ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,758 รายการ

งาน “กินเข่าค่ำ ของดีเมืองสูงเนิน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๘-๑๐ มีนาคม ๒๕๖๗ ภายในงานมีกิจกรรมการแสดงจินตภาพ ประกอบแสง สี เสียง ชุด “ศรีจนาศะปุระ” การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน รวมไปถึงการจำหน่ายสินค้าโอทอป ผลิตภัณฑ์ของดีเมืองสูงเนิน โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้นำเหรียญพระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ แบบ มาให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเช่าบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยทุกท่านสามารถเช่าบูชาได้ที่ บูทนิทรรศการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ณ ปราสาทเมืองแขก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา วัดธรรมจักรเสมาราม (วัดพระนอน) อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา * เหรียญ​บรอนซ์​นอกขัดเงา ​บูชาเหรียญละ ๑๙๙.-บาท * เหรียญ​โลหะสัมฤทธิ์​ขัดเงา บูชาเหรียญละ ๑๙๙.-บาท * เหรียญ​ทองแดงรมซาติน บูชาเหรียญละ ๑๙๙.-บาท ทัังนี้การจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ จำลอง รุ่น ครบรอบ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๖๖ จัดสร้างขึ้นเพื่อหารายได้นำเข้ากองทุนโบราณคดี เพื่อใช้ในการบูรณะโบราณสถาน และกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ


ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาเขียนสีรูปสัตว์แบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 25.2 เซนติเมตร ปากกว้าง 18.3 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผาก้นกลม มีเชิง เขียนลายรูปสัตว์ คล้ายโคหรือกระบือ มีเชือกจูงสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/04/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาเขียนสีรูปสัตว์แบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 22.8 เซนติเมตร  ปากกว้าง 14.2 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผาก้นกลม มีเชิง เขียนสีแดงเป็นลายรูปสัตว์สภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/03/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


ชื่อเรื่อง                     กาพย์ห่อโคลงนิราศเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ผู้แต่ง                       เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9111 ธ337กสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการปีที่พิมพ์                    2465ลักษณะวัสดุ               98 หน้า หัวเรื่อง                     กาพย์                              โคลงภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกาพย์ห่อโคลงที่พิมพ์ในหนังสือนี้ เป็นเรื่องนิราศพระบาท ทรงพระนิพนธ์ดีในด้านกลอน ทำให้รู้เรื่องประวัติศาสตร์หลายแห่ง เช่น การแต่งกายของผู้หญิง สิ่งของเครื่องใช้ในสมัยนั้น ตอนต้นของหนังสือมีอธิบายกาพย์ห่อโคลงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไว้ด้วย  


         พระพักตร์พระพุทธรูป          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖)          - ปูนปั้น          - ขนาด กว้าง ๔๓.๘ ซม. ยาว ๔๖ ซม. หนา ๑.๕ ซม.          พบที่วัดพระประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม พระพักตร์พระพุทธรูปมีลักษณะของศิลปะขอมเข้ามาผสม คือ มีการทำเรียวพระมัสสุเหนือพระโอษฐ์ พระเนตรสลักเป็นรูกลมเดิมคงฝังหินสีหรือวัสดุอื่นประดับ ด้านหลังพระพักตร์มีแกนเป็นแผ่นอิฐครึ่งแผ่นอยู่ตรงกลงแล้วปั้นปูนพอกด้านหน้า   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40180   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


           กรมธนารักษ์ กรมศิลปากร ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอเชิญเข้าร่วมงาน “แลหลัง มองหน้า กำแพงเมืองคอน” ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 16.30 น. ณ กำแพงเมืองเก่า สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และขอเชิญรับฟังการเสวนา หัวข้อ “มาแล มาเล่า มาแหลง เรื่องกำแพงเมืองคอน” วิทยากรโดย ผศ.ฉ้ตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช อาจารย์วาที ทรัพย์สิน ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และนางสาวสิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567 เวลา 18.30-20.30 น. ณ กำแพงเมืองเก่า สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช             ภายในงานพบกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น หลาดกำแพงเมืองคอน รถรางชมเมือง นิทรรศการ “กำแพงเมือง-คูเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช” นิทรรศการ “มาแล มาถ่าย กำแพงเมืองคอน” และการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของน้อง ๆ เยาวชน งานนี้มีทั้งสาระและความบันเทิง ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ 


“วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน” วันสุนทรภู่ หมายถึง วันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง ซึ่งมีผลงานด้านบทกลอนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเป็นจำนวนมาก สุนทรภู่ เกิดวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ณ บริเวณด้านเหนือของพระราช วังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนมารดาไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นคนจังหวัดใด สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เมื่อท่านเกิดได้ไม่ถึงหนึ่งขวบ บิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดากลับไปบวชที่วัดป่า อำเภอแกลง ส่วนมารดาได้ถวายตัวเป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข สุนทรภู่อยู่กับมารดา เข้าเรียนที่สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม มีความรู้จนได้เป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ด้วยความไม่ชอบงานเสมียน ทำได้ไม่นานก็ลาออก สุนทรภู่อยู่ในวังกับมารดา จนอายุได้ 20 ปี ได้ลอบรักใคร่กับสาวชาววัง ชื่อ จัน จนถูกลงโทษจองจำและถูกโบย เมื่อพ้นโทษ ได้กลับไปหาบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง และแต่งงานกับจัน แต่อยู่กันไม่นานก็เกิดระหองระแหง คงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์ จึงได้เลิกหย่าร้างกัน ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด ในสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ถูกกล่าวหา ด้วยเรื่องเสพสุรา และเรื่องอื่นๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร ต่อมาสุนทรภู่ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และเดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ บวชใหม่ถึง 2 ครั้ง แล้วลาสิกขาบทถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปี พ.ศ. 2394 รับราชการอยู่ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 69 ปี ผลงานของสุนทรภู่มีนิราศ 9 เรื่อง นิทาน 5 เรื่อง สุภาษิต 3 เรื่อง บทละคร 1 เรื่อง บทเสภา 2 เรื่อง และบทเห่กล่อม 4 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปี สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นกวีเอกของโลก เพื่อรำลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่รำลึกถึงสุนทรภู่ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง



ผู้แต่ง : สุรศักดิ์ ศรีสำอางปีที่พิมพ์ : 2546สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.


รายงานการดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี ในพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด   ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย   สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย โดยมีนายธีรศักดิ์  ธนูศิลป์ เป็นนักโบราณคดีผู้ดำเนินการขุดค้น พบโครงกระดูก 2 โครงในแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งขุดบริเวณที่ราบเชิงเขาใกล้อ่างเก็บน้ำแม่กองค่าย กำหนดอายุเบื้องต้นราว 2,500 ปี พบเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน อาทิ ภาชนะดินเผา เครื่องมือโลหะแบบต่างๆ รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า ตลอดจนพบเครื่องประดับที่ทำจากหินกึ่งอัญมณี และ ลูกปัดแก้วสีต่างๆ อุทิศให้กับศพ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการขุดค้น และวิเคราะห์ตีความ โดยผู้เชี่ยวชาญในลำดับต่อไป   นายธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ ได้ดำเนินการทางโบราณคดีภายใต้โครการโบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง : แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้ดำเนินงานสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีแล้วเสร็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการวิเคราะห์ตีความ จึงรายงานผลการดำเนินงานเบื้องต้น   การดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่การขุดค้นบริเวณที่ราบเชิงเขา ใกล้คลองแม่กองค่าย ติดกับอ่างเก็บน้ำห้วยแม่กองค่ายมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งพื้นที่การขุดค้นเป็น 7 หลุม (PITI - PIT7) เริ่มดำเนินการขุดค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559  พบหลักฐานที่สำคัญดังนี้                      1. หลุมฝังศพที่ 1 พบจากการขุดค้นในหลุมขุดค้น PIT 2ที่ระดับสมมติที่ 6:70-80 cm.dt.ความลึกจากพื้นผิวดิน (Surface) ประมาณ 50-60 เซนติเมตร ยังไม่พบโครงกระดูก สันนิษฐานว่าอยู่ในผนังด้านทิศเหนือ พบภาชนะดินเผา 3 ใบ แต่สภาพไม่สมบูรณ์ พร้อมทั้งเครื่องมือโลหะ (ใบหอก)                      2.หลุมฝังศพที่ 2  พบในหลุมขุดค้น PIT 3-5 ที่ระดับชั้นดินสมมติที่ 5 :80-90 cm.dt. ลึกลงไปจากพื้นผิวดิน(Surface)  ประมาณ 70-80 เซนติเมตรจัดอยู่ในชั้นดินที่3 ลักษณะดินบริเวณที่พบหลักฐานเป็นดินปนทราย อัดแน่นและแข็งมาก                      โครงกระดูกที่พบมีลักษณะโครงที่เปื่อยยุ่ย จนแทบไม่เหลือสภาพเดิม แต่ยังคงเหลือกระดูกยาว เช่น  Humerus ,Radius , Ulna .ให้เห็นอยู่บ้าง จึงไม่สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเพศ อายุ และสาเหตุการตายได้ แต่สามารถศึกษาทิศทางและรูปแบบการฝังได้ ว่าฝังแบบนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก มีการฝังภาชนะดินเผาอุทิศวางไว้บริเวณปลายเท้าให้กับศพ พบแวดินเผา จำนวน  3 อัน ภายในภาชนะดินเผาที่วางติดกับปลายเท้าของศพ   นอกจากภาชนะดินเผา ยังพบว่ามีการฝังข้าวของอื่นๆอุทิศให้ศพด้วย พบสร้อยลูกปัดหินเรียงอยู่บริเวณส่วนคอของศพ ซึ่งมีร่องรอยกระดูกส่วน Clavicle ซ้อนกันอยู่ จึงทำให้สร้อยลูกปัดมีการพับทบกัน ซึ่งสังเกตได้จากการขุดค้น ลูกปัดมีจำนวน 23 ลูก ทำมาจากหินคาร์เนเลี่ยน 21 ลูก และหินควอตซ์ 2 ลูก ทั้งยังมีลูกปัดแก้วสีดำและสีน้ำตาล ขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร คั่นอยู่ในสร้อยเส้นเดียวกัน บริเวณส่วนข้อมือมีลูกปัดแก้วสีเขียวอมฟ้าจำนวนมาก และส่วนข้อเท้ามีลูกปัดแก้วสีแดงทึบจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าร้อยอยู่ที่ข้อมูลและข้อเท้าของศพ และยังมีเครื่องมือเหล็กแบบต่างๆ วางไว้บนตัวศพและด้านข้างศพเพื่อเป็นการอุทิศ                      3.หลุมฝังศพที่ 3 พบในหลุมขุดค้น PIT 6-7ที่ระดับชั้นดินสมมติที่ 7: 110-120 cm.dt. ลึกลงไปจากผิวดิน (Surface) ประมาณ 1.10 เมตรจัดอยู่ในชั้นดินที่4 ลักษณะดินบริเวณที่พบหลักฐานเป็นดินปนทราย อัดแน่นและแข็งมาก   โครงกระดูกที่พบยังดำเนินการขุดค้นไม่แล้วเสร็จ ขุดแต่งเพียงส่วนกะโหลกศีรษะและพบเครื่องประดับอยู่ในตำแหน่งของหูด้านซ้าย มีการฝังศพในท่านอนหงายเหยียดยาว มีภาชนะดินเผาสภาพสมบูรณ์วางอยู่ทิศ และเป็นที่น่าสนใจว่า หลุมฝังศพนี้มีการขุดหลุมเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก่อนนำดินเหนียวหรือดินที่มีการเตรียมไว้มาเทราดก่อนวางศพและวางภาชนะดินเผาลงไป เพราะดินที่รองศพนั้นแตกต่างจากดินที่ขุดค้นโดยรอบ และจากการวัดค่าสีดินและลักษณะของดินอย่างต่อเนื่อง จึงสรุปได้ว่าไม่ใช่ดินที่พบจากชั้นดินที่ขุดมา   บริเวณปลายเท้า 4 ใบ มีขนาดลดหลั่นกัน จากเล็กไปใหญ่ นับจากปลายเท้าออกไปตามลำดับ เนื่องจากสภาพดินค่อนข้างแข็งและสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมจึงทำการขุดแต่งและยกแท่นขึ้น มายังสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย เพื่อขุดค้นตามกระบวนการอย่างมัดมัดระวังเนื่องจากหลักฐานมีความเสี่ยงที่จะเสียหายได้ง่าย ซึ่งการดำเนินการจะอยู่ภายใต้การดูและและวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญต่อไป  รายงานการดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี ในพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด (ข้อมูล พร้อมภาพประกอบ)           



ราชกิจจานุเบกษา   ประกาศกรมศิลปากร   ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากร ชื่อเรื่อง เล่มที่ ตอนที่ หน้า วันที่ประกาศ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นายอีมันเฟรดีแต่งเครื่องยศกรมศิลปากรชั้นเสวกตรี 34 ๐ ง 868 ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๐ ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 52 ๐ ง 3679 ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 53 ๐ ง 901 ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 53 ๐ ง 906 ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 53 ๐ ง 1526 ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๙ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 54 ๐ ง 2285 ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๐ แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ 54 ๐ ง 458 ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๐ แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ หน้า ๓๖๘๒ 54 ๐ ง 497 ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 55 ๐ ง 4005 ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ 57 ๐ ง 806 ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ 57 ๐ ง 2527 ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง หลักสูตรและวิธีการสอบวิชาช่างตรี ศิลปินตรี 60 ๖๐ ง 3534 ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน 66 ๖๔ ง 5280 ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ 67 ๑๕ ง 1064 ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนและขอบเขตโบราณสถานสำหรับชาติ 69 ๖๐ ง 3281 ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 70 ๖๓ ง 3697 ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๖ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนและขอบเขตโบราณสถานสำหรับชาติ 71 ๓ ง 14 ๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๗ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนและขอบเขตโบราณสถานสำหรับชาติ 72 ๒ ง 21 ๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสำหรับชาติ 72 ๑๔ ง 381 ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๘ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 72 ๙๑ ง 2853 ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 73 ๒๕ ง 1060 ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นบัญชีโบราณวัตถุในถ้ำผาปู่ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เป็นโบราณวัตถุสำหรับชาติ 73 ๔๘ ง 1676 ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๙ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 73 ๕๗ ง 2058 ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 73 ๖๘ ง 2411 ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 74 ๓๐ ง 784 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนและขึ้นบัญชีโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ 74 ๘๘ ง 2490 ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนและขอบเขตโบราณสถานสำหรับชาติ 74 ๙๖ ง 2670 ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ 75 ๑๒ ง 352 ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 75 ๒๒ ง 838 ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 75 ๓๔ ง 1411 ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ 75 ๔๕ ง 1700 ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถานสำหรับชาติ 75 ๔๕ ง 1701 ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 75 ๙๐ ง 2888 ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสำหรับชาติ 75 ๑๐๙ ง 3127 ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ 76 ๓ ง 26 ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 76 ๙๐ ง 2241 ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ 76 ๙๘ ง 2426 ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 76 ๑๐๘ ง 2530 ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 76 ๑๑๗ ง 2714 ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 77 ๑๘ ง 781 ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสำหรับชาติ 77 ๓๒ ง 1304 ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 77 ๖๐ ง 1785 ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ (จังหวัดเชียงราย) 77 ๘๑ ง 2131 ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ (จังหวัดอุตรดิตถ์) 77 ๘๑ ง 2133 ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 78 ๕๒ ง 1529 ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กระทำแทนอธิบดีกรมศิลปากรในการออกใบอนุญาต 78 ๗๗ ง ฉบับพิเศษ 2 ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ แก้คำผิด ระเบียบกรมศิลปากร ฉบับที่ ๒ ฉบับที่ ๓ และ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๔ เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๗๗ 78 ๘๒ ง 22149 ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานสำหรับชาติ 78 ๙๔ ง 2351 ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๔ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 79 ๕๘ ง 1468 ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน 79 ๕๘ ง 1469 ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถาน 79 ๗๑ ง 1712 ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 79 ๘๔ ง 1966 ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เพิกถอนโบราณสถาน 79 ๙๓ ง 2182 ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 79 ๙๗ ง 2279 ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ 79 ๙๙ ง 2331 ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 79 ๑๐๐ ง 2387 ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๕ ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 80 ๒๙ ง 859 ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๖


วันพุธที่ 23 มิถุนายน 2559 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จัดอบรมการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ปี 2559 วันที่ 23-24 มิถุนายน 2559 ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ตึกธนาลงกรณ์ ชั้น 8 ในการนี้นายต่อพงศ์ เหลืองชัยวัฒนา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ รับหน้าที่เป็นวิทยากร


๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตรัง กำหนดจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (กิจกรรมที่ ๓)​ ตามโครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี ๒๕๖๒" โดยจัดกิจกรรม " ประกวดหนังสือเล่มเล็ก" ก่อนเริ่มกิจกรรมนางตรีทิพย์ บัวริน ในฐานะหัวหน้าโครงการ ฯ ได้ชี้แจงรายละเอียดหลักเกณฑ์การประกวดให้ทราบ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น ๑๒ ทีม (๑๒โรงเรียน)​โอกาสนี้ขอขอบคุณคณะกรรมการตัดสินการประกวดหนังสือเล่มเล็ก ทั้ง ๓ ท่าน-​ อาจารย์อาจารีย์ ณ สงขลา- อาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์- อาจารย์นาฎลดา เดชอรัญที่กรุณาให้เกียรติสละเวลามาร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวด ครูผู้ควบคุมนักเรียน และผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียนที่ร่วมส่งเสริมกิจกรร​ม​การส่งเสริมการอ่านการทำหนังสือเล่มเล็กในครั้งนี้เป็นอย่างสูงขอบคุณนายธีราธร ชมเชย หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ ตรัง อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกสถานที่ห้องประชุม #ท่องอ่านหนังสือในวันนี้ชีวิตจะดีและสดใสในวันหน้า #ร่วมกันส่งเสริมการอ่าน=ร่วมกันสร้างนวัตกรรมในยุค ๔.๐



Messenger