ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,758 รายการ

ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              อนุสณ์งานฌาปนกิจศพนายสมบุญ  ติณสูลานนท์ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์          อมรินทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์             ๒๕๒๑ จำนวนหน้า         ๙๔  หน้า                         นายสมบุญ  ติณสูลานนท์ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันรวม ๘ คน ผู้ชาย ๖ ผู้หญิง ๒ น้องสาวเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก นายสมบุญ เป็นบุตรคนที่ ๕ เกิดที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒ เป็นบุตรของ รองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม(บึ่ง) และนางวินิจทัณฑกรรม(อ๊อด) ทั้งคุณปู่ คุณย่าเป็นชาวนครศรีธรรมราช ราชการเป็นพะธำมะรงประจำจังหวัดสงขลาจนเกษียณอายุออกรับบำนาญ


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง               เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถและเททองพระประธานวัดชัยพฤกษมาลา ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์         บางลำภู สำนักพิมพ์           เอราวัณการพิมพ์ ปีที่พิมพ์              ๒๕๒๑ จำนวนหน้า          ๔๙  หน้า                          วัดชัยพฤกษมาลา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ปัจจุบันขึ้นกับตำบลตลิ่งชัน อ.ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร วัดยชัยพฤกษมาลานี้ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า วัดชัยพฤกษฯ เป็นวัดร้าง เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ โปรดให้รื้อวัดเอาอิฐิมาสร้างกำแพงพระนคร ครั้นรัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างวัดชัยพฤกษขึ้นใหม่ มีพระราชดำรัสสั่งให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแม่กองทำเป็นการหลวง การนั้นค้างอยู่จนรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวช ครั้งถึง ร.๔ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ต่อมา


เลขทะเบียน : นพ.บ.434/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156  (131-140) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำวิสุทธิยา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.582/ก/5                            ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 188  (365-371) ผูก ก5 (2566)หัวเรื่อง : ทศชาติ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันสังขานล่อง---ในปี ๒๕๖๖ นี้ วันสังขานต์ล่องตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๖---เทศกาลสงกรานต์นี้ชาวล้านนาเรียกว่า ปเวณีปีใหม่ หรือปาเวณีปีใหม่ (อ่าน "ป๋าเวนีปี๋ใหม่") ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า "ประเพณีสงกรานต์" ในช่วงเทศกาลนี้ซึ่งกินเวลา ๕ วัน ประชาชนจะหยุดงานทั้งสิ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระนี้ ทั้งในแง่ศาสนาและพิธีกรรมโดยตลอด---เทศกาลสงกรานต์ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของชาวล้านนานั้นจะถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันสังกรานต์ล่อง หรือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เสมอไป---วันสังกรานต์ล่อง (อ่าน "วันสังขานล่อง") คือ วันมหาสงกรานต์ ต้นเค้าของคำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สงกรานติ" ซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า "สัง-ขาน" ทั้งนี้ในการเขียนด้วยอักษรล้านนานั้นอาจเขียนหลากกันไปเป็น ส์กุรานส์ขาน สังขาน สังกราน หรือ สังขราน ซึ่งต่างก็ออกเสียงเหมือนกัน จึงทำให้มีผู้เข้าใจว่าเป็น "สังขาร" ได้ด้วย และวันสังกรานต์ล่อง นี้ คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีนจะย่างเข้าสู่ราศีเมษ---ตามความเชื่อแบบล้านนานั้น กล่าวกันว่าในตอนเช้ามืดของวันนี้ "ปู่สังกรานต์" หรือ "ย่าสังกรานต์" จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีแดง สูบกล้องยาเส้น สยายผม ล่องแพไปตามลำน้ำ ปู่หรือย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืน จุดประทัด หรือทำให้เกิดเสียงดังด่างๆ นัยว่าเป็น "การไล่สังกรานต์" และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์แล้วนั้นจะมีความขลังมาก---ในวันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่จะมีการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาดมีการซักเสื้อผ้าที่สามารถซักได้ ส่วนที่นอนหรือสิ่งที่ชักล้างไม่ได้ก็จะนำออกไปตากหรือปัดฝุ่นเสีย ในบริเวณบ้านก็จะเก็บกวาดและเผาขยะมูลฝอยต่างๆ บรรดาสตรีก็จะมีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้ และทัดดอกไม้ที่เป็นนามของปีของแต่ละปี เสื้อผ้าที่นุ่งห่มก็จะเป็นเสื้อผ้าใหม่ฝ่ายพ่อบ้านก็จะนำเอาพระพุทธรูป พระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังต่างๆ มาชำระหรือสรงด้วยน้ำอบน้ำหอม หรือ น้ำเข้าหมิ่นส้มป่อย ส่วนดอกไม้บูชาพระซึ่งมักจะเป็นยอดของต้นหมากผู้-หมากเมียใน หม้อไหดอก หรือแจกันนั้นก็จะเปลี่ยนใหม่ด้วย ---และในวันนี้เช่นกันที่ผู้ใหญ่บางท่านอาจเรียกลูกหลานมาพร้อมกัน แล้วให้หันหน้าไปตามทิศที่โหรกำหนดไว้เพื่อความสวัสดี แล้วกล่าวคำว่า "สัพพะเคราะห์ สัพพะอุบาทว์ สัพพะพยาธิโรคา ทั้งมวลจุ่งตกไพกับสังกรานต์ในวันนี้ยามนี้เน่อ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะตัวเองหรือลูกหลานทุกคน และบางท่านจะให้ลูกหลานเอาฟักเขียวหรือฟักทองไปปลูกและใช้มูลควายตากแห้งเป็นปุ๋ย โดยบอกเด็กว่า ปู่ย่าสังกรานต์พึงใจที่ได้เห็นลูกหลานปลูกฟัก และทั้งนี้กล่าวว่าผู้ที่ปลูกพักนั้นก็จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดด้วย---ในวันสังกรานต์ล่องนี้จะมีการปัดกวาดบ้านช่อง ซักผ้าห่ม ตากที่นอนหมอนมุ่ง และสระผมแล้วหันหน้าไปตามทิศเพื่อให้เสนียดจัญไรตกไปด้วย การเล่นสาดน้ำนั้นก็จะเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนสิ้นสุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ---นอกจากนี้แล้ว ในเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ นิยมจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง เช่น พระพุทธสิหิงค์และพระเสดังคมณีไปตามถนนสายต่างๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดังกล่าวด้วย ที่มา"ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.



          เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 ณ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้พิจารณาวาระการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลก (Nominations of new items of documentary heritage to be inscribed on the Memory of the World International Register) โดยคัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ (National Collection of Palm-Leaf Manuscripts of Phra That Phanom Chronicle) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกในครั้งนี้ด้วย           คัมภีร์ใบลาน เรื่องอุรังคธาตุ อยู่ในความดูแลและให้บริการของกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีจำนวน ๑๐ รายการ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องตำนานอุรังคธาตุ ได้ที่  https://www.nlt.go.th/unesco_award/40


ประติมากรรมพระสาวก คำว่า “สาวก” มาจากภาษาบาลี แปลว่า ผู้ฟังถ้อยคำหรือศิษย์ พระสูตรและอรรถกถาได้อธิบายถึงคุณสมบัติของพระสาวกไว้ว่า พระสงฆ์สาวกที่รับฟังโอวาทและอนุสาสนีของพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ ผู้ปฏิบัติดีและได้รู้ธรรมตามพระพุทธเจ้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจำแนกประเภทตามเกณฑ์ตัวเลข คือ พระอริยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระสาวกที่ต้องศึกษาเพื่อมรรคผลที่สูงขึ้นกับพระอรหันตผลผู้ไม่ต้องศึกษาแล้ว ส่วนพระอริยบุคคล ๔ จำพวก คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ สุดท้ายพระอริยบุคคล ๘ จำพวก คือ พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหันตตมรรค และอรหันตตผล ซึ่งเป็นการจำแนกตามขั้นของการบรรลุธรรมอย่างละอียด ทั้งนี้ยังจำแนกตามการตั้งความปรารถนาสำหรับการบรรลุธรรม และระยะเวลาการบำเพ็ญบารมี ดังนี้ “พระอัครสาวก” คือ ผู้ตั้งความปรารถนาเพื่อการบรรลุธรรมตั้งแต่สมัยอดีตพุทธ พร้อมด้วยความเป็นเลิศในด้านปัญญาและสมาธิ มี ๒ องค์ ส่วน “พระมหาสาวก” (อสีติมหาสาวก) คือ พระสาวกผู้ใหญ่ทรงไว้ด้วยคุณธรรม อภินิหาร และเป็นผู้หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารด้วยศรัทธา ประกอบกับมีปัญญารู้แจ้งเห็นธรรมตามพระพุทธเจ้า มี ๘๐ องค์ และ “พระปรกติสาวก” คือ พระสาวกที่ไม่ได้บำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นอัครสาวกและมหาสาวก แต่ปรารถนาจะบรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้า การสร้างประติมากรรมพระสาวกมาจากความเชื่อทางศาสนาเรื่องพระรัตนตรัย ประกอบด้วย “พระพุทธ” คือ พระพุทธเจ้า “พระธรรม” คือ หลักธรรมคำสอน และ”พระสงฆ์” คือพระสาวก จึงมีการสร้างประติมากรรมพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์กลางและพระสาวกล้อมรอบ ประติมากรรมพระสาวกในล้านนา มีตั้งแต่สมัยหริภุญชัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙ เป็นประติมากรรมพระสาวกพนมมือนั่งขัดสมาธิเพชรทำจากดินเผา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระสาวก ต่อมาเริ่มทำจากหินผลึกและแก้วมีค่าสำหรับอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา และได้รับความนิยมมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ ที่มีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ของชาวพม่าและไทใหญ่ โดยนำช่างฝีมือเข้ามาก่อสร้างวัด เจดีย์ หรืออาคารศาสนสถานตามรูปแบบศิลปะชาติพันธุ์ของผู้อุปถัมภ์ (คำว่า “พระยาตะก่า” ใช้เรียกผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัดวาอาราม) สำหรับอุทิศให้รุกขเทวดา ผีสาง เจ้าป่าเจ้าเขา และวิญญาณบรรพบุรุษ พระพุทธรูปสร้างจากวัสดุโลหะผสม ทองเหลือง หินทราย หินอ่อน และรักสมุก ส่วนประติมากรรมพระสาวกทำจากวัสดุชั้นรองลงมาคือ “ไม้” ตกแต่งด้วยการลงรัก ทาชาด ปิดทอง และประดับกระจก มีลักษณะครองจีวรแบบริ้วธรรมชาติซ้อนทับกันหลายชั้น อยู่ในท่าพนมมือหรือเท้าแขน นั่งพับเพียบด้วยกิริยาสงบและอ่อนน้อมถ่อมตน อันเป็นรูปแบบศิลปะพม่าสมัยมัณฑเลย์ที่มีเอกลักษณ์และความงดงาม มีการจัดวางจำนวนตามรูปแบบของพระสาวกตามความเหมาะสมของอาคาร สามารถพบเห็นได้ในวัดเขตชุมชนเชื้อสายพม่า-ไทใหญ่ อาทิ วัดจองคา(ไชยมงคล) วัดศรีรองเมือง วัดศรีชุม และวัดป่าฝาง ทั้งนี้ปัจจุบันยังได้รับความนิยมจากนักสะสม และผู้ค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จึงมีการผลิตสำหรับเป็นสินค้าส่งออกจำนวนมาก โดยภายในห้องศาสนวัตถุไม้ของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้รับมอบประติมากรรมพระสาวกจากกรมศุลากรมาเก็บรักษาไว้ มีรูปแบบหลากหลายอิริยบถทั้งยืน นั่ง และมีการครองจีวรแตกต่างกัน ถ้ามีโอกาสจะนำมาเล่าในครั้งต่อไป . อ้างอิง สิขรินทร์ ล้อเพ็ญภพ. รูปแบบและคติการสร้างประติมากรรมพระสาวกในศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๑-๕ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๙ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน. ๒๕๕๗ . เผยแพร่โดย พลอยไพลิน ปุราทะกา ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


ประติมากรรมที่พบจากปราสาทนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมาค่ะ   ปราสาทนางรำ เป็น สุคตาลัยหรือหอพระประจำสถานพยาบาล เป็นสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งในอาโรคยาศาลาหรือสถานพยาบาล ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่พบจากปราสาทนางรำ คือประติมากรรมรูปบุรุษ ยืนถืออาวุธคือตรีศูลย์ สันนิษฐานว่าเป็นทวารบาลที่คอยดูแลรักษาศาสนสถาน  แต่เดิมนั้นทวารบาลที่ปกปักษ์รักษาศาสนสถานมักเป็นรูปสิงห์ หรือรูปบุรุษที่ชื่อว่านันทิเกศวรและมหากาล โดยนันทิเกศวรเป็นเทวบุรุษที่คอยดูแลเทวาลัยพระศิวะ ลักษณะหน้าตาใจดี บางครั้งสลักตาที่ 3 ที่หน้าผาก  อีกองค์คือ มหากาล มีลักษณะหน้าตาดุร้าย ผมหยิกหนา รูปร่างเตี้ยค่อม โดยคู่ทวารบาลทั้งสององค์มิได้จำกัดเฉพาะเทวาลัยของพระศิวะแต่พบที่เทวาลัยของพระวิษณุด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากปราสาทนางรำเป็นพุทธสถานจึงมีข้อสันนิษฐานว่า ประติมากรรมรูปนี้คือ พระวัชรปาณิในรูปของทวารบาล เนื่องจากถือสิ่งของสามแฉกที่บางท่านสันนิษฐานว่าคล้ายคลึงกับวัชระ  แต่จากการเปรียบเทียบกับศาสนสถานในเมืองพระนคร ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบว่า ทวารบาลที่ปรากฏมักพบว่าองค์หนึ่งมีลักษณะยิ้มแย้ม อีกองค์มีลักษณะดุร้าย ทั้งสององค์บางครั้งถือกระบอง บางครั้งถือตรีศูลย์ไม่ได้จำเพาะเจาะจง ซึ่งตรงกับลักษณะของมหากาลและนันทิเกศวรที่เป็นทวารบาลในเทวาลัย ดังนั้น...ทวารบาลที่พบจากปราสาทนางรำ คงไม่ได้ถือวัชระแต่เป็นตรีศูลย์ซึ่งตรงส่วนกระบองนั้นหักหายไป เป็นไปได้ว่าจากลักษณะใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ประติมากรรมองค์นี้อาจเป็นนันทิเกศวรที่เป็นทวารบาลคู่กับมหากาล แม้จะเป็นพุทธสถาน  ทวารบาลทั้งสองล้วนอยู่คู่ศาสนสถานมาเนิ่นนาน และคอยปกปักษ์รักษาศาสนสถานมาจวบจนทุกวันนี้  สามารถชมภาพสลักทวารบาลนันทิเกศวรและมหากาลที่สวยงาม สมบูรณ์ได้อีกแห่งที่ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์


        กระปุก         เลขทะเบียน         ๗๘ / ๒๕๔๑         แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะจีน และล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑          วัสดุ (ชนิด)         เครื่องปั้นดินเผาเขียนลายสี พร้อมฝาโลหะ         ขนาด         กว้าง ๑๕ เซนติเมตร สูงพร้อมฝา ๑๒ เซนติเมตร         ประวัติความเป็นมา ได้จากการวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่         ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ          เครื่องกระเบื้องลายคราม ทำเป็นไหสีขาวทรงกลม สีขาวขุ่นเป็นสีพื้น เขียนลายครามพันธุ์พฤกษาเกี่ยวพันกัน มีช่อดอกโบตั๋น มีความหมายถึงความร่ำรวยและเกียรติยศ  สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องกระเบื้องที่สร้างขึ้นในแหล่งเตาเจิ้งเต๋อเจิ้น มณฑลเกียงซี ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน โดยผลิตขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑  


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : การบูรณะวัดภูเพียง -- ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุ ชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ระบุถึงการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน ซึ่งระบุชื่อในเอกสารว่า “วัดภูเพียง” วัดแห่งนี้อยู่ที่ใด และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งใดบ้าง. เมื่อเดือนพฤษภาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449)  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (พระยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ทรงมีลายพระหัตถ์กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ราชเลขานุการ ความว่า พระองค์ทรงได้รับศุภอักษรพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่านว่า พระเจดีย์ วิหารและระเบียงรอบพระวิหารกับถนนที่วัดภูเพียงชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้บริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยได้ดำเนินการดังนี้ 1. ปรับพื้นที่ในบริเวณวัดให้ราบเสมอกัน 2. ซื้อแผ่นทองแดงหุ้มองค์พระเจดีย์แล้วปิดด้วยทองคำเปลว 3. ปฏิสังขรณ์วิหารพระเจ้าทันใจ 4. ปฏิสังขรณ์พระวิหารใหญ่ 5. สร้างถนนที่จะขึ้นไปวัดภูเพียง พร้อมทั้งก่อสร้างรูปนาคสองข้างถนน. เมื่อบูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีการจัดงานฉลองวัดภูเพียงเป็นเวลาห้าวัน โดยบรรดาเจ้านายและข้าราชการพร้อมด้วยราษฎรได้ร่วมกันบริจาคซื้อเครื่องไทยทานเพื่อถวายพระสงฆ์ สำหรับกิจกรรมในงานนั้น ช่วงเช้าจะมีการตักบาตรแก่พระสงฆ์และสามเณร ช่วงกลางวันมีการแสดงพระธรรมเทศนา และช่วงค่ำมีการจุดดอกไม้เพลิงและมีหุ่นม่าน ฝ่ายข้าราชการทหารนำการแสดงเพลงฉ่อยและแคนมาช่วย ส่วนข้าราชการพลเรือนช่วยเลี้ยงเครื่องว่างน้ำร้อนน้ำชาทั้งกลางวันกลางคืนจนตลอดงาน. สิ่งที่น่าสนใจของลายพระหัตถ์ฉบับนี้ นอกจากจะทำให้ทราบถึงรูปแบบและลักษณะของงานฉลองสมโภชวัดสำคัญในภาคเหนือแล้ว ยังทำให้เราทราบถึงขนาดและรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดภูเพียง ในยุคสมัยนั้นว่ามีลักษณะอย่างไร มีความกว้างใหญ่เพียงใด ซึ่งหากพิจารณาจากรายชื่อสถานที่ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์แล้วก็จะพบว่าวัดภูเพียงในเอกสารนั้นก็คือ “วัดพระธาตุแช่แห้ง” ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองน่านนั่นเอง.ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ.6 วัด (ภ, ม, ย)/4 เรื่อง วัดภูเพียง เมืองน่าน [ 5 – 7 พ.ค. 125 ].     #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


          ไห           แบบศิลปะ : อยุธยา           ชนิด : ดินเผา            ขนาด : สูง 33 เซนติเมตร ปากกว้าง 17 เซนติเมตร           ลักษณะ : ขอบปากผายกว้าง คอคอด ไหล่ผาย มีตุ่มหู 4 หู ส่วนบนลำตัวป่อง แล้วค่อยสอบเข้าสู่ส่วนล่าง เอวคอดเล็กน้อย ก้นผาย ใต้ก้นตัดตรง มีการตกแต่งลายขูดเส้นขนานที่ขอบปาก, ไหล่, ที่ตัวภาชนะ และที่เอว ลายกดประทับเป็นลายซี่หวีที่ไหล่ และลายกลีบบัวที่ตัวภาชนะส่วนบน           สภาพ : ชำรุด ขอบปากบิ่นแตกหักหายไป           ประวัติ : ได้จากการขุดค้นเรือรางเกวียน จังหวัดชลบุรี พุทธศักราช 2521 - 2524 ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม           สถานที่จัดแสดง : ห้องแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/09/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


เชียงคาน เชียงใจ กับเส้นทางสายบุญไหว้สิมโบราณ Ep.1 สามสิมที่สายบุญไม่ควรพลาด       อายุกว่าร้อยปี      มีศิลปะที่สวยงาม      อยู่ใกล้ถนนคนเดิน#เส้นทางสายบุญ #สิมริมโขงเชียงคาน #สิม #สิมโบราณ ⋯⋯✧⋯✦⋯⋯✧✦✧⋯⋯✦⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#เลย #โบราณสถาน #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #กรมศิลปากร #ไทเลยก๋อ #เมืองเลย


รายงานประจำปี 2521  ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร) โรงพิมพ์ : สหประชาพาณิชย์ปีที่พิมพ์ : 2522 รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน : น.31บ. 13204เลขหมู่ : 354.5930684  ศ528ร สาระสังเขป : เป็นรายงานประจำปีของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ปฏิบัติงานลุล่วงไปแล้วในรอบปี 2521 


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พระมหาเทวีจิรประภา(ครองราชย์ พ.ศ. 2088-2089).พระมหาเทวีจิรประภาเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า (กษัตริย์ล้านนา ครองราชย์ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068-2081 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086-2088) เป็นพระมารดาของท้าวซายคำ (กษัตริย์ล้านนา ครองราชย์ พ.ศ.2081-2086) และพระนางยอดคำทิพย์ (อัครมเหสีของพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง)ซึ่งเป็นพระมารดาของ พระไชยเชษฐาธิราช (พระอุปโย).หลังจากพระเมืองเกษเกล้า พระสวามี ถูกขุนนางใหญ่ลอบปลงพระชนม์ แผ่นดินล้านนาว่างกษัตริย์ เหล่าขุนนางได้อัญเชิญพระมหาเทวีจิรประภาขึ้นปกครองล้านนาเป็นการชั่วคราว นับได้ว่าพระองค์เป็นกษัตรีย์ หรือ กษัตริย์ผู้หญิงพระองค์แรกแห่งราชวงค์มังราย .เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เหล่าขุนนางเชิญพระมหาเทวีจิรประภาขึ้นครองราชย์ ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล วิเคราะห์ไว้ในหนังสือขัติยานีศรีล้านนาว่า เพราะพระองค์มีความพร้อมสูง เนื่องจากมีบทบาททางการเมืองในฐานะที่เคยเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า และเป็นพระมารดาของท้าวซายคำ ย่อมสั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองไว้มาก เป็นไปได้ว่า พระองค์อยู่เบื้องหลังทางการเมืองในนครเชียงใหม่มานานแล้ว .พระมหาเทวีจิรประภาปกครองล้านนาในช่วงที่บ้านเมืองอ่อนแอ เกิดความแตกแยก พระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน กองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชจากกรุงศรีอยุธยาก็ยกทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก ด้วยสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นไม่พร้อมรับศึก เพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำ พระองค์จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาการไปถวายแทนการสู้รบ ซึ่งพระไชยราชาธิราชยอมรับการเป็นไมตรีนี้ พระองค์ยังได้เชิญพระไชยราชาธิราชทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระเมืองเกษเกล้า ณ วัดโลกโมฬี ด้วย .ภายหลังพระมหาเทวีจิรประภาสละราชบัลลังก์ให้แก่พระไชยเชษฐาธิราชซึ่งมีฐานะเป็นพระราชนัดดา (หลาน)ขึ้นปกครองล้านนา ต่อมาเมื่อพระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์ล้านช้าง สวรรคตกะทันหัน พระไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับไปครองอาณาจักรล้านช้าง ในครั้งนั้นพระองค์ก็ได้ตามเสด็จไปด้วย.ปัจจุบันวัดโลกโมฬี ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยพระเมืองเกษเกล้าและเป็นที่บรรจุอัฐิ มีประติกรรมรูปพระมหาเทวีจิรประภาและพระเมืองเกษเกล้าตั้งอยู่ในศาลาทางซ้ายมือใกล้ประตูทางเข้าวัด มีความเชื่อว่าผู้ใดอยากสมหวังในเรื่อง “ความรัก” ต้องมากราบไว้ขอพรพระมหาเทวีจิรประภา โดยมีคำไหว้บูชาว่า “มหาเทวี จิรประภา วันทามิ สิระสา สะทาโสตฺถี ภะวันตุเมฯ ข้าพเจ้าขอไหว้พระนางจิรประภาเทวี ด้วยความเคารพนอบน้อมยิ่ง ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาล เวลาทุกเมื่อเทอญ” และมีหลักการอธิษฐานระบุไว้ว่า “ขอความรัก บนไข่ไก่ 9 ฟอง แก้บน 108 ฟอง ผลไม้ 9 อย่าง พร้อมปัจจัยตามศรัทธา” .จากบทบาทในการเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ล้านนา ปัจจุบันพระองค์ได้รับความนับถือในฐานะเทพแห่งความรักของล้านนาอีกด้วย  --------------------------------------------------------------อ้างอิง- สรัสวดี อ๋องสกุล. "บทบาททางการเมือง ประวัติ และที่มาของอำนาจมหาเทวีจิรประภา". ขัติยานีศรีล้านนา. เชียงใหม่ : มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ, 2547. หน้า 31-49.- สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. หน้า 173.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 16-17.- มาลา คำจันทร์. พื้นบ้านตำนานเมืองล้านนา. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2565. หน้า 165-170.


Messenger