ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,767 รายการ
สตฺตปริตฺต (พฺรสตฺตปริตฺต) ชบ.บ 123/1ก
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 161/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ขาลนักษัตร
การขึ้นปีใหม่ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมนับวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามระบบการนับวันเวลาแบบจันทรคติ (ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวันที่นับโดยใช้ระบบสุริยคติจะพบว่าแต่ละปี วันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้ายจะไม่ตรงกันทุกปี) ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเปลี่ยนให้วันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นวันที่ ๑ เมษายน เนื่องจากระบบการนับจันทรคติไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ในขณะนั้นมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ดังความตอนหนึ่งในลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีข้อความว่า
“...พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์ว่าประดิทินที่ใช้กันในโลก ประเทศทั้งปวงรับใช้ประดิทินสุริยคติอย่างฝรั่งมากขึ้นทุกที่ ประดิทินทางจันทรคติมีที่ใช้น้อยลง ต่อไปวันน่าโลกคงจะใช้ประดิทินสุริยคติด้วยกันหมด ควรจะเปลี่ยนประดิทินไทยไปใช้สุริยคติเสียทีเดียว...” (สะกดตามข้อความต้นฉบับ)
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ ๑ มกราคม โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา* และยังคงนับเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
คติการนับปีตามนักษัตรของไทยนั้นสันนิษฐานว่ารับอิทธิพลจากจีนที่ไทยรับผ่านวัฒนธรรมเขมร โดยปรากฏหลักฐานอย่างน้อยสมัยสุโขทัย ข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ กล่าวว่า “...๑๒๑๔** ศกปีมะโรงพ่อขุนรามคำแหง...” รวมถึงบ้านเมืองที่ร่วมสมัยกันโดยเฉพาะดินแดนล้านนา พบการกล่าวถึงชื่อนักษัตรด้วยเช่นกัน อาทิ จารึกวัดพระยืน (ลพ. ๓๘) อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย จุลศักราช ๗๓๒*** ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๐ กล่าวว่า “...เมื่อท่านเป็นเจ้ามานั้นในปีระกา เดือนเจียง...” และจารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (พะเยา) (ลพ.๙) อักษรฝักขาม ภาษาไทย พ.ศ. ๑๙๕๔ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ ปรากฏคำว่า “ปีมะแม”
อีกทั้งในวัฒนธรรมล้านนามีคำในภาษาตระกูลไทเกี่ยวกับ ๑๒ นักษัตร เช่น ไจ้ (ชวด) เป้า (ฉลู) ยี่ (ขาล)... ฯลฯ และพบชื่อนักษัตรเหล่านี้ได้ตามจารึกในล้านนาหลายหลัก บางครั้งพบการนับปีนักษัตรทั้งแบบอิทธิพลเขมรและวันแบบไท เช่น จารึกหลักที่ ๓๘ จารึกกฎหมายลักษณะโจร อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ กล่าวว่า “...ศกฉลูนักษัตรไพสาขปุรณมีพฤหัสบดี หนไทย มื้อลวงเม้า...”
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนปีนักษัตรในทางโหราศาสตร์นั้นจะเปลี่ยนในดิถีขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ (เดือนเมษายน) เป็นวาระเปลี่ยนปีนักษัตรตามปฏิทินโหราศาสตร์ที่นับวันแบบจันทรคติ ซึ่งเป็นวิธีคิดของศาสนาพราหมณ์จากอินเดียระบุให้วันขึ้นปีใหม่เป็นเดือน ๕ จึงทำให้โหรเริ่มนับปีนักษัตรใหม่ที่เดือน ๕ ด้วยเช่นกัน ขณะที่การบันทึกปีนักษัตรลงในใบสูติบัตร และเอกสารทะเบียนราษฎร์นั้น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะบันทึกตามปฏิทินหลวงที่นับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ และวันสุดท้ายของปีนักษัตรคือวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
สำหรับ พ.ศ. ๒๕๖๕**** นี้ ตรงกับปีนักษัตร ขาล หรือ เสือ (ยี่-ในภาษาถิ่นล้านนา) เป็นสัตว์สัญลักษณ์ลำดับที่สามในบรรดาสัตว์ทั้ง ๑๒ ของรอบปีนักษัตร เสือเป็นสัตว์ที่คุ้นเคยของคนไทยมาเป็นเวลานาน ในเอกสารพงศาวดารสมัยกรุงธนบุรี ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่า วันศุกร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ (กุมภาพันธ์) มีเสือเข้ามากินคนที่วัดบางยี่เรือ (ปัจจุบันคือวัดอินทารามวรวิหาร ธนบุรี) ขณะเดียวกันนามว่าเสือยังเป็นภาพแทนของความเด็ดขาด ดังเช่น พระราชสมญานาม พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ เช่น “พระเจ้าเสือ” (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง สมัยกรุงศรีอยุธยา “วังหน้าพระยาเสือ” (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) สมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นต้น
นอกจากนี้ในกลุ่มชาวไทอาหม ก็เคยมีพระนามของกษัตริย์หลายพระองค์ที่ใช้คำว่าเสือ เช่น เสือล้ำฟ้า เสือไต้ฟ้า ฯลฯ และทหารที่มีความสามารถในการรบสูงก็มักจะเรียกกันว่า “ทหารเสือ” สอดคล้องกับวรรณคดีเช่น ขุนแผน จากเรื่องขุนช้างขุนแผน และหนุมาน จากเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งสองตัวละครนี้มีประวัติว่าเกิดปีขาล
ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับเสือในสังคมไทย มีตัวอย่างเช่น พระเสาร์ (หรือศนิ) ซึ่งเป็นเทวดานพเคราะห์ประจำวันเสาร์ มีตำนานว่าพระอิศวรทรงสร้างขึ้นจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดเป็นผงห่อด้วยผ้าดำและพรมน้ำอมฤต จึงบังเกิดเป็นพระเสาร์ มีพระวรกายสีดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ มีวิมานอยู่ทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) สัญลักษณ์แทนพระองค์คือเลข ๗ ในคติความเชื่อชาวจีน เสือ (หู่) ถือเป็นสัตว์ที่ปกป้องสิ่งชั่วร้ายและขจัดภูตผีปีศาจได้
ดังนั้น “เสือ “จึงเป็นภาพแทนของความดุร้ายและความแกร่งกล้า จิตรกรรมไทยมักปรากฏภาพเสืออยู่สองท่าทางคือ ภาพเสือขณะกำลังหมอบ กับเสือกำลังขย้ำเหยื่อ
*ดังนั้น พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีระยะเวลา ๙ เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม
**ระบบการนับปีแบบมหาศักราช ซึ่งมหาศักราช ๑๒๑๔ ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๓๕
***ระบบการนับปีแบบจุลศักราช ซึ่งจุลศักราช ๗๓๒ ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๑๓
****ตรงกับ ปีจัตวาศก จุลศักราช ๑๓๘๔ และ รัตนโกสินทร์ศก ๒๔๑
อ้างอิง
กรมศิลปากร. จารึกล้านนาภาค ๒ เล่ม ๑ จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
กรมศิลปากร. เทวดานพเคราะห์. กรุงเทพฯ: เฮงศักดิ์มั่นคง, ๒๕๖๐.
กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓. กรุงเทพ ฯ: กองวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.
กรมศิลปากร. ปฏิทินหลวงพระราชทานกับการกำหนดปีนักษัตรของไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.finearts.go.th/literatureandhistory/view/22641-ปฏิทินหลวงพระราชทานกับการกำหนดปีนักษัตรของไทย
พรพรรณ จันทโรนานทท์. ฮก ลก ซิ่ว. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๗.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จารึกกฎหมายลักษณะโจร. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๖๕, จาก: https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/25196
ส. พลายน้อย (นามแฝง). สิบสองนักษัตร. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๗.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สบ.๒.๑๙/๔. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เรื่อง วินิจฉัย จุลศักราช รัตนโกสินทร์ศก (๑๙ พ.ย. ๒๔๖๖).
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 16/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "เสริมสร้างบุคลิกภาพและทักษะการสื่อสารเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริการที่ดี" โดยมีนางพูนทิพย์ สร้อยสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มคลังและพัสดุ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ในการจัดการฝึกอบรม โดยมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม ชั้น ๑๐ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ
ชื่อผู้แต่ง ลิขิต ฮุนตระกูล
ชื่อเรื่อง ประวัติการสัมพันธ์ระหว่างชาติไทยกับชาติจีน
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่เจ็ด
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ร.พ.ไทยสว่าง
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๒
จำนวนหน้า ๑๓๗ หน้า
หนังสือประวัติการสัมพันธ์ระหว่างชาติไทยกับชาติจีน แต่ยุคโบราณจนถึงสมัยชาติไทยได้มาตั้งประเทศสยามมีราชธานีอยู่เมืองสุโขทัย ชาติไทยและชาติจีนนอกจากเป็นเพื่อนบ้านเรือนเคียงกันแล้วยังมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาแต่ดึกดำบรรพ
เลขทะเบียน : นพ.บ.433/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 5 x 60 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156 (131-140) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สังข์ศิลป์ชัย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.580/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4.5 x 41 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 187 (357-364) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อาราธนาสมมาหลวง--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงความก้าวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน ในพื้นที่โรงเรียนสมานมิตรวิทยา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งกรมศิลปากรดำเนินการเพื่อสนับสนุนโครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๗ ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์และห้องนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ และอยู่ในขั้นตอนงานจัดสร้างส่วนอำนวยความสะดวกและภูมิทัศน์รอบอาคารพิพิธภัณฑ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๖๗ ก่อนส่งมอบอาคารพิพิธภัณฑ์ให้แก่โรงเรียนสมานมิตรวิทยา เพื่อนำคัมภีร์อัลกุรอาน เอกสารในศาสนาอิสลาม เอกสารบันทึกภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สะสมไว้จากห้องพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเข้าจัดแสดง และดูแลบริหารงานต่อไป
อธิบดีกรมศิลปากร ยังได้กล่าวถึงการดำเนินงานสนับสนุนความยั่งยืนด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุในระหว่างการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติดำเนินงานโครงการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอานและศิลปวัตถุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไป ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๗ ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยงานบันทึกทะเบียน งานอนุรักษ์ซ่อมแซมคัมภีร์อัลกุรอาน เอกสารทางศาสนา ศิลปวัตถุในห้องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนสมานมิตรวิทยา และงานอบรมความรู้ด้านการอนุรักษ์ ดูแลรักษาเอกสารทางศาสนาแก่บุคลากรโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานหลังรับมอบอาคารจากกรมศิลปากร และเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคมที่ผ่านมา นายพนมบุตรได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดกิจกรรมโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอานและศิลปวัตถุเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุม อาคารพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน โดยนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้รายงานรูปแบบกิจกรรมอันเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และบุคลากรโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ในการถ่ายทอดความรู้ด้านการอนุรักษ์ซ่อมแซมเอกสารทางศาสนาแก่นักวิชาการ ผู้นำและบุคลากรทางศาสนาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ รวม ๔๖ คน ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ กิจกรรมตลอดสามวัน มีทั้งการบรรยายกระบวนการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ การบันทึกทะเบียนวัตถุ การอนุรักษ์ซ่อมแซมเอกสารโบราณ ร่วมกันปฏิบัติการซ่อมสงวนเอกสารทางศาสนา และประเมินผลความรู้ โดยวิทยาการเฉพาะสาขาจากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา และบุคลากรครูโรงเรียนสมานมิตรวิทยา
นายมาหะมะลุตฟี หะยีสาแม ผู้จัดการโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ได้กล่าวขอบคุณกรมศิลปากรที่ให้การสนับสนุนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ พร้อมส่งบุคลากรมาเป็นพี่เลี้ยงในการอนุรักษ์และถ่ายทอดความรู้ในการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอานแก่บุคลากรของโรงเรียนมาโดยตลอด และยังร่วมกันจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อส่งต่อความรู้ไปสู่บุคลากรทางศาสนาอิสลามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ในพิธีเปิดงานครั้งนี้ทางโรงเรียนได้นำการแสดงศิลปะการต่อสู้ “สีละ”ของนักเรียนมาแสดงต้อนรับอธิบดีกรมศิลปากรตามธรรมเนียมของชาวมุสลิม เช่นเดียวกับการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานโดยนางสาวไซนับ อับดุลรอแม เพื่อนำเข้าสู่พิธีการสำคัญ
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากกิจกรรมครั้งนี้ว่า นอกจากเจ้าของวัฒนธรรมจะได้นำความรู้ไปดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมในศาสนาแล้ว ยังเป็นโอกาสที่กรมศิลปากรได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะการจัดกิจกรรมบริการศึกษาของพิพิธภัณฑ์แก่บุคลากรโรงเรียนสมานมิตรวิทยา อันเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่จะดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานเมื่อแล้วเสร็จต่อไป
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการทดสอบแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์บนเส้นทางท่องเที่ยวศุทรา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (AI-MHT) ในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร (รับจำนวนจำกัด ไม่มีค่าใช้จ่าย) จัดโดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ผู้สนใจสามารถกดยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่นี้ https://fb.me/e/WsQc8Let
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ระเบิดหินสร้างทางรถไฟ -- ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุทำให้เราทราบว่า การสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทางรถไฟนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการก่อสร้างที่ต้องบุกเบิกขนอุปกรณ์ก่อสร้างเข้าไปในพื้นที่ที่ไม่มีเส้นทางคมนาคมประเภทอื่นที่เหมาะสมนอกจากทางน้ำ ดังตัวอย่างการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือที่บริเวณเมืองพิจิตร ที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุชุด กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ดังนี้. เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 122 (พ.ศ. 2446) พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (พระยศและตำแหน่งในขณะนั้น – สะกดตามต้นฉบับ) ทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า ทรงได้รับรายงานจากเจ้ากรมรถไฟว่า การก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือซึ่งต้องขนส่งเครื่องเหล็กก่อสร้างไปทางเรือนั้นไม่สะดวก เนื่องจากติดแก่งสะพานหิน 2 แห่ง บริเวณใต้เมืองพิจิตรลงมา เจ้ากรมรถไฟเสนอให้ระเบิดศิลาใต้น้ำเป็นช่องเล็กๆ พอให้เรือสามารถแล่นผ่านไปได้ ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งกรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ทรงเห็นว่าการระเบิดศิลานี้จะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะการก่อสร้างทางรถไฟเท่านั้น หากจะเป็นประโยชน์ต่อการสัญจรของประชาชนด้วย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น กรมรถไฟจะออกแต่ค่าแรง ส่วนค่าสิ่งของจะขอให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติโอนเงินเหลือจ่ายในกระทรวงโยธาธิการไปจ่าย เนื่องจากการบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองเป็นหน้าที่ของกระทรวงโยธาธิการที่ต้องทำอยู่แล้ว ซึ่งในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับว่า ทรงทราบเรื่องแล้ว และทรงเห็นว่าเป็นการดีควรจะระเบิด. หากพูดถึงการระเบิดหินในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อน อาจมีข้อสงสัยว่าจะระเบิดกันอย่างไร ใช้ระเบิดประเภทไหน แม้ว่าในเอกสารเรื่องนี้จะไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินการระเบิดหินหลังจากที่มีพระราชหัตถเลขาแล้ว แต่ในเอกสารเรื่องเดียวกันนี้ได้ปรากฏหลักฐานการขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดของกรมรถไฟเพื่อใช้ในการสร้างรถไฟสายเหนือเมื่อเดือนสิงหาคม ร.ศ. 122 (ก่อนมีลายพระหัตถ์เรื่องขอระเบิดศิลาราว 2 เดือน) เครื่องระเบิดนี้ประกอบด้วย แก๊บดีโตเนเตอร์ (Blasting cap / Detonator) 25 หีบ หีบละ 10,000 ดอก ดินนาไมต์ (Dynamite) 200 หีบ หีบละ 50 ปอนด์ และฝักแค 50 ถัง ถังละ 250 ขด ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า การขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดจำนวนมากเช่นนี้ นอกเหนือจากการระเบิดหินเพื่อประโยชน์ในการวางรางรถไฟแล้ว เครื่องระเบิดส่วนหนึ่งอาจจะนำมาใช้ระเบิดหินในแม่น้ำด้วยผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง:สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ร.5 ยธ. 5.9/17 เรื่อง ระเบิดแก่งสพานหินใต้เมืองพิจิตรเพื่อการรถไฟสายเหนือ [ 5 ส.ค. – 31 ต.ค. 122 ]. #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ขอเชิญชวนน้องๆหนูๆ มาทำกิจกรรมประดิษฐ์กระทง จากวัสดุจากธรรมชาติ ณ ห้องเด็กและเยาวชน หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ในวันเสาร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลาตั้งแต่ 13.00-15.00 น. (หรือจนกว่าของจะหมด) สามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่กล่องข้อความ Inbox : m.me/500070696815966 ทางเฟสบุ๊ก : หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ หรือทางหมายเลขโทรศัพท์ 0 3553 5343 ต่อ 17 (ในวันและเวลาราชการ)