ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ
อุโปสถกมฺมกถา (อุโปสถกรรมกถา)
ชบ.บ.97/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.312/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 127 (313-316) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เนมิราช)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
รายงานผลการตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดี บริเวณแปลงที่ดินนางแดง บีกขุนทด บ้านหนองกราด หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้แต่ง พระมหาสีลา วีรเสฏโฐ
ชื่อเรื่อง ประวัติวัฒนธรรมอินเดีย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๒
จำนวนหน้า ๔๘๖ หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของอินเดียตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินเก่า-ยุคหินใหม่จนมาถึงยุคทองเหลือง รวมทั้งชนเผ่าต่างๆ ในประเทศอินเดีย อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ยุคพุทธกาล-ยุคศาสนา ศาสนาต่างๆในประเทศอินเดีย รวมถึงชีวประวัติย่อของพระเจ้าอโศกมหาราช รวบรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้
ภาพสัญลักษณ์มงคลมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมจีนมาช้านาน เราสามารถพบเห็นภาพสัญลักษณ์มงคลเหล่านี้ได้ บนเสื้อผ้า อาวุธ ข้าวของเครื่องใช้ งานศิลปกรรม หรือแม้แต่เครื่องถ้วย สัญลักษณ์มงคลจีนมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ ดอกไม้ หรือตัวอักษรจีนที่มีความหมายเป็นมงคล เป็นต้น โดยสัตว์ชนิดหนึ่งที่มักพบในสัญลักษณ์มงคลจีน คือ ค้างคาว ค้างคาว หรือในภาษาจีนกลางเรียกว่า เปียนฝู (蝙蝠) เป็นหนึ่งในสัตว์มงคลที่มักจะพบอยู่บนข้าวของเครื่องใช้ เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีมีสุข เนื่องจากอักษร ฝู ในคำเรียกค้างคาวนั้นไปพ้องเสียงกับอักษร ฝู (福) ที่แปลว่า โชคดี รวมถึงพ้องเสียงกับชื่อเทพเจ้า ฝู หนึ่งในสามเทพเจ้าแห่งดวงดาวในลัทธิเต๋า ฝู ลู่ โซ่ว (福禄寿, ภาษาแต้จิ๋ว : ฮก ลก ซิ่ว) นอกจากนี้ ค้างคาวยังปรากฏอยู่ในตำนานอื่น ๆ ของจีนอีกด้วย เช่น ชาวจีนเชื่อว่าค้างคาวมีอายุยืนยาวมากเพราะดื่มกินแต่น้ำบริสุทธิ์จากในถ้ำเท่านั้น หรือเชื่อว่าหากได้กินค้างคาวสีขาวก็จะมีอายุยืนยาว การสร้างภาพมงคลรูปค้างคาวมีหลายแบบ แต่ละแบบให้ความหมายที่แตกต่างกันไป อาทิ ค้างคาวตัวเดียว หมายถึง ความโชคดี ค้างคาวสองตัว หมายถึง ความโชคดีทวีคูณ นอกจากนี้ ค้างคาวยังถูกใช้เป็นรูปแทนเทพเจ้าฝูในฝู ลู่ โซ่วด้วย ทว่ารูปแบบหนึ่งที่พบบ่อย คือ การทำรูปค้างคาวห้าตัวซึ่งเป็นตัวแทนของอู่ฝู (五福) หรือความสุขห้าประการ คำสอนสำคัญที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ซ่างซู (尚书) ของลัทธิขงจื๊อ กล่าวถึงความสุขอันแท้จริงของมนุษย์ที่พึงได้รับ ประกอบด้วยฉางโซ่ว (长寿) หมายถึง มีอายุอันยืนยาว ฟู่กุ้ย (富贵) หมายถึง มั่งคั่งร่ำรวย คังหนิง (康宁) หมายถึง สุขภาพดีปราศจากโรคภัย เห่าเต๋อ (好得) หมายถึง คุณธรรมอันประเสริฐ ซ่านจง (善终) หมายถึง การตายอย่างสงบสุข รูปค้างคาวแต่ละตัวจึงหมายถึงความสุขแต่ละประการข้างต้นนั่นเอง และในบางครั้งจะพบว่ามีการนำอู่ฝูมาประกอบร่วมกับสัญลักษณ์มงคลอื่น ๆ เช่น ลูกท้อ ผักกาด หรือประกอบตัวอักษรจีนประดิษฐ์ เช่น ซวงสี่ (囍, มงคลคู่, ภาษาแต้จิ๋ว : ซังฮี้) เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความเป็นสิริมงคลและได้รับโชคดี และยัง สะท้อนภาพคติความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวจีนที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. ๑๐๘ สัญลักษณ์จีน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. ๒๕๕๖.
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ทรงเริ่มต้นรวบรวมเมืองหรือแคว้นขนาดเล็กที่กระจัดกระจายและเป็นอิสระต่อกัน ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนพัฒนาเป็นรัฐขนาดใหญ่ขึ้น โดยในระยะแรกพญามังรายทรงรวมแคว้นโยนกก่อน แล้วพยายามขยายอำนาจสู่หัวเมืองขนาดเล็กอื่น ๆ เป็นบริเวณกว้าง จากนั้นเริ่มขยายอำนาจสู่แคว้นหริภุญไชยที่มีความเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ เมื่อพญามังรายยึดเมืองหริภุญไชยแล้วได้ผนวกเข้ากับแคว้นโยนก หลังจากนั้นได้เข้ายึดเมืองเขลางค์นคร พญามังรายจึงครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของภาคเหนือ และสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรล้านนา นอกจากนี้ ทรงได้ทำสัญญาระหว่างพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ใน พ.ศ. ๑๘๓๐ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าในการขยายอำนาจสู่แม่น้ำปิงนั้นจะไม่ถูกพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงขัดขวางหลังจากยึดเมืองหริภุญไชยได้แล้ว ทรงครองแคว้นอยู่ระยะหนึ่ง แล้วย้ายมาสร้างอีกเมืองหนึ่ง คือ เวียงกุมกาม โดยมีพระประสงค์ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักร แต่ที่ตั้งของเวียงกุมกามเป็นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก พญามังรายจึงพยายามหาชัยภูมิเพื่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ จนพบพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ตอนเหนือของเวียงกุมกาม บริเวณเชิงดอยสุเทพ เป็นบริเวณที่มีชัยภูมิดีเหมาะแก่การสร้างราชธานีถาวรและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา พระองค์ได้เชิญพระสหาย คือ พญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง มาร่วมพิจารณาการสร้างเมือง พญามังรายทรงสร้างเมืองแห่งใหม่นี้โดยให้ชื่อว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ซึ่งถือเป็นปีแห่งการสถาปนาเมืองเชียงใหม่อย่างเป็นทางการ โดยวันสร้างเมืองเชียงใหม่ได้กำหนดฤกษ์ยามดวงเมืองไว้ คำนวณตามปีสุริยคติ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ อ้างอิง :๑. กรมศิลปากร. ๒๕๖๐. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๓ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗).๒. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ๒๕๔๔. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.๓. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. ๒๕๔๓. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพ : โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.๔. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ม.ป.ป. ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่ (ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (สมัยราชวงศ์มังราย และสมัยพม่าปกครอง). ม.ป.ท.
ผ้าไหมมัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งนิยมทำมานานแล้ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบางท้องที่ในเขตภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ลพบุรี และชัยนาท วิธีการทำผ้ามัดหมี่คือการมัดด้ายให้เป็นลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกแล้วนำไปย้อมสี เพื่อให้สีและลายตามที่กำหนด แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้า ผ้าไหมมัดหมี่ในบ้านเราส่วนใหญ่นิยมทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง แต่มีบางจังหวัดที่มีการทำผ้ามัดหมี่โดยใช้เส้นยืน ซึ่งได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นผ้าชาวเขาซึ่งเป็นผ้าซิ่นมัดหมี่ ราชบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ บางแห่งมีการทอผ้ามัดหมี่สลับกันกับลายขิต เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่ผ้าไหมมากยิ่งขึ้น ส่วนผ้ามัดหมี่จากสุรินทร์ มีชื่อเสียงทั้งในด้านความสวยงามของเส้นไหมและลวดลายซึ่งได้รับอิทธิพลจากเขมร
มัดหมี่ (Ikat) เป็นชื่อเรียกกรรมวิธีการสร้างลวดลายบนผืนผ้าแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการมัดเส้นด้ายที่จะนำไปใช้ในการทอผืนผ้าโดยมัดเส้นด้ายให้เป็นเปลาะ ๆ ตามลวดลายที่กำหนดไว้ให้แน่นด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามแต่ละท้องถิ่นนิยมใช้ เช่น เชือกกล้วย เส้นด้ายฝ้าย ใบว่านสากเหล็กหรือต่อเหล่าอี้ หรือเส้นเชือกพลาสติกเพื่อปิดกั้นไม่ให้เส้นด้ายที่มัดไว้สัมผัสกับสีย้อม แล้วนำเส้นด้ายที่มัดแล้วไปย้อมสี แล้วแกะวัสดุที่มัดนั้นออก หากต้องการให้เกิดลวดลายที่มีหลายสี ต้องมัดและย้อมสีทับกันหลายครั้งเพื่อให้ได้ลวดลาย สีสันตามต้องการ ผ่านกระบวนการเตรียมเส้นเพื่อใช้ทอเป็นผืนผ้า เมื่อทอออกมาเป็นผืนผ้าสำเร็จแล้วจะเกิดเป็นลวดลายและสีสันที่ต้องการ มัดหมี่ เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกัน โดยทั่วไป ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานซึ่งมีการทอผ้ามัดหมี่มากที่สุด ในภาคเหนือนิยมเรียกว่า มัดก่าน ในต่างประเทศนิยมใช้คำว่า ikatซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย-มลายูโดยกรรมวิธีการมัดหมี่แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
มัดหมี่เส้นยืน (warp ikat) คือมัดหมี่ที่มัดเส้นด้ายเฉพาะที่ใช้เป็นเส้นยืน ส่วนเส้นพุ่งจะย้อมให้เป็นสีพื้นเพียงสีเดียว โดยไม่มีการมัดลวดลายใด ๆ เลย ลวดลายของมัดหมี่ชนิดนี้จะปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อนำเส้นยืนมาขึงโยงยึดเข้ากับกี่เรียบร้อยพร้อมที่จะทอแล้ว แม้ว่าจะยังไม่นำเส้นพุ่งมาสอดทอเลยก็ตาม
มัดหมี่เส้นพุ่ง (weft ikat) คือ มัดหมี่ที่มัดย้อมเส้นด้ายเฉพาะที่ใช้เป็นเส้นพุ่งลวดลายที่เกิดจากการมัดย้อมจะปรากฎให้เห็นได้ก็ต่อเมื่อทอออกมาเป็นผืนผ้าสำเร็จแล้วเท่านั้น
มัดหมี่สองทาง (double ikat) คือ มัดหมี่ที่ต้องมัดย้อมเส้นด้ายทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง ด้วยความประณีตและซับซ้อนเป็นอย่างมาก เพราะต้องมีการคำนวณด้วยมาตราส่วนของช่างทอเอง เพื่อให้การมัดย้อมเส้นยืนและเส้นพุ่งมีลวดลายตรงกันเมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้า และในขณะที่ทอนั้นเองก็ต้องมีความระมัดระวังมากต้องคอยขยับเส้นพุ่งที่ทอให้ตรงกับลวดลายที่มัดย้อมไว้ก่อนแล้วบนเส้นยืน จึงทำให้มัดหมี่ประเภทนี้มีราคาสูงมาก
การทอผ้ามัดหมี่โดยทั่วไป 2 ลักษณะ คือ
1.การทอผ้ามัดหมี่ 2 ตะกรอ เป็นลายขัดธรรมดา ผ้าจะใช้ได้เพียงหน้าเดียว
2. การทอผ้ามัดหมี่ 3 ตะกรอ เป็นการทอผ้าลายสอง เนื้อผ้าจะแน่น สามารถใช้ผ้าได้ทั้ง 2 ด้าน โดยด้านหน้าจะให้สีสดใส และลวดลายชัดกว่าด้านใน
ผ้ามัดหมี่มีการทำกันอย่างแพร่หลาย สามารถทำได้ดีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าไหมจะมีความสวยงามมาก นอกจากตัวผ้าไหมเองแล้ว ลวดลายและสีสันยังเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความสวยงามให้มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีการทอผ้ามัดหมี่หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการดัดแปลงลายพื้นบ้านผสมกับลายโบราณที่ถ่ายทอดสืบต่อมาเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังได้มีการนำผ้าไหมมัดหมี่มาออกแบบเสื้อผ้าสตรี-บุรุษได้อย่างสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นมากผ้าไหมมัดหมี่มีการผลิตกันมาก และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ลายต่างๆ ทั้ง 2 ตะกรอ และ 3 ตะกรอ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านางธรรมดา ผ้ามัดหมี่หน้านางประยุกต์ ผ้ามัดหมี่หน้านางพิเศษ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความยากง่ายในการมัด และทอต่างกัน ความสวยงามก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความปราณีตละเอียดของขบวนการมัดหมี่และทอผ้าสำหรับลวดลายต่างๆ ที่ผู้ทอผ้ามัดหมี่ได้มีการออกแบบลวดลายนั้น ก็จะนำมาจากลวดลายเก่าแก่ที่ยังคงอยู่ ผสมกับแนวความคิดในการผสมลวดลายต่างๆ กัน เช่น ลายเครื่องตำลึง ลายพญานาคคู่ ลายลูกศร ลายมัดหมี่ผ้าปูมเขมร ลายขอพระเทพ เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง
ประวัติผ้าไหมมัดหมี่.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565, จาก:https://www.ketysmile.com/2020/11/13/ประวัติผ้าไหมมัดหมี่. 2563.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. งานช่างฝีมือดั้งเดิม : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2560.
เผ่าทอง ทองเจือ และกิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. มัดหมี่ สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย.พระนครศรีอยุธยา: ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน), 2559.
เรียบเรียงโดย : นางสุพัชรี ฉันทเลิศวิทยา บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำภูมิภาคตะวันออกของไทย ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปรับปรุงภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ตามแผนพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของกรมศิลปากร ขณะนี้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการใหม่ นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคตะวันออก ที่สมบูรณ์ที่สุด มีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจัดแสดงกว่า ๒๐๐ ชิ้น แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น ๕ ห้อง ได้แก่ ๑. ห้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในภาคตะวันออกด้วยสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของชุมชนผ่านการชมวีดิทัศน์ร่องรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำบางปะกงและภูมิภาคตะวันออก ๒. ห้องชุมชนโบราณในภาคตะวันออกจัดแสดงเนื้อหาชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในภูมิภาคตะวันออกที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชนโคกพนมดีราว ๓,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปี มาแล้ว และชุมชนหนองโนราว ๒,๗๐๐ – ๔,๕๐๐ปีมาแล้ว ผ่านหลุมศพจำลองเจ้าแม่โคกพนมดีและโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีโคกพนมดีและหนองโน จ.ชลบุรี ๓. ห้องพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณในภาคตะวันออก จัดแสดงพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณในภาคตะวันออก เริ่มต้นจากความสัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเล เข้าสู่ช่วงรับวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณในภาคตะวันออก โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบในภาคตะวันออก ได้แก่ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยสีชมพู ทับหลังจากปราสาทสด๊กก๊อกธมรวมถึงจารึกที่พบจากปราสาททั้ง ๒ แห่ง ๔. ห้องวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำบางปะกงจัดแสดงเรื่องราวของชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี ผ่านผนังสื่อมัลติมีเดียโปรเจกเตอร์ทัช ที่สัมผัสเพื่อรับชมเนื้อหา ๕. ห้องเมืองศรีมโหสถ นครรัฐแรกเริ่มแห่งลุ่มน้ำบางปะกงซึ่งกำเนิดขึ้นร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนันตอนปลาย และพัฒนาเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ ก่อนที่วัฒนธรรมเขมรจะเข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ มีการแสดงพระคเณศพระวิษณุจตุรภุช พระพุทธรูปปางสมาธิ รวมถึงเครื่องสำริดประกอบพิธีกรรมที่มีจารึกภาษาเขมรกล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ขอเชิญชวนผู้สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์อารยธรรมในภูมิภาคตะวันออกของไทย ชมโฉมใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เปิดทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๗๒๑ ๑๕๘๖
พระพิมพ์ลีลา
สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ประมาณ ๖๐๐ ปีมาแล้ว)
ได้จากกรุที่มุมกำแพงแก้ว วิหารพระอัฏฐารส โบราณสถานวัดสะพานหิน เมืองเก่าสุโขทัย
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพิมพ์ดินเผารูปทรงคล้ายใบหอก กดประทับรูปพระพุทธเจ้า ตามแบบศิลปะสุโขทัย มีพุทธลักษณะสำคัญคือ พระรัศมีเป็นเปลวแหลม พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระอังสากว้าง ครองจีวรห่มเฉียง พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นแสดงอภัยมุทรา (ปางประทานอภัย) พระกรขวาแนบพระวรกาย พระบาทขวายกขึ้นแสดงอิริยาบถลีลาบนฐานเขียง
พระพุทธรูปลีลา เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของงานศิลปกรรมสุโขทัย และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปรากฏทั้งงานประติมากรรมปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรม งานประติมากรรมสัมฤทธิ์ และพระพิมพ์ โดยสัมพันธ์กับเรื่องราวทางพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดา อีกทั้งรูปแบบของพระพุทธรูปลีลายังปรากฏในฐานะอดีตพุทธเจ้า เช่น ลวดลายบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๐* หรือรูปพระสาวกที่ฐานเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยก็แสดงอิริยาบถลีลาด้วยเช่นกัน
สำหรับแรงบันดาลใจของการสร้างพระพุทธรูปลีลานั้น น่าจะได้รับอิทธิพลงานศิลปะลังกา มีตัวอย่างคือจิตรกรรมฝาผนัง วิหารติวังกะ (Tivanka Pilimage) สมัยโปลนนารุวะ (ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘) นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปลีลายังปรากฏในบ้านเมืองต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูปลีลาบนแผ่นทองจังโก พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน และพระพุทธรูปลีลา ณ วัดพระธาตุช้างค้ำ วัดพญาภู จังหวัดน่าน
*ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.
บทความ เรื่อง วันสงขลาและศาลหลักเมืองสงขลา
โดย นางพัชรินทร์ ลั้งเเท้กุล นักจดหมายเหตุชำนาญการ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 24/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 55.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคจาก จ.พระนครศรีอยุธยา