ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,764 รายการ
รวมถ้อยคำเหนียตจ่ายซากาตฟิฏรฺและดุอา
จัดทำโดย
นางสาวฤทัยรัตน์ เส้งสุวรรณ์
เอกปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นักศึกษาฝึกงาน
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : เรื่องราวการอุทิศสิ่งของถวายแด่เทวาลัยพนมรุ้ง
ปราสาทพนมรุ้ง สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ เป็นศาสนสถานบูชาพระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย การสร้างปราสาทพนมรุ้งบนยอดภูเขาเป็นการจำลองวิมานที่ประทับของศิวะบนเขาไกรลาส นอกจากการสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะแล้ว ปราสาทแห่งนี้ยังถูกใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของศาสนาฮินดูอีกด้วย เช่น การบูชาเทพเจ้าด้วยการสังเวยเครื่องบัตรพลีต่าง ๆ การสรงน้ำศิวลึงค์ซึ่งเป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะในห้องครรภคฤหะของปราสาทประธาน เป็นต้น
ในการสร้างศาสนสถานถวายแด่เทพเจ้าในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ผู้สร้างจะอุทิศทรัพย์สิน และสิ่งของต่าง ๆ เป็นเครื่องบูชาแด่เทวสถานนั้น ๆ ในส่วนของปราสาทพนมรุ้ง “นเรนทราทิตย์” เจ้านายเชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระองค์สำคัญผู้สร้างปราสาทแห่งนี้ ได้ทำนุบำรุงศาสนาฮินดู โดยปฏิบัติตามความเชื่อของลัทธิไศวนิกายแบบปาศุปตะ ท่านได้อุปถัมภ์ พราหมณ์ ดาบส โยคี ถวายทรัพย์สิน ที่ดิน ข้าทาส รวมถึงสิ่งของมีค่าเป็นเครื่องบูชาแด่ปราสาทพนมรุ้งจำนวนมาก
เรื่องราวในจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง กล่าวถึงสิ่งของที่กลุ่มชนชั้นสูงได้อุทิศถวายแด่เทวาลัยพนมรุ้งเป็นจำนวนมาก สำหรับเลี้ยงข้าพระประจำเทวาลัยซึ่งทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ เช่น จารึกพนมรุ้ง ๓ กล่าวถึงการถวายน้ำนม จารึกพนมรุ้ง ๔ กล่าวถึงการถวายข้าวสุก จารึกพนมรุ้ง ๘ กล่าวถึงสิ่งของสำหรับบริโภค เช่น กองข้าว ข้าวเปลือก น้ำผึ้ง วัว (ให้น้ำนม) เครื่องเทศ เช่น จันทร์แดง กานพลู ของหอมสำหรับพิธีกรรม เช่น การบูร ไม้จันทร์ จารึกพนมรุ้ง ๙ กล่าวถึงการถวายราชยานขนาดใหญ่แด่เทพเจ้า (พระศิวะ) แห่งภูเขาใหญ่ (พนมรุ้ง หมายถึง ภูเขาใหญ่)
นอกจากสิ่งของแล้วยังปรากฏการกัลปนาถวายที่ดินด้วย โดยบริเวณรอบเขาพนมรุ้งพบหลักหินกระจายเป็นจำนวนมากอยู่ทุกทิศ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นขอบเขตที่ดินที่ถูกถวายแด่ศาสนสถาน ซึ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ล้วนถวายแด่ “พระกมรเตงชคตวนัมรุง” หรือ “เทพแห่งปราสาทพนมรุ้ง” นั่นเอง
เป็นที่น่าสนใจว่าการถวายสิ่งของแด่ปราสาทพนมรุ้ง สามารถสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชุมชนโบราณรอบเขาพนมรุ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรมเพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์ มีระบบการจัดการบริหารคนสำหรับดูแลศาสนสถาน มีหลักเขตบอกอาณาเขตที่ดิน รวมไปถึงมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับชุมชนโบราณอื่น ๆ โดยเฉพาะเครื่องหอมสำหรับพิธีกรรม ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งของที่ถูกผลิตขึ้นในท้องถิ่น ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าบทบาทของชุมชนโบราณในบริเวณนี้คือการผลิตทรัพยากรเพื่อถวายแด่ปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นหน้าที่และหลักปฏิบัติสำคัญของผู้ปกครองรวมไปถึงประชาชนที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อ “พระกมรเตงชคตวนัมรุง”
เรียบเรียงโดย : นายพงศธร ดาวกระจาย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง :
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. “จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๑.
พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
อนุรักษ์ ดีพิมาย. “การศึกษารูปแบบและหน้าที่ของหลักหินในวัฒนธรรมเขมรที่พบบริเวณรอบเขาพนมรุ้ง.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
ชื่อเรื่อง โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.9113 บ311คนสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ตีรณสารปีที่พิมพ์ 2499ลักษณะวัสดุ 194 หน้าหัวเรื่อง โคลงภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกโคลงพระราชพิธีทวาทศมาศของสมเด็จพระเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้ทรงเป็นต้นสกุลมาลากุล ทรงนิพนธ์ขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อความกล่าวพรรณนาถึงพระราชพิธีต่างๆ ทั้ง 12 เดือน
ชื่อเรื่อง นิทานพระแก้ว (นิทานพระแก้ว)
สพ.บ. 247/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ความเป็นมา จังหวัดระนองตั้งอยู่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ในอดีตเป็นพื้นที่ที่สามารถรับและแลกเปลี่ยนอารยธรรมจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาทั้งทางบกและทางทะเล ดังปรากฏหลักฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ – แรกเริ่มประวัติศาสตร์ ที่เคยมีการสำรวจพบแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ตำบลในวงเหนือและในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เช่น แหล่งโบราณคดีถ้ำกลุ่มหมอลำ ถ้ำประกายเพชร ถ้ำเสือ และ ถ้ำน้ำลอด ระยะต่อมาปรากฏร่องรอยหลักฐานเมืองท่าโบราณยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีปากจั่น อำเภอกระบุรี และกลุ่มแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง อำเภอสุขสำราญ โดยพบลูกปัดที่ทำจากแก้ว หิน และทองคำ และโบราณวัตถุอื่นๆ อีกจำนวนมากที่แสดงถึงการติดต่อกับอินเดียอย่างชัดเจน รวมทั้งล่าสุดพบหลักฐานซากเรือโบราณที่หาดปากคลองกล้วย ใกล้กับแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ยิ่งทำให้เชื่อได้ว่าพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางทะเล การเผยแผ่ศาสนา ความเชื่อ และการแลกเปลี่ยนอารยธรรมจากภายนอก เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่ตั้งและสภาพโดยทั่วไป ตำบลในวงเหนือและตำบลในวงใต้ เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออก ของอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ห่างจากที่ว่าการอำเภอละอุ่นประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จากลักษณะทางกายภาพที่มีภูเขาล้อมรอบพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นวงนี้ จึงได้ถูกเรียกว่า “ในวง” ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๒๘ เริ่มมีราษฎรโดยเฉพาะจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยทยอยเข้ามาอยู่อาศัยและทำเกษตรกรรม จนปัจจุบันมีความอุดมสมบูรณ์ และเกิดการผสมสานทางวัฒนธรรมอีกด้วย ข้อมูลตามประวัติตำบลละอุ่นเหนือ กล่าวถึงคำว่า "ละอุ่น" มาจากชื่อนายอุ่น คนแรกที่เข้ามาอยู่ โดยอพยพมาจากภาคอีสาน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า "ตาลาวอุ่น" หรือ "ลาวอุ่น" ซึ่งเป็นคำที่คนทางภาคใต้ใช้เรียกคนอีสานว่า "ลาว" ต่อมาเมื่อเป็นชุมชนก็มีการเรียกชื่อชุมชนว่า "ลาวอุ่น" และคนภาคใต้ชอบใช้คำสรรพนามสั้นๆ จึงกร่อนคำเหลือเพียง "ละอุ่น" จึงสันนิษฐานว่าต่อมาได้ใช้คำว่า “ละอุ่น” ใช้ตั้งเป็นชื่อของอำเภอและตำบลในพื้นที่บริเวณนี้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิศาสตร์บริเวณพื้นที่ตำบลในวงเหนือและในวงใต้ ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน มียอดเขาสูงโดยเฉลี่ย ๓๐๐ – ๕๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล บางบริเวณเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา เนินเขา และที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา ตอนกลางของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลูกเนินสลับภูเขาหินปูนที่มีผนังสูงชันและมียอดแหลมๆ มากมายหลายยอดซ้อนกัน ส่วนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันเพิ่มตามระดับและเป็นพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณพื้นที่ใจกลางตำบลในวงเหนือและในวงใต้ มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่มีชุดหินเป็นหินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ มีเชิร์ตแทรกเป็นก้อนและเป็นชั้น หินโดโลไมต์ มีซากฟูซูลินิด หอยแบรคิโอพอด ปะการัง และ ไบรโอซัว จัดเป็นหินยุคเพอร์เมียน (อายุประมาณ ๒๘๖-๒๔๕ ล้านปี) ส่วนมากมีลักษณะเป็น เขาโดด จัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นหินปูนและโดโลไมต์ แสดงลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต(karst) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการกร่อนของเขาหินปูน โดยจะมีเขาโดดๆ รูปร่างต่างๆ มีถ้ำและเพิงผา ซึ่งภายในพบหินงอกหินย้อย ประวัติการศึกษา/ดำเนินการ ที่ผ่านมาของกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๔๒ สำรวจพบแหล่งโบราณคดี “ถ้ำกลุ่มหมอลำ” ในเขตหมู่ที่ ๓ ตำบลในวงเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง บริเวณที่พักสงฆ์ปัญจการุณ พบโบราณวัตถุ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา และชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวและที่ฝังศพของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ – แรกเริ่มประวัติศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๘ สำรวจพบแหล่งโบราณคดีถ้ำประกายเพชร พบร่องรอยหลักฐานของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ ๔,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ เป็นหลักฐานที่สามารถบอกได้ว่าในพื้นที่อำเภอละอุ่น มีการเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และสามารถใช้เป็นตัวแทนในการอธิบายภาพรวมการกระจายตัวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี พ.ศ. ๒๕๕๓ สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ตำบลในวงเหนือและในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เพื่อตรวจสอบสมมติฐานถึงวิถีชีวิตชุมชนและตรวจสอบการกระจายตัวของวัฒนธรรมหินใหม่ และหลักฐานเกี่ยวกับหม้อสามขา พบแหล่งโบราณคดีจากการสำรวจ จำนวน ๓๐ แหล่ง ที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาสามขา เครื่องมือหิน ลูกปัดหิน ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์และกระดูกสัตว์ เปลือกหอยน้ำจืดและน้ำเค็ม พ.ศ. ๒๕๕๖ สำรวจแหล่งโบราณคดีถ้ำนางนอน เขาไม้แก้ว และถ้ำประกายเพชร จากการสำรวจพบโบราณวัตถุประเภทชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ กระดูกและฟันสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ สำรวจแหล่งโบราณคดีถ้ำน้ำลอด จากการสำรวจพบโบราณวัตถุประเภทชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ พ.ศ.๒๕๖๑ กรมศิลปากร ประกาศรายชื่อโบราณสถานในเขตจังหวัดระนอง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ หน้า ๒๕ พื้นที่อำเภอละอุ่น จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ ๑) แหล่งโบราณคดีถ้ำประกายเพชร ๒) แหล่งโบราณคดีถ้ำนางนอน-เขาไม้แก้ว ๓) แหล่งโบราณคดีถ้ำกลุ่มหมอลำ ๔) แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ ๕) แหล่งโบราณดีถ้ำน้ำลอด วันที่ ๒๓-๒๕ เมษายน ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ตำบลในวงเหนือและ ในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง พบแหล่งโบราณคดีจำนวน ๑๒ แหล่ง ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ – แรกเริ่มประวัติศาสตร์ วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช สำรวจแหล่งโบราณคดีเพิ่มเติมในพื้นที่กลุ่มถ้ำฉานผึ้ง ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง พบแหล่งโบราณคดีจำนวน ๒ แหล่ง ได้แก่ ถ้ำฉานผึ้ง ๓ และถ้ำฉานผึ้ง ๔ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่กลุ่มถ้ำฉานผึ้ง ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง พบแหล่งโบราณคดีจำนวน ๑ แหล่ง ได้แก่ ถ้ำฉานผึ้ง ๕แหล่งโบราณคดีและหลักฐานที่พบจากการสำรวจ จากประวัติการศึกษาและการสำรวจทางโบราณคดีบริเวณกลุ่มภูเขาหินปูน ในพื้นที่ตำบลในวงเหนือและตำบลในวงใต้ ที่ผ่านมา พบแหล่งโบราณคดี ๑๖ แหล่ง ได้แก่ ๑. แหล่งโบราณคดีถ้ำกลุ่มหมอลำ ๑ หมู่ที่ ๓ บ้านหมอลำ ตำบลในวงเหนือ ๒. แหล่งโบราณคดีถ้ำกลุ่มหมอลำ ๒ หมู่ที่ ๓ บ้านหมอลำ ตำบลในวงเหนือ ๓. แหล่งโบราณคดีถ้ำกลุ่มหมอลำ ๓ หมู่ที่ ๓ บ้านหมอลำ ตำบลในวงเหนือ ๔. แหล่งโบราณคดีถ้ำกลุ่มหมอลำ ๔ หมู่ที่ ๓ บ้านหมอลำ ตำบลในวงเหนือ ๕. แหล่งโบราณคดีถ้ำกลุ่มหมอลำ ๕ หมู่ที่ ๓ บ้านหมอลำ ตำบลในวงเหนือ ๖. แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานผึ้ง ๑ หมู่ที่ ๒ บ้านเนินทอง ตำบลในวงใต้ ๗. แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานผึ้ง ๒ หมู่ที่ ๒ บ้านเนินทอง ตำบลในวงใต้ ๘. แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานผึ้ง ๓ หมู่ที่ ๒ บ้านเนินทอง ตำบลในวงใต้ ๙. แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานผึ้ง ๔ หมู่ที่ ๒ บ้านเนินทอง ตำบลในวงใต้ ๑๐. แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานผึ้ง ๕ หมู่ที่ ๒ บ้านเนินทอง ตำบลในวงใต้ ๑๑. แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ หมู่ที่ ๒ บ้านคอกช้าง ตำบลในวงเหนือ ๑๒. แหล่งโบราณคดีถ้ำนางนอน-เขาไม้แก้ว หมู่ที่ ๒ บ้านคอกช้าง ตำบลในวงเหนือ ๑๓. แหล่งโบราณคดีถ้ำประกายเพชร ๑ หมู่ที่ ๒ บ้านคอกช้าง ตำบลในวงเหนือ ๑๔. แหล่งโบราณคดีถ้ำประกายเพชร ๒ หมู่ที่ ๒ บ้านคอกช้าง ตำบลในวงเหนือ ๑๕. แหล่งโบราณคดีถ้ำหนัดได หมู่ที่ ๒ บ้านคอกช้าง ตำบลในวงเหนือ ๑๖. แหล่งโบราณคดีถ้ำน้ำลอด หมู่ที่ ๒ บ้านเนินทอง ตำบลในวงใต้--------------------------------------------------------สำรวจ/เรียบเรียง/กราฟิก : ธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช--------------------------------------------------------อ้างอิง ๑. กรมทรัพยากรธรณี. สำนักธรณีวิทยา. แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดระนอง ปี ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี, ๒๕๕๐.๒. กรมแผนที่ทหาร. อำเภอละอุ่น. ระวาง 4729 II. แผนที่ประเทศไทย ลำดับชุด L 7018. 2543. มาตราส่วน 1 : 50,000. ๓. กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. รายงานเบื้องต้นการสำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ ตำบลในวงเหนือ และตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. ๒๕๕๓. ๔. สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. กลุ่มโบราณคดีและอนุรักษ์โบราณสถาน สาขาภูเก็ต. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ในวงเหนือและในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. ๒๕๖๒. ๕. สำนักงานศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต. กลุ่มวิชาการโบราณคดี. แหล่งโบราณคดีถ้ำประกายเพชร ตำบลในวงเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. ๒๕๔๘. ๖. สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต. กลุ่มโบราณคดี. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีถ้ำน้ำลอด บ้านเนินทอง หมู่ ๒ ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. ๒๕๕๘. ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลละอุ่นเหนือ. ประวัติตำบลละอุ่นเหนือ. เข้าถึงเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๒, เข้าถึงได้จาก http://www.launnuae.go.th/history.php
เลขทะเบียน : นพ.บ.154/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : วิทฺดธมุขมณฺฑน(ศัพท์วิทัดมุขมัณฑน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.37/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ด
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อุโปสถกมฺมกถา (อุโปสถกรรมกถา)
ชบ.บ.97/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.312/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 127 (313-316) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เนมิราช)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง วันชุมนุมหนังตะลุง
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ สงขลา
สำนักพิมพ์ ม.ป.ท.
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๖
จำนวนหน้า ๑๐๓ หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งศิลปะการแสดงหนังตะลุงดั้งเดิม ให้ดำรงอยู่เป็นสัญลักษณ์การแสดงของชาวไทยภาคใต้ และเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหนังตะลุง แก่ประชาชนในทางที่ถูกต้อง
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง “อาโรคยปณิธาน” ระหว่างวันที่ ๑๕ พฤษภาคม - ๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นหนึ่งในความทุกข์ ๔ ประการของมนุษย์ (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกผู้คนต่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้วย่อมสร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจต่อตัวผู้ป่วยเอง จนต้องหาหนทางบำบัดรักษาให้หายจากโรคภัยนั้น แต่ถ้าหากโรคภัยเกิดขึ้นกับคนในสังคมพร้อม ๆ กัน ย่อมต้องมีความอลหม่าน วุ่นวายเกิดขึ้นมากมาย แม้ว่าเราเรียนรู้ว่าโรคระบาดได้สร้างความเจ็บป่วยล้มตายแก่คนในสังคมมาตั้งแต่อดีต แต่ในปัจจุบันระบบสาธารณสุข มีการพัฒนาสามารถควบคุมและจัดการโรคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เราห่างไกลจากคำว่า “โรคระบาด” จนกระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( Covid-19) สร้างวิกฤติให้กับประชากรโลกตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา จึงเกิดการเรียนรู้เพื่อสู้โรคขนานใหญ่ องค์ความรู้ด้านการรักษาโรคในอดีตถูกพลิกฟื้น ควบคู่ไปกับการค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตยารักษา และวัคซีนป้องกันโรค มุ่งหมายเพื่อหาแนวทางการบำบัดแก้ไขโรคร้ายให้คลายลง ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์พยายามแสวงหาหนทางให้พ้นจากโรค ไม่ว่าจะด้วยสัญชาตญาณ การสังเกตจากธรรมชาติและสัตว์ การลองผิดลองถูก จนสั่งสมขึ้นเป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ในการรักษาโรค ซึ่งมีทั้งการรักษาเยียวยาทางกาย และจิตใจ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค และยังคงต้องคิดหาหนทางใหม่ ๆ ที่จะต่อสู่กับโรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ หากเราได้ศึกษาเรียนรู้โรคภัย ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตมนุษย์ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการรักษาโรค ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่อันสำคัญของแต่ละบุคคล ชุมชน รัฐ และผู้นำ ที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน เพื่อถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในอดีต นำมาวิเคราะห์ ปรับใช้ ในการจัดการของทุกภาคส่วนของสังคมมนุษย์ก็อาจผจญกับโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างเท่าทัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อการเรียนรู้และเข้าใจโรคระบาดที่ประชากรโลกกำลังเผชิญอยู่ กรมศิลปากรจึงได้กำหนดจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง “อาโรคยปณิธาน” อันหมายถึงความปรารถนาที่จะให้ปวงมนุษยชาติพ้นจากโรค ประกอบด้วยหัวข้อ มนุษย์กับโรคภัย นำเสนอเรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์ โรคภัยของมนุษย์จากหลักฐานทางโบราณคดี นำเสนอโรคต่าง ๆ ที่พบบนผืนแผ่นดินไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยอ้างอิงจากหลักฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านโบราณคดี ภาพจิตรกรรมฝาผนัง จารึก และบันทึกต่าง ๆ ศาสตร์แห่งการรักษา นำเสนอแนวทางการรักษาโรคที่มีวิธีอธิบายสมุฏฐานและวิธีบำบัดโรคมากกว่าหนึ่งวิธีได้แก่ ศาสตร์ด้านความเชื่อ ศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย และศาสตร์ด้านการแพทย์แผนตะวันตก และสังคมระดมปัญญา สู่ชีวิตวิถีใหม่ นำเสนอการจัดการวิกฤติโรคระบาดในสังคมไทยให้ผ่านพ้นจากโรคร้ายด้วยพลังของทุกภาคส่วนในสังคม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง “อาโรคยปณิธาน” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม จนถึงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์และอังคาร)คัมภีร์พระตำรับแผนฝีดาษศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นอักษรสาสนโสภนและหลวงสารประเสริฐทรงชำระและชำระเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ ได้มาจากห้องสมุดกรมศึกษาธิการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สมุดไทยดำ อักษรขอมปนไทย เส้นชุบทอง ประกอบด้วยแผนภาพฝีดาษประจำ ๑๒ เดือน วิธีการรักษา พร้อมทั้งตำรับยาในการรักษาอาการระดับต่างๆ (ยามหาระงับ เอก โท) รวมไปถึงการอธิบายลักษณะของฝีขึ้นวันกำเนิดเป็นฝีร้ายและลักษณะฝีที่ขึ้นเครื่องประดับข้อพระกร ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา หอยเบี้ยจั่นพร้อมตลับและสายสร้อยข้อมือทองคำ พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ สันนิษฐานว่าเป็นการนำหอยเบี้ยมาใช้เป็นเครื่องรางของขลัง เนื่องด้วยหอยเบี้ยมีตลับปิดมิดชิด ในศาสนาฮินดูใช้หอยเบี้ยจั่นเป็นตัวแทนพระลักษมีในการบูชาพระนาง โดยที่พระนางลักษมี เป็นเทวีแห่งโชคลาภ การบูชาด้วยเบี้ยจั่นจึงถือว่าทำให้เกิดความมั่งคั่ง และความเจริญรุ่งเรือง ทั้งนี้ปกติแล้วเบี้ยจั่นใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนซื้อขายมาแต่โบราณ โดยใช้เป็นเงินปลีก ตัวตัวอย่างจารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาไทย) หลักที่ ๑ พ.ศ. ๑๙๐๔ กล่าวถึงการบำเพ็ญทานฉลองพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ตอนหนึ่งว่า “แล้วกระยาทานคาบนั้นทองหมื่นหนึ่ง เงินหมื่นหนึ่ง เบี้ยสิบล้าน หมากสิบล้าน ผ้าจีวรสี่ร้อย บาตรีสี่ร้อย หมอนนั่งสี่ร้อย หมอนนอนสี่ร้อย...”สมุดไทยขาวตำราแม่ซื้อ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร หนังสือสมุดไทยขาว หมวดเวชศาสตร์ เลขที่ ๑๐๒ เขียนภาพลงสี ลักษณะแม่ซื้อประจำวันต่างๆ และลำบองราหู ลักษณะที่เกิด พร้อมทั้งวิธีแก้ บรรยายภาพด้วยอักษรไทย ลายเส้นสีดำ จิตรกรรมลำบองราหู ที่ปรากฏในสมุดไทยเล่มนี้ เป็นรูปอมนุษย์ ที่แสดงลักษณะอาการของโรคในเด็กทารก ตั้งแต่แรกเกิดจนมีอายุครบขวบปี โดยความเจ็บไข้ของเด็กในช่วงปีแรกเกิดขึ้นเพราะอำนาจของลำบองราหู ที่มีอาการและรูปลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน รูปลักษณ์ของลำบองราหูจึงปรากฏการใช้สัญลักษณ์ประจำจักรราศี (๑๒ ราศี) มาเป็นองค์ประกอบของรูปเพื่อสื่อความหมายถึงโรคภัยในเดือนนั้นๆ ด้วย ภาพลำบองราหูที่ปรากฏในหนังสือสมุดไทยขาวเล่มนี้ มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรลำบองราหู บริเวณคอสองเฉลียงศาลาราย (ศาลาแม่ซื้อ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหารพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ นายเสียง ปาลวัฒน์ (เป้า) สร้างอุทิศให้นายสำรวย ปาลวัฒน์ (บุตร) รูปเคารพทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่มีเค้าลางเรื่องการสะเดาะเคราะห์ ต่ออายุ เรียกว่า พระช่วยชีพ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงจีวรลายดอก ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ถือเป็นพระพุทธรูปกลุ่มที่นิยมสร้างเพื่อนำไปถวายเป็นพุทธบูชา มีการเว้นที่ว่างสำหรับจารคำอธิษฐาน ขออำนาจพุทธเทวดาบันดาลให้บุตรหายป่วย แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องการต่ออายุด้วยการอุทิศรูปเคารพ ในลักษณะเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปถวายเจ้านายพระองค์สำคัญอย่าง พระนิรโรคันตราย พระพุทธนิรโรคันตราย หรือ พระพุทธศรีสงขลานครินทร์พระกริ่งบาเก็ง ศิลปะจีน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาแต่เดิม พระเครื่องจำลองรูปพระไภษัชยคุรุ นิยมนำไปใส่ลงในภาชนะเพื่อทำน้ำมนต์ สำหรับดื่มชำระโรคภัยและใช้ประพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล มีต้นแบบสำคัญอยู่ในประเทศทิเบต แล้วแพร่หลายต่อไปยังประเทศจีน โดยพระกริ่งกลุ่มนี้พบบนเขาพนมบาเก็ง ประเทศกัมพูชา ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระวินิจฉัยว่าถูกนำเข้ามาจากประเทศจีน ทั้งนี้ แม้ความเชื่อเรื่องการดื่มน้ำมนต์เพื่อรักษาโรคจะถูกลดบทบาทลงเหลือเพียงการใช้ประพรมก็ตาม แต่อำนาจพุทธคุณของพระกริ่งยังคงเป็นที่นับถือสืบมาจนปัจจุบันแท่นหินบดยา มีจารึกเยธมฺมาฯ ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พบที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๐๗ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ แท่นหินบดยา พบเหลือครึ่งแท่นตามแนวขวาง ใต้แท่นหินบดยา มีคาถา เยธมฺมาฯ จำนวน ๕ บรรทัด อักษร ปัลลวะ ภาษาบาลี นายเทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาตะวันออก (ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร) ได้อธิบายว่า การนำคาถาเย ธมฺมา ซึ่งเป็นหัวใจพระพุทธศาสนามาจารึกบนแท่นหินบดยาจะทำให้ตัวยาศักดิ์สิทธิ์ด้วยพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้จะพ้นจากโรคคือการพ้นจากทุกข์ ปัจจุบันพบแท่นหินบดยาที่มีจารึกคาถาเยธมฺมาเพียง ๒ ชิ้น จึงนับเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนความเชื่อและความศรัทธาของผู้คนในสมัยทวารวดีที่มีต่อพระพุทธศาสนาและปรุงยารักษาโรคหน้ากากให้ยาสลบแบบชิมเมลบุช สเตนเลส พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน หน้ากากชิมเมลบุช เป็นเครื่องมือทางวิสัญญีวิทยา ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2433 โดย นพ.เคอร์ท ชิมเมลบุช ศัลยกรรมชาวเยอรมัน มีลักษณะเป็นตะแกรงหน้ากากโปร่ง หุ้มด้วยผ้าสำสีหรือผ้าก็อซสำหรับหยดยาสลบ แล้วนำไปครอบจมูกและปากให้ผู้ป่วยสูดดม ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ยุคเริ่มแรกสำหรับการผ่าตัดภายในโรงพยาบาลศิริราช เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ศัลยแพทย์ในการผ่าตัดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยได้อย่างดีประติมากรรมฤาษีดัดตน ศิลปะรัตนโกสินทร์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณ และศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ ทรงพระราชดำริเอาท่าดัดตนของโยคีอินเดียที่เป็นการออกกำลังกายที่ใช้ศิลปะ เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง และแก้ปวดเมื่อย ปั้นด้วยดินเป็นฤาษีดัดตนท่าต่างๆ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้หล่อเป็นเนื้อชินปืนกลพระสุบินบันดาล ศิลปะรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๔) คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น ตามที่ทรงพระสุบินว่ามีปืนอย่างหนึ่งซึ่งเป็นรูปปืนใหญ่แต่ยิงได้หลายๆ นัด ตั้งไว้ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างปืนตามกระแสพระสุบิน เมื่อสร้างเสร็จ ทอดพระเนตรแล้วก็รับสั่งว่าไม่เหมือนที่ทรงพระสุบิน แต่ยิงได้หลายนัดคล้ายคลึงกัน จึงพระราชทานชื่อว่า “พระสุบินบันดาล”