ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,758 รายการ
ชื่อเรื่อง แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (แปดหมื่น)
สพ.บ. 249/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.153/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 8 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสารตฺชาลินี(ศัพท์สัททสารัตถชาลินี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.36/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 307/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
อุโปสถกมฺมกถา (อุโปสถกรรมกถา)
ชบ.บ.97/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.312/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 127 (313-316) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เนมิราช)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2542
ผู้พิมพ์ : Publisher:
กรมศิลปากร เลขานุการคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย
อธิบาย : Description:
พิมพ์จำนวน 2,000 เล่ม พิมพ์4สี จำนวน 216 หน้า
ISBN:
274-417-427-7
ราคา : Price:
550
หนังสือการประกวดแนวความคิด เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น เป็นหนังสือที่รวบรวมเนื้อหา รูปแบบของสถาปัตยกรรม ๔ ภาค จากบุคคลที่ส่งเข้าประกวด โดยแบ่งเป็นประเภทบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารทางศาสนา สำนักงานและศาลาริมทาง ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และนำภูมิปัญญาไทยกลับมาทำใหม่ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
ติดต่อซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐
ชื่อผู้แต่ง ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสุภาพ ยศสุนทร
ชื่อเรื่อง เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๙
จำนวนหน้า ๓๗๙ หน้า
รายละเอียด หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ขออนุญาตเจ้าของเพื่อจัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายชิ้น อยู่ถาวร ประกอบด้วย บทที่ ๑ ความรู้ทั่วไป ภาคหนึ่งลักษณะเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ตั้งแต่บทที่ ๒ - ๑๐ ภาคสองวิธีพิจารณาปัญหาเศรษฐกิจตั้งแต่บทที่ ๑๑ – ๑๓ และภาค ๓ ปัญหาเศรษฐกิจแห่ง ประเทศไทยตั้งแต่บทที่ ๑๔ - ๒๒
ชื่อผู้แต่ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูถัมภ์
ชื่อเรื่อง พระบารมีปกเกล้า
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ม.ป.ท.
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๖
จำนวนหน้า ๘๔ หน้า
รายละเอียด
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูถัมภ์ ที่แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์ในเรื่องของภัยธรรมชาติ ทำให้ราษฎรต้องเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
ในพระบรมราชูถัมภ์ขึ้น เพื่อสะสมเงินทุนไว้คอยช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที
โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2565
ขอเชิญรับชม โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2565 " บทบาทห้องสมุด : แหล่งเรียนรู้ในยุคชีวิตวิถีใหม่ ( New Normal ) "
https://fb.watch/cHli05osNd/
เครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรมตอน เครื่องสักการะในล้านนาห้าประการ ในวิถีชีวิตชาวล้านนา การจัดทำพิธีกรรมเพื่อการบูชาทางศาสนา หรือเพื่อคารวะผู้มียศศักดิ์ เช่น ครู หรืออาจารย์ ทำให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องสักการะสำหรับใช้ในพิธีกรรมขึ้น โดยเครื่องสักการะที่มักพบเห็นในพิธีกรรมของชาวล้านนานั้น มีด้วยกัน ๕ ประการ คือ หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน และต้นดอก ซึ่งแฝงไปด้วยความหมายที่ดี ดังนี้ หมากสุ่ม มีลักษณะเป็นพุ่ม ทำจากหมากแห้งแล้วผ่าให้เป็นซีก นำมาร้อยแล้วเสียบกับโครงไม้ไผ่หรือโครงหยวกกล้วยให้เป็นพุ่ม หมากสุ่ม มีความหมายถึงการทำทานหรือการให้ทานแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว หมากเบ็ง ทำจากใบตาลหรือใบมะพร้าวมาสานเป็นดอกไม้แล้วนำหมากสุกหรือหมากดิบมาไว้ตรงกลางของดอก เป็นจำนวน ๒๔ ลูก ผูกติดยึดโยงกับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม (ลักษณะที่ผูกติดกันนี้คนเหนือจึงเรียกว่า เบ็ง) หมากเบ็ง มีความหมายถึงการแสดงความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือกันของผู้คนในหมู่บ้าน ต้นผึ้ง เป็นการนำเอาขี้ผึ้ง ปั้นเป็นรูปดอกไม้ แล้วนำมาตกแต่ง เสียบเข้ากับก้านทางมะพร้าว แล้วจึงปักลงบนต้นกล้วยที่ตัดเตรียมไว้ ให้เป็นทรงพุ่ม ต้นผึ้ง มีความหมายถึงการให้แสงสว่าง ให้เกิดสติปัญญา ขี้ผึ้งจึงเป็นเครื่องสักการะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ต้นเทียน เป็นการนำเอาเทียนที่ทำจากขี้ผึ้งมาผูกติดกับทางไม้มะพร้าวเสียบลงบนต้นกล้วย ปักให้มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม การถวายเทียนนั้นยังปรากฏในพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ในช่วงเข้าพรรษา ที่ถวายเทียนให้พระภิกษุสงฆ์ เป็นการมอบแสงสว่างให้เพื่อใช้ในการท่องหนังสือ ต้นดอก หรือ ขันดอก หรือ ต่อมก่อม ขันต้อมล้อม มีลักษณะเป็นภาชนะทรงสูง ด้านในใส่โครงที่ทำจากไม้ไผ่แล้วจึงนำดอกไม้ที่ทำจากกระดาษสีเงิน และกระดาษสีทอง มาประดับกันจนเป็นพุ่มกลมสวยงาม ต้นดอก มีความหมายถึงการสักการะถวายพระพรหมทั้ง ๔ เพื่อปกปักรักษางานพิธีกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี การประดิษฐ์เครื่องสักการะทั้ง ๕ ประการนั้น ทำให้เห็นว่า ผู้คนชาวล้านนามีความคิดที่ลึกซึ้งและรู้จักใช้สิ่งของจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้มีความสวยงามและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการทำความเคารพต่อสิ่งที่ตนให้การสักการะและบูชาผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.อ้างอิง :๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. จ.เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก.๒. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. "หมาก" ล้านนาคำเมือง.มติชนสุดสัปดาห์(online). https://www.matichonweekly.com/column/article_54118 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕.๓. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. "เครื่องสักการะล้านนา". ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม(Online). https://www.chiangmaiculture.net/web/index.php... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕.๔. ฐิติพร สะสม.ศึกษาวิเคราะห์. ๒๕๓๔. "ศึกษาวิเคราะห์เครื่องสักการะเพื่อเป็นพุทธบูชาของล้านนา". วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ ปีที่ ๕ (ฉบับที่ ๑) : ๘๗ - ๑๐๖.
ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งนิยมทำมานานแล้ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบางท้องที่ในเขตภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ลพบุรี และชัยนาท วิธีการทำผ้ามัดหมี่คือการมัดด้ายให้เป็นลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกแล้วนำไปย้อมสี เพื่อให้สีและลายตามที่กำหนด แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้า ผ้าไหมมัดหมี่ในบ้านเราส่วนใหญ่นิยมทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง แต่มีบางจังหวัดที่มีการทำผ้ามัดหมี่โดยใช้เส้นยืน ซึ่งได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นผ้าชาวเขาซึ่งเป็นผ้าซิ่นมัดหมี่ ราชบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ บางแห่งมีการทอผ้ามัดหมี่สลับกันกับลายขิต เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่ผ้าไหมมากยิ่งขึ้น ส่วนผ้ามัดหมี่จากสุรินทร์ มีชื่อเสียงทั้งในด้านความสวยงามของเส้นไหมและลวดลายซึ่งได้รับอิทธิพลจากเขมร
มัดหมี่ (Ikat) เป็นชื่อเรียกกรรมวิธีการสร้างลวดลายบนผืนผ้าแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการมัดเส้นด้ายที่จะนำไปใช้ในการทอผืนผ้าโดยมัดเส้นด้ายให้เป็นเปลาะ ๆ ตามลวดลายที่กำหนดไว้ให้แน่นด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามแต่ละท้องถิ่นนิยมใช้ เช่น เชือกกล้วย เส้นด้ายฝ้าย ใบว่านสากเหล็กหรือต่อเหล่าอี้ หรือเส้นเชือกพลาสติกเพื่อปิดกั้นไม่ให้เส้นด้ายที่มัดไว้สัมผัสกับสีย้อม แล้วนำเส้นด้ายที่มัดแล้วไปย้อมสี แล้วแกะวัสดุที่มัดนั้นออก หากต้องการให้เกิดลวดลายที่มีหลายสี ต้องมัดและย้อมสีทับกันหลายครั้งเพื่อให้ได้ลวดลาย สีสันตามต้องการ ผ่านกระบวนการเตรียมเส้นเพื่อใช้ทอเป็นผืนผ้า เมื่อทอออกมาเป็นผืนผ้าสำเร็จแล้วจะเกิดเป็นลวดลายและสีสันที่ต้องการ มัดหมี่ เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกัน โดยทั่วไป ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานซึ่งมีการทอผ้ามัดหมี่มากที่สุด ในภาคเหนือนิยมเรียกว่า มัดก่าน ในต่างประเทศนิยมใช้คำว่า ikatซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย-มลายูโดยกรรมวิธีการมัดหมี่แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
มัดหมี่เส้นยืน (warp ikat) คือมัดหมี่ที่มัดเส้นด้ายเฉพาะที่ใช้เป็นเส้นยืน ส่วนเส้นพุ่งจะย้อมให้เป็นสีพื้นเพียงสีเดียว โดยไม่มีการมัดลวดลายใด ๆ เลย ลวดลายของมัดหมี่ชนิดนี้จะปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อนำเส้นยืนมาขึงโยงยึดเข้ากับกี่เรียบร้อยพร้อมที่จะทอแล้ว แม้ว่าจะยังไม่นำเส้นพุ่งมาสอดทอเลยก็ตาม
มัดหมี่เส้นพุ่ง (weft ikat) คือ มัดหมี่ที่มัดย้อมเส้นด้ายเฉพาะที่ใช้เป็นเส้นพุ่งลวดลายที่เกิดจากการมัดย้อมจะปรากฎให้เห็นได้ก็ต่อเมื่อทอออกมาเป็นผืนผ้าสำเร็จแล้วเท่านั้น
มัดหมี่สองทาง (double ikat) คือ มัดหมี่ที่ต้องมัดย้อมเส้นด้ายทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง ด้วยความประณีตและซับซ้อนเป็นอย่างมาก เพราะต้องมีการคำนวณด้วยมาตราส่วนของช่างทอเอง เพื่อให้การมัดย้อมเส้นยืนและเส้นพุ่งมีลวดลายตรงกันเมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้า และในขณะที่ทอนั้นเองก็ต้องมีความระมัดระวังมากต้องคอยขยับเส้นพุ่งที่ทอให้ตรงกับลวดลายที่มัดย้อมไว้ก่อนแล้วบนเส้นยืน จึงทำให้มัดหมี่ประเภทนี้มีราคาสูงมาก
การทอผ้ามัดหมี่โดยทั่วไป 2 ลักษณะ คือ
1.การทอผ้ามัดหมี่ 2 ตะกรอ เป็นลายขัดธรรมดา ผ้าจะใช้ได้เพียงหน้าเดียว
2. การทอผ้ามัดหมี่ 3 ตะกรอ เป็นการทอผ้าลายสอง เนื้อผ้าจะแน่น สามารถใช้ผ้าได้ทั้ง 2 ด้าน โดยด้านหน้าจะให้สีสดใส และลวดลายชัดกว่าด้านใน
ผ้ามัดหมี่มีการทำกันอย่างแพร่หลาย สามารถทำได้ดีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าไหมจะมีความสวยงามมาก นอกจากตัวผ้าไหมเองแล้ว ลวดลายและสีสันยังเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความสวยงามให้มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีการทอผ้ามัดหมี่หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการดัดแปลงลายพื้นบ้านผสมกับลายโบราณที่ถ่ายทอดสืบต่อมาเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังได้มีการนำผ้าไหมมัดหมี่มาออกแบบเสื้อผ้าสตรี-บุรุษได้อย่างสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นมากผ้าไหมมัดหมี่มีการผลิตกันมาก และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ลายต่างๆ ทั้ง 2 ตะกรอ และ 3 ตะกรอ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านางธรรมดา ผ้ามัดหมี่หน้านางประยุกต์ ผ้ามัดหมี่หน้านางพิเศษ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความยากง่ายในการมัด และทอต่างกัน ความสวยงามก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความปราณีตละเอียดของขบวนการมัดหมี่และทอผ้าสำหรับลวดลายต่างๆ ที่ผู้ทอผ้ามัดหมี่ได้มีการออกแบบลวดลายนั้น ก็จะนำมาจากลวดลายเก่าแก่ที่ยังคงอยู่ ผสมกับแนวความคิดในการผสมลวดลายต่างๆ กัน เช่น ลายเครื่องตำลึง ลายพญานาคคู่ ลายลูกศร ลายมัดหมี่ผ้าปูมเขมร ลายขอพระเทพ เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง
ประวัติผ้าไหมมัดหมี่.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565, จาก:https://www.ketysmile.com/2020/11/13/ประวัติผ้าไหมมัดหมี่. 2563.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. งานช่างฝีมือดั้งเดิม : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2560.
เผ่าทอง ทองเจือ และกิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. มัดหมี่ สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย.พระนครศรีอยุธยา: ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน), 2559.
เรียบเรียงโดย : นางสุพัชรี ฉันทเลิศวิทยา บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
สร้อยลูกปัดหินกึ่งมีค่า
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๑,๗๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
ได้จากนักเรียนโรงเรียนวัดสาลวนราม ตำบลดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องก่อนประวัติศาสตร์ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
สร้อยลูกปัดหินคาร์เนเลียน (Carnelian) ทั้งแบบกลม และแบบห้าเหลี่ยม กับลูกปัดหินอาเกต (Agate) ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกตกแต่งด้วยลายเส้นสีขาว* (Etched bead) กลางสร้อยเป็นจี้หินอาเกต
การพบสร้อยเครื่องประดับดังกล่าว สะท้อนความสำคัญได้หลายประการ กล่าวคือ ประการแรก พัฒนาการของชุมชนบ้านดอนตาเพชรยุคเหล็กมีการติดต่อแลกเปลี่ยนทำการค้ากับชุมชนโบราณจากทางอินเดีย อาจเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างทรัพยากรในพื้นที่กับของมีค่าจากต่างพื้นที่ (นอกจากนี้หลุมฝังศพบางหลุมพบร่องรอยของเศษผ้าไหมซึ่งน่าจะนำเข้ามาจากจีน) ประการที่สอง เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานะทางสังคมของผู้สวมใส่ ผู้ครอบครอง เนื่องจากลูกปัดดังกล่าวเป็นของที่ทำขึ้นจากวัสดุหายาก ประการที่สาม การพบลูกปัดในหลุมฝังศพยังสะท้อนถึงระบบความเชื่อเกี่ยวกับการอุทิศข้าวของเครื่องใช้แก่ผู้วายชนม์ เพื่อนำติดตัวไปยังภพภูมิหลังความตาย
ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและลูกปัดหินอาเกต เป็นตัวอย่างของโบราณวัตถุที่สะท้อนว่า ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรช่วงยุคเหล็ก มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนต่างพื้นที่ โดยเฉพาะกับชุมชนโบราณในอินเดีย ซึ่งมีหลักฐานว่าแหล่งโบราณคดีบางแห่งปรากฏร่องรอยการเป็นแหล่งผลิตลูกปัดหินสี เช่น ที่เมืองอริกาเมดุ (Arikamedu) เมืองท่าชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย* เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุชิ้นอื่น ๆ ที่เชื่อว่าน่าจะนำเข้ามาจากอินเดียเช่นกัน อาทิ จี้รูปสิงโตทำจากหินคาร์เนเลียน ชิ้นส่วนภาชนะสัมฤทธิ์ทรงขันมีลวดลายรูปสตรีแต่งกายอย่างชาวอินเดีย ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์รูปนกยูง เป็นต้น
*การฝังเส้นสีขาว ด้วยวิธีขูดผิวลูกปัดให้เป็นร่องแล้วแต้มสีขาวลงไป โดยใช้ด่างโปแตสผสมน้ำตะกั่วขาว และน้ำจากต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อ กิราร (Kair tree : Capparis decidua) ในประเทศอินเดียและนำไปเผาไฟเพื่อให้สีติดแน่น
**อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการนำเข้าลูกปัดจากอินเดียแล้ว ในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรยังพบลูกปัดแก้วที่มีส่วนผสมของแร่โพแทสเซียม (potassium) สูงเป็นจำนวนมาก (เช่นเดียวกับลูกปัดแก้วที่พบในแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยกันในพื้นที่ประเทศไทยและเวียดนาม) ซึ่งต่างจากลูกปัดแก้วที่ทำขึ้นในอินเดีย ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้น่าจะมีการผลิตลูกปัดแก้วขึ้นเองในพื้นที่อีกด้วย
สำหรับที่บ้านดอนตาเพชรมีตัวอย่างสำคัญคือ แก้วทรงลูกน้ำ (comma-shaped) ลักษณะโปร่งแสง ไม่มีสี (จัดแสดงอยู่ ณ ห้องก่อนประวัติศาสตร์ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) เป็นรูปแบบที่ไม่พบในอินเดียจึงสันนิษฐานว่าเป็นของที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นโดยการนำเศษแก้วมาหลอมขึ้นเอง
อ้างอิง
กรมศิลปากร. จากบ้านสู่เมือง: รัฐแรกเริ่มบนแผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๑.
ผุสดี รอดเจริญ. ความรู้เรื่องลูกปัดแก้วในงานโบราณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙.
พรชัย สุจิตต์. ลูกปัดในอดีต-ปัจุบัน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๖.