ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,765 รายการ
๑. ชื่อโครงการ
โครงการเข้าร่วมประชุมและสัมมนาทางวิชาการของสภาการจดหมายเหตุสากล (International Council on Archives : ICA)
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางวิชาการของสภาการจดหมายเหตุสากล (ICA General Assembly) และ Forum of the National Archivists (FAN)
๒.๒ เพื่อศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุของ Archives of the Crown of Aragon
๓. กำหนดเวลา
วันที่ ๑๐ – ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
๔. สถานที่
- เมือง Girona ราชอาณาจักรสเปน
- Archives of the Crown of Aragon เมืองบาร์เซโลนา ราชอาณาจักรสเปน
๕. หน่วยงานผู้จัด
สภาการจดหมายเหตุสากล (International Council on Archives : ICA)
๖. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
๗. กิจกรรม
๗.๑ การเข้าร่วมประชุม Forum of the National Archives (FAN)
Forum of the National Archives (FAN) ได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญสภาการจดหมายเหตุ (International Council on Archives) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยได้กำหนดบทบาทสำคัญขององค์กรนี้ในการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการงานจดหมายเหตุ เพื่อให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นศูนย์เก็บข้อมูลจดหมายเหตุที่มีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและโปร่งใส สมาชิกประกอบด้วยหอจดหมายเหตุแห่งชาติจากประเทศสมาชิกสภาการจดหมายเหตุ (International Council on Archives) คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากผู้แทนสภาการจดหมายเหตุในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ แอฟริกาและประเทศกลุ่มอาหรับ เอเชียและโอเชียเนีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และการคัดเลือกประธานและเลขานุการ วาระการประชุม Forum of the National Archives (FAN) จะกำหนดไว้ในการประชุมประจำปี ICA
การประชุม Forum of the National Archives (FAN) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ณ เมือง Girona ราชอาณาจักรสเปน เป็นการประชุมครั้งที่ ๒ นับจากการประชุมครั้งแรกที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม มีสาระสำคัญ ได้แก่ การเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ และการนำเสนอหัวเรื่องต่างๆ ต่อที่ประชุม ได้แก่ Fund for the International Development of Archives, Declassification of sensitive records, Fan Workspace, PERSIRI Project, News from the Working Group on Human Rights ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการเลือกตั้งประธานคนใหม่ ซึ่งได้แก่ ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาธารณรัฐสิงคโปร์
๗.๒ การเข้าร่วมประชุม ICA General Assembly
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการของสภาการจดหมายเหตุสากล (International Council on Archives) และผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั่วโลกในระดับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ สาระการประชุมมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับรายงานของประธาน ICA รายงานกิจกรรมและการดำเนินงานของรองประธาน ICA รายงานของเลขานุการ ICA รายงานการเงิน สถานะสมาชิกและการชำระค่าสมาชิก การสนับสนุนแผนงานและโครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการเอกสาร ซึ่งในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการบริหารเอกสารประเภทอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Records) การปรับปรุงธรรมนูญ ICA การปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกเสียงของผู้แทนประเทศสมาชิก การรับสมาชิก ICA โครงการและกิจกรรมต่างๆโดยเน้นเรื่องธรรมาภิบาล เอกสารจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์และการอนุรักษ์ การจัดตั้งผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านเพื่อพิจารณาดำเนินโครงการและการจัดตั้ง The Programme Commission บทบาทของ the Fund for the International Development of Archives (FIDA) การสนับสนุนและให้ความร่วมมือแก่นักจดหมายเหตุในประเทศสมาชิก ๑๑ ประเทศ การจัดทำ e-newsletter นอกจากนั้นได้มีการแนะนำผู้แทนจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเกาหลีซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัด ICA Congress ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙
๗.๓ การเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อวิชาการจดหมายเหตุ ได้แก่
การสัมมนาทางวิชาการจดหมายเหตุ ซึ่งคณะผู้แทนจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศไทย ได้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ได้แก่ Protect and Enable opening up the National, Digital Preservation on the Cloud, Learning and Networking : Preservation Planning for audiovisual collections, A(nother) Quest for Power : Photographic Documentation in Ottoman Empire, Archives online for users : towards a user – centered quality model including a comparative evaluation framework for user studies, Digital Cultural Heritage Works and Object Description within the scope of Europeana ฯลฯ
๗.๔ การเข้าร่วม workshops หัวข้อ
- Understanding Digital Records Preservation Inititive
- ICA – Reg Principles and Functional Requirements for Records in Electronic Office Environments
- The PARBICA Good Recordkeeping for Good Governance Toolkit
๘. คณะผู้แทนไทย
๘.๑ นางสาวนัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
๘.๒ นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุ ชำนาญการพิเศษ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
คณะผู้แทนสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้เข้าร่วมประชุมและการสัมมนา ดังนี้
๙.๑ การประชุม Forum of The National Archives (FAN) วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
Forum of The National Archives (FAN) ได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญของ ICA เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อเป็นรูปแบบให้ประเทศสมาชิก สามารถนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการจดหมายเหตุในยุคโลกาภิวัฒน์ ประกอบด้วยหอจดหมายเหตุแห่งชาติหรือหอจดหมายเหตุส่วนกลางของประเทศสมาชิก ICA ประธาน FAN เป็นคณะกรรมการของ ICA Executive Board และ Programme Commission คณะกรรมการบริหาร FAN ประกอบด้วยคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากผู้แทนสภาการจดหมายเหตุในแต่ละภูมิภาค ทุก ๔ ปี ได้แก่ แอฟริกา และประเทศกลุ่มอาหรับ เอเชียและโอเชียเนีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
๙.๒ การประชุม ICA General Assembly ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะกรรมการของสภาการจดหมายเหตุสากล (International Council on Archives) และผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั่วโลกในระดับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ สาระการประชุมมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับรายงานของประธาน ICA รายงานกิจกรรมและการดำเนินงานของรองประธาน ICA รายงานของเลขานุการ ICA รายงานการเงิน สถานะสมาชิกและการชำระค่าสมาชิก การสนับสนุนแผนงานและโครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการเอกสาร ซึ่งในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการบริหารเอกสารประเภทอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Records) การปรับปรุงธรรมนูญ ICA การปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกเสียงของผู้แทนประเทศสมาชิก การรับสมาชิก ICA เพิ่ม โครงการและกิจกรรมโดยเน้นเรื่องธรรมาภิบาลเอกสารจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์และการอนุรักษ์ การจัดตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประเด็นดังกล่าวเพื่อพิจารณาดำเนินโครงการและจัดตั้ง the Programme Commission บทบาทของ the Fund for the International Development of Archives (FIDA) การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่นักจดหมายเหตุในประเทศสมาชิก ๑๑ ประเทศ การจัดทำ e-newsletter นอกจากนั้นได้มีการแนะนำผู้แทนจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเกาหลี ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัด ICA Congress ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙
๗.๓ การเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อวิชาการจดหมายเหตุ ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการจดหมายเหตุได้กำหนดให้มีขึ้นพร้อมกับการประชุม ICA General Assembly โดยใช้ชื่อว่า Archives and Cultural Industries ประกอบด้วยหัวเรื่องสำคัญที่เกี่ยวงานจดหมายเหตุประมาณ ๑๖๐ เรื่อง เป็นการนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุและผูแทนจากประเทศสมาชิก เช่น การแปลงเอกสารจดหมายเหตุประเภทภาพถ่ายและเอกสารลายลักษณ์เป็นอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และการอนุรักษ์ การจัดการฐานข้อมูลจดหมายเหตุ โดยมีกรณีศึกษาตัวอย่างจากประเทศสมาชิก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สเปน ประเทศในแอฟริกา และประเทศยุโรป นอกจากนั้นยังมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อต่างๆ เช่น Image Quality Assessment in Digitization Records, Tronir and Trainer, The open souree platform toolkit supporting archives and cultural institutions to easily create and publish digital exhibitions, Understanding Digital Records Preservation initiative, Principles and Functional Requirements for Records in Electronic office Environments.
๙.๔ การศึกษาดูงาน ณ Archivo dela Corona de Aragon วันศุกร์ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ หอจดหมายเหตุแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง Girona จัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุตั้งแต่สมัยยุคกลาง เป็นหอจดหมายเหตุที่จัดเก็บเอกสารการปฏิบัติงานของราชวงศ์ Aragon ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๙ ถึงศตวรรษที่ ๒๐ เอกสารชุดสำคัญและเก่าสุดเป็นเอกสารในศตวรรษที่ ๑๓ เป็นภาษาละติน เอกสารเหล่านี้ได้มีการแปลเป็นภาษาสเปนเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลได้ ปริมาณเอกสารในหอจดหมายเหตุทั้งหมดจำนวน ๖ กิโลเมตร ปัจจุบันหอจดหมายเหตุได้พิจารณาคัดเลือกเอกสารชุดสำคัญให้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เอกสารเอกสารเหล่านี้ได้สแกนเป็น Digital file มีปริมาณ ๕ ล้านแผ่น และเอกสารสำคัญทั้งหมดได้จัดทำเป็นไมโครฟิล์มเรียบร้อยแล้ว คลังเก็บเอกสารจดหมายเหตุแยกส่วนจากส่วนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีห้องเก็บเอกสารทั้งหมดจำนวน ๑๒ ห้อง มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในห้องเก็บเอกสารและมีการตรวจสอบการควบคุมอุณภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ประจำทุกสัปดาห์ กล่องใส่เอกสารจดหมายเหตุเป็น Acid free เพื่อให้เอกสารมีอายุยาวนาน เอกสารที่ชำรุดจะดำเนินการซ่อมแซมโดยใช้กระดาษสา (Tissue Paper) จากประเทศญี่ปุ่น และใช้ครุภัณฑ์เรียกว่า lift casting ซ่อมเฉพาะส่วนที่ชำรุดหรือเป็นรู ในส่วนห้องบริการเป็นห้องขนาดใหญ่มีโต๊ะให้บริการสำหรับผู้ค้นคว้า จำนวน ๖๔ โต๊ะ มีฐานข้อมูลเพื่อให้บริการค้นคว้า กำหนดระเบียบเอกสาร ผู้ค้นคว้าสามารถขอยืมอ่านได้ ๙ ชิ้นต่อวัน
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ณ เมือง Girona ราชอาณาจักรสเปน ได้แก่ การประชุม ICA General Assembly การประชุม Forum of the National Archives และการสัมมนาในหัวข้อมากกว่า ๑๐๐ เรื่อง รวมทั้งการเลือกเข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เป็นกิจกรรมสำคัญระดับโลก ที่มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมมากกว่า ๑๐๐ ประเทศ จำนวน ๙๐๐ กว่าคน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้แทนจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่ได้รับความรู้ด้านการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุ การแปลงเอกสารจดหมายเหตุเป็น Digital File การจัดการฐานข้อมูลจดหมายเหตุ การเผยแพร่เอกสารจดหมายเหตุสู่สาธารณะและการอนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบันสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้เนื่องจากเอกสารที่หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นเอกสารกระดาษ ๑๐๐% ในขณะที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติในหลายประเทศได้มีการรับมอบ และดำเนินการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ใช้โปรแกรมและครุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับเอกสารจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์ การวางแผน กำหนดแนวทางการอนุรักษ์เอกสาร เนื่องด้วยงบประมาณที่จำกัดนักจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ทุกคน สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจึงสมควรพิจารณาจัดทำโครงการโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติในต่างประเทศมาเป็นวิทยากร เผยแพร่ความรู้ในเรื่องการจัดการเอกสารจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักจดหมายเหตุของประเทศไทยได้รับความรู้อย่างทั่วถึงและสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการจดหมายเหตุในยุคใหม่
นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา ผู้สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พระไตรปิฎก วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
สาระสังเขป : นำชมเที่ยวนครวัด นครธม พุทธศักราช 2467 เป็นนิราศคำกลอน บรรยายสถานที่และสิ่งซึ่งได้ไปพบเห็นมาในขณะไปเที่ยวชมผู้แต่ง : อนุศาสน์จิตรกร, พระยาโรงพิมพ์ : มหามกุฏราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ : 2493ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.32บ2291จบเลขหมู่ : 915.96 อ227ทอ
เลขทะเบียน : นพ.บ.12/16ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 16หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.43/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 25 (244-253) ผูก 6หัวเรื่อง : อรรถกถาบาลี --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร)
ชื่อเรื่อง มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 17
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2527
จำนวน 269 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายสันติ ประกอบสันติสุข
หนังสือแบบเรียนหลวง มูลบทบรรพกิจและเรื่องอื่นๆอีก 5 เรื่อง เป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยที่ใช้ในสมัย ร.5 เนื้อหาว่าด้วยวิธีใช้ตัวอักษร พยัญชนะ เสียงสูงต่ำ การผัน การประสมอักษรและตัวสะกดการันต์ มูลบทบรรพกิจเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยที่ได้เค้าโคลงเรื่องมาจากหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีในสมัยอยุธยาอันว่าด้วยระเบียบของภาษา นอกจากนั้นยังแทรกเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่ซึ่งแต่งในสมัย ร.3
ชื่อผู้แต่ง พระโพธิรังษี
ชื่อเรื่อง ตำนานพระพุทธสิหิงค์
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๕
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๙
จำนวนหน้า ๘๐ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางจันทิพา กระต่ายทอง
หนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์เล่มนี้ ต้นฉบับรจนาไว้เป็นภาษามคธ กล่าวถึงประวัติพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพพุทธเก่าแก่ที่สำคัญยิ่ง ผู้คนนิยมศรัทธาเป็นอย่างสูงแต่โบราณ เห็นได้จากสมเด็จพระบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดฯให้คัดพระราชทานไปยังประเทศลังกาแล่ะส่วนท้ายเล่มมีเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ตามพระราชพงศาวดารอีกเรื่องหหนึ่งด้วยที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุต่างๆ
ข้าวต้มมัดไต้ใบกะพ้อ
ปราณ ปรีชญา.ข้าวต้มมัดไต้ใบกะพ้อ.จันท์ยิ้ม:3:3;กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561(12-13).
ข้าวต้มมัดไต้ หรือขนมมัดใต้ ทําด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วทอง (ถั่วเขียวแกะเปลือก] และมันหมู
ที่เรียกว่าขนมมัดใต้นั้น เนื่องมาจากวิธีการห่อข้าวเหนียวด้วย ใบตองหรือใบกะพ้อเป็นท่อนกลมแล้วใช้ตอกมัดเป็นเปลาะๆ และ เหลือปลายไว้ด้านหนึ่ง
การมัดเป็นเปลาะนั้นคล้ายกับการมัดขี้ไต้ เชื้อไฟจากยางไม้ จึงเรียกว่า “ข้าวต้มมัดไต้” หรือ “ขนมมัดใต้”
ข้าวต้มมัดใต้ หรือขนมมัดไต้ นั้นมีพื้นเพมาจากประเทศ เวียดนาม โดยชาวญวนทําเป็นเสบียงสําหรับเดินทางเข้ามา ในประเทศไทย
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ ส.พลายน้อย ได้เล่าไว้ใน สารคดีประมวล ความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยชุด ขนมแม่เอ๊ย เรื่อง ขนมเดือน ๑๑ หน้า ๖๗ - ๒๘ ดังนี้
“สมัยผู้เขียนเริ่มเป็นหนุ่มเคยคุมเรือทรายไปแถวลานเท แถวนั้นเคยมีพวกญวนทำกข้าวต้มมัดได้มาขายพวกเรือพ่วง นอกจาก ข้าวต้มมัดไต้ก็มีเหล้าเถื่อน ก็ได้ลิ้มรสมาแล้วทั้งสองอย่าง ที่เรียกว่า ข้าวต้มมัดได้นั้น ก็เพราะข้าวต้มมัดแบบนี้มีขนาดยาวต้องใช้ตอก มัดหลายเปลาะ แบบเดียวกับมัดใต้ที่จุดไฟ ผิดกับข้าวต้มผัดธรรมดา ที่ทําตอนตักบาตรเทโว ที่มัดเพียงสองเปลาะเท่านั้น”
ส.พลายน้อย ได้เขียนเล่าถึงวิธีการทําข้าวต้มมัดไต้ไว้ด้วยว่า
“พูดถึงวิธีทําข้าวต้มมัดใต้ก็ออกจะมากเรื่องกว่ากัน คือ ข้าวต้มมัดใต้ต้องใช้ข้าวเหนียวถั่วเขียว (เอาเปลือกออก และมันหมู เคล้าเกลือพริกไทยมากเรื่องกว่าข้าวต้มผัดมาก เวลาห่อก็ต้องตั้งใจ มากกว่าคือ เอาใบตองม้วนให้แน่นปิดหัวข้างหนึ่ง แล้วเอาไม้กลม ๆ กระทุ่งให้ข้าวกับถั่วแน่นดีเสียก่อน จึงจะปิดหัวอีกข้างหนึ่งได้ เวลากิน ต้องมีน้ําตาลทรายละเอียดแถมอีกจึงจะอร่อย...”
ในตอนท้าย ส.พลายน้อย ยังเฉลยที่มาของข้าวต้มมัดใต้ และ ชมชาวจันทบุรีที่มีฝีมือในการทําขนมชนิดนี้
“ข้าวต้มมัดได้นี้เดิมที่เป็นของพวกญวนทําเห็นจะถ่ายทอดวิชา ให้ไทยรู้จักกันนานมาแล้ว โดยเฉพาะชาวจันทบุรีกล่าวกันว่ามีฝีมือ ในการทําข้าวต้มมัดใต้ได้อย่างดีมาก...”
ที่มา : ส.พลายน้อย. ขนมแม่เอ๊ย. กรุงเทพฯ : บํารุงสานส์, ๒๕๓๒.
จากคํากล่าวชมเชยของ ส.พลายน้อยถึงชาวจันทบุรีว่ามีฝีมือ ในการทําขนมมัดใต้นั้น จึงได้เสาะหาข้าวต้มมัดใต้ที่ยังมีคนทําขายอยู่ ไม่ใช่มีเฉพาะช่วงเทศกาลงานบุญมาเล่าสู่กันฟัง
“ขายมาตั้งแต่รุ่นแม่ คนแถวนี้จะเรียกมัดได้ยายดํา เมื่อก่อน แม่ [ยายดํา] จะขายอยู่แถวต้นมะขามหลังตึกแดง ขายมาเกือบ ๓๐ ปี ตอนนี้แม่อายุ ๘๐ กว่าก็เลิกขายแล้ว” นวลจันทร์ ชายหาด วัย ๔๕ ปี (สัมภาษณ์เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔] แม่ค้าข้าวต้มมัดไต้รุ่นทายาทเริ่มต้น เล่าเรื่อง
“ครั้งแรกๆ ใช้ใบตองห่อเหมือนที่อื่นๆ แต่จะมีปัญหาว่าคนที่ ซื้อไปวันเดียวหัวท้ายห่อจะเริ่มแฉะเป็นยาง มีกลิ่น กินไม่อร่อย ออกละอาย [ใกล้จะบูด]”
นวลจันทร์บอกว่าการใช้ใบตองห่อนั้นพบปัญหาว่าเก็บข้าวต้ม มัดไต้ได้ไม่นาน จึงลองเปลี่ยนมาใช้ใบกะพ้อ โดยพ่อของตนไปเก็บใบ กะพ้อจากเขาแหลมสิงห์มาลองใช้มัดแทนใบตอง
“มันจะมีกลิ่นหอมกว่า เวลาย่างจะได้กลิ่นหอมกว่าใบตอง ทำกให้ข้าวเหนียวมีกลิ่นหอมรสชาติถึงเครื่องกว่า ถ้าอากาศไม่ร้อนจะ เก็บไว้ได้นาน ถ้าอากาศร้อนก็อยู่ได้ประมาณ ๒ วัน ถ้าเก็บในตู้เย็น ก็จะได้นานขึ้น”
คนในสมัยก่อนรู้จักการนำกใบของพืชชนิดต่างๆ ทั้งใบจาก ใบตอง ใบกะพ้อ ใบบอน ใบมะพร้าว กาบหมากแห้ง ใบไผ่ มาห่อ มัด รัด ร้อย ด้วยวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติเพื่อใช้เก็บห่อหุ้มให้อาหารคงรูป หรือเพื่อปรุงรสอาหาร ปกป้องถนอมอาหารไว้ได้นานวัน ถือเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง
กะพ้อเป็นพืชจำกพวกปาล์มพื้นเมืองมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ใบเป็นรูปพัด ก้านใบยาวเล็กมีใบย่อยแตกออกจากกัน ชาวบ้าน นำกใบกะพ้อมาใช้หุ้มห่ออาหารแต่ความนิยมมีน้อยกว่าใบตองเนื่องจาก ต้นกะพ้อแม้จะมีอยู่ทั่วทุกภาค แต่จะมีพื้นที่ขึ้นเฉพาะ ไม่แพร่หลาย และหาได้สะดวกกว่าใบตองจากต้นกล้วย
“ที่เขาแหลมสิงห์ใบจะเล็กใช้ห่อได้แต่ไม่สวย ช่วงหนึ่ง คนทำกข้าวต้มมัดใต้ที่แหลมสิงห์หันมาใช้ใบกะพ้อกัน ก็ขึ้นไปเก็บกันเยอะ จนมีไม่พอ ลิงก็เยอะจะเข้ามากวน ก็ไม่ค่อยไว้ใจ ตอนหลังต้องไปเก็บ ที่เขาสมิง จังหวัดตราดบ้าง รอยต่อจันท์กับตราดบ้าง ใบจะใหญ่ ใช้ห่อได้สวย เก็บเดือนละครั้งแล้วก็นำกมาแช่น้ำทิ้งไว้ ถ้าซื้อก็แพง เขาขายกัน ๕๐ ใบ ๑๐ บาท”
ข้าวต้มมัดไต้ใบกะพ้อของนวลจันทร์ขายตั้งแต่สายๆ จนถึง บ่ายแก่ๆ บริเวณริมถนนเทศบาลตำกบลพลิ้ว (หมายเลข ๓๑๔๔] จากถนนสุขุมวิทมุ่งหน้าไปทะเลแหลมสิงห์ เลยทางแยกขวาเข้าสถานี ตำกรวจแหลมสิงห์มาเล็กน้อย ก่อนถึงสถานีบริการน้ำมันสิงห์อำกนวย ร้านจะเป็นเพิงเล็กๆ หลังคามุงกระเบื้องอยู่ด้านขวามือ บริเวณนั้น เรียกว่า บ้านป่าแสม หมู่ที่ ๒ ตำกบลปากน้ำแหลมสิงห์
“ขายได้วันหนึ่งประมาณ 50 มัด มี ๒ ไส้ คือ ไส้ถั่ว กับไส้หมู มีทั้งแบบต้มกับแบบย่าง ตอนนี้ที่ทําขายก็เหลือไม่กี่เจ้าแล้ว ส่วนมาก จะทําแบบขายส่ง เป็นแบบต้มนะ แต่ถ้าแบบย่างก็มีที่นี่ที่เดียว เพราะ ไม่มีใครอยากย่างให้ยุ่งยาก นั่งย่างร้อนก็ร้อน ต้องหาถ่านหาฟื้นอีก”
กว่านวลจันทร์จะได้ความรู้ของการทำกข้าวต้มมัดใต้มาเป็น วิชาชีพเลี้ยงครอบครัวนั้น เธอบอกว่า เธอมีพี่น้อง ๕ คน พี่น้องทุกคน ต้องช่วยพ่อแม่ทำกงานเมื่อว่างจากการเรียน ทุกวันลูกๆ จึงต้องตื่นแต่เช้า เพื่อช่วยกันเตรียมข้าวของสำกหรับทำกข้าวต้มมัดไต้ไว้ให้แม่ไปขาย ที่หลังตึกแดง แม้จะเป็นคนแหลมสิงห์โดยกำกเนิดไม่มีเชื้อสาย ชาวเวียดนาม แต่ก็ช่วยพ่อแม่ทำกข้าวต้มมัดใต้มาตั้งแต่ยังเด็ก
“พ่อแม่จะสอนเสมอว่าอย่าขี้เกียจ วันไหนตื่นสายหรือเรียก แล้วไม่ตื่น แม่จะเอาน้ําสาดเข้ามาในมุ่งเลย นอนต่อไม่ได้ต้องลุกมาช่วย กันทําข้าวต้มมัดได้ จึงได้วิชาติดตัวและจําคําสอนของพ่อแม่มาจนถึงวันนี้”
ส่วนผสมหลักข้าวต้มมัดใต้คือ ข้าวเหนียวเขี้ยวงูส่วนผสมอื่นๆ คือ เกลือป่น น้ําตาลทราย พริกไทย กะทิ หัวหอมซอย ถ้าเป็นไส้ถั่ว ก็จะมีถั่วเป็นส่วนผสม หากเป็นไส้หมู ก็จะเพิ่มหมูติดมันลงไปด้วย
ไม่ว่าจะเป็นข้าวต้มมัดไตไส้ชนิดไหน จะแบบย่างหรือแบบต้ม นอกจากจะห่อด้วยใบกะพ้อวัสดุธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของข้าวต้ม มัดใต้แหลมสิงห์แล้ว นวลจันทร์ยังห่อด้วยความรักของพ่อแม่ที่สอนให้ เธอรู้จักทำกมาหากิน อยู่อย่างพอเพียงในวิถีคนแหลมสิงห์มาจนถึง ทุกวันนี้ ๑
หมายเหตุ : สัมภาษณ์ผู้ทําข้าวต้มมัดใต้ใบกะพ้อแหลมสิงห์เจ้านี้ไว้นาน มากแล้ว [เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๙] เรียบเรียงไว้ไม่จบเรื่องก็ปล่อยค้างไว้อย่าง นั้น ถึงวันนี้นึกขึ้นได้เลยนำกมาเขียนต่อให้จบ เพื่อใช้เป็นต้นฉบับลงในจันท์ยิ้มฉบับ รับหน้าร้อนปีนี้ (โยงให้เข้าเรื่องได้แม้จะไม่เกี่ยวกัน)
การประชุมประจำปี พ.ศ.๒๕๕๙สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาวันพุธที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 17
ฉบับที่ 683
วันที่ 1-15 สิงหาคม 2535
จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสพระราชทานเพลิงศพนายจิตติ ดิงศภัทิย์ นักกฎหมายผู้มีความรู้ความสามารถและได้รับความเชื่อถือยกย่องในวงการกฎหมายไทย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ กฎหมายและประกาศซึ่งมีขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว