ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,764 รายการ

กุมภวาปี…เมืองที่ไม่ได้มีดีแค่ทะเลบัวแดงสอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. :  043-242129 Line : finearts8kk E-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#ทะเลบัวแดง #ความรู้ #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #กรมศิลปากร #โบราณสถาน #กุมภวาปี #อุดรธานี #วัด #สายบุญ #ไม้เก่า #ท่องเที่ยวอุดร #คนอุดร


            สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมโครงการอบรม เรื่อง "การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับห้องสมุดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)" ในวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 - 14.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ แบบ On-site ล่วงหน้าได้ ด้วยการสแกน QR Code หรือลงทะเบียนผ่านลิงก์ https://forms.gle/9mSGJVhTo9bfBtdT7 (*รับจำนวนจำกัด ปิดรับลงทะเบียนวันที่ 20 มีนาคม 2567 หรือหากมีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวนแล้ว) นอกจากนี้ยังสามารถรับชมได้ผ่านทาง Facebook live ของหอสมุดแห่งชาติ : National Library of Thailand ในวันและเวลาดังกล่าว


ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาเขียนสีรูปสัตว์แบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 19.6 เซนติเมตร ปากกว้าง 16.5 เซนติเมตร อายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผาก้นกลม มีเชิง เขียนสีแดงเป็นลายรูปสัตว์ คล้ายสัตว์เลื้อยคลานสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/07/ ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


แนะนำฐานข้อมูล GALE PRIMARY SOURCESArchives Unbound เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและเอกสารหายากกว่า 200 คอลเลกชัน  โดยนางสาวณัฐธิดา สถาอุ่น นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


         ชิ้นส่วนพุทธบัลลังก์          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖)          - หิน          - ขนาด กว้าง ๔๕ ซม. ยาว ๙๙ ซม.          พบที่วัดไทร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ประติมากรรมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายด้านขวาหักหายไป ปลายด้านซ้ายจำหลักเป็นรูปมกรกำลังคายรูปสัตว์ผสม หรือวยาลกะ มีเขาคล้ายเขาโคออกจากปาก วยาลกะยกเท้าหน้าทั้งคู่ขึ้นระดับไหล่ เท้าด้านซ้ายก้าวมาข้างหน้า เท้าหลังด้านขวาก้าวตามแผ่นหินที่เป็นส่วนลำตัวของมกร ประติมากรรมชิ้นนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระอธิบายว่า เป็นชิ้นส่วนศิลาทับหลังเรือนแก้วของพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทศิลาเขียวซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40187   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


วันที่ 7 ธันวาคม 2566 เวลา 16.30 น. ร้อยเอกบุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี พร้อมหัวหน้าส่วน หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี และ หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 กิจกรรม : ปฏิบัติการสร้างสรรค์ (Workshop) ผลงานศิลปกรรมตามแนวคิด เรื่อง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทย ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยช่างศิลป์ โดยมีนายธีรยุทธ์  จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด


นำเสนอสาระความรู้ และแนะนำเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออนุสรณ์งานศพ พร้อมประวัติของผู้วายชนม์โดยสังเขป วันนี้ #หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ขอนำเสนอ เรื่อง #ประวัติสุนทรภู่ นิราศเมืองแกลง และประวัติเมืองแกลง หนังสือจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสำลี เกิดลาภผล ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 นางสำลี เกิดลาภผล เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 12 ปีเถาะ พ.ศ. 2423 ที่ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นบุตรสาวคนที่สองของขุนแพ่งกับนางมุก นางสำลีได้กำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุยังน้อย จึงได้อาศัยอยู่กับน้าหญิง ซึ่งเป็นภรรยาของหลวงวิชิตภักดี ผู้พิพากษาประจำเมืองแกลงในขณะนั้น ต่อมาได้สมรสกับนายเห่ง เกิดลาภผล ผู้เป็นบุตรชายของนางเกียกับนายย่องติ้น แซ่หลิม และเป็นหลานของเจ้าสัวเช้า แซ่ตัน กับนางจ้อย แห่งบ้านตลาดบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี หลังจากสมรส มีบุตรและธิดา จำนวน 6 คน นางสำลีเป็นผู้เลื่อมใสยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้บริจาคทรัพย์บำรุงวัด และจัดการอุปสมบทให้แก่ผู้ที่ไร้กำลังทรัพย์อยู่เสมอ นางสำลีได้ป่วยเป็นมะเร็งที่มดลูก และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2510 รวมอายุได้ 77 ปี #ประวัติสุนทรภู่ นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่อให้พิมพ์รวมกับเสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ซึ่งเป็นบทนิพนธ์ของสุนทรภู่ แจกในงานฉลองพระชันษา ครบ 60 เมื่อ พ.ศ. 2465 เป็นครั้งแรก ภายหลังได้มีการเพิ่มเติมเชิงอรรถ โดย นายธนิต อยู่โพธิ์ และชำระเพิ่มเติมโดยกรมศิลปากร หนังสือมีการจัดพิมพ์เผยแพร่อีกหลายครั้งเนื่องจากมีผู้สนใจในเรื่องราวของสุนทรภู่มาก เนื้อหาว่าด้วยเรื่องประวัติของสุนทรภู่ แบ่งออกเป็น 7 ตอน ได้แก่ ตอนก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ หนังสือที่สุนทรภู่แต่ง และเกียรติคุณของสุนทรภู่ #นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่แต่งเมื่อราว พ.ศ. 2350 เมื่อครั้งเดินทางไปพบบิดาซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เป็นนิราศเรื่องแรกที่สุนทรภู่แต่ง เพื่อบันทึกการเดินทางและแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน พิเคราะห์จากเรื่องราวที่ปรากฏในนิราศ ประกอบกับศักราชปีเกิดของสุนทรภู่ ดูเหมือนเมื่อแต่งนิราศเรื่องนี้ อายุน่าจะราวสัก 20 ปี กล่าวในนิราศว่าสุนทรภู่มีศิษย์ติดตามไปด้วย 2 คน คือ นายน้อย และนายพุ่ม และมีนายแสงชาวเมืองระยองขอเดินทางร่วมไปด้วยและช่วยนำทางให้ สุนทรภู่ได้พรรณนาถึงความยากลำบากในการเดินทาง สภาพภูมิประเทศ และชีวิตของชาวบ้านที่ได้พบเห็น ส่วน #ประวัติเมืองแกลง นั้น นางพัฒนี สุทธิสุวรรณ วิทยากรตรี แผนกอักษรศาสตร์และวรรณคดี กรมศิลปากร ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้น โดยกล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของเมืองแกลง จังหวัดระยอง โดยสังเขป ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก http://digital.nlt.go.th/dlib/items/show/14923 หรือสแกนจาก QR Code เพื่ออ่านในรูปแบบ E-Book บรรณานุกรม ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ประวัติสุนทรภู่. พระนคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2511.


          วันที่ ๑๕-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดีกรมศิลปากร เข้าตรวจเยี่ยมหน่วยงานสังกัด และตรวจโบราณสถานในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น ดังนี้ - โบราณสถานวัดสนวนวารีพัฒนาราม อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น - อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี - โบราณสถานสะพานขอม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร



         - การฉาย Projection Mapping พร้อมไฟประดับตกแต่ง ณ หอพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา สัมผัสการเล่าเรื่องราวแห่งดนตรีและวัฒนธรรมของเชียงใหม่ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านการฉาย Projection Mapping ขนาดใหญ่ ที่จะถ่ายทอดวิถีชีวิตและความงดงามของล้านนาไปสู่ทุกสายตา โดยใช้หอพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเป็นฉากสำหรับการนำเสนอประวัติศาสตร์ ความทรงจำ และเสียงดนตรีของเชียงใหม่ที่เชื่อมโยงอดีตสู่ปัจจุบันอย่างวิจิตรตระการตา          - ซุ้มไฟ Hop ณ ลานข่วงประตูท่าแพ ซุ้มไฟประดับอย่างยิ่งใหญ่อลังการ ความยาวกว่า ๑๕๐ เมตร สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “ล่องแม่ปิง” โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากอัตลักษณ์ของภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นลายผ้าชาวเขาอาข่า,โคมตุงล้านนา,ร่มบ่อสร้าง และท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์ของบทเพลง อมตะที่ จรัล มโนเพ็ชร รังสรรค์ไว้ เพื่อเป็นเส้นทางแห่งความสว่างไสวและจุดถ่ายรูป ที่จะนำผู้คนเข้าสู่โลกแห่งศิลปะและดนตรี HOP Chiangmai Art & Music Festival          “สะพานดนตรี” Musical Bridge ณ สะพานขัวเหล็กการแสดงแสง สี และเสียงแบบอินเทอร์แอคทีฟที่มีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว ทุกครั้งที่มีรถหรือผู้คนผ่านบนสะพาน แสงไฟจะสว่างไสว พร้อมกับโน้ตดนตรีที่บรรเลงออกมาเป็นบนเพลง “ล่องแม่ปิง” ในทำนองเปียโน สร้างบรรยากาศที่สนุกและมีชีวิตชีวาให้สะพานขัวเหล็กกลายเป็นเส้นทางแห่งเสียงเพลงและแสงสีที่เคลื่อนไหวตามจังหวะการเดินทาง


ผู้แต่ง : นิคม พรหมมาเทพย์ ปีที่พิมพ์ : 2559 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่สำนักพิมพ์ : แม็กซ์พริ้นติ้ง (มรดกล้านนา)      ลัวะล้านนาโลกาภิวัตน์นี้ มุ่งหวังว่าผู้อ่านจะได้เปิดประสบการณ์ และมุมอับบางเรื่องราว ที่เกิดขึ้นแล้วในสังคมที่ผ่านมาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น อันประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมาต้องจารึกตามเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเรื่องราวอาจมีทั้งประวัติศาสตร์ เจี้ย นิยายปรัมปราตำนาน ประเพณี วัฒนธรรม เรื่องราวกระแสชีวิตจิปาถะ ซึ่งบ้างอาจเป็นเรื่องราวที่แอบแฝงด้วยความเชื่อปาฏิหาริย์ หรือความเหลือเชื่อต่างๆนานาปะปนกันไป ฉะนั้นลัวะล้านนาโลกาภิวัตน์นี้ จึงเสมือนเอกสารบันทึกข้อมูลอันหลากหลายต่างๆพร้อมกับเผยแพร่เรื่องราวในสังคมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


การศึกษาเรือโบราณ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร   ประวัติการพบเรือ                      เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๖ สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี  ได้รับแจ้งจากองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ ว่ามีการพบซากเรือโบราณอยู่ในบ่อเลี้ยงกุ้งของนายสุรินทร์ และนางพนม       ศรีงามดี บ้านเลขที่ ๖๕/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สาเหตุการพบเนื่องจากการปรับพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งให้ลึกลงกว่าเดิม โดยบริเวณที่พบเรือโบราณเป็นพื้นที่ลุ่มริมชายฝั่งทะเล อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ ๘ กิโลเมตร     สภาพก่อนการขุดศึกษา                      เรือโบราณที่พบจมอยู่ใต้ดินเลนในลักษณะพลิกตะแคง ส่วนที่โผล่พ้นดินแล้วเป็นกราบเรือด้านทิศตะวันตก เรือวางตัวในแนวทิศเหนือ - ใต้จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่าเป็นเรือที่มีการเสริมกราบสองชั้นด้วยการเจาะรูและใช้เชือกผูกโยงยึดแผ่นไม้ไว้ด้วยกัน ไม้และเชือกมีสภาพเปื่อยยุ่ยอย่างมาก ภายในเรือพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ ทั้งภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดินที่ผลิตจากแหล่งเตาภายในประเทศ เครื่องเคลือบที่ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศจีน และพบอินทรียวัตถุหลายประเภท เช่น ลูกมะพร้าว ลูกตาล เมล็ดข้าว เชือก ยางไม้ เมล็ดพืช เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบภาชนะดินเผาอีกหลายแบบที่ยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้             การขุดศึกษาทางโบราณคดี                             สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี ร่วมกับกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำ สำนักโบราณคดี ดำเนินการขุดศึกษา โดยเริ่มการขุดศึกษาตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ – ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ แต่การดำเนินงานยังคงไม่แล้วเสร็จเนื่องจากยังคงพบหลักฐานอีกหลายอย่าง รวมทั้งหลักฐานบางชิ้นยังคงอยู่ในหลุมขุดค้นด้วย   เทคนิคการขุดศึกษาทางโบราณคดี                      เนื่องจากก่อนการดำเนินการขุดศึกษาเรือโบราณ ได้มีการนำไม้ทับกระดูกงูและเสากระโดงเรือขึ้นมาไว้บนคันดิน และมีการขุดเปิดพื้นที่เรือบางส่วนไว้แล้ว การขุดศึกษาจึงใช้เทคนิคการขุด ๒ วิธีคือ   ๑.      วิธีการขุดลอกดินต่อจากบริเวณที่ถูกขุดไว้แล้ว เพื่อเปิดให้เห็นตัวเรือทั้งหมด โดยวาง   ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าครอบพื้นที่ตัวเรือไว้   ๒.      ขุดหลุมทดสอบ (TP.1) เป็นแนวยาวขวางตัวเรือในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก   ขนาดกว้าง ๒ เมตร เพื่อดูลักษณะของตัวเรือ โครงสร้างเรือ และโบราณวัตถุที่พบภายในเรือ                      พื้นที่ในการขุดศึกษามี ๒ พื้นที่ โดยพื้นที่ที่พบเรือในตอนแรกเรียกว่า Area 1 ได้ดำเนินการขุดค้นในบริเวณนี้ เพื่อศึกษารูปแบบเรือและโบราณวัตถุที่พบ แต่พบว่ามีบางส่วนของเรือได้ต่อขยายไปใต้แนวคันดินทางด้านทิศเหนือ จึงได้เปิดขยายพื้นที่ทางด้านทิศเหนือ มีการวางผังหลุมขุดค้นครอบคลุมตัวเรือ โดยขุดลอกดินออกทีละน้อยเพื่อดูขอบเขตของเรือในแต่ละด้าน และเว้นนระยะระหว่างตัวเรือและผนังหลุมในแต่ละด้าน ด้านละประมาณ ๑ เมตร ส่วน Area 2 เป็นพื้นที่ต่อขยายอยู่ทางด้านทิศเหนือของ Area 1บริเวณนี้สันนิษฐานว่าจะพบเรือส่วนที่เหลือ ทำการวางผังครอบพื้นที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นเรือ ขนาดพื้นที่กว้าง ๑๕ เมตร ยาง ๑๕ เมตร โดยประมาณ   ผลการขุดศึกษาในเบื้องต้น พบหลักฐานสำคัญ ดังนี้   ๑. เรือโบราณ เป็นเรือไม้ขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ ๒๕ เมตร พบที่ระดับความลึกจากผิวดินประมาณ ๒ เมตร บริเวณกลางลำเรือมีท่อนไม้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าเป็นไม้ทับกระดูกงูที่หลุดขึ้นมา ความยาว ๑๗.๖๕ เมตร ด้านล่างมีการบากทำเป็นร่องสลับกันสำหรับต่อกงเรือ บริเวณด้านทิศใต้พบท่อนไม้ที่มีลักษณะคล้ายส่วนหัวเรือ ด้านทิศตะวันตกของเรือพบท่อนไม้กลมยาว สันนิษฐานว่าเป็นเสากระโดงเรือ ความยาว ๑๗.๓๗ เซนติเมตร กราบเรือทั้งสองด้านล้มพับไปทางทิศตะวันออก กงเรือและไม้เปลือกเรือด้านทิศตะวันออกหัก ครึ่งอาจเนื่องจากถูกดินกดทับ กราบเรือหรือเปลือกเรือพบว่ามีการเสริมกราบสองชั้นด้วยการเจาะรูแล้วใช้เชือกผูกโยงยึดแผ่นไม้เข้าด้วยกัน เรียกว่า “การหมันเรือ” ซึ่งเป็นเทคนิคการต่อเรือที่เหมือนกับเรืออาหรับโบราณ   ๒. ภาชนะดินเผา  ภายในเรือพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ มีทั้งเครื่องเคลือบที่ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศจีน  ภาชนะดินเผาเนื้อดินที่ผลิตจากแหล่งเตาภายในประเทศ  และภาชนะดินเผาบางรูปแบบที่ยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้   - ภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน (Earthenware) พบหม้อก้นกลม บริเวณไหล่ทำเป็นสัน ส่วนลำตัวถึงก้นภาชนะทำลวดลายเชือกทาบและขูดขีด หลายใบมีรอยไหม้และคราบเขม่าที่ก้นจากการใช้งาน ภาชนะดินเผาประเภทนี้เป็นภาชนะที่ผลิตในท้องถิ่นมักพบในแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖   -  ภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง(Stoneware) พบหลายรูปแบบ ดังนี้   ๑) พบชิ้นส่วนภาชนะแบบมีเดือยแหลมที่ก้น ลักษณะเป็นภาชนะเนื้อหนา รูปทรงยาวรี ลำตัวป่อง ส่วนก้นกลมมีเดือยแหลม ปากแคบแบบไห บางใบพบว่ามีการเจาะรู จำนวน ๑-๒ รู บริเวณใต้ขอบปากลงมา ไม่พบใบที่สมบูรณ์ ขนาดของภาชนะ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๕-๕๐ เซนติเมตร ความสูง จากปลายเดือยถึงขอบปากโดยประมาณ ๗๐-๘๐ เซนติเมตร เนื้อภาชนะหนา ๑-๑.๕ เซนติเมตร เนื้อดินละเอียด ผิวเรียบ จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบพบว่ามีลักษณะคล้ายกับภาชนะแบบ Amphoraซึ่งมักพบในแหล่งเรือจมในต่างประเทศ เป็นภาชนะที่ออกแบบเพื่อใช้ในการขนส่งทางทะเล   ๒) พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเคลือบสีดำ เนื้อภาชนะละเอียดสีขาว สภาพไม่สมบูรณ์ รูปทรงภาชนะคล้ายไห มีหูจับขนาดใหญ่ จำนวน ๒ หู ขอบปากตั้งสูง บริเวณไหล่ภาชนะมีการตกแต่งด้วยการทำเป็นสันและกดเป็นจุดๆ ส่วนก้นเป็นแบบมีเชิง พบจำนวน ๑ ใบ เบื้องต้นยังไม่ทราบแหล่งที่มา                        นอกจากนี้ยังพบภาชนะดินเผาที่เนื้อภาชนะคล้ายกับประเภทเนื้อแกร่ง เนื้อภาชนะบาง  พบทั้งเนื้อสีเทาและสีน้ำตาล พบจำนวนมาก ในเบื้องต้นยังไม่ทราบแหล่งที่มา     - ภาชนะดินเผาประเภทเครื่องถ้วยจีนพบ  ๒ ประเภท ดังนี้                      ๑) ประเภทเคลือบสีเขียว  พบเป็นไหขนาดใหญ่ เคลือบสีเขียวใส มีหูในแนวนอนจำนวน ๔-๖ หู บริเวณขอบปากและก้นไม่เคลือบ พบหลายใบ สภาพเกือบสมบูรณ์ ภาชนะรูปแบบนี้พบว่าเป็นภาชนะที่ผลิตจากกลุ่มเตากวนจง อำเภอซินหุ้ย เมืองเจียงเหมิน มณฑลกว่างตง มีอายุอยู่ในปลายสมัยราชวงศ์ถัง ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔(early to mid 9th century)                        ๒) ประเภทไม่เคลือบ พบภาชนะดินเผาประเภทไห ผิวภาชนะทั้งด้านนอกและด้านในมีสีน้ำตาลเข้ม คล้ายเคลือบ มีหูจำนวน ๖ หู สลับกันทั้งแนวตั้งและแนวนอน ที่สำคัญพบเชือกสีดำร้อยอยู่ที่หูภาชนะ พบจำนวน ๑ ใบ โดยภาชนะรูปแบบนี้ผลิตจากกลุ่มเตาเฟิงไค เมืองเจ้าฉิ้ง มณฑลกว่างตง มีอายุอยู่ในปลายสมัยราชวงศ์ถัง ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔   ๓. โบราณวัตถุที่ทำจากหิน                      - แท่นหินกลมขนาดใหญ่ เนื้อหนามาก รูปทรงภายนอกคล้ายหมวก โดยตรงกลางนูนสูงขึ้นมา ผิวเรียบ ไม่ทราบหน้าที่การใช้งาน สันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบดเมล็ดพืชหรือแป้ง สำหรับการบริโภคในเรือ                      - แผ่นหินรูปทรงกลม สภาพไม่สมบูรณ์ พบหักเหลือเพียงครึ่งเดียว เนื้อหินหยาบ สีดำ พบอยู่ในบริเวณใกล้กับปลายของเสากระโดงต้นที่สอง                      - หินบด จำนวน ๒ ชิ้น รูปทรงเป็นแท่งทรงกระบอกยาว เนื้อหินสีเทาเข้ม พบอยู่ภายในตัวเรือ และพบแท่นหินบดทรงสี่เหลี่ยม แบน อีก ๑ ชิ้น   ๔. อินทรียวัตถุภายในภาชนะหลายใบ พบอินทรียวัตถุหลายประเภท เช่น ลูกมะพร้าว ลูกตาล เมล็ดข้าว ลูกหมาก เมล็ดกัญชง  ชัน กะลามะพร้าวเจาะรู ก้างปลา และกระดูกสัตว์ เป็นต้น   ข้อสันนิษฐานเบื้องต้น                      จากการพบกระดูกงูขนาดใหญ่และเสากระโดง แสดงให้เห็นว่าเรือโบราณที่พบในครั้งนี้เป็นเรือขนาดใหญ่ และจากลักษณะเรือที่มีการเสริมกราบสองชั้นด้วยการใช้เชือกผูกโยงยึด เป็นเทคนิคการต่อเรือที่เหมือนกับเรืออาหรับโบราณ และโบราณวัตถุที่พบในเรือ มีทั้งภาชนะที่เป็นบรรจุภัณฑ์และภาชนะที่ใช้สอยในเรือ บางประเภทเป็นภาชนะที่ไม่เคยพบในแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย ทั้งยังพบตัวอักษรโบราณบนภาชนะด้วย แสดงให้เห็นว่าเรือลำนี้มีความสำคัญในการศึกษาเรื่องประวัติการเดินเรือในภูมิภาคนี้จากการศึกษารูปแบบเรือและโบราณวัตถุที่พบ สันนิษฐานว่าเรือโบราณลำนี้ น่าจะมีอายุอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕



วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2559 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จัดอบรมการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ปี 2559 วันที่ 20-21 มิถุนายน 2559 ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ตึกธนาลงกรณ์ ชั้น 8 ในการนี้นายต่อพงศ์ เหลืองชัยวัฒนา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ รับหน้าที่เป็นวิทยากร


โครงการองค์ความรู้เรื่อง ใบเสมาอิสาน เล่มแรก (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)


Messenger