ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,768 รายการ
นางหาริตี
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
วัสดุสัมฤทธิ์
ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระราชทานมาให้พิพิธภัณฑสถาน
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูปสตรีสัมฤทธิ์ รวบผมเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย สวมกระบังหน้ามีกรรเจียกจร กรองศอ สร้อย รัดต้นแขน และกำไลข้อมือ นุ่งผ้ายาว อยู่ในท่านั่งเท้าแขนซ้ายกับแท่น พับขาซ้าย ห้อยขาขวา โดยที่มือขวาประคองกุมารที่กำลังดูดนมจากอก ด้านหลังมีหมอนอิง ส่วนกุมารสวมตุ้มหู กรองศอ ในมือขวาถือวัตถุ มือซ้ายโอบหลังสตรี กุมารนุ่งผ้ายาวจรดข้อเท้า และสวมกำไลข้อเท้า
ประวัติที่มาของประติมากรรมชิ้นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในลายพระหัตถ์ทูล สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๗ เมื่อหม่อมฉันตามเสด็จขึ้นไปมณฑลพายัพ ไปเห็นรูปหล่อของโบราณทำเป็นรูปผู้หญิงอุ้มทารกมีอยู่ที่ บ้านพระพิทักษ์นายตำรวจภูธร หม่อมฉันเห็นแปลกขอเขาเอาลงมาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถาน ทีหลังสังเกตดูรูปนั้นออกประหลาดใจด้วยรูปทารกทำแบบโบราณ เช่นใส่ตุ้มหูเป็นกะแปะเหมือนอย่างภาพที่นครปฐม แต่ตัวนางนั้นทำหน้าและเกล้าผมเป็นแบบใหม่เหมือนอย่างเจ้าพราหมณ์ที่เล่นละคร เกิดสงสัยเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ให้เอารูปนั้นออกขัดสีดู ก็แลเห็นทองที่หล่อหัวนางผิดสีกับทองที่หล่อตัว หัวเป็นของหล่อต่อภายหลัง ส่อให้เห็นว่าหัวเดิมคงจะถูกต่อยทิ้งในพิธีเสียกะบาล ได้ความรู้เพิ่มขึ้นว่าพิธีเสียกะบาลนั้น ต้องเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ทีเดียว...”
รูปสตรีสัมฤทธิ์นี้ สันนิษฐานว่า เป็นรูปนางหาริตี (Hārītī) ยักษินีในพุทธศาสนานิกายมหายาน มีหน้าที่คุ้มครองเด็กและเป็นผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ตามตำนานกล่าวว่าเดิมนางชื่อ อภิรตี เป็นน้องสาวของยักษ์ชื่อศาตศิริ (ยักษ์ผู้รักษาเมืองราชคฤห์) ต่อมานางแต่งงานกับยักษ์ปาญจิกาและมีลูก ๕๐๐ ตน อย่างไรก็ตามด้วยอุปนิสัยชอบกินเด็ก ทำให้นางมักขโมยเด็กเมืองราชคฤห์มากินเสียเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า “หาริติ” แปลว่า ผู้ขโมยเด็ก ชาวเมืองราชคฤห์ได้รับความเดือดร้อนมากจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าจึงได้นำลูกคนเล็กในบรรดาบุตร ๕๐๐ ตน นามว่า “ปริยังกร” ไปซ่อน เมื่อนางหาริตีหาปริยังกรไม่เจอก็เกิดความเศร้าโศกเสียใจจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์ช่วยตามหา พระองค์จึงตรัสสั่งสอนจนนางหาริตีสำนึกผิดและกลับใจได้ พระพุทธเจ้าจึงคืนบุตรคนเล็กให้นาง ซึ่งต่อมาบุตรทั้ง ๕๐๐ ตนได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าจนบรรลุธรรมทั้งหมด รูปเคารพนางหาริตีพบได้แพร่หลายทั้งใน ธิเบต เนปาล จีน ชวา โดยทั่วไปมักทำเป็นรูปยักษินี (หาริตี) ทั้งแบบนั่งห้อยขาข้างหนึ่งหรือยืน ทำท่าอุ้มเด็กไว้บนหน้าตักหรือแนบอก โดยที่มือข้างหนึ่งถือผลทับทิมอันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งประติมากรรมนางหาริตียังปรากฏคู่กับยักษ์ปาญจิกา สามีของนาง
อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมรูปสตรีอุ้มเด็กที่กำลังดูดนมดังกล่าว ยังอาจสื่อถึงตอนพระกฤษณะดูดนมอสูรปุตนะ (Putana) ตามเนื้อเรื่องกฤษณาวตาร มีเนื้อเรื่องว่า พระกฤษณะเติบโตท่ามกลางหมู่คนเลี้ยงโค ในช่วงขวบปีแรกพญากังสะส่งอสูรถึงสามตนเพื่อทำร้ายพระองค์ อสูรตนแรกคือปุตนะ (Putana) แปลงร่างเป็นหญิงสาวมาให้นมพระกฤษณะ โดยใส่ยาพิษไว้ในนม แต่พระกฤษณะรู้ทันจึงดูดนมจนอสูรปุตนะทนไม่ไหวสิ้นชีพลงในที่สุด
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๐. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๘ มกราคม ๒๕๖๕, จาก httpsvajirayana.orgสาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๐พฤศจิกายนวันที่-๑๘- พฤศจิกายน-พศ-๒๔๘๐-ดรfbclid=IwAR2ddusVr2G627J1-ELwQ1LQMvjbZadK2M1P- p7ira10rDyMlRjoCxLmqcY
ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
ส. พลายน้อย (นามแฝง). เทวนิยาย. พิมพ์ครั้งที่๔. กรุงเทพฯ ยิปซี, ๒๕๕๕.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 16/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง พระมหาเทพกษัตรสมุห
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์การบำเพ็ญกุศลฉลองอายุครบ ๘๐ ปี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๔๓ หน้า
ประเพณ๊ของไทยนิยมทำบุญตักบาตรในวันเกิดครบรอบปีกันเป็นประจำ ฉะนั้นในวันเกิดครบ ๘๐ ปี ของ พระมหาเทพกษัตรสมุห และวันรับพระราชทานนามสกุล ครบรอบ ๖๕ ปี ในวันนี้ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๑ นักเรียนรุ่น ๑๑ จึงจัดหำหนังสือรุ่นที่ระลึกขึ้นเป็นการใหญ่ ได้ขอภาพและคำขวัญของพระมาหเทพกษัตรสมุหไปลงในหนังสือรุ่นดังปรากฏนี้ ๑. เตือนใจ ๒. จดหมายที่มีคุณค่า ๓.ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตย ๔. ความหลังของ”เรานักเรียนมหาดเล็กเด็กในหลวง” ๕. วิธีฝึกตัวเองให้เกิดความฉลาดรอบรู้ ๖. การดนตรีและการฟัง ๗. เชื่อ ๘, นักดูละคร
ชื่อผู้แต่ง สมพร อยู่โพธิ์
ชื่อเรื่อง พระพุทธรูปปางต่างๆ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๙
สถานที่พิมพ์ นครหลวง
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์นิยมอักษร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๒๙ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนวิจารย์ ธราดล ( วิจารย์ โกมลภมร )
รายละเอียด
หนังสือเรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นผลงานการเรียบเรียงของนายสมพร อยู่โพธิ์ ภัณฑรักษ์เอก กองโบราณคดี กรมศิลปากรโดยมีนายประพัฒน์ โยธาประเสริฐ หัวหน้าแผนกสำรวจ นายมานิต รัตนกุล ช่างศิลปโท นายระพีศักดิ์ ชัชวาล ช่างศิลปโท นายเสรี นิลประพันธ์ นายช่างศิลปโท นายภิรมย์ จีนะเจริญ สถาปนิกโทและนายอิทธิศาสตร์ วิเศษวงศา ช่างศิลปจัตวา ช่วยวาดรูปลายเส้นพระพุทธรูปปางต่างๆ รวม ๕๖ ปาง พร้อมทั้งแผนที่อินเดียสมัยโบราณ
เลขทะเบียน : นพ.บ.582/ก/6 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 188 (365-371) ผูก ก6 (2566)หัวเรื่อง : ทศชาติ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันเนา---วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า อันเป็นวันที่ถัดจากวันสังขานต์ล่อง ในแง่ของโหราศาสตร์แล้ว วันนี้ควรจะเรียกว่าวันเนา เพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ แม้จะเข้าสู่ราศีเมษบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สถิตเต็มราศีจึงเป็นระยะที่ยัง "เนา" ไว้ก่อน แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก "วันเน่า" ซึ่งโดยชื่อนี้ทำให้เกิดความคิดที่ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่าและหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ "เน่า" และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว---วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพระญาวัน เมื่อถึงตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด ปกติทรายที่นำเข้าวัดนั้นมักกองรวมกันทำเป็นเจดีย์ซึ่งบางครั้งจะมีกระบะไม้หรือไม้ไผ่สานสำหรับกั้นขอบทรายเพื่อให้สามารถกองต่อเนื่องกันสูงขึ้นไปเป็นรูปเจดีย์ การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ดิดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด ทั้งนี้วันที่กำหนดไว้สำหรับขนทรายเข้าวัดอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เป็นต้น นิยมขนทรายในวันเนาแต่ที่จังหวัดน่านนิยมขนทรายในวันพระญาวัน และบางแห่งก็นิยมขนทรายในวันสังกรานต์ล่องด้วย แต่เท่าที่นิยมกันมากที่สุดนั้นคือขนทรายเข้าวัดในวันเนา---ในขณะที่มีการสร้างเจดีย์ทรายที่วัดนั้น ทางบ้านก็จะจัดเตรียมตัดกระดาษสีต่างๆ มาทำ ทุง หรือธงอย่างธงตะขาบหรืออาจจะทำช่อซึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมบ้างก็ได้ คันทุงมักทำด้วยก้านของต้นเขือง ชาวบ้านจะนำทุงที่ตัดเป็นลวดลายจำนวนหลายตัวมาแขวนไว้กับก้านเขืองเตรียมไว้สำหรับนำไปปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันพระญาวัน---วันเนา นี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ดา หรือจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ทั้งข้าวของรวมไปถึงอาหารขนทรายเข้าวัดใน วันเนาและขนมที่จะใช้ทำบุญและใช้บริโภคในวันพระญาวัน ขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์นี้มีหลายชนิด เช่น เข้าหนมจ็อก คือขนมใส่ไส้อย่างขนมเทียน เข้าหนมปาดหรือศิลาอ่อนคือขนมอย่างขนมถาดของภาคกลาง เข้าวิทู คือข้าวเหนียวแดงเข้าแดนคือขนมนางเล็ด เข้าแตบ คือข้าวเกรียบซึ่งมีขนาดประมาณฝ่ามือ เข้าตวบ คือข้าวเกรียบว่าว เข้าพอง คือขนมอย่างข้าวพองของภาคกลาง เข้าหนมตายลืม คือข้าวเหนียวคนกับกะทิและใส่น้ำอ้อยแล้วนึ่งแต่ไม่ให้สุกดีนัก เข้าต้มหัวหงอก คือข้าวต้มมัดที่โรยด้วยฝอยมะพร้าวขูด เข้าหนมวงคือขนมกง เข้าหนมเกลือ คือขนมเกลือ แต่ทั้งนี้ ขนมที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงสงกรานต์คือ เข้าหนมจ๊อกที่มา"ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม ”
วันสำคัญในเดือนพฤษภาคมวันหนึ่ง คือ วันฉัตรมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ต่อมารัชกาลที่ 10 ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4 พฤษภาคม จึงถือเอาวันนี้เป็นวันฉัตรมงคล
พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นพระราชพิธีที่กำหนดให้มีขึ้น โดยถือวันครบรอบปีแห่งการเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์แต่ละรัชกาล ถือเป็นวันมหามงคลสมัย
ในการพระราชพิธีนั้นทรงบำเพ็ญพระราชกุศล สมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นการฉลองครบรอบปีที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก และเพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เพื่อทรงอุทิศกุศลสนองพระเดชพระคุณให้เป็นการเชิดชูพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ และพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป
พระราชพิธีฉัตรมงคลนี้ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 4 ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงการสมโภชเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระราชทานนามว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล มีงาน 4 วัน ในเดือน 6 ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชพิธีนี้ยังคงทำในเดือนหก ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2417 จึงเปลี่ยนมาทำในเดือน 12 อันเป็นเดือนที่ได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
ถึงสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ยังทรงพระเยาว์และยังมิได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก การพระราชพิธีจึงคงทำในนามพระราชพิธีรัชมงคล
ต่อมาเมื่อได้รับพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 รัฐบาลไทย ได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทยได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก
สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน วันฉัตรมงคล ถูกกำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ดังนั้น วันฉัตรมงคลในปัจจุบัน จึงตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม ของทุกปี
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องใหญ่พระมหาจักรพรรดิ
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว)
นางโทชิโกะ อุรุชิมะ ชาวญี่ปุ่นได้มอบคืนโบราณวัตถุให้แก่ประเทศไทย เมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕
__________________________________________
พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองตั้งขึ้นยกในระดับเสมอกับพระอุระ ทรงเครื่องราชาภรณ์ ได้แก่ มงกุฎ กรองศอ สังวาล ทับทรวง พาหุรัด ธำมรงค์ ปั้นเหน่ง สุวรรณกระถอบ ทองพระบาท และฉลองพระบาท ครองจีวรห่มคลุม ขอบจีวรตกแต่งแถวลายกระจัง ส่วนสบงมีแถบหน้านางประดับชายไหวและชายแครง ประทับบนฐานปัทม์ในผังกลม
กรรมวิธีหล่อพระพุทธรูป นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑) มีการนำโลหะ “ทองล่ำอู่เขียว” ซึ่งเป็นโลหะที่ใช้ในการหล่อเครื่องเรือกลไฟแทนการใช้สัมฤทธิ์ (ทองม้าล่อ) หรือทองเหลืองที่ใช้แต่เดิม ทั้งได้พัฒนาเทคนิคการตกแต่งลวดลายพระพุทธรูปด้วยแม่พิมพ์หินสบู่ ทำให้ลวดลายมีความละเอียดคมชัด ส่วนพระพักตร์พระพุทธรูปในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จะมีลักษณะอย่างหน้าหุ่น กล่าวคือ พระพัตร์นิ่งสงบ ไม่แสดงอารมณ์ อันเป็นลักษณะเด่นของพระพุทธรูปในช่วงเวลานี้
พระพุทธรูปองค์นี้เก็บรักษาไว้ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปัจจุบันนำไปจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖
.
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๖
เครื่องลายครามรูปช้าง
เลขทะเบียน ๔ / ๒๕๔๗
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะจีน ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
วัสดุ (ชนิด) เครื่องลายคราม
ขนาด กว้าง ๑๐ เซนติเมตร สูง ๖ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานวัดหนานช้าง เวียงกุมกาม อำเภอสารภี
จังหวัดเชียงใหม่
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
เครื่องลายครามรูปช้าง บนหลังเขียนลายครามเป็นผ้าคลุม
กรมศิลปากรได้รวบรวมประวัติและผลงานของชาวต่างชาติที่ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ จำนวน ๖ เรื่อง นำมาจัดพิมพ์เผยแพร่โดยให้ชื่อเรื่องว่า “ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทยเล่ม ๔” โดยได้จัดเรียงเรื่องราวไปตามระยะเวลาก่อนหลังของการเดินทางมายังประเทศไทยของชาวต่างชาติแต่ละคน ดังนี้
๑. พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) จางวางกำกับราชการเมืองระนองคนแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๕
๒. พระยาวาสุเทพ (Gustav Schau) เจ้ากรมตำรวจภูธรคนแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕
๓. นายคาร์ล เบทเก (Karl Bethge) เจ้ากรมรถไฟคนแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๕
๔. นายเออร์เนสต์ ยัง (Ernest Young) ครูชาวอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
๕. นายอาร์เธอร์ จอห์น อเล็กซานเดอร์ จาร์ดีน (Arthur John Alexander Jardine) อธิบดีกรมกองตระเวน ในสมัยรัชกาลที่ ๕
๖. ดร.ฮิวแมกคอร์มิกสมิท (Dr. Hugh McCormickSmith) ที่ปรึกษาด้านการเพาะพันธุ์ปลา และเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดการบรรยายทางวิชาการออนไลน์สาธารณะ ประจำปี พ.ศ.2566 "คนพิพิธภัณฑ์อยากจะเล่า" ครั้งที่ 8 ขอเชิญร่วมฟังเรื่องเล่า ในหัวข้อ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป : ภัณฑารักษ์กับการทำนิทรรศการศิลปะ" เล่าเรื่องโดย นางสาววัชราภรณ์ มธุรกันต์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ นางสาวณิชนันท์ รักพงษ์ไทย ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง facebook live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ก่อนก้าวเข้าสู่เดือนสุดท้ายปลายปี เนื่องในโอกาสวันที่ ๑ ธันวาคมตรงกับ “วันดำรงราชานุภาพ” อันเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แอดมินจึงขอเล่าเรื่องราวจากโบราณวัตถุศิลปวัตถุ คือ ชุดไม้กอล์ฟ (มือซ้าย) ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานมา ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๗๔ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๘ เรื่อง "แจ้งความราชบัณฑิตยสภาเรื่องมีผู้ให้ของแก่พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร"
กีฬากอล์ฟ เริ่มมาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจการค้าในสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ นำมาเล่นและได้รับความนิยมแพร่หลาย จนกลายเป็นกีฬาสำหรับการพักผ่อนของเชื้อพระวงศ์และขุนนางสยาม
ช่วงแรกมีการจัดตั้งสโมสรบางกอกกอล์ฟ (The Bangkok Golf Club) เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชบรมราชานุญาตให้เปิดสนามกอล์ฟแห่งแรก บริเวณ “สนามหลวง” หรือทุ่งพระสุเมรุ สำหรับจัดการแข่งขัน ทั้งนี้ยังมีการก่อตั้งสโมสรเชียงใหม่ “ยิมคานา” ของกลุ่มพ่อค้าและนักธุรกิจชาวอังกฤษที่เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้อีกด้วย
กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงได้มีการจัดตั้งสโมสร “รอแยลสปอร์ตคลับ” และเริ่มก่อสร้างราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพ เป็นสถานที่พักผ่อนและจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับรับรองสมาชิกชนชั้นสูงสยามและชาวต่างชาติ โดยเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับใช้บริการพื้นที่สาธารณะ
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการขยายพื้นที่ของสนามกอล์ฟไปตั้งอยู่นอกเมืองสำหรับพักผ่อนตากอากาศคือ สนามกอล์ฟหัวหิน และเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพร้อมกับทรงเล่นเป็นปฐมฤกษ์
ต่อมาพ.ศ ๒๔๖๘ เจ้าพระยารามราฆพ ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก ได้เล็งเห็นว่าพื้นที่ของราชกรีฑาสโมสรและสนามกอล์ฟหัวหินไม่สะดวกต่อการเดินทาง จึงทูลขอพระบรมราชานุญาตสร้างสนามกอล์ฟบริเวณที่ตั้งกรมอัศวราช และมีนายเอ.โอ.โรบิน ชาวสก็อตแลนด์เป็นผู้ออกแบบ เรียกว่า “สนามกอล์ฟมหาดเล็ก” พร้อมทั้งจัดการแข่งขันตีกอล์ฟและขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงโปรดกีฬาชนิดนี้อย่างมาก
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ สนามกอล์ฟมหาดเล็กได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมสโมสรกอล์ฟดุสิต ในพระบรมราชูปถัมภ์” โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นนายกสโมสร อีกทั้งยังทรงได้รับเชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสรอีกหลายแห่ง
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศสมัย ดิศกุล ก็หัดกอล์ฟตามพระบิดา ทั้งทรงอธิบายในหนังสือสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ความว่า “... ส่วนความสัมพันธ์ทางส่วนพระองค์ ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯกับเสด็จพ่อก็กลมเกลียวกันดี แม้เสด็จพ่อทรงแนะนำว่าเล่นกอล์ฟดี ก็ทรงเล่นจนติด...” และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็เล่นกอล์ฟด้วย
แม้ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ยังคงมีลายพระหัตถ์ (จดหมาย) ถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เกี่ยวกับเรื่องราวกิจวัตรต่างๆ อยู่เสมอ “...แม้จนมีหอสมุดสำหรับหาหนังสืออ่านและมีที่ตีกอล์ฟด้วยสโมรสรที่เขาเชิญเปนสมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ขาดแคลนอันใด ตัดไม่ได้แต่ความคิดถึงญาติและมิตรอย่างเดียวเท่านั้น”
หากท่านมีโอกาสได้เข้าไปภายในห้องเกียรติสถิตของวังวรดิศ อาจเคยเห็นมีชุดไม้กอล์ฟอีกชุดหนึ่ง ซึ่งความน่าสนใจของเครื่องกีฬานั้น คือชุดไม้กอล์ฟสำหรับผู้ถนัดมือซ้าย อันเป็นสินค้าคุณภาพดีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ชุดไม้กอล์ฟ (มือซ้าย) นี้ เป็นเครื่องกีฬานำเข้าจากต่างประเทศ ครั้งแรกที่เข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ ๒๔๓๗ เล่นบริเวณท้องสนามหลวง มีชุดไม้กอล์ฟและแท่นวาง ประกอบด้วย หัวไม้หนึ่ง หัวไม้แฟร์เวย์ หัวไม้เหล็ก หัวไม้พัตเตอร์ และหัวไม้เวดจ์ รวมจำนวน ๘ ไม้ พร้อมลูกกอล์ฟ มีรายละเอียดดังนี้
หัวไม้หนึ่งประทับอักษร คำว่า “ARMY&NAVY C.S.L LONDON” เป็นสินค้าของบริษัทสัญชาติอังกฤษคือ The Army & Navy Store Co-Operative Society Limited เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ ช่วงปี พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๗๗ ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้ผลิตและเจ้าของกิจการ
หัวไม้แฟร์เวย์ประทับอักษร คำว่า “G.FORRESTER” สินค้าของบริษัทสัญชาติสก๊อตแลนด์นามว่า Geoge Forrester & Son Golf Club and Ball Markers ที่มีร้านค้าปลีกในประเทศอังกฤษ มีการจดสิทธิบัตรสินค้าและเปิดสโมสรกอล์ฟระหว่างปี ๒๔๑๔-๒๔๖๙ ก่อนปิดกิจการภายหลังเกษียณอายุ
หัวไม้พัตเตอร์ มีลักษณะหัวไม้แบนยาวทำจากโลหะ ก้านทำจากไม้ และกริพเป็นเชือกหนังแบน มีตราประทับอักษร P มาจากคำว่า “PUTTER” และสัญลักษณ์วงกลม พร้อมข้อความ A&NCS (Army & Navy Cooperative Stores)
หัวไม้เหล็ก และหัวไม้เวดจ์ มีลักษณะเป็นหัวไม้แบนยาวมุมมน มีกริพทำจากเชือกหนังพันแกนไม้ ตราประทับค่อนข้างเลือนลางจากการใช้งาน
อ้างอิง
แจ้งความราชบัณฑิตยสภา เรื่องมีผู้ให้ของแก่พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร. (๑๖ สิงหาคม ๒๔๗๔). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๘ หน้า ๑๗๖๓.
พูนพิศมัย ดิศกุล, มจ. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น. กรุงเทพฯ : มติชน ๒๕๕๗.
สบ ๒.๔๙/๔๙ เรื่องขอพระราชทานด้วยเงินในการแข่งขันตีกอล์ฟ ณ สนามมหาดเล็ก พ.ศ.๒๔๖๘
สบ ๒.๔๐/๖ กำหนดการประชุมกรรมการสโมสรกอล์ฟดุสิตในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๔๗๑
ศิลปวัฒนธรรม. ส่องการพักผ่อนแบบชนชั้นสูงสยาม อิทธิพลจากฝรั่ง ดูยุคเริ่มยอมถ่ายรูป สู่ฮิตพักตากอากาศ. เข้าถึงเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_29754...
ศิลปวัฒนธรรม. จริงหรือไม่? “สนามหลวง” เคยเป็น “สนามกอล์ฟ” ของฝรั่งและไฮโซไทย สมัย ร.5 เข้าถึงเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/old-photos-tell.../article_1265
หอสมุดวชิรญาณ. สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๗๖. เข้าถึงเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/ab03K
Antique Golf Clubs from Scotland. Scottish Golf History เข้าถึงเมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.antiquegolfscotland.com/antiq.../history.php3...
Christopher Clarke Antiques. ARMY&NAVY C.S.L เข้าถึงเมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://campaignfurniture.com/artists/army-navy-csl
1. การให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.00 น. ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดราชการ2. ระหว่างวันที่ 15 - 30 ธันวาคม ของทุกปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปิดให้บริการ เนื่องจากตรวจสอบเอกสารประจำปี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ขอเชิญร่วมกิจกรรม "สืบสานวิถีแห่งศรัทธา สักการะบูชาพระพุทธรูปนาคปรก"สมัยทวารวดี อายุนับพันปี เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๗ ต้อนรับปีมะโรง ( งูใหญ่ )ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ - วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๗และยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ - ๕ มกราคม ๒๕๖๗ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นถนนหลังศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๓๒๔ ๖๑๗๐