ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,765 รายการ
ชื่อเรื่อง เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ. 197/7กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 54.1 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง กมฺมวาจาวิธิ (อุปสมฺปทวิธิ)สพ.บ. 124/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 64 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 37 ซ.ม. หัวเรื่อง การบวช พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
บทความครั้งนี้ผู้เขียนขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสกับวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีไทยมุสลิมชายแดนใต้ ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและสืบทอดมาแต่โบราณโดยได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องแต่งกายของชาวมาเลเซียและอินโดนีเซีย สำหรับการแต่งกายของสตรีมุสลิมนั้นจะใช้ผ้าปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดที่เรียกว่า “ฮีญาบ” ซึ่งถือว่าเป็นชุดที่ทำให้ผู้หญิงปลอดภัยจากการลวนลามและแทะโลม การแต่งกายสำหรับสตรีมุสลิมมีองค์ประกอบสำคัญคือ ผ้าโสร่ง เสื้อกูรง เสื้อบานงหรือกือบายอ และผ้าคลุมศรีษะ ณ ที่นี้ผู้เขียนขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับ “บานง” ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายของสตรีไทยมุสลิมตามประเพณีดั้งเดิม ซึ่งมีความสวยงามและมีเสน่ห์ชวนมอง คำว่า “บานง” มาจากภาษามลายูกลาง ว่า “บันดง” หมายถึง เมืองทางตะวันตกของเกาะชวา ชุดบานง เป็นชุดพื้นเมืองดั้งเดิมที่สตรีไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส นิยมสวมใส่ในงานประเพณีหรือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น พิธีนิก๊ะ งานรอมฏอน วันฮารีรายอ งานวันเมาลิด และการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น เสื้อบานงมี ๒ ลักษณะ คือ เสื้อบานงมาตรฐาน และเสื้อบานงแมแด เสื้อบานงมาตรฐาน มีลักษณะเป็นเสื้อคอปีน ผ่าหน้า และพับริมปกเกยซ้อนไว้ตลอด มีสาบพับยาวตลอดถึงชายเสื้อ มักตัดด้วยเนื้อผ้าโปร่งบางและอาจปักฉลุลวดลายตรงชายเสื้อ โดยใช้กระดุมลักษณะเป็น เข็มกลัดทำด้วยทองคำประดับด้วยเพชรพลอย จำนวน ๓ เม็ด เพื่อเป็นการแสดงถึงฐานะและเพิ่มความสวยงาม แขนเสื้อยาวถึงข้อมือแต่ไม่กว้างมากนัก นิยมสวมใส่กับผ้าถุงปาเต๊ะ กระโปรงป้าย หรือกระโปรง จีบหน้านาง เสื้อบานงแมแด ภาษามลายูกลาง เรียกว่า “บันดงเมดา” เป็นชื่อเมืองทางเหนือของเกาะสุมาตรา เป็นเสื้อที่ได้รับอิทธิพลจากอินโดนีเซีย ผ้าที่ใช้ตัดเสื้อนั้น นิยมตัดด้วยผ้าลูกไม้ ผ้ากำมะหยี่ ผ้าต่วน ผ้าชีฟอง ลักษณะเป็นเสื้อคอสามเหลี่ยมหรือคอวีกว้าง ปิดทับด้วยลิ้นสามเหลี่ยม แขนยาวแคบ ความยาวเสื้อคลุมสะโพก นิยมสวมเข้าชุดกับกระโปรงยาวจีบหน้านางหรือผ้าถุงปาเต๊ะ ทั้งนี้ การแต่งกายของสตรีไทยมุสลิมด้วยชุดบานงดังที่กล่าว มิใช่เพียงแต่เป็นเครื่องอาภรณ์ประดับร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนาที่จำเป็นต้องมี จำเป็นต้องใช้ประกอบในการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ได้เป็นอย่างดี ควรแก่การอนุรักษ์สืบไป ---------------------------------------------------ผู้เขียน : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ---------------------------------------------------บรรณานุกรม ประมูล อุทัยพันธุ์. “บานง.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ ๘ (๒๕๔๒): ๔๐๐๙-๔๐๑๑. สุนีย์ วัฑฒนายน “เสน่ห์ “บานง””กูรง” วัฒนธรรมการแต่งกายสตรีมุสลิมชายแดนใต้” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๒๐, ๒ (พ.ค.-ส.ค. ๕๒) ๓๔-๔๓.
เลขทะเบียน : นพ.บ.71/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : วินยฺกิจ (วิไนยกิจจะ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.106/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 61 (179-187) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : มูลมหานิพาน (มุลลมหานิพพาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.132/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 72 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 78 (309-314) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต (สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.88/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 52.4 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 51 (94-102) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : วิสุทธิมคฺคปาพัตถพฺยาขฺยาน (วิสุทธิมัคปาฬัตถพยาขยาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.7/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง สารนาถ
ชื่อเรื่อง เที่ยวอินเดีย
พิมพ์ครั้งที่ ๗
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ เฟื่องอักษร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๙
จำนวนหน้า ๖๖๐ หน้า
เรื่อง “เที่ยวอินเดีย” เป็นหนังสือสารคดีการท่องเที่ยวสถานที่สำคัญในประเทศอินเดียภาคเหนือ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อินเดียทั้งสถานที่ในพุทธศาสนา ศาสนาพรหมณ์ และศาสนาอิสลาม และสภาพทั่ว ๆ ไปของอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ตลอดถึงความเป็นไปในปัจจุบันของอินเดีย ผู้เขียนใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เนื้อเรื่องมีความเพลิดเพลินสุกสนาน ตื่นตาตื่นใจ เหมือนหนึ่งว่าได้ทองเที่ยวไปในภาคพื้นส่วนสำคัญของอินเดีย และได้คติความคิด เกี่ยวกับความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์และชาติบ้านเมืองหลายอย่างหลายประการ
คืนวิสาขบูชา ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย เวลา ๑๘:๓๘-๑๙:๕๒ น. ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏเว้าแหว่ง สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง สังเกตได้ในแถบประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลา ๑๕:๔๗ น. จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก เกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา ๑๖:๔๔ น. และเข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวงตั้งแต่เวลา ๑๘:๑๑-๑๘:๒๕ น. แต่ในวันดังกล่าว ในประเทศไทยดวงจันทร์จะโผล่พ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ ๑๘:๓๘ น. ทำให้ผู้สังเกตในไทยมีโอกาสมองเห็นเป็นเพียง #จันทรุปราคาบางส่วน เท่านั้น
ผู้สนใจสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา ๑๘:๓๘ น. เป็นต้นไป จะมองเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วนและค่อย ๆ ออกจากเงามืดของโลก จนกระทั่งเข้าสู่เงามัวหมดทั้งดวงในเวลา ๑๙:๕๒ น. เปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัวที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา ๒๐:๔๙ น. ถือว่าสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์
--ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ถือเป็นปราฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีผลต่อความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
--ปรากฏการณ์จันทรุปราคา (จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์, กบกินเดือน) เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ และเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทำให้ผู้สังเกตบนโลกฝั่งกลางคืน ในพื้นที่กว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ หรือคืนวันดวงจันทร์เต็มดวงเท่านั้น เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง บางปีอาจมีได้มากถึง ๕ ครั้ง
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ยังมีความสัมพันธ์กับคติความเชื่อเรื่องพระราหู ซึ่งจะเรียกว่า ราหูอมจันทร์ ปรากฏในคติพราหมณ์ ฮินดู โดยมาจากเรื่องกูรมาวตาร ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ ที่อวตารมาเป็นเต่า ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับการกวนเกษียรสมุทรระหว่างเทวดา และอสูร เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอมฤต เมื่อได้น้ำอมฤตแล้วเหล่าเทวดาก็เกรงหากว่าอสูรได้น้ำอมฤตแล้วจะเป็นอมตะ พระนารายณ์จึงอวตารเป็นเทพอัปสรหลอกล่อให้เคลิบเคลิ้มงงงวย จึงทำให้เหล่าเทวดาได้ดื่มน้ำอมฤต แต่มีอสูรตนหนึ่ง คือ สุรินทราหู ได้แปลงกายเข้าไปร่วมดื่มน้ำอมฤตด้วย เผอิญพระอาทิตย์ พระจันทร์ ทราบเข้าถึงนำความไปบอกพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงขว้างจักราวุธไปตัดตัวราหูออกเป็นสองท่อน แต่ราหูไม่ตายเนื่องจากได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไป ส่วนหางไปเป็นพระเกตุ ราหูผูกใจเจ็บพระอาทิตย์ พระจันทร์ จึงตามจองอาฆาตโดยคอยกลืนกินพระอาทิตย์ พระจันทร์ เมื่อได้พบกัน จึงกลายเป็นสุริยคราส และจันทรคราส บางตำนานกล่าวว่าพระอิศวร หรือพระศิวะเป็นผู้ทำให้ราหูขาดเป็นสองท่อน
--นอกจากนี้จันทรุปราคายังสัมพันธ์กับความเชื่อท้องถิ่นเรื่องกบกินเดือน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือท้องถิ่นก็จะมีเรื่องเล่าที่แตกต่างกันออกไป หากมีจันทรุปราคา หรือ ราหูอมจันทร์ ชาวบ้านในท้องถิ่นชนบทจะขับไล่ราหูออกจากพระจันทร์โดยใช้ไม้เคาะกับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดเสียง เช่น กะละมัง หรือถัง และยังมีการจุดประทัด บีบแตร ทำให้เกิดเสียงดัง เนื่องจากตามความเชื่อแบบโบราณที่ว่าจะเป็นลางร้าย ชาวบ้านจะพากันออกมาช่วยกัน ตีเกราะเคาะไม้ เพื่อให้ราหูคลายจากการอมพระจันทร์ หรือเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่างๆ จากจากนี้ยังมีการตีเคาะต้นไม้ให้ออกลูกออกผลดี เกิดความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
--ภาพประติมากรรมปูนปั้นรูปพระราหูประดับบนซุ้มประตูเข้าเข้าด้านทิศใต้ของระเบียงคตล้อมรอบพระธาตุแช่แห้ง ลักษณะพระราหูใบหน้าคล้ายอสูร หรือยักษ์ มีเพียงส่วนศีรษะไม่มีลำตัว สวมชฎา หรือมงกุฎ สวมพาหุรัด ทองกร ใช้มือทั้งสองจับพระจันทร์ หรือพระอาทิตย์ โดยอมไว้ในปากส่วนหนึ่ง หรือกำลังคาบไว้ในปาก ราหูในทางโหราศาสตร์ได้กำหนดว่าราหูคือโลกซึ่งเป็นดาวพระเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่ งานประติมากรรมรูปพระราหูที่วัดพระธาตุแช่แห้งพบเพียงด้านเดียวคือทิศใต้ ซึ่งสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องชมพูทวีป ในคติไตรภูมิ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ เป็นที่อยู่ของมนุษย์โลกอายุขัยไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการทำบุญหรือทำกรรม
เอกสารอ้างอิง
นภาธิต วัฒนถาวร. พระราหู : ภาพสะท้อนของสังคมเมืองยุคโลกาภิวัฒน์. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (มานุษยวิทยา) ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๓๘. เข้าถึงโดย http://www.sure.su.ac.th/.../123456789/3160/fulltext.pdf...
พลอยชมพู ยามะเพวัน. พัฒนาการจากหน้ากาลมาเป็นราหูในสมัยรัตนโกสินทร์. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.๒๕๕๔. เข้าถึงได้โดย http://www.sure.su.ac.th/.../123456789/1567/fulltext.pdf...
คืนวิสาขบูชา 26 พฤษภาคม ชวนชม #จันทรุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย เข้าถึงได้โดย https://www.facebook.com/.../a.14830893.../4203749556355293/
องค์ความรู้ : เครื่องถมนคร
เรียบเรียง/ภาพ : นางสาวจารุพัฒน์ นุกูล นักวิชาการวัฒนธรรม
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
"เครื่องถม" หรือมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ถมนคร” เป็นงานศิลปหัตถกรรมชั้นสูงที่คนนครศรีธรรมราชและคนไทยภาคภูมิใจมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตใช้เป็นเครื่องราชูปโภคของกษัตริย์หรือเป็นเครื่องยศของขุนนางชั้นสูง ทั้งยังใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการสำหรับกษัตริย์ประเทศต่าง ๆ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายคำว่า "ถม" ว่า "เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาถมผสมน้ำประสานทอง ถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางามว่าเครื่องถม เช่น ถมนคร ถมเงิน ถมทอง"
สำหรับความเป็นมาของเครื่องถมนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มผลิตมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือราว พ.ศ. ๒๐๖๑ ส่วนที่มาของการผลิตเครื่องถม ปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน บ้างก็สันนิษฐานว่าอาจได้รับอิทธิพลมาจากโปรตุเกส เนื่องจากโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำการค้าขายในราชอาณาจักรไทยได้ ๔ เมือง คือ กรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช ปัตตานี และมะริด ขณะที่สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีความเห็นว่า ชาวนครศรีธรรมราชได้รับรู้เรื่องเครื่องถมจากชาวอินเดีย ส่วนศาสตราจารย์วิศาลศิลปกรรมให้ความเห็นว่า ยาถมไทยมิได้รับต้นตำรับมาจากประเทศใด เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยแท้ คือเกิดที่นครศรีธรรมราช
เรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องถมในเมืองนครนี้ ปรากฏในเอกสารสำคัญหลายฉบับ เช่น ในหนังสือชุด "สาส์นสมเด็จ" ซึ่งเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการโต้ตอบปัญหาและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับศิลปะ วรรณคดี โบราณคดี และประวัติศาสตร์ เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องเครื่องถมไว้ ดังความว่า
"....เรื่องเครื่องถม หม่อมฉันพบหลักฐานใหม่อีกแห่ง ๑ ในกฎมณเฑียรบาลว่า ขุนนางศักดินา ๑๐,๐๐๐ กินเมือง “กินเจียดเงินถมยาดำรองตะลุ่ม" ดูตรงกับเจียดรัชกาลที่ ๑ ถ้าเป็นแบบมาตั้งแต่กฎมณเฑียรบาลครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ. ๒๐๐๐ ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว ๒๐๐ ปี ตำนานที่หม่อมฉันคาดไว้ดังทูลไปก็ผิด แต่นึกว่าจะเพิ่มลงในกฎมณเฑียรบาลเมื่อภายหลังก็เป็นได้..." นอกจากนั้นยังกล่าวอีกว่า "...จะทูลบรรเลงต่อไปถึงเรื่องถมเมืองนครฯ การทำเครื่องถมในเมืองไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทำแต่ในกรุงเทพฯ กับที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ แห่งเท่านั้น คนนับถือกันว่าฝีมือช่างถมเมืองนครฯทำดีกว่าในกรุงเทพฯ จนเครื่องถมที่ทำดีมักเรียกกันว่า “ถมนคร” เลยมีคำกล่าวกันว่าช่างถมเดิมมีแต่ที่เมืองนครฯ ชาวกรุงเทพฯไปเอาอย่างมาก็สู้ฝีมือครูไม่ได้..." และ "...เมื่อหม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยลงไปเมืองนครศรีธรรมราชอยากดูการทำเครื่องถม การนั้นพวกช่างก็ทำตามบ้านเรือนของตนอย่างเดียวกับที่บ้านพานถมในกรุงเทพฯ พวกกรมการพาไปดูหลายแห่ง สังเกตดูช่างถมแต่งตัวเป็นแขกมลายูทั้งนั้น ที่เป็นคนไทยหามีไม่ หม่อมฉันประหลาดใจถามเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) เมื่อยังเป็นพระยานครฯ ท่านกล่าวความหลังให้ฟังจึงรู้เรื่องตำนานว่า เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๒ เจ้าพระยานคร (น้อย) ยังเป็นพระยานครฯ ลงไปตีเมืองไทรได้เฉลยมลายูมามาก จึงเลือกพวกเฉลยให้หัดทำการช่างต่างๆ บรรพบุรุษของพวกนี้ได้หัดเป็นช่างถมสืบกันมาจนทุกวันนี้..."
ความสำคัญของเครื่องถมในแต่ละยุคสมัย มีดังนี้
สมัยกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๐๓๒ - ๒๐๗๒ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีรับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น จัดหาช่างถมที่ฝีมือเยี่ยมที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราชส่งไปยังกรุงศรีอยุธยา เพื่อทำไม้กางเขนถมส่งไปถวายพระสันตปาปา ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และทำเครื่องถมดำลายอรหันไปบรรณาการพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) การทำเครื่องถมได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างดีในช่วงสมัยนี้ ถือเป็นของสูงศักดิ์ ใช้เป็นเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชบรรณาการ ได้รับความนิยมอย่างสูงในราชสำนัก จากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เจ้าพระยานคร (น้อย) นอกจากจะมีฝีมือทางการรบแล้วยังเป็นช่างทำถมฝีมือดี ได้ทรงทำพระแท่นเสด็จออกขุนนางกับพระเสลี่ยงถวาย
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เจ้าพระยานคร (กลาง) เป็นผู้อุปถัมถ์ช่างถมคนสำคัญในนครศรีธรรมราชและชักชวนช่างถมหลายคนเข้าไปอยู่ในวัง ช่างเหล่านี้ได้ทำเก้าอี้ถมอนุโลมจากพระแท่นและพนักเรือพระที่นั่ง และในโอกาสที่กรุงสยามได้แต่งตั้งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้ช่างถมนครจัดทำเครื่องราชบรรณาการส่งไปถวายแด่พระนางเจ้าวิคตอเรีย ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังบัคกิ้งแฮม ประเทศอังกฤษ
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) เป็นแม่กองให้ช่างถมนครทำพระราชอาสน์ราชบัลลังก์ พระที่นั่งพุดตานถม ซึ่งเป็นพระราชอาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และเป็นศิลปกรรมเครื่องถมชิ้นเอกของประเทศไทย ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และในโอกาสเสด็จออกมหาสมาคมวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คณะบุคคลถวายพระพรชัยมงคล
สมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) โปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำหีบบุหรี่ถมทองสำหรับพระราชทานแก่ประธานาธิบดีไอเซนเฮ้าว์ และ ดร.ริสบอร์ นายแพทย์ที่ถวายการประสูติ และพระราชทานตลับแป้งถมทองแก่นางพยาบาลที่โรงพยาบาลในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
กระทั่งถึงยุคสมัยปัจจุบัน ช่างถมนครก็ยังได้รับความไว้วางใจให้สร้างผลงานสู่ราชสำนัก เช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึงปัจจุบัน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ประสานงานจัดหาช่างถมฝีมือดีในนครศรีธรรมราช จัดทำเครื่องราชูปโภคและเครื่องใช้ในพิธีต่างๆ เพื่อถวายแด่สำนักพระราชวัง เช่น ชุดขันพานตักบาตรถมทอง เป็นต้น
ขั้นตอนการทำเครื่องถม ปัจจุบันการทำเครื่องถมนคร มี ๒ แบบ คือ ถมเงิน และถมทองหรือถมตะทอง โดยนิยมทำตามขั้นตอน ดังนี้
๑. การทำถมเงิน
๑.๑) การทำน้ำยาถม เป็นหัวใจสำคัญในการทำเครื่องถม ลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของยาถมของช่างนคร คือ มีลักษณะแข็ง สีดำเป็นนิล ขึ้นเงา ประกอบด้วยโลหะ ๓ ชนิด คือ ตะกั่ว ทองแดง และเงิน ตำราถมโบราณท่านมีไว้ว่า “วัว ๕ ม้า ๖ บริสุทธิ์ ๔ ผสมกันแล้วขัดด้วยกำมะถัน ได้ยาถมแล”
๑.๒) การทำรูปพรรณ หรือ การขึ้นรูปให้ได้รูปทรงตามต้องการ เช่น สร้อย แหวน กำไล ขัน เป็นต้น วัตถุดิบสำคัญที่ต้องใช้ คือ เนื้อเงินบริสุทธิ์ร้อยละ ๙๒.๕ และทองคำบริสุทธิ์ร้อยละ ๙๙.๙๙
๑.๓) การเขียนและแกะลาย การวาดภาพหรือลวดลายลงบนภาชนะที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว และลงมือแกะสลักด้วยสิ่ว
๑.๔) การลงยาถม คือการนำยาถม ถมลงในร่องที่แกะลาย ใส่จนเต็มร่อง แล้วเกลี่ยให้เสมอกันทุกส่วน จากนั้นใช้ไฟเป่า หรือเรียกว่าวิธี “เป่าแล่น” ลงบนภาชนะนั้น รอให้เย็นแล้วใช้ตะไบถูบนส่วนที่ไม่ต้องการให้มียาถมนั้นออกไปให้เห็นเนื้อเงินที่พื้น ซี่งเรียกว่า “พื้นขึ้น”
๑.๕) การปรับแต่งรูป ในขั้นตอนลงยาถม จะต้องใช้ไฟด้วยความร้อนสูงเพื่อเผาภาชนะอยู่เป็นเวลานานพอสมควร อาจทำให้ภาชนะบิดเบี้ยว ขั้นตอนนี้จึงจำเป็นต้องปรับแต่งรูปทรงให้คงสภาพเดิมอีกครั้ง และแต่งผิว/ขัดผิวของภาชนะด้วยกระดาษทรายละเอียด เมื่อผิวเกลี้ยงแลดูเงาสวยแล้วจึงขัดด้วยยาขัดโลหะ จากนั้นนำไปล้างทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
๑.๖) การแกะผิวและแกะแร วิธีการแกะผิวแกะแรหรือการเพลาลาย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็ว่าได้ เพราะจะช่วยให้รายละเอียดของลายบนภาชนะมีความโดดเด่นขึ้น ขึ้นเงา ต้องแสงเป็นประกายสวยงาม โดยขั้นตอนนี้ต้องอาศัยฝีมือ ประสบการณ์ และความชำนาญของช่าง
๑.๗) การขัดเงา เป็นการทำความสะอาด ขัดเงา โดยการเช็ดกับผ้าที่นุ่มๆ ให้สะอาดและขึ้นเงาสวยงาม
๒.การทำถมทอง หรือ ถมตะทอง
การถมทองเป็นการทำให้เครื่องถมมีคุณค่าสูงขึ้นกว่าถมเงินธรรมดา ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องอาศัยฝีมือช่างที่ชำนาญและมีประสบการณ์อย่างมาก โดยในขั้นตอนที่ ๑ – ๔ ใช้วิธีการเดียวกับการทำถมเงิน แต่เมื่อเสร็จขั้นตอนที่ ๔ คือ ลงยาถมและขัดยาถมส่วนเกินออกแล้ว ในส่วนของการทำถมทองจะเพิ่มวิธีการทาทอง หรือเรียกว่า “การเปียกทอง” เป็นการนำทองคำแผ่นบริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ บดจนเป็นผงแล้วเทปรอทบริสุทธิ์ลงไปผสมกับผงทอง บดด้วยครกหินจนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และใช้สำลีชุบทองเปียกถูบนภาชนะ เมื่อทาทองผสมปรอทเสร็จแล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้งหรืออบด้วยความร้อนอ่อนๆบนเตา ประมาณ ๓ – ๔ ครั้ง และครั้งสุดท้ายใช้ความร้อนสูงกว่าเดิม เมื่อปรอทระเหยออกหมด ก็จะเหลือแต่เนื้อทองเคลือบติดแน่นบนภาชนะ นำไปขัดเงาให้ผิวทองเกลี้ยงใสขึ้น ถือเป็นอันเสร็จขั้นตอนการทาทอง จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอน ที่ ๕ – ๗ เช่นเดียวกับการทำถมเงิน
ในปัจจุบันเครื่องถมไม่ได้มีใช้กันเฉพาะชั้นเจ้านายชั้นสูงเหมือนในอดีต แต่มีการปรับเปลี่ยนให้ร่วมสมัยขึ้นเพื่อให้เข้าถึงคนทุกช่วงวัย โดยการทำเป็นของชิ้นเล็ก เช่น ต่างหู แหวน ที่ติดผม ล๊อกเกต กำไล จากการทำถมนครสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน การได้รับการทำนุบำรุงจากพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่างๆ นับเป็นเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี รวมถึงมีการพัฒนาฝีมือการออกแบบลวดลายให้วิจิตรสวยงาม ด้วยลวดลายที่ยังคงแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย จึงถือว่างานเครื่องถมเป็นงานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้คู่คนไทยสืบต่อไป
เรียบเรียง/กราฟิก : นางสาวจารุพัฒน์ นุกูล นักวิชาการวัฒนธรรม
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
อ้างอิง
๑) ไสว สุทธิพิทักษ์. “กระบวนการผลิตเครื่องถมนคร”, สารนครศรีธรรมราช ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘.
๒) สาส์นสมเด็จ. นิตยสารศิลปากร. ปีที่ ๑๓ เล่ม ๓ กันยายน ๒๕๑๒.
๓) สถาบันทักษิณคดีศึกษา. (๒๕๒๙). สารานุกรมภาคใต้ เล่ม ๒. กรุงเทพ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๔) สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๘. (๒๕๐๕). องค์การค้าคุรุสภา