บ่อน้ำ ยุ้งข้าว เตาไฟ บันได และยังเป็นการบูชาแสงสว่างโดยเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลอีกด้วยผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ  ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง           ๑. รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน.  (๒๕๓๗).  ชีวิตแสนสุขที่เชียงใหม่. กรุงเทพฯ : หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.           ๒. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่.  (๒๕๔๘). ประเพณีพิธีกรรมเมืองเชียงใหม่.  เชียงใหม่ : บริษัท เชียงใหม่พริ้นติ้ง จำกัด.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           32/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              50 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปริตฺต (พฺรสตฺตปริตฺต) ชบ.บ 123/1ข เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 162/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


    “การไหว้ครู” หมายถึง การทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความสำนึกในพระคุณของท่าน เป็นจารีตประเพณีไทยมาช้านาน เป็นพิธีกรรมที่ปรากฏอยู่ในศาสตร์หลายแขนง เช่น ศาสตร์ด้านการแพทย์ การช่าง เป็นต้น          โดยเฉพาะศาสตร์ที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ ซึ่งให้ความสำคัญกับบุคคลที่เป็นครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่เพลงดนตรีบางเพลง หรือท่ารำบางท่าเป็นเพลงและท่ารำที่มีความศักดิ์สิทธิ์ หากไม่ได้ทำการไหว้ครูและครอบครู* เสียก่อนก็มิอาจสอนลูกศิษย์ได้ หรือหากสอนลูกศิษย์ไปแล้วเกิดผลร้ายแก่ผู้สอนหรือลูกศิษย์ในภายหลัง ถือกันว่าเป็นการผิดครู ดังนั้นจึงต้องมีพิธีการ “ไหว้ครู” และ “ครอบครู”          หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพิธีการไหว้ครูและครอบครูมีตัวอย่าง ตามหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ เรื่อง ไหว้ครูละครหลวง ปีขาล ฉศก พ.ศ. ๒๓๙๗ โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีไหว้ครูและครอบครู ณ ชาลา พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กระทำพิธีในวันพฤหัสบดี** ในหมายรับสั่งนี้ ระบุการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ จัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ในงานพิธีไหว้ครูครอบครูเท่านั้น อย่างไรก็ตามใน “พระตำราครอบโขนละคร เล่ม ๒ ฉบับหลวงครั้งรัชกาลที่ ๔” กล่าวถึงขั้นตอนในพิธีการไหว้ครูและครอบครูไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่การตั้งเครื่องพิธีสงฆ์ ตั้งเครื่องละคร การจุดเทียนบูชาพระ การทำน้ำพระพุทธมนต์ บูชาเทวรูป-กล่าวคำเชิญเทพเทวดา ถวายเครื่องเซ่นไหว้ สักการะ การนำหัวโขนมาครอบแก่ลูกศิษย์ ฯลฯ ลำดับพิธีการดำเนินกระทั่งจบพิธีการเจิมหน้าโขนและเจิมหน้าลูกศิษย์ ลูกศิษย์เอาของมาบูชาครูและรำถวายครู ดังความตอนท้ายของเอกสารกล่าวว่า    “...แล้วครูก็ดับควันเทียน เอาแป้งหอมน้ำมันหอมเจิมหน้าโขน แล้วเจิมหน้าลูกศิษย์ทุก ๆ คน แล้วลูกศิษย์เอาของมาคำนับครู แล้วก็รำถวายมือ...”          การประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูนั้น ผู้ประกอบพิธีจะสมมติตนเป็นพระภรตฤษี ซึ่งเป็นผู้รับเทวโองการจากพระพรหมให้มาถ่ายทอดแก่มนุษย์โลก (นาฏศาสตร์ การฟ้อนรำ มีกำเนิดจากพระอิศวรเป็นปฐม แล้วมอบให้พระพรหมแต่งเป็นตำรา ผ่านมาถึงพระภรตฤษี)          ราชสำนักในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบุคคลที่เป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูหลายท่านด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เจ้ากรมโขนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูมาแต่ครั้งนั้น และเคยเป็นผู้ประกอบพิธีในพระราชพิธีครอบโขนละครและมีปี่พาทย์ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ต่อเบื้องพระพักตร์          ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) ได้รักษาไว้ จวบจนศิษย์ของท่าน คือ นายอาคม สายาคม ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ประกอบพิธีฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ คุณหญิงฯ จึงได้มอบ “สัตตมงคล” ที่พระยานัฏกานุรักษ์เคยใช้ประกอบพิธีและครอบครูให้เป็นสิริมงคลและเกียรติประวัติ         กระทั่งนายอาคม สายาคม ถึงแก่มรณกรรม เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ทายาทได้เก็บรักษาไว้ และเมื่อคำนึงถึงประโยชน์สำหรับการศึกษาในศาสตร์แขนงนี้สืบไป จึงได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำมาจัดแสดง ไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร         สัตตมงคลเหล่านี้ แต่ละชิ้นมีที่มาและความสำคัญอย่างยิ่ง ประกอบด้วย            ๑. พระตำราไหว้ครูฉบับครูเกษ พระราม ตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๙๗            ๒. หัวโขนพระภรตฤษี (ผู้รับเทวโองการจากพระพรหมมาถ่ายทอดแก่มนุษย์โลก)            ๓. หัวโขนพระพิราพ (ปางหนึ่งของพระอิศวรผู้ให้กำเนิดการฟ้อนรำ)            ๔. เทริดโนราพร้อมหน้าพราน (โนราเป็นละครดั้งเดิมปรากฏตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา)            ๕. ตู้เทวรูป พร้อมเทวรูป ๕ องค์            ๖. ไม้เท้าหน้าเนื้อ (เป็นไม้ไผ่หัวเป็นรูปหน้าเนื้อสมัน แต่ไม่มีเขา)            ๗. ประคำโบราณ และแหวนพิรอด (ทำจากผ้าถักลงยันต์แล้วพันด้วยด้าย)           *คำว่า “ครอบครู” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายว่า พิธีตั้งครูโขนเพื่อให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ครอบศิษย์ต่อไป         **วันพฤหัสบดี เป็นวันที่มีความหมายถึงวันครู เนื่องจากพระพฤหัสบดี (หรือ คุรุ) เป็นครูของเทพทั้งหลาย ประติมากรรมแสดงเป็นรูปนักบวชสวมสร้อยประคำ มีพาหนะเป็นกวางที่น่าจะหมายถึง กวางในป่าอิสิปปตนมฤคทายวัน สถานที่ปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าและเป็นที่อยู่ของเหล่าฤๅษีนักบวช   อ้างอิง กรมศิลปากร. พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคร. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ไทยแบบเรียน (แผนกการพิมพ์) (ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก พระยาอนุรุทธเทวา (ม.ล. ฟื้น พึ่งบุญ) อดีตผู้บัญชาการกรมมหรสพ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔) กรมศิลปากร. เทวดานพเคราะห์. กรุงเทพฯ: เฮงศักดิ์มั่นคง, ๒๕๖๐. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ศกุนตลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๕, จาก: https://vajirayana.org/ศกุนตลา/ภาคผนวก-๑-กล่าวด้วยนาฏกะ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           16/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              ประวัติวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร ปีที่พิมพ์              ๒๕๒๒ จำนวนหน้า          ๕๔  หน้า                         วัดเบญจมบพิตรเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนนครปฐม(ถนนฮก) ติดคลองเปรมประชากรด้านตะวันตก แขวงดุสิต(ตำบลดุสิต) เขตดุสิต(อำเภอดุสิต) กรุงเทพมหานคร(จังหวัดพระนคร) ซึ่งอยู่ระหว่างสถานที่สำคัญคือ พระราชวังสวนจิตลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม-ทำเนียบรัฐบาล-เขาดินวนา และอยู่ระหว่างถนนใหญ่ คือ ถนนศรีอยุธยา - ถนนราชดำเนิน – ถนนพระรามที่ ๕ และถนนพิษณุโลก


ชื่อผู้แต่ง              - ชื่อเรื่อง               อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายวิรัตน์  การุณยวนิช ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์         - สำนักพิมพ์           - ปีที่พิมพ์              ๒๕๓๖ จำนวนหน้า          ๑๕๔  หน้า                          คุณปรีชา  พบสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “บางแสน” ได้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือเรื่อง “เขาเล่าว่า” พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายวิรัตน์  การุณยวนิช ท.ม. ป.ม. และฌาปนกิจศพนายดนัย  การุณวนิช ณ เมรุวัดอรัญญิกาวาส อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖   หนังสือ เขาเล่าว่า เล่มนี้แม้จะได้จัดพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ปรากฏว่าเป็นที่ต้องการของนักหนังสืออยู่มาก พิมพ์แต่ละครั้ง เรื่องเขาเล่าว่าก็เพิ่มขึ้นทุกครั้ง ถ้าจะนับวันเวลาเขียนหนังสือเล่มนี้แล้ว ต้องใช้เวลาเขียน ๓๐ ปี เป็นหนังสืออ่านเพลิน ๆ เรื่องจริง และเกือบจริง เชิงโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ตลอดจนสาระประจำวันในเหตุการณ์ที่ผ่านไป


เลขทะเบียน : นพ.บ.433/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 5 x 60 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156  (131-140) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : สังข์ศิลป์ชัย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.581/2                             ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 188  (365-371) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺดรชาดก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรคูเมืองโบราณกำแพงเพชร..เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวยาวขนานไปกับแม่น้ำปิง มีคูเมืองและกำแพงที่สร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบเมืองทั้ง 4 ด้าน มีระบบการนำน้ำจากแม่น้ำปิงเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมือง มีทางระบายน้ำออกบริเวณมุมท้ายเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แนวกำแพงเมืองชั้นในก่อด้วยศิลาแลง ประกอบด้วย แนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมา ปัจจุบันปรากฏประตูเมืองจำนวน 9 ประตู และป้อมปราการจำนวน 11 ป้อม ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการก่อสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22.กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมือง-คูเมืองกำแพงเพชร ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511 บริเวณที่ 3 เนื้อที่ประมาณ 503 ไร่ .คูเมืองกำแพงเพชรมีลักษณะเป็นร่องน้ำหรือทางน้ำที่ขุดขึ้นขนานกับแนวกำแพงเมืองล้อมรอบเมืองกำแพงเพชร คูเมืองปัจจุบันกว้างประมาณ 11-33 เมตร ลึกประมาณ 4.20 เมตร และมีความยาวรวม 5,466 เมตร โดยคูเมืองด้านทิศเหนือยาวประมาณ 2,563 เมตร ด้านทิศใต้ยาวประมาณ 2,041 เมตร ด้านทิศตะวันออกยาวประมาณ 632 เมตร และด้านทิศตะวันตกยาวประมาณ 230 เมตร..เมื่อ พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมืองกำแพงเพชรดังนี้.“...น่าประตูนี้เป็นทางลึกลงไปจากฝั่งจนถึงท้องคูแล้วจึงขึ้นเมือง ๆ ตั้งอยู่ในที่ดอนน้ำไม่ท่วม เลียบไปตามทางริมกำแพงซึ่งเขาว่าได้ตัดแล้วรอบ เมืองนี้ไม่ได้ทำเป็นเหลี่ยม โอนรูปไปตามแม่น้ำ ประมาณว่าด้านเหนือด้านใต้ 50 เส้น ด้านสกัดทิศใต้ 12 เส้น สกัดข้างเหนือ 6 เส้นรูปสอบ ใช้พูนดินเปนเชิงเทิน คิดทั้งท้องคูข้างนอกสูงมาก กำแพงก่อด้วยแลง ใบเสมาเป็นรูปเสมาหยักแต่ใหญ่ คออ้วนเหลืออยู่น้อย ตามประตูน่าจะเป็นป้อมทุกแห่ง แต่ที่ได้เห็น 3 ประตู คือประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น ประตูหลังยังคงมีป้อมก่อด้วยแลงปรากฏป้อมนั้นเป็นลับแลอยู่ปากคูข้างนอก...”.เมื่อ พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมือง-กำแพงเมืองกำแพงเพชรดังนี้.“...กำแพงเชิงเทินทำแน่นหนาก่อด้วยแลง มีใบเสมาก่อเป็นแผ่นตรงขึ้นไปสักศอกหนึ่งแล้วจึงก่อเป็นรูปหลังเจียดขึ้นไปอีกศอกหนึ่ง บนกำแพงมีทางเดินได้รอบกว้างพอคนเดินหลีกกันได้สบาย นอกกำแพงมีคูลึก เดี๋ยวนี้น้ำยังขังอยู่บ้างเป็นแห่ง ๆ มีทางน้ำไหลเข้ามาจากลำแควน้อยได้ สังเกตว่าเปนเมืองที่แขงแรงมั่นคง น่าจะรักษาไว้ให้มั่นได้นาน ๆ..”.การศึกษาดำเนินงานทางโบราณคดีเมืองกำแพงเพชรโดยกรมศิลปากร เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2507-2512  หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง บูรณะ รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โบราณสถานทั้งบริเวณเขตอรัญญิก เขตในกำแพงเมือง และบริเวณนอกเมือง สำหรับการดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณคูเมืองกำแพงเพชร มีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้.เมื่อ พ.ศ. 2528 โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรดำเนินการขุดลอกคูเมืองกำแพงเพชร เป็นความยาวประมาณ 3,735 เมตร เพื่ออนุรักษ์คูเมืองให้มั่นคงตามร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้พบร่องรอยเดิมของคูเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีความกว้าง 15-40 เมตร ลึกประมาณ 0.50-1.50 เมตร.เมื่อ พ.ศ. 2539-2541 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์คูเมืองกำแพงเพชร โดยมีการดำเนินงาน 2 ส่วน ประกอบด้วย งานขุดลอกคูเมือง และงานบูรณะแนวกำแพงเมือง สำหรับงานขุดลอกคูเมืองนั้นมีการปรับแต่งขอบคูเมืองด้านนอกคูเมืองด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ตั้งแต่ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงป้อมเจ้าจันทร์ โดยเน้นการอนุรักษ์สภาพพื้นที่เดิม.เมื่อ พ.ศ. 2548 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินการทางโบราณคดีภายใต้โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว โดยดำเนินการขุดแต่งคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการ จากการขุดแต่งคูเมืองพบว่า ส่วนคันดินชั้นกลาง คูเมืองชั้นกลาง และคูเมืองชั้นนอก ด้านทิศเหนือ มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างจากคูเมืองชั้นใน เนื่องจากระดับก้นคูตื้นกว่าคูเมืองชั้นในประมาณ 2-3 เมตร อีกทั้งก้นคูเมืองยังเป็นดินทรายที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงสันนิษฐานว่า คูเมืองและคันดินชั้นกลางและชั้นนอกทางด้านทิศเหนือ ไม่น่าจะใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำ แต่น่าจะมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันข้าศึกศัตรูมากกว่า ส่วนคูเมืองทางด้านทิศใต้ ใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำและใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรูด้วย.การดำเนินการทางโบราณคดีครั้งนี้ พบตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถกำหนดอายุเชิงเทียบ (relative dating) ได้ เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลายขูดขีดและลายกดประทับจากแหล่งเตาบ้านบางปูน กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 18-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียว ชิ้นส่วนตุ๊กตาดินเผาเคลือบสีเขียว จากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีขาวนวลเขียนลวดลาย จากแหล่งเตาเมืองสุโขทัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 19-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลวดลายตัวอุ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลดำ จากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-23 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-22 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์ชิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นต้น..เอกสารอ้างอิงกฤษฎา พิณศรี, ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และอุษา ง้วนเพียรภาค, เครื่องถ้วยสุโขทัย พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย (กรุงเทพฯ: โอสถสภา, 2535.กรมศิลปากร, เตาแม่น้ำน้อย, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร), 2531.ธงชัย สาโค, สังคโลกเตาทุเรียงเมืองสุโขทัย: ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2564.นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ,2542.ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน, (2511, 7 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 85, ตอนที่ 41), 1340.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2519.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549.สายันต์ ไพรชาญจิตร์, โบราณคดีเครื่องถ้วยในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี, (กรุงเทพฯ : โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2554.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, รายงานผลการขุดค้น ขุดตรวจ ขุดแต่งพื้นที่สนามด้านหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝั่งตะวันตก) คูเมืองและคันดินชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ป้อมด้านหน้าประตูวัดช้าง ป้อมด้านหน้าประตูเตาอิฐ ป้อมมุมเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ, (กำแพงเพชร : โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, รายงานการขุดลอกคูเมือง เมืองกำแพงเพชร, (กำแพงเพชร : โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.


Messenger