ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ
ชื่อเรื่อง : ผ่าโจทย์ 1000 ข้อสอบ TOEIC = TOEIC : LC + RC 1000 Questions
ผู้เขียน : อี กี แท และ ซน แท อิก
สำนักพิมพ์ : ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์
ปีพิมพ์ : 2560
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-236-992-6
เลขเรียกหนังสือ : 428 อ772ผ
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : หนังหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : TOEIC (Test of English for Internation Communication) เป็นการสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษในที่ทำงาน ใช้สำหรับการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยของบางประเทศ หรือการสมัครเข้าทำงานของบางสถาบันหรือองค์กร โดยสร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาจำเป็นในการทำงานร่วมกับ ชาวต่างชาติรวมถึงความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อสอบถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1979 โดย ETS (Educational Testing Service) ที่สหรัฐอเมริกา และมีการนำไปใช้กับ 150 ประเทศทั่วโลก และกว่า 14,000 สถาบันและองค์กรที่ใช้ข้อสอบโทอิคในการเลื่อนตำแหน่งหรือคัดเลือกพนักงานส่งไปทำงานที่ต่างประเทศ " ผ่าโจทย์ 1000 ข้อสอบ TOEIC" เป็นการรวบรวมข้อสอบเสมือนจริงที่จะเน้นด้านการใช้ภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติในบริบทการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจได้อย่างไม่ติดขัดให้ผู้อ่านได้ลองเตรียมตัวทดสอบก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้คะแนนเต็ม โดยมีการแบ่งข้อสอบออกเป็น 5 ชุด รวมแล้วมีข้อสอบถึง 1,000 ข้อ เนื้อหาจะเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารทั่วไปในที่ทำงาน เน้นทั้งคำศัพท์ การแสดงความรู้สึก บทสนทนา และประโยคต่างๆ ซึ่งมักมาจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจระดับชำนาญ (การเซ็นสัญญา การเจรจา การตลาด การขาย การวางแผน ธุรกิจ การประชุม) การผลิต (โรงงาน สายการผลิต การควบคุมคุณภาพ) การเงินและงบประมาณ (ธนาคาร การลงทุน ภาษี การบัญชี การเรียกค่าเสียหาย) การพัฒนา (การวิจัย การพัฒนาสินค้า) สำนักงาน (การประชุมของผู้บริหาร การประชุมคณะกรรมการ การเขียนจดหมาย การบันทึกข้อความ การโทรศัพท์ การส่งแฟกซ์ อีเมล อุปกรณ์เครื่องมือในสำนักงาน) ผู้คน (การสรรหาพนักงาน การจ้างงาน การลาออก เงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การแนะนำตนเองและการสมัครงาน) ที่อยู่อาศัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (สถาปัตยกรรม การวางแผนก่อสร้าง การซื้อและให้เช่า บริการไฟฟ้าและแก๊ส) การท่องเที่ยว (รถไฟ เครื่องบิน แท็กซี่ รสบัส เรือ เรือสำราญ ตั๋ว ตารางการท่องเที่ยว ประกาศในสนามบิน การเช่ารถ โรงแรม การจอง การเลื่อนและยกเลิก) เป็นต้น ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะเน้นให้ผู้เรียนค่อยๆ ทดลองทำข้อสอบ วิเคราะห์รายละเอียดของ คำตอบ แก้โจทย์ไปตามลำดับ ช่วยให้ผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับรูปแบบข้อสอบที่ไม่ซ้ำไปมาและปรับตัวให้เข้ากับข้อสอบได้ เพิ่มความสามารถภาษาอังกฤษให้เตรียมพร้อมกับ การสอบจริง ทั้งสำรวจตัวเองว่าบกพร่องในจุดไหน และเสริมจุดนั้นให้แข็งแกร่งมากขึ้น
องค์ความรู้ เรื่อง สิมวัดไชยศรี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จัดทำข้อมูลโดย สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 17
ฉบับที่ 684
วันที่ 12 สิงหาคม 2535
จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสพระราชทานเพลิงศพนายจิตติ ดิงศภัทิย์ นักกฎหมายผู้มีความรู้ความสามารถและได้รับความเชื่อถือยกย่องในวงการกฎหมายไทย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ กฎหมายและประกาศซึ่งมีขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ. 197/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56.7 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง เทสนาสุวรรณสิรสาสูตร (สุวรรณสิรสาสูตร)สพ.บ. 113/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา -- บทสวดมนต์
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
บริเวณทางเข้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เป็นวัดในศาสนาฮินดู ตั้งอยู่เลขที่ ๒ มุมถนนสีลมกับถนนปั้น แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๒ โดยชาวอินเดียจากรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadur) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย เดิมบริเวณที่ตั้งของวัดพระศรีมหาอุมาเทวีเป็นสวนผักของนางปั้น อุปการโกษากร ต่อมานายไวตรีประเดียอะจิ นายนารายเจติ และนายโกบาระตี ชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านถนนสีลม ได้นำที่ดินของพวกตนไปแลกกับที่ดินสวนผักนี้ แล้วสร้างวัดขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและการประกอบกิจกรรมของชาวฮินดูจากอินเดียตอนใต้ และได้มีการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ “วัดพระศรีมหามรีอัมมัน” เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เมื่อแรกสร้าง เป็นเพียงศาลาขนาดเล็กมีชื่อว่า ศาลาศรีมรีอัมมัน ต่อมาจึงมีการสร้างโบสถ์และนำ เทวรูปพระแม่ศรีมหาอุมาเทวีจากประเทศอินเดียมาประดิษฐาน สถาปัตยกรรมของวัดเป็นแบบอินเดียใต้อันสืบเนื่องจากสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์โจฬะและราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบเห็นได้ทั่วไปในเทวาลัยที่ทมิฬนาฑู จุดเด่นทางสถาปัตยกรรมของวัด ได้แก่ โคปุระหรือซุ้มประตูที่ตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปเทพเจ้าต่าง ๆ ประดับรูปปั้นเทพเจ้าองค์สำคัญ ๆ ของศาสนาฮินดูบนซุ้มและมุมเครื่องยอด ทาสีสันสวยงาม เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูเข้ามาแล้ว จะพบกับโบสถ์ประธาน ภายในโบสถ์ประธานประดิษฐานเทวรูปสำคัญ ๓ องค์ที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ได้แก่ พระศรีมหาอุมาเทวี พระขันธกุมาร และพระพิฆเนศวร รายละเอียดปูนปั้นรูปเทพเจ้าบนโคปุระหรือซุ้มประตูวัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ข้อสังเกตว่า จากป้ายชื่อของวัดที่เขียนในภาษาทมิฬที่อ่านว่า “ติรุมาริอัมมันโกยิล” นั้นหมายถึง “ปราสาทพระแม่ศรีมาริ” คำว่า “มาริ” ในภาษาทมิฬ แปลว่า “ฝน” พระองค์คือเจ้าแม่แห่งฝน ซึ่งนับถือกันมากในสังคมเกษตรของทมิฬโบราณ แต่ในขณะเดียวกันตำนานพื้นเมืองกล่าวถึงพระองค์ในฐานะเจ้าแม่แห่งโรคฝีดาษด้วย ดังนั้นหากกล่าวโดยแท้จริงแล้ว พระแม่มาริเป็นพระแม่เจ้าของชาวทมิฬโดยแท้ คือ เป็นเจ้าแม่พื้นเมืองเดิมของชาวอินเดียใต้ ก่อนที่ศาสนาฮินดูจะแผ่ขยายลงมาแล้วผนวกเจ้าแม่เข้ามาเป็นเทวีฮินดูในภายหลัง แต่สาเหตุที่ต้องเรียกวัดด้วยนามว่า “ศรีมหาอุมาเทวี” นั้น ก็เพื่อให้คนไทยเข้าใจได้โดยง่าย โดยถือคติว่า เจ้าแม่ทุกองค์ย่อมเป็นภาคส่วนของพระเทวีใหญ่ เช่น ทุรคา อุมา หรือปารวตี หากแต่พระนาม “อุมาเทวี” เป็นที่นิยมมากในประเทศไทย เดิมวัดพระศรีมหาอุมาเทวีนี้เป็นสถานที่จำเพาะของผู้นับถือศาสนาฮินดูเท่านั้น แต่ในปัจจุบันเปิดต้อนรับผู้สัญจรทุกคนโดยไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา แต่มีข้อกำจัดบางประการตามหลักศาสนาฮินดู เช่น ห้ามนำเนื้อสัตว์ทุกชนิดเข้าวัด และห้ามสตรีในระหว่างมีรอบเดือนเข้าภายในบริเวณโบสถ์ เป็นต้น วัดแห่งนี้ยังคงมีพราหมณ์ผู้รู้พระเวททำพิธีประจำ โดยในตอนบ่ายจะมีการปิดโบสถ์เพื่ออ่านบทสรรเสริญพระเป็นเจ้า นอกจากนี้ยังมีการจัดพิธีกรรมบูชาในศาสนาฮินดูตลอดทั้งปี โดยเทศกาลสำคัญประจำปีที่มีการจัดขบวนแห่ประเพณีอย่างยิ่งใหญ่และมีผู้ศรัทธาทั้งชาวอินเดียและชาวไทยจำนวนมากเข้าร่วมงาน คือ เทศกาลดูเซร่า หรือเทศกาลนวราตรี เทศกาลนี้จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงวันขึ้น ๑ – ๙ ค่ำเดือน ๑๑ (ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม) เพื่อบูชาพระศรีมหาอุมาเทวี เนื่องจากถือว่าช่วงเวลาดังกล่าวพระแม่อุมาและขบวนเทพจะเสด็จมาสู่พื้นพิภพเพื่อประทานพรแก่ชาวโลก ผู้ศรัทธาทั้งชาวอินเดียและชาวไทยจะร่วมพิธีสวดภาวนาที่วัด ถือศีลและรับประทานเฉพาะพืชผักตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ในค่ำคืนของวันที่ ๑๐ หรือวันวิชัยทัศมี จะมีการปิดถนนสีลม ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนสาทร และถนนสุรศักดิ์เพื่อเปิดทางสำหรับขบวนแห่ราชรถเทวรูปต่าง ๆ อย่างยิ่งใหญ่เพื่อให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้ขอพร นำขบวนด้วยพราหมณ์ประทับทรงพระแม่อุมา ทูนหม้อกลัศบรรจุทราย น้ำ เหรียญ และเครื่องบูชา ตามด้วยขบวนร่างทรงเจ้าแม่กาลี ร่างทรงขันทกุมาร ผู้ศรัทธาจำนวนมากจะมาตั้งโต๊ะบูชารอรับพระแม่ไปตลอดสองฝั่งถนน เครื่องบูชาประกอบด้วยมะพร้าว นม กล้วยน้ำว้า ดอกดาวเรือง และธูป อาจมีผลไม้อื่นและขนมด้วย ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นก็จะนำรูปหล่อของพระแม่พร้อมของที่ใช้ในพิธีไปจุ่มน้ำ ซึ่งเดิมจุ่มที่คลองสีลมแต่ปัจจุบันทำพิธีที่แม่น้ำเจ้าพระยา ---------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.กมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ---------------------------------------------------รายการอ้างอิง คณะอนุกรรมการประมวลเอกสารในคณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี. จดหมายเหตุการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.71/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : วินยฺกิจ (วิไนยกิจจะ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.106/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 68 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 61 (179-187) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มูลมหานิพาน (มุลลมหานิพพาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.132/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 78 (309-314) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต (สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.88/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 52.4 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 51 (94-102) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : วิสุทธิมคฺคปาพัตถพฺยาขฺยาน (วิสุทธิมัคปาฬัตถพยาขยาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม