ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,765 รายการ

โครงการองค์ความรู้เรื่อง ใบเสมาอิสาน เล่มแรก (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)


โถงทางเดิน           ทางเข้าอาคารด้านหน้าเป็นสะพานนาคราชเชื่อมต่อระหว่างทางเข้ากับห้องจัดแสดงนิทรรศการ โถงทางเข้าขวามือมีฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดแสดงโครงกระดูกช้าง ด้านซ้ายมือเป็นระเบียงทางเดิน จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ เช่น ศิลาจารึก บัวยอดปราสาท นาคปัก ชิ้นส่วนทับหลัง กลีบขนุนจำหลักรูปเทพเจ้า บันแถลงจำหลักรูปเทพเจ้า ฯลฯ นอกจากนี้บริเวณลานหญ้าได้ปลูกต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ ต้นลีลาวดีหลากสี และไม้ดัดรูปโคลงช้าง




วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบบายน อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ 800 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบจากการขุดแต่งกู่โพนระฆัง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ.2545 พบบริเวณโคปุระทางเข้ากู่โพนระฆัง พระหัตถ์ขวาล่างทรงดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายบนทรงคัมภีร์ ส่วนพระหัตถ์ขวาบนและพระหัตถ์ซ้ายล่างหักหายไป แต่สันนิษฐานว่าทรงหม้อน้ำ และลูกประคำ พระโพธิสัตว์อโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เกิดจากพระธยานิพุทธเจ้าอมิตาภะ ดังนั้นจึงมีพระอมิตาภะประดับอยู่หน้ามวยพระเกศา พระองค์ได้รับการเคารพนับถืออย่างมากในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เพราะเหตุว่าทรงเป็นผู้คุ้มครองและช่วยเหลือสรรพสัตว์ พระนาม “อวโลกิเตศวร” แปลว่า“พระผู้มองลงต่ำ” หรือ “พระผู้มีแสงสว่าง”


ร่วมกิจกรรมรวมพลังแห่งความภักดี ณ ลานพระบรมราชานุสารวรีย์ รัชกาลที่ ๕ จังหวัด  พร้อมใจร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี


โครงการฝึกอบรมด้านศิลปกรรมสำหรับบุคคลทั่วไป เรื่อง “งานประดับกระจก” (ขั้นพื้นฐาน)   รับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. – 20 ก.พ. 56   รับสมัครผู้เข้าฝึกอบรมจำนวน 20 คน   ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม   อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี   ดาวน์โหลดใบสมัครได้ตามไฟล์แนบ และส่งใบสมัครมาที่ Fax : 02-482-1399   หรือมาสมัครด้วยตนเองได้ที่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่   ถ.พุทธมณฑลสาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม   โทรสอบถาม 02-482-1399 (ในเวลาราชการ)   ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรม ในวันที่ 1 มี.ค. 56   ทางเว็บไซต์ของกรมศิลปากร/สำนักช่างสิบหมู่/ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรม   และทาง Facebook/ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย


วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ข้าราชการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๑ ณ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา อ.พิมาย จ.นครราชสีมา





สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)  ได้พัฒนากรอบแนวทางการยกระดับสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาองค์การไปสู่“ระบบราชการ 4.0” ที่มีการทำงานอย่างเปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน (Open & Connected Government) มีการทำงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) เป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) โดยอาศัยปัจจัยหลักสำคัญคือ การสานพลังทุกภาคส่วน (Collaboration) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) และการปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล (Digitization/ Digitalization) ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติงานตามหลังธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ที่มุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้สามารถเป็นที่ไว้วางใจและเป็นที่พึ่งพิงได้ของประชาชน 



พระพิมพ์ดินเผาแสดงพระพุทธประวัติตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ศิลปะสุโขทัย  พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐          พระพิมพ์ดินเผานี้ได้จากวัดป่ามะม่วง นอกเมืองโบราณสุโขทัยทางทิศตะวันตก สิบตำรวจตรีเลื่อน ปรากฏวงศ์ มอบให้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ปัจจุบันจัดแสดงที่ห้องพระพิมพ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง           ลักษณะสัณฐานรูปไข่ แสดงพระพุทธประวัติตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์กลางภาพ เป็นรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะตามเสด็จฯ เบื้องหลัง แวดล้อมด้วยเทวดา ๔ องค์ รองรับเท้าม้าทั้ง ๔ เท้า และเทวดาประนมหัตถ์บูชา คำว่า มหาภิเนษกรมณ์ หมายถึง การออกบวชครั้งยิ่งใหญ่ คือการเสด็จออกของพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติอย่างเหลือล้น พระองค์ก็ยังคงตริตรองถึงชีวิตคน ฝักใฝ่พระทัยคิดค้นหาวิธีทางดับทุกข์ที่มนุษย์เรามีมากมาย พระองค์คิดว่า ถ้ายังอยู่ในเพศฆราวาส พระองค์คงหาทางดับทุกข์ อันเกิดจากเกิด แก่ เจ็บ และความตายไม่ได้ จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกบรรพชา ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่าได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu) โดยทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะตามเสด็จฯ เมื่อถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ได้ทรงเปลื้องเครื่องทรงขัตติย-ราชทั้งหมดพระราชทานให้นายฉันนะ และทรงตัดพระเมาฬี (พระเมาลี,โมลี, หรือมวยผม) การแสดงภาพเทวดาในเหตุการณ์ตอนนี้ แสดงให้เห็นว่าเหล่าเทวดาล้วนยินดีและสนับสนุนในการตัดสินพระทัยออกบรรพชาของพระองค์           กรุงกบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ มีพระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปกครอง ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า “ที่อยู่ของกบิลดาบส”เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้ มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิลดาบส ที่มา : ฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง


วัดสันเปาโล (ร้าง) ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ ๑.อาคารแปดเหลี่ยม (หอดูดาว) ๒.ฐานอาคาร ประวัติและความสำคัญ :           วัดสันเปาโล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านประตูผี ห่างจากคูเมืองประมาณ ๘๖ เมตร สร้างบนเนินดินสูงประมาณ ๑ เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วม เดิมชาวบ้าน เรียกว่าตึกสันเปาโล เป็นวัดในคริสต์ศาสนาที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานที่ดินให้บาทหลวงชาวฝรั่งเศส เพื่อใช้เป็นที่ทำพิธีทางศาสนา พร้อมกับเป็นที่พักอาศัยไปด้วย และใช้เป็นหอดูดาว เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘           ปัจจุบันเหลือผนังของหอดูดาวเพียง ๒ ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนด้านทิศเหนือ และทิศตะวันตกพังทลายไปหมดเหลือเพียงแนวฐานก่ออิฐลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : อาคารแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐฉาบปูน ๓ ชั้น ฐานชั้นแรกเป็นรูปบัวคว่ำ แต่ละชั้นตกแต่งด้วยเส้นลวดหน้ากระดานและเส้นลวดบัวหงาย ประตูซุ้มรูปวงโค้งแบบยุโรปเป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป นอกจากนี้ยังมีเรือนพักและฐานอาคาร ซึ่งยังสร้างไม่สำเร็จ สมัยอยุธยาตอนปลาย พื้นที่โบราณ : ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๑๗ ตารางวา การขึ้นทะเบียน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ – พิเศษ ๓๗ง วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑ (ที่มา : ทะเบียนโบราณสถาน ในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี)



Messenger