ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ

ตรังสาร จัดทำขึ้นเพื่อจัดจำหน่ายในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประจำปี 2482 โดยรวบรวมเอกสารทางราชการที่ประชาชนควรทราบ รวมทั้งเรื่องราวของจังหวัดตรัง เพื่อให้บุคคลภายนอกจังหวัดได้รู้จักเมืองตรังมากยิ่งขึ้น


          สถูปจำลอง           แบบศิลปะ : ลพบุรี           ชนิด :  สำริด            ขนาด : สูง 23 เซนติเมตร กว้าง 8 เซนติเมตร           อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 18            ลักษณะ : สถูป มีฐานเขียงรองรับชุดฐานบัว เหนือฐานบัวประดับด้วยเจดีย์ขนาดเล็กที่มุมทั้งสี่ด้าน ที่เรือนธาตุด้านล่างเป็นสี่เหลี่ยมประดิษฐานแถวพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้านละ 3 องค์ทั้งสี่ด้าน ถัดขึ้นมาเป็นแถวกลีบบัวหงายรองรับองค์ระฆัง มีรัดอกที่กึ่งกลางองค์ระฆัง เหนือองค์ระฆังขึ้นไปเป็นแถวกลีบบัวคว่ำ รองรับปล้องไฉนและปลียอด             สภาพ : สมบูรณ์ สามารถถอดชิ้นส่วนได้             ประวัติ : นายอี่ กรรณสูต เจ้าเมืองสุพรรณบุรี มอบให้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2470 ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/03/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


ข้อมูลสำคัญในการที่จะดำเนินการจำลองแบบคำจารึกบนแผ่นหินอ่อนของกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ ภายในพื้นที่โบราณสถานวัดสวนดอก พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่  กู่พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ฯ ที่ถูกคนร้ายทุบทำลายเสียหายเมื่อวันที่ื 22 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ขอกราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนโชติ เกียรติณภัทร ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้บันทึกภาพนี้ไว้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นรูปที่มีความละเอียดชัดเจนที่สุดและเป็นภาพล่าสุดที่มีการบันทึกภาพแผ่นจารึกนี้  และขอขอบพระคุณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯเชียงใหม่ ที่ได้ประสานรายละเอียดต่างๆ กราบขอบพระคุณด้วยใจจริงครับ ท่านใดที่มีข้อมูลภาพถ่ายที่มีคุณค่านี้เพิ่มเติม  ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับ เพื่อทางเราจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์แผ่นจารึกบนกู่เจ้าหลวงฯ แห่งนี้ต่อไปครับ #วัดสวนดอกเชียงใหม่ #กู่เจ้าหลวงเชียงใหม่


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่วิหารจำลอง (โลหะเชตวันวิหาร)รูปแบบ ศิลปะล้านนา พุทธศักราช 2269วัสดุ สำริดประวัติ  - สันนิษฐานว่าที่ตั้งเดิมอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในตัวเมืองเชียงแสน เนื่องจากข้อความในจารึกมีการกล่าวถึง บ้านของผู้สร้างคือหมื่นสรภิรมย์ ว่าตั้งอยู่หน้าวัดขาวป๊าน ซึ่งคงเป็น วัดผ้าขาวป้าน ในตัวเมืองเชียงแสน ใกล้แม่น้ำโขง- วิหารจำลองหลังนี้ถูกนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------ลักษณะวิหารจำลองเป็นการจำลองรูปแบบและโครงสร้างคล้ายกับวิหารขนาดจริงที่เป็นอาคารหลังคาคลุมเครื่องไม้มุงกระเบื้อง โดยย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงและอยู่ในวัสดุสำริด .แผนผังของวิหารจำลองอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขด้านหน้า 3 มุข ด้านหลัง 2 มุข (เป็นที่มาของหลังคาลดชั้นที่นิยมเรียกว่า หน้า 3 หลัง 2) ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะล้านนา .มีฐานเขียงรองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ บริเวณฐานด้านหน้าทางเข้าประดับประติมากรรมรูปสัตว์ครึ่งตัว สันนิษฐานว่าเป็นสิงห์ จำนวน 2 ตัว .ตัวอาคารเป็นแบบมีฝาผนัง โดยทำฉลุลายคล้ายก้อนเมฆหรือลายช่องกระจกในศิลปะจีน และสลักลายรูปยักษ์ถือกระบอง เปรียบเสมือนทวารบาลที่มักอยู่ที่บานประตู คอยปกป้องสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าภายในวิหาร มีซุ้มประตูทางเข้าที่ด้านหน้า และด้านข้างทั้งสอง.เครื่องบนหลังคา ในส่วนของปราสาทเฟื้อง (ส่วนประดับกลางสันหลังคา) ขอบป้านลม และหางหงส์ ถูกประดับด้วยรูปหงส์ โดยรูปแบบนี้เป็นการจำลองเครื่องบนซึ่งอาจจะทำจากเครื่องเคลือบดินเผาประดับร่วมอยู่ด้วย เป็นการจำลองวิหารที่เกิดขึ้นในยุคที่ล้านนาอยู่ภายใต้ปกครองของพม่า.วิหารจำลองหลังนี้มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน ปรากฏอยู่ที่ ฝาผนังหลังวิหารด้านนอก ส่วนฐานวิหาร และรอบกรุเจดีย์ในวิหาร ข้อความที่จารึกมีใจความเหมือนกับการจารึกที่ฐานพระพุทธรูป เพียงแต่นำออกมามาจารึกที่ตัววิหารแทน กล่าวคือ บอกวันเดือนปีที่สร้าง นามผู้สร้างพร้อมคณะ บอกสิ่งที่สร้าง เจตนาการสร้าง คำปรารถนาของผู้สร้าง และคำบาลี .โดยสรุปใจความโดยย่อได้ว่า... เมื่อจุลศักราช 1088 (ตรงกับปีพุทธศักราช 2269) หมื่นสรภิรมย์ และนางหมื่นสรภิรมย์ บ้านอยู่ที่หน้าวัดขาวป๊าน (คาดว่าเป็นวัดผ้าขาวป้าน) เป็นประธาน พร้อมลูกหลานเหลน วงศาคณาญาติทุกคน มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนา จึงสร้างโลหะเชตวันวิหารหลังนี้ และยังได้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งและมหาเจดีย์เจ้าหลังหนึ่ง ตั้งไว้ในวิหารจำลองหลังนี้ด้วย (แต่ปัจจุบันภายในเหลือเพียงส่วนฐานของพระพุทธรูปและเจดีย์) เพื่อให้เป็นที่ไหว้สักการะ และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ถึง 5,000 พระวัสสา ขอให้ผลบุญที่ได้นำไปสู่นิพพาน .นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง น้ำหนักทองสำริดที่ใช้ในการสร้างหมดไป 120,000 (ประมาณ 132 กิโลกรัม) เป็นเงิน 1,170 อีกด้วย.แม้ว่าจะการสร้างวิหารจำลอง อาจจะมีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ก็ยังคงมีการเก็บรายละเอียดโดยรวมให้คล้ายคลึงกับวิหารขนาดจริงมากที่สุด อาจเป็นไปได้ว่ามีความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงค์ของการสร้างวิหารจำลองว่าเปรียบเสมือนได้สร้างวิหารขนาดจริง เพียงแต่สร้างเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่สร้างถวายไว้----------------------------------------------------อ้างอิง - ฮันส์ เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม และศราวุธ ศรีทา. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 8 : จารึกในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2547. หน้า 299-304- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 170-174.- ฐาปกรณ์ เครือระยา. เครื่องเคลือบดินเผาประดับในศิลปกรรมล้านนา. เชียงใหม่ :โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.), 2566. หน้า 100 – 103.


วันเสาร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๗ นายทศพร ศรีมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายภาคภูมิ อยู่พูล หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ร่วมให้การต้อนรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพชร ชุนละเอียด) และคณะที่ปรึกษา ซึ่งลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลและหาแนวทางสร้างความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างไทยและกัมพูชา กรณีวัดพระพุทธบาทศิลา (ภูม่านฟ้า) จังหวัดบุรีรัมย์ ในการนี้หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้ร่วมให้ข้อมูลและบรรยายสรุปให้ทราบถึงสภาพปัญหาและประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางวิชาการด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ด้วย



ชื่อโบราณวัตถุ : ตุ๊กตารูปสัตว์แบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 7.4 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตรกว้าง 13.3 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงลักษณะ : ตุ๊กตาดินเผา รูปสัตว์ประเภทโค หรือกระบือ มีการปั้นขาหน้า และขาหลังรวมกับเป็น 2 ขา มีเขายาวสภาพ : ...ประวัติ : ได้จากการขุดค้น บ้านนาดี ตำบลพังงู  อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีสถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/24/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


เเนะนำฐานข้อมูล Hibrary ฐานข้อมูลนิตยสารและหนังพิมพ์ออนไลน์ โดย นายภิญณกาญจ์ ปินตามา นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


ชื่อเรื่อง                     กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทมผู้แต่ง                       พระสุนทรโวหาร (ภู่)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9111 ส845กปสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               78 หน้า หัวเรื่อง                     วรรณคดีไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกาพย์เรื่องพระไชยสุริยานั้น สุนทรภู่แต่งเมื่อในรัชกาลที่ 3 แต่งสำหรับเป็นแบบสอนอ่านคำเทียบในศิษย์ของท่านเล่าเรียนศึกษา ต่อมาในรัชกาลที่ 5 เมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจสำหรับใช้เป็นแบบเรียนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวงเห็นว่าคำกาพย์เรื่องพระไชยสุริยานี้เป็นบทกวีนิพนธ์ที่ไพเราะทั้งอ่านเข้าใจง่าย และเป็นคติ จึงนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจเป็นตอนๆตั้งแต่แม่ก กา ไปจนจบ เกย  


         พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕)          - หิน          - ขนาด กว้าง ๓๖ ซม. สูง ๑๓๘ ซม.          พบในจังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปประทับยืนด้วยอาการสมภังค์ (ยืนตรง) บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีการสลักพระหัตถ์ให้แนบติดกับพระองค์เพื่อให้สวยงามและคงทนแม้จะดูผิดสัดส่วน ซึ่งตกแต่งเป็นรูปกลีบบัวขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองและการสลักรัดพระองค์อาจได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัย แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40170   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


“วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน” คำขวัญ ปี 2567 "รวมพลังไทย สร้างครอบครัว ชุมชนอุ่นใจ พ้นภัยยาเสพติด เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชา" องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติด จึงได้จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นเพื่อประสานความพยายามในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรนี้ด้วย คือ คณะกรรมการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นจากการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking : ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" (International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking) “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” เป็นสัญญลักษณ์ของการแสดงเจตนารมย์ร่วมกันของประเทศต่างๆทั่วโลกในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมสมัชชาใหญ่มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2530 ประเทศต่างๆจึงกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็น “วันต่อต้านยาการใช้ยาในทางที่ผิดและการลักลอบค้ายาเสพติด” สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2531 กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด มีกิจกรรมตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา





ผู้แต่ง : ชมรมล้านนาคดีเชียงใหม่ปีที่พิมพ์ : 2533 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : วิทยาลัยครูเชียงใหม่      ล้านนาคดีสัญจร : ตามรอยโคลงมังทรารบเชียงใหม่นี้ ประกอบด้วยบทความต่างๆ 12 เรื่องด้วยกัน ทั้งในเชิงวิชาการ สารคดีหลายสาขาจากสมาชิกชมรมผู้มีความสนใจ และความถนัดในเรื่องต่างๆกัน จึงเกิดผลงานที่สอดคล้องกับวรรณคดีเรื่อง โคลงมังทรารบเชียงใหม่ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ตลอดจนแนะนำชมรมล้านนาคดีเชียงใหม่ บทความเหล่านี้ต่างได้แรงบันดาลใจจากโคลงมังทรารบเชียงใหม่เป็นแม่แบบในการดำเนินงาน ดังเช่น พิธีบวงสรวงตราหลวงหลาบเงินอันเป็นอาชญาบัตรที่ชาวบ้านแปะ ได้สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ ซึ่งผู้เขียนมุ่งหวังให้ความรู้แก่ผู้สนใจศึกษา


แหล่งเรือจมเกาะมันนอก หรือเรือเมล์  ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง    ความเป็นมาของแหล่งโบราณคดี           กลุ่มโบราณคดีใต้น้ำได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับแหล่งเรือจมเกาะมันนอก จากคำบอกเล่าของคุณวิเชียร  สิงห์โตทอง  เจ้าของกิจการและเรือเช่าท่องเที่ยวดำน้ำ ตกปลา ชื่อ The Toy Tourโดยคุณวิเชียรได้เล่าว่าพบแหล่งเรือจมเกาะมันนอกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2535 ระหว่างการไปตกปลา จากนั้นได้ลงดำน้ำสำรวจพบซากเรือเหล็ก และชิ้นส่วนโลหะกระจัดกระจายอยู่ภายในลำเรือ แหล่งเรือจมเกาะมันนอก อยู่ที่ความลึกประมาณ 18 – 20 เมตร ต่อมาจึงได้แจ้งให้กลุ่มโบราณคดีใต้น้ำทราบเพื่อดำเนินการสำรวจแหล่งเรือดังกล่าว ปัจจุบันแหล่งเรือเกาะมันนอกเป็นที่รู้จักทั่วไปในหมู่ชาวประมงที่ลากอวนจับปลาอยู่ในบริเวณนั้น    ที่ตั้ง           แหล่งเรือจมเกาะมันนอก ตั้งอยู่ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ห่างจากเกาะมันนอกมาทางทิศใต้ประมาณ 4 ไมล์ทะเล หรือ 7.4 กิโลเมตร ละติจูด 12 องศา 30 ลิปดา 19.9 ฟิลิปดา เหนือ และ ลองติจูด 101 องศา 42 ลิปดา 25.9 ฟิลิปดา ตะวันออก    สภาพแหล่งโบราณคดี          จากการสำรวจแหล่งเรือจมเกาะมันนอกเบื้องต้น พบว่าเป็นเรือเหล็ก หัวเรืออยู่ทางทิศใต้ ท้ายเรืออยู่ทางทิศเหนือ ขนาดของตัวเรือ ยาว 41.20 เมตร  กว้าง 6.50 เมตร ที่ใช้เทคนิคการต่อเปลือกเรือหรือแผ่นเหล็กเข้าด้วยกันโดยการเจาะรูย้ำหมุด แนวกราบเรือขวาหายไปบางส่วน ชิ้นส่วนแผ่นเหล็กตัวเรือที่ผุพังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พบอิฐที่ใช้ปูพื้นดาดฟ้าเรือกระจายทั่วไป พบชิ้นส่วนไม้บ้างเล็กน้อย และท่อที่ทำจากทองแดง นอกจากนี้ยังมีเศษอวนลากมาติดบริเวณซากเรือโดยทั่วไป สภาพตัวเรือที่เหลืออยู่สูงจากพื้นทรายประมาณ 1 เมตร และส่วนที่ยังจมอยู่ในพื้นทรายอีกประมาณ 1 เมตร รอดำเนินการขุดค้นต่อไป    หลักฐานโบราณวัตถุ   โบราณวัตถุที่พบจากการสำรวจครั้งนี้ จำแนกได้ดังนี้   1.  ส่วนประกอบต่างๆของตัวเรือ   - วัสดุเป็นโลหะเหล็ก เช่น ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ไอน้ำ, ช่องกระจกเรือ, ชิ้นส่วนประตู ชุดกุญแจ            รอก ฯลฯ   - วัสดุเป็นไม้ เช่น แผ่นไม้มีร่องรอบไหม้ไฟ เป็นต้น   - วัสดุอื่นๆ เช่น ผ้ากันความร้อน, ซิลิโคนยาเรือ, อิฐ เป็นต้น   2. เหรียญเงินกษาปณ์ชนิดต่างๆ   - เหรียญกษาปณ์ของไทยสมัยรัชกาลที่ 5และ 6ปะปนกัน จำนวน 430เหรียญ   - เหรียญกษาปณ์ของฝรั่งเศส จำนวน 2เหรียญ   - เงินพดด้วงของไทยจำนวน 3ชิ้น   3.โบราณวัตถุประเภทโลหะ พบหลากหลายประเภท   - ส่วนประกอบต่างๆของตู้เซฟยี่ห้อ CHUBB เช่น ประตูตู้เซฟ, ป้ายยี่ห้อCHUBB} ฝาบานพับ     ตู้, กรอบตู้, แป้นยึดน็อต, และโลหขาตู้                        - นาฬิกาพกทรงกลม                        - กระดุมทองขนาดเล็กจำนวน 3เม็ด   4.โบราณวัตถุอื่นๆ   - จุกปิดขวดน้ำหอมรูปทรงหยดน้ำ, ชิ้นส่วนแก้วมีอักษร “GAPOR”   - อิฐดินเผาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า   5.เศษภาชนะดินเผา  มี 2ประเภท คือ   - เศษภาชนะดินเผาแบบ Stone ware จำนวน 5ชิ้น   - เศษภาชนะดินเผาแบบ Porcelain จำนวน 11ชิ้น             โบราณวัตถุทั้งหมดได้ส่งให้กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์สงวนรักษาเรียบร้อยแล้ว   การวิเคราะห์แปลความเบื้องต้น       จากหลักฐานต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นโครงสร้างของหม้อไอน้ำ อีกทั้งพบชิ้นส่วนหลักเดวิด ที่ใช้สำหรับชักหย่อนเรือบด กอปรกับชื่อเรียกเรือลำนี้ที่ใช้เรียกขานกันมานานว่า เรือเมล์ ซึ่งอาจจะหมายความถึงเรือโดยสาร จึงสันนิษฐานว่าเรือลำนี้น่าจะเป็นเรือจักรกลไอน้ำที่อาจจะใช้เป็นเรือโดยสารที่แล่นขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯและเมืองท่าต่างๆ เนื่องจากในอดีตการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง  อีกทั้งจันทบุรีมีหลักฐานเอกสารระบุว่าในอดีตเคยเป็นเมืองท่าของป่าและเครื่องเทศ จึงมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเป็นเรือโดยสารระหว่างกรุงเทพฯ และจันทบุรี นอกจากนี้การพบประตูตู้นิรภัยและเหรียญกษาปณ์จำนวนมากซึ่งอาจจะเป็นที่เก็บรักษาเงินค่าโดยสารและสิ่งของมีค่าอื่นๆ ที่มากับเรือลำนี้         การกำหนดอายุแหล่งเรือจมนี้จากเหรียญกษาปณ์ไทยที่สามารถทราบปีที่เริ่มต้นผลิตจนถึงปีที่สิ้นสุดการผลิต (เหรียญที่อายุเก่าสุด ผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2412) และเหรียญกษาปณ์ฝรั่งเศสที่ระบุปี ค.ศ. 1913 (พ.ศ. 2456) แหล่งเรือจมเกาะมันนอกน่าจะมีอายุประมาณ 100ปี อย่างไรก็ตามเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นที่ยังไม่ได้ข้อสรุป หากได้มีการการขุดค้นตลอดทั้งลำเรือเพื่อเก็บข้อมูลโดยละเอียด คาดว่าน่าจะได้หลักฐานเพิ่มเติมที่จะช่วยในการวิเคราะห์แปลความมากยิ่งขึ้น         รายงานข้อมูลแหล่งเรือจมเกาะมันนอก หรือเรือเมล์  ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมภาพประกอบ                   


Messenger