ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,758 รายการ
องค์ความรู้ เรื่อง "เรือกลไฟในดินแดนอีสาน"จัดทำข้อมูลโดย : นางสาวกุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
เลขทะเบียน : นพ.บ.132/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 78 (309-314) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต (สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.88/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 52.4 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 51 (94-102) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : วิสุทธิมคฺคปาพัตถพฺยาขฺยาน (วิสุทธิมัคปาฬัตถพยาขยาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.7/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 30 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 50 (ต่อ)-53) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 336 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวม มีรายละเอียด ดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 50 ตำนานเมืองระนอง(ต่อ) ตอนที่ 4 เป็นการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เมืองระนอง ตอนที่ 5 เป็นการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เมืองระนอง ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 51 อธิบายพระนามและนามที่ปรากฏในจดหมายเหตุ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 53 พงศาวดารเมืองสงขลา
โดยเอกสารฉบับนี้ หอสมุดแห่งชาติจัดให้อยู่ในหมวดจดหมายเหตุ เลขที่ ๓๐ ระบุประวัติการรับมอบเอกสารไว้เมื่อ ๑๙/๓/๒๔๕๐ หรือ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๕๐ ส่วนเรื่องราวการค้นพบมีระบุอยู่ในจดหมายเวรของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับลงวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๘๕ ว่า “...วันหนึ่งไปเห็นยายแก่กำลังรวบเอาสมุดไทยลงใส่กะชุที่บ้านแห่งหนึ่ง ถามว่าจะเอาไปไหน แกบอกว่าจะเอาไปเผาไฟทำสมุกสำหรับลงรัก...พระยาปริยัติฯ เห็นเป็นหนังสือเรื่องพงศาวดารอยู่เล่ม ๑ จึงขอยายแกเอามาส่งให้หม่อมฉันที่หอพระสมุดฯ...มีบานแผนกว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตรัสสั่งให้รวบรวมจดหมายเหตุต่างๆ แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนั้น เมื่อวันพุธเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๐๔๒ (พ.ศ.๒๒๒๓) ...หม่อมฉันจึงให้เรียกว่า “พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ” เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ได้มา...” เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าเอกสารฉบับนี้ เป็น “หนังสือสมุดไทยฉบับเก่าที่สุด” เท่าที่พบในปัจจุบัน ซึ่งในปีนี้ (ปีพุทธศักราช.๒๕๖๓) มีอายุครบ ๓๔๐ ปี
คุณูปการของพงศาวดารฉบับนี้ ยังนำมาซึ่งการค้นพบสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังมีเนื้อหาระบุในจดหมายเวรฉบับเดียวกันว่า “...พระเจดีย์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันอยู่บ้าง... เห็นในฉบับหลวงประเสริฐว่า พระมหาอุปราชมาตั้งประชุมทัพอยู่ที่ตำบลตระพังกรุ แล้วมาชนช้างกับสมเด็จพระนเรศวรที่ตำบลหนองสาหร่าย... สั่งให้ไปสืบดู ว่าตำบลชื่อหนองสาหร่ายในแขวงเมืองสุพรรณยังมีหรือไม่... พอหม่อมฉันเห็นรายงานกับรูปฉายที่พระยาสุพรรณส่งมาก็สิ้นสงสัย รู้แน่ว่าพบพระเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นแน่แล้วมีความยินดีแทบเนื้อเต้น...” โดยจดหมายฉบับนี้ มีเนื้อหาสอดรับกับประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓ มีนาคม ๒๔๕๖) ใจความระบุว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระเจดีย์ยุทธหัตถีที่สุพรรณบุรี รวมถึงมีการค้นพบโบราณวัตถุโดยรอบพระเจดีย์องค์นี้ ๓ รายการ คือ ยอดธงไชยสัมฤทธิ์รูปวชิระ, ลูกตุ้มสัมฤทธิ์ชั่งของ มีรอยอักษรรามัญคล้ายเลข ๓ และปืนใหญ่ ๑ กระบอก
ทั้งนี้ หากทุกท่านมีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” (ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓) ในส่วนของสองสมเด็จกับงานด้านภาษาและหนังสือ จะสังเกตได้ว่าพระราชพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ ถูกจัดแสดงให้อยู่ใกล้กับหนังสือเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีปอย่างมีนัยยะสำคัญ ด้วยหนังสือเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์ฯ ได้กล่าวถึงพระราชพงศาวดารฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องคติการสร้างเจดีย์ตรงที่สมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะพระมหาอุปราชา มีความคล้ายคลึงกับการสร้างเจดีย์ของพระเจ้าทุฏฐคามินี ซึ่งมีชัยเหนือพระยาเอฬารทมิฬ จนเป็นที่มาของการสร้าง ‘เจดีย์รุวัลเวลิ’ นั่นเอง
(เผยแพร่ข้อมูลโดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / เทคนิคภาพโดย นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / ภาพประกอบจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
กรมศิลปากร. พระคัมภีร์ทีปวงศ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2516. พระคัมภีร์ทีปวงศ์นี้ เป็นตำนานว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ต้นฉบับเดิมแต่งเป็นคาถาภาษาบาลี อักษรสิงหล 1528 คาถา กล่าวถึงเรื่องพระพุทธเจ้าทรงชนะมาร การทำสังคายนา ทรงประกาศพระศาสนา เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปและได้อัญเชิญพระบรมธาตุและไม้ศรีมหาโพธิ์จากชมพูทวีปมายังลังกาทวีป และตอนสุดท้ายกล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยพระเจ้ามหาเสนคราองราชย์อยู่ ณ เมืองอนุราธบุรี
---เรื่อง “พระเจ้าไม้เมืองน่าน”
---พระเจ้าไม้ คำว่า “พระเจ้า” เป็นคำที่คนในดินแดนล้านนาเรียกขาน แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระปฏิมากร (พระพุทธรูป) อันเป็นรูปสัญลักษณ์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระเจ้าที่สร้างด้วยวัสดุใดก็จะเติมชื่อวัสดุนั้นพ่วงท้าย เช่น พระเจ้าที่สร้างด้วยไม้ก็เรียกพระเจ้าไม้ พระเจ้าทีสร้างด้วยโลหะก็เรียกตามโลหะนั้นๆ เช่น พระเจ้าตอง พระเจ้าทองทิพย์ เป็นต้น นอกจากนี้คำว่าพระเจ้ายังหมายความถึงกษัตริย์ หรือเจ้าผู้ครองนครได้อีกด้วย พระพุทธรูปไม้พบทั้งขนาดเล็ก จนไปถึงขนาดใหญ่หลายเมตร ส่วนคำว่า “พระเจ้าไม้เมืองน่าน” นั้นหมายถึงพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้ที่พบในดินแดนเมืองน่าน หรือจังหวัดน่านในปัจจุบัน
---จากการสำรวจในจังหวัดน่านพบพระเจ้าไม้ที่มีความเก่าแก่ที่สุดจากการอ่านจารึกที่ปรากฏบนพระเจ้าไม้ คือ ปี จ.ศ. ๑๐๖๖ หรือปี พ.ศ. ๒๒๔๗ พบที่วัดคัวะ หรือวัดพุ่มมาลา ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ทั้งนี้พระพุทธรูปบางองค์ไม่ปรากฏจารึกทำให้ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด และไม้เป็นวัสดุที่มีความเสื่อมสลายได้ง่าย ทำให้พระเจ้าไม้ผุพัง และสูญหายไปตามกาลเวลา
---การสร้างพระพุทธรูปด้วยโลหะนั้นจำเป็นต้องใช้กำลังคน ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก วัตถุดิบ และกรรมวิธีในการหล่อมีความซับซ้อน และต้องอาศัยประสบการณ์ความชำนาญ ซึ่งต่างจากพระพุทธรูปไม้ที่วัสดุหาง่าย และวิธีการทำมีความง่ายกว่า ทั้งไม้เป็นทรัพยากรที่พบมากในท้องถิ่น จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ทำให้พระพุทธรูปไม้จึงมีความหลากหลายตามสกุลช่าง และฝีมือเชิงช่าง มีลักษณะรูปแบบที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว การสร้างพระพุทธรูปไม้สามารถทำได้ทุกชนชั้นตั้งแต่ชนชั้นปกครอง กษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ชาวบ้าน ตลอดจนพระสงฆ์ อาจทำเป็นหมู่คณะ หรือส่วนบุคคลก็ได้ สามารถสร้างด้วยตนเอง หรือจ้างช่าง (สล่า) เป็นผู้สร้างให้
---อานิสงส์สร้างพระพุทธรูปไม้ อานิสงส์ คือ ผลแห่งกุศลกรรม หรือผลบุญ หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการได้ทำบุญ หรือที่ได้สร้างประโยชน์ไว้ จากคติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวล้านนาโดยเฉพาะเรื่องบุญกรรม โดยความเชื่อบางอย่างระบุว่าแม้กระทำดีแบบเดียวกันแต่รายละเอียดต่างกัน ผลบุญนั้นก็จะแตกต่างกัน ทั้งนี้การสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุที่แตกต่างกันอานิสงส์ก็จะแตกต่างกันด้วย โดยจากคัมภีร์ใบลานอานิสงส์ฉบับวัดควรค้าม้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “...ผู้ใดสร้างพระพุทธรูป...สร้างด้วยไม้ ได้อานิสงส์นาน ๒๐ กัป...และสร้างด้วยไม้ศรีมหาโพธิ์ ไม้แก่นจันทน์ ก็จะได้รับอานิสงส์นานเป็นอนันต์หากำหนดไม่ได้...”
---ไม้ที่นำมาสร้างพระเจ้าไม้ ไม้ที่นำมาสลักมักเป็นไม้ที่มีเนื้อไม้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่เหนียวแข็ง หรือไม่เปราะเกินไป นำมาแกะสลักได้ง่าย นิยมนำส่วนแก่นไม้มาสลัก เนื่องจากแก่นของไม้จะไม่บิดงอ หรือแตกหักได้ง่าย และมีความคงทน นอกจากชนิดของเนื้อแล้ว ยังเป็นไม้ที่มีนาม หรือชื่ออันมงคล ไม่มีลักษณะอันอัปมงคล ไม้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น ต้นไม้ที่ประทับตรัสรู้ของอดีตพุทธ ปัจจุบันพุทธ และอนาคตพุทธ หรือที่เรียกว่า “โพธิ์พฤกษ์ หรือต้นโพธิ์” ไม้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ เป็นต้น ซึ่งก่อนการตัดไม้จะต้องมีพิธีกรรมการขอขมาด้วยเครื่องสังเวยบูชาแก่เทวดาอารักษ์ที่รักษาต้นไม้ และดูฤกษ์ยาม สถานที่ก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
---เทคนิคการสร้าง และประดับตกแต่งพระพุทธรูปไม้ พระพุทธรูปไม้พบทั้งที่สลักจากไม้ท่อนเดียว สลักจากไม้สองชิ้น คือชิ้นหนึ่งเป็นส่วนฐาน อีกชิ้นเป็นพระวรกาย และสลักจากไม้หลายชิ้น แล้วนำมาประกอบกัน โดยใช้สลักเป็นตัวเชื่อม (แสว้) ทั้งนี้จะต้องมีมาตรวัดให้ได้พุทธสรีระที่สมส่วน งดงาม นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปจะต้องมีขั้นตอน และพิธีกรรมประกอบ อาทิ การดูฤกษ์ยามเลือกวัน เดือนที่เป็นมงคล เพื่อความสุขความร่มเย็น ไม่ก่อให้เกิดอุปสรรค เภทภัยต่างๆ ทั้งแก่เจ้าศรัทธา และช่างผู้สร้าง
---ขั้นตอนที่ ๑ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ / เตรียมไม้ / กำหนดรูปแบบ ขั้นตอนที่ ๒ ร่างแบบองค์พระลงบนกระดาษแล้วจึงคัดลอกลงบนเนื้อไม้ ขั้นตอนที่ ๓ การโกลนไม้ขึ้นรูปองค์พระ ขั้นตอนที่ ๔ แกะรายละเอียดช่วงลำตัวให้ชัดเจน ขั้นตอนที่ ๕ แกะส่วนเศียรองค์พระ ขั้นตอนที่ ๖ เก็บรายละเอียด ขั้นตอนที่ ๗ การตกแต่ง ขั้นตอนที่ ๘ การถวายพระเจ้าไม้ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา
---เจตนาในการสร้าง วัตถุประสงค์ และคำปรารถนาของผู้สร้าง สามารถทราบได้จากคำจารึกที่ปรากฏบนพระเจ้าไม้ มีดังต่อไปนี้ พระพุทธรูปเป็นที่เคารพสักการะแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายเพื่อทำบุญ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ถวายเพื่อร่วมฉลองถาวรวัตถุ ณ วัดใดวัดหนึ่ง หรืองานประเพณี งานเฉลิมฉลอง ถวายเพื่อสืบชะตาของผู้สร้าง ถวายเพื่ออุทิศส่วนกุศล (ทักขิโณทการ) แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ถวายเมื่อครั้งบรรพชา อุปสมบท ถวายเพื่อแก้บน เป็นต้น
----เจตนาในการสร้าง และคำปรารถนาของผู้สร้างพระเจ้าไม้ ปรารถนาให้สัมฤทธิ์ผลตามความต้องการ สมความปรารถนาทุกประการ เมื่อเสียชีวิตปรารถนาเกิดในสวรรค์ พ้นจากอบายทั้ง ๔ ปรารถนาสุข ๓ ประการ ปรารถนาเกิดในยุคอนาคตพุทธเจ้า ปรารถนามรรคผล และปรารถนานิพพาน เป็นต้น
---เอกสารอ้างอิง
ภูเดช แสนสา. “พบพระเจ้าไม้เก่าที่สุดในล้านนาอายุกว่า ๓๐๐ ปี ที่วัดคัวะ เมืองน่าน”. เข้าถึงได้โดย https://lek-prapai.org/home/view.php?id=661
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. “พระเจ้าไม้ล้านนา”. เชียงใหม่ : สีสันพรรณไม้. ๒๕๕๔.
ศิรพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์. “คติการสร้างพระพุทธรูปไม้ในล้านนา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๔.
สมเจตน์ วิมลเกษม และคณะ. “กรรมวิธีดั้งเดิมในการผลิตงานช่างพุทธศิลป์น่าน”. เชียงใหม่ : สันติภาพแพ็คพรินท์. ๒๕๕๑.
สุรศักดิ์ ศรีสำอาง และคณะ. “เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ”. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๓๗.
http://164.115.27.97/digital/items/show/5682
วัดซาก บ้านหินสองก้อน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ ๑. ฐานเจดีย์ ๒. อุโบสถ ๓. วิหาร ประวัติและความสำคัญ วัดซาก ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน เดิมบริเวณวัดมีเนินดินและซากเจดีย์ใหญ่ จากการขุดค้นพบว่าโบราณสถานวัดซากนี้มีการก่อสร้างทับซ้อนกันโดยฐานชั้นล่างเป็นศิลาแลง ส่วนฐานชั้นบนก่ออิฐ สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘) เป็นอย่างช้า และต่อมาได้รับการบูรณะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปี พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์คบคิดกันจับเจ้าฟ้าอภัยทศและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มาประหารชีวิตที่วัดนี้พบชิ้นส่วนประติมากรรมขนาดใหญ่หลายชิ้น เช่น เศียรยักษ์ศิลา ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี และบางส่วนได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างวัดใหม่ขึ้นในบริเวณโบราณสถานและตั้งชื่อว่าวัดซาก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหินสองก้อนตามชื่อหมู่บ้าน ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยลพบุรี ปัจุบันพังทลายลงเหลือแต่ส่วนฐานย่อมุมมีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ด้านและมีมุขยื่นออกมาทางด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้า) ต่อมาในสมัยอยุธยามีการสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติม ได้แก่ ระเบียงคตก่อด้วยอิฐ และใช้อิฐก่อซ่อมแซมองค์ปรางค์ในบางส่วน การขึ้นทะเบียน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๒๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๗๙ -------------------------------------------------------------(ที่มา : ทะเบียนโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี)
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒ กรกฎาคม ๒๔๑๘ วันประสูติพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมสุภาพ ประสูติเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๑๘ มีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร"
ทรงศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนวอเรนส์ ฮิลส์, แฮร์โรว์, ตรินิตี, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และโรงเรียนกฎหมาย กรุงลอนดอน สอบไล่ได้วิชาทางกฎหมายมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ
ในรัชกาลที่ ๕ รับราชการเป็นเลขานุการพิเศษ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฏ์ครั้งทรงเป็นผู้กำกับราชการทูต ณ ยุโรป เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๔๓ เป็นนักเรียนผู้ช่วยกองที่ปรึกษา กระทรวงการต่างประเทศ แล้วไปเป็นเลขานุการพิเศษ กระทรวงมหาดไทย พุทธศักราช ๒๔๔๕ เป็นปลัดมณฑลนครศรีธรรมราช และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๔๔๘ เป็นอุปทูตสยามกรุงปารีส กระทรวงการต่างประเทศ พุทธศักราช ๒๔๔๙ เป็นอัครราชทูตสยามกรุงปารีส มาดริด ลิสบอน พุทธศักราช ๒๔๕๒ เป็นรองเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ในรัชกาลที่ ๖ เป็นเสนาบดี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอก พุทธศักราช ๒๔๕๕ เป็นอัครราชทูตพิเศษมีอำนาจเต็มประจำกรุงปารีส หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาและรับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๖๒ ทรงเป็นผู้แทนสยาม ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ครั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร นับเป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพิเศษ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๔๗๑ พระชันษา ๕๔ ปี
ภาพ : มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร