ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ
งานฤดูหนาวเชียงใหม่ดอกไม้ ลมหนาว สาวงาม เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว งานรื่นเริงสังสรรค์ เทศกาลแห่งความสนุกสนานก็เริ่มขึ้นในชื่องานฤดูหนาว จังหวัดเชียงใหม่เป็นหนึ่งในหลายจังหวัดทางภาคเหนือที่มีการจัดงานดังกล่าว ซึ่งงานฤดูหนาวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยจัดขึ้นครั้งแรก ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๖ กิจกรรมในงานฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ ยุคแรกเป็นการออกร้าน แสดงพืชผักของโรงเรียนฝึกหัดครูช้างเผือก ต่อมาเริ่มขยายสู่งานระดับจังหวัด โดยอำเภอต่าง ๆ จะเชิญชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน นำพืชผักผลไม้ ปศุสัตว์มาประกวด ต่อมาเริ่มมีการแสดงกายบริหาร ซึ่งใช้ผู้แสดงเป็นนักเรียนหญิงจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย ดาราวิทยาลัย วัฒโนทัยพายัพ เป็นต้น บางปีมีการแสดงรถไต่ถัง การแสดงละครญี่ปุ่น การประกวดสาวงามประจำร้านค้าและสาวงามประจำจังหวัด การประกวดศิลปหัตถกรรมของนักเรียน การฉายภาพยนตร์ การชกมวย การออกร้านของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเก็บค่าเข้าชมในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จำนวน ๑๐ สตางค์ ครั้งหนึ่งได้รายได้ประมาณ ๘,๐๐๐ บาท โดยเฉลี่ยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน กิจกรรมสำคัญที่ทุกคนเฝ้ารอชมและเป็นเอกลักษณ์ของงาน คือการประกวดสาวงาม ซึ่งในยุคนั้นจะกำหนดให้สวมชุดเปิดไหล่ กางเกงขาสั้นเหนือเข่า อวดความสวยท่ามกลางลมหนาว เมื่อถึงช่วงบ่ายก่อนการประกวด บริเวณเส้นทางจากสถานีรถไฟเชียงใหม่ไปยังเวทีการประกวด จะคราคร่ำไปด้วยผู้คนที่เฝ้ารอชมขบวนแห่ของนางงาม นำขบวนด้วยรถเวสป้า และขบวนม้า จากข้อมูล “สมุดภาพนางงาม ในงานปีใหม่และรื่นเริงฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ๓๑ ธ.ค. ถึง ๖ ม.ค. พ.ศ. ๒๕๐๓” ได้กล่าวว่ามีการกำหนดให้มีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ จำนวน ๔ คืน แบ่งเป็นรอบคัดเลือก จำนวน ๓ คืน ผู้ผ่านรอบคัดเลือกแบ่งเป็นสามกลุ่ม ในคืนที่ ๔ จะนำผู้ที่ผ่านการคัดเลือก เข้าสู่การตัดสินรอบสุดท้าย โดยมีกติกาว่า ห้ามผู้เข้าประกวดใช้เครื่องสำอาง และเครื่องวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเครื่องประดับใด ๆ ซึ่งเป็นการดัดแปลงความงามตามธรรมชาติ แต่ไม่ห้ามการดัดผม ทาปาก ทาเล็บ หรือใช้ฝุ่นบ้างตามสมควร ปัจจุบันงานฤดูหนาวยังคงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ความนิยมอาจลดลง เนื่องด้วยมีงานเทศกาลอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งรูปแบบกิจกรรมอาจไม่ดึงดูดผู้คนเหมือนครั้งอดีต แต่หากมีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมสักครั้ง ก็หวนชวนคิดถึงความหลัง ความสนุกสนานท่ามกลางสายลมหนาวปลายเดือนธันวาคม#งานฤดูหนาว #งานฤดูหนาวเชียงใหม่ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.อ้างอิง๑. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์.๒. สมุดภาพนางงาม ในงานปีใหม่และรื่นเริงฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ๓๑ ธ.ค. ถึง ๖ ม..ค. ๒๕๐๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย.๓. อนุบาลรำลึก พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา). ๒๕๑๒. ม.ป.ท.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 32/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ปทฺวาทสปริตฺต (ทฺวาทสปริตฺต-ตติยภาณวาร-ภาณปลาย) ชบ.บ 124/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
งาพลายชมภู
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕
เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาแต่เดิม
ปัจจุบันจัดอยู่ที่พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นบน) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
งาช้างยาวประมาณ ๒ เมตร รองรับด้วยฐานไม้กลมปิดทองล่องชาด และอีกกิ่งรองรับด้วยฐานไม้กลมจำหลักลายพรรณพฤกษา
พลายชมภู เป็นชื่อช้างที่ขึ้นระวางสังกัดโรงช้างวังหน้า โดยอยู่ในทำเนียบช้างพลายวิเศษ สำหรับงาพลายชมภูคู่นี้ เป็นงาของพลายชมภูที่ขึ้นระวางในรัชกาลที่ ๔-๕ โดยเป็นช้างพลายที่ชาวกรุงเทพฯ รู้จักคุ้นเคย เหตุเพราะในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาที่ช้างพลายมีอาการตกมัน ช้างบางตัว จะดุร้ายชอบไล่แทงคน คนสมัยก่อนจึงมีกีฬาการละเล่น “ล่อช้างตกน้ำมัน” ในช่วงเวลานี้ของปี
ก่อนจะพาช้างตกน้ำมันลงอาบน้ำที่ท่าช้าง (วังหน้า) จะมีการตีฆ้องบอกสัญญาณมาตามทางก่อน เมื่อช้างตกน้ำมันออกจากโรง ผู้ที่มีใจกล้ามาเป็นผู้ผัด* กลุ่มหนึ่งเข้าล่อข้างหน้าช้างให้ไล่มาพักหนึ่ง จากนั้นพวกคนผัดกลุ่มที่อยู่ข้างหลัง ก็เข้าล่อให้ช้างกลับย้อนไปไล่ทางเดิม ช้างวิ่งไล่ไปทางไหน คนที่คอยดูอยู่โดยรอบก็จะพากันวิ่งหนี แม้เป็นที่ลุ้นระทึกและเสี่ยงอันตรายของผู้ผัดล่อ แต่ก็เป็นความสนุกของผู้ที่ชอบความโลดโผนและความเสี่ยงภัย
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ถึง “พลายชมพู” ในการล่อช้างตกน้ำมันว่า
“...เวลาช้างเช่นนั้นตกน้ำมัน กรมช้างไม่เอาไปลงน้ำแต่เช้าตรู่เหมือนช้างอื่น รอไว้จนถึงเวลาเช้าราว ๘ นาฬิกา เมื่อคนจ่ายตลาดกันเสร็จแล้ว จึงเอาช้างตกน้ำมันตัวนั้นไปลงน้ำ และอนุญาตให้คนเข้าผัดล่อได้ ก็เกิดเป็นการสนุก ชอบใจคนทั้งหลายทั้งพวกอยากดูและพวกคะนองที่อยากเสี่ยงภัยล่อช้างเล่นให้สนุก คงมีช้างพลายบางตัวที่ตกน้ำมันทุกปี และชอบไล่คนจนขึ้นชื่อลือนามมาทุกรัชกาล ว่าตามที่ฉันเคยได้ยินชื่อ...ในรัชกาลที่ ๕ มีพลายศักดิ์ตัวหนึ่ง กับพลายชมพูอยู่ในโรงวังหน้าตัวหนึ่ง ฉันได้เคยแต่ดูสองตัวที่ออกชื่อข้างหลังเมื่อฉันยังเป็นนักเรียนนายร้อยทหารมหาดเล็ก**...”
*ความหมายหนึ่งของคำว่า “ผัด” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง “ย้ายไปย้ายมา หมุนไปมา ล่อให้ไล่”
**ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๐
อ้างอิง
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. ทำเนียบนามภาค ๑-๔ และ ทำเนียบนามข้าราชการวังหลัง. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๓.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. นิทานโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร,๒๕๔๓.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 16/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
แนะนำ หนังสือ E-book หายาก จำนวน 3 เล่ม
1.สตรีในประวัติศาสตร์
แส สิริสิงห อัตถากร. สตรีในประวัติศาสตร์. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรโสภณ, 2492.
2.ผู้พลิกแผ่นดินอเมริกา
ชาญ นาคพงศ์. ผู้พลิกแผ่นดินอเมริกา. พระนคร: โรงพิมพ์วิบูลกิจ, 2493.
3.เรื่องเยี่ยมศูนย์ภาคีรอบโลก 2508 จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพิสมัย ดิศกุล ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
พูนพิสมัย ดิศกุล, ม.จ.หญิง. เยี่ยมศูนย์ภาคีรอบโลก 2508 จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพิสมัย ดิศกุล ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก. พระนคร: กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล, 2509.
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง อนุสณ์งานฌาปนกิจศพนายสมบุญ ติณสูลานนท์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ อมรินทร์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๙๔ หน้า
นายสมบุญ ติณสูลานนท์ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันรวม ๘ คน ผู้ชาย ๖ ผู้หญิง ๒ น้องสาวเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก นายสมบุญ เป็นบุตรคนที่ ๕ เกิดที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒ เป็นบุตรของ รองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม(บึ่ง) และนางวินิจทัณฑกรรม(อ๊อด) ทั้งคุณปู่ คุณย่าเป็นชาวนครศรีธรรมราช ราชการเป็นพะธำมะรงประจำจังหวัดสงขลาจนเกษียณอายุออกรับบำนาญ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถและเททองพระประธานวัดชัยพฤกษมาลา ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๒๑
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ บางลำภู
สำนักพิมพ์ เอราวัณการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๔๙ หน้า
วัดชัยพฤกษมาลา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ปัจจุบันขึ้นกับตำบลตลิ่งชัน อ.ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร วัดยชัยพฤกษมาลานี้ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า วัดชัยพฤกษฯ เป็นวัดร้าง เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ โปรดให้รื้อวัดเอาอิฐิมาสร้างกำแพงพระนคร ครั้นรัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างวัดชัยพฤกษขึ้นใหม่ มีพระราชดำรัสสั่งให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแม่กองทำเป็นการหลวง การนั้นค้างอยู่จนรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวช ครั้งถึง ร.๔ จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ต่อมา
เลขทะเบียน : นพ.บ.434/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156 (131-140) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำวิสุทธิยา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.582/ก/5 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 188 (365-371) ผูก ก5 (2566)หัวเรื่อง : ทศชาติ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันสังขานล่อง---ในปี ๒๕๖๖ นี้ วันสังขานต์ล่องตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๖---เทศกาลสงกรานต์นี้ชาวล้านนาเรียกว่า ปเวณีปีใหม่ หรือปาเวณีปีใหม่ (อ่าน "ป๋าเวนีปี๋ใหม่") ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า "ประเพณีสงกรานต์" ในช่วงเทศกาลนี้ซึ่งกินเวลา ๕ วัน ประชาชนจะหยุดงานทั้งสิ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระนี้ ทั้งในแง่ศาสนาและพิธีกรรมโดยตลอด---เทศกาลสงกรานต์ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของชาวล้านนานั้นจะถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันสังกรานต์ล่อง หรือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เสมอไป---วันสังกรานต์ล่อง (อ่าน "วันสังขานล่อง") คือ วันมหาสงกรานต์ ต้นเค้าของคำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สงกรานติ" ซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า "สัง-ขาน" ทั้งนี้ในการเขียนด้วยอักษรล้านนานั้นอาจเขียนหลากกันไปเป็น ส์กุรานส์ขาน สังขาน สังกราน หรือ สังขราน ซึ่งต่างก็ออกเสียงเหมือนกัน จึงทำให้มีผู้เข้าใจว่าเป็น "สังขาร" ได้ด้วย และวันสังกรานต์ล่อง นี้ คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีนจะย่างเข้าสู่ราศีเมษ---ตามความเชื่อแบบล้านนานั้น กล่าวกันว่าในตอนเช้ามืดของวันนี้ "ปู่สังกรานต์" หรือ "ย่าสังกรานต์" จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีแดง สูบกล้องยาเส้น สยายผม ล่องแพไปตามลำน้ำ ปู่หรือย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืน จุดประทัด หรือทำให้เกิดเสียงดังด่างๆ นัยว่าเป็น "การไล่สังกรานต์" และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์แล้วนั้นจะมีความขลังมาก---ในวันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่จะมีการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาดมีการซักเสื้อผ้าที่สามารถซักได้ ส่วนที่นอนหรือสิ่งที่ชักล้างไม่ได้ก็จะนำออกไปตากหรือปัดฝุ่นเสีย ในบริเวณบ้านก็จะเก็บกวาดและเผาขยะมูลฝอยต่างๆ บรรดาสตรีก็จะมีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้ และทัดดอกไม้ที่เป็นนามของปีของแต่ละปี เสื้อผ้าที่นุ่งห่มก็จะเป็นเสื้อผ้าใหม่ฝ่ายพ่อบ้านก็จะนำเอาพระพุทธรูป พระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังต่างๆ มาชำระหรือสรงด้วยน้ำอบน้ำหอม หรือ น้ำเข้าหมิ่นส้มป่อย ส่วนดอกไม้บูชาพระซึ่งมักจะเป็นยอดของต้นหมากผู้-หมากเมียใน หม้อไหดอก หรือแจกันนั้นก็จะเปลี่ยนใหม่ด้วย ---และในวันนี้เช่นกันที่ผู้ใหญ่บางท่านอาจเรียกลูกหลานมาพร้อมกัน แล้วให้หันหน้าไปตามทิศที่โหรกำหนดไว้เพื่อความสวัสดี แล้วกล่าวคำว่า "สัพพะเคราะห์ สัพพะอุบาทว์ สัพพะพยาธิโรคา ทั้งมวลจุ่งตกไพกับสังกรานต์ในวันนี้ยามนี้เน่อ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะตัวเองหรือลูกหลานทุกคน และบางท่านจะให้ลูกหลานเอาฟักเขียวหรือฟักทองไปปลูกและใช้มูลควายตากแห้งเป็นปุ๋ย โดยบอกเด็กว่า ปู่ย่าสังกรานต์พึงใจที่ได้เห็นลูกหลานปลูกฟัก และทั้งนี้กล่าวว่าผู้ที่ปลูกพักนั้นก็จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดด้วย---ในวันสังกรานต์ล่องนี้จะมีการปัดกวาดบ้านช่อง ซักผ้าห่ม ตากที่นอนหมอนมุ่ง และสระผมแล้วหันหน้าไปตามทิศเพื่อให้เสนียดจัญไรตกไปด้วย การเล่นสาดน้ำนั้นก็จะเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนสิ้นสุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ---นอกจากนี้แล้ว ในเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ นิยมจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง เช่น พระพุทธสิหิงค์และพระเสดังคมณีไปตามถนนสายต่างๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดังกล่าวด้วย ที่มา"ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 ณ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้พิจารณาวาระการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลก (Nominations of new items of documentary heritage to be inscribed on the Memory of the World International Register) โดยคัมภีร์ใบลานเรื่องอุรังคธาตุ (National Collection of Palm-Leaf Manuscripts of Phra That Phanom Chronicle) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกในครั้งนี้ด้วย
คัมภีร์ใบลาน เรื่องอุรังคธาตุ อยู่ในความดูแลและให้บริการของกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีจำนวน ๑๐ รายการ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องตำนานอุรังคธาตุ ได้ที่ https://www.nlt.go.th/unesco_award/40
ประติมากรรมพระสาวก
คำว่า “สาวก” มาจากภาษาบาลี แปลว่า ผู้ฟังถ้อยคำหรือศิษย์ พระสูตรและอรรถกถาได้อธิบายถึงคุณสมบัติของพระสาวกไว้ว่า พระสงฆ์สาวกที่รับฟังโอวาทและอนุสาสนีของพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ ผู้ปฏิบัติดีและได้รู้ธรรมตามพระพุทธเจ้า
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจำแนกประเภทตามเกณฑ์ตัวเลข คือ พระอริยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระสาวกที่ต้องศึกษาเพื่อมรรคผลที่สูงขึ้นกับพระอรหันตผลผู้ไม่ต้องศึกษาแล้ว ส่วนพระอริยบุคคล ๔ จำพวก คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ สุดท้ายพระอริยบุคคล ๘ จำพวก คือ พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหันตตมรรค และอรหันตตผล ซึ่งเป็นการจำแนกตามขั้นของการบรรลุธรรมอย่างละอียด
ทั้งนี้ยังจำแนกตามการตั้งความปรารถนาสำหรับการบรรลุธรรม และระยะเวลาการบำเพ็ญบารมี ดังนี้ “พระอัครสาวก” คือ ผู้ตั้งความปรารถนาเพื่อการบรรลุธรรมตั้งแต่สมัยอดีตพุทธ พร้อมด้วยความเป็นเลิศในด้านปัญญาและสมาธิ มี ๒ องค์ ส่วน “พระมหาสาวก” (อสีติมหาสาวก) คือ พระสาวกผู้ใหญ่ทรงไว้ด้วยคุณธรรม อภินิหาร และเป็นผู้หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารด้วยศรัทธา ประกอบกับมีปัญญารู้แจ้งเห็นธรรมตามพระพุทธเจ้า มี ๘๐ องค์ และ “พระปรกติสาวก” คือ พระสาวกที่ไม่ได้บำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นอัครสาวกและมหาสาวก แต่ปรารถนาจะบรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้า
การสร้างประติมากรรมพระสาวกมาจากความเชื่อทางศาสนาเรื่องพระรัตนตรัย ประกอบด้วย “พระพุทธ” คือ พระพุทธเจ้า “พระธรรม” คือ หลักธรรมคำสอน และ”พระสงฆ์” คือพระสาวก จึงมีการสร้างประติมากรรมพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์กลางและพระสาวกล้อมรอบ
ประติมากรรมพระสาวกในล้านนา มีตั้งแต่สมัยหริภุญชัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙ เป็นประติมากรรมพระสาวกพนมมือนั่งขัดสมาธิเพชรทำจากดินเผา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระสาวก ต่อมาเริ่มทำจากหินผลึกและแก้วมีค่าสำหรับอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา และได้รับความนิยมมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ ที่มีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ของชาวพม่าและไทใหญ่ โดยนำช่างฝีมือเข้ามาก่อสร้างวัด เจดีย์ หรืออาคารศาสนสถานตามรูปแบบศิลปะชาติพันธุ์ของผู้อุปถัมภ์ (คำว่า “พระยาตะก่า” ใช้เรียกผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัดวาอาราม) สำหรับอุทิศให้รุกขเทวดา ผีสาง เจ้าป่าเจ้าเขา และวิญญาณบรรพบุรุษ
พระพุทธรูปสร้างจากวัสดุโลหะผสม ทองเหลือง หินทราย หินอ่อน และรักสมุก ส่วนประติมากรรมพระสาวกทำจากวัสดุชั้นรองลงมาคือ “ไม้” ตกแต่งด้วยการลงรัก ทาชาด ปิดทอง และประดับกระจก มีลักษณะครองจีวรแบบริ้วธรรมชาติซ้อนทับกันหลายชั้น อยู่ในท่าพนมมือหรือเท้าแขน นั่งพับเพียบด้วยกิริยาสงบและอ่อนน้อมถ่อมตน อันเป็นรูปแบบศิลปะพม่าสมัยมัณฑเลย์ที่มีเอกลักษณ์และความงดงาม มีการจัดวางจำนวนตามรูปแบบของพระสาวกตามความเหมาะสมของอาคาร สามารถพบเห็นได้ในวัดเขตชุมชนเชื้อสายพม่า-ไทใหญ่ อาทิ วัดจองคา(ไชยมงคล) วัดศรีรองเมือง วัดศรีชุม และวัดป่าฝาง
ทั้งนี้ปัจจุบันยังได้รับความนิยมจากนักสะสม และผู้ค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จึงมีการผลิตสำหรับเป็นสินค้าส่งออกจำนวนมาก โดยภายในห้องศาสนวัตถุไม้ของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้รับมอบประติมากรรมพระสาวกจากกรมศุลากรมาเก็บรักษาไว้ มีรูปแบบหลากหลายอิริยบถทั้งยืน นั่ง และมีการครองจีวรแตกต่างกัน ถ้ามีโอกาสจะนำมาเล่าในครั้งต่อไป
.
อ้างอิง
สิขรินทร์ ล้อเพ็ญภพ. รูปแบบและคติการสร้างประติมากรรมพระสาวกในศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๑-๕ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๙
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน. ๒๕๕๗
.
เผยแพร่โดย พลอยไพลิน ปุราทะกา ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร