ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,749 รายการ
ช้าง เป็นสัตว์บกสี่เท้าที่เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีขนาดใหญ่ การที่คนสามารถนำช้างป่ามาฝึกสอนจนสามารถใช้งานได้ในกิจการต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถที่สืบเนื่องมาตั้งแต่บรรพกาลตราบจนถึงปัจจุบัน หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณในแหล่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเคยมีการขุดพบกระดูกหรือชิ้นส่วนของช้างที่สัมพันธ์กับคนในช่วงสมัยดังกล่าวก็ตาม แต่จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งภาพเขียนสีผาแต้ม แหล่งภาพเขียนสีผาเจ๊ก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และอีกหลายแหล่ง ได้ปรากฏรูปช้างเป็นหลักฐานว่า คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคอีสานของประเทศไทย รู้จักช้าง เคยเห็นช้างและมีช้างอยู่อาศัยในพื้นที่ แต่ภาพช้างดังกล่าวก็อาจเป็นเพียงช้างป่าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในยุคสมัยนั้น จนเมื่อ พ.ศ. 2545 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี (ขณะนั้น) ได้ดำเนินการขุดกู้หลักฐานในแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ได้พบกระบวยสำริด (Bronze dipper) สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะกระบวยมีด้าม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร สูงประมาณ 6.7 เซนติเมตร ด้ามจับยาวประมาณ 13 เซนติเมตร ตัวกระบวยมีลายนูนรูปกวางอยู่โดยรอบ ด้านหน้ากระบวยทำลายเป็นรูปคนถือขอสับนั่งอยู่บนหลังช้าง ส่วนปากกระบวยทำเป็นลายรูปครึ่งวงกลม ส่วนขอบก้นกระบวยทำเป็นรูปครึ่งวงกลมวางสลับหันหลังชนกันคล้ายใบไม้ กึ่งกลางก้นทำเป็นลายตะวันแปดแฉกแบบเดียวกับที่ปรากฏบนหน้ากลองมโหระทึก ส่วนด้ามหล่อตันโดยนำมาเชื่อมติดภายหลัง ลายประดับภาพคนถือขอสับนั่งอยู่บนหลังช้าง เป็นหลักฐานชัดเจนว่าในช่วงสมัยนั้น คนมีความสามารถนำช้างป่ามาฝึกสอนเป็นช้างบ้านสำหรับใช้งานในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ และเชื่อได้ว่าองค์ความรู้สำหรับกลุ่ม “คนเลี้ยงช้าง” ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์น่าจะมีการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และอาจเกี่ยวโยงกันกับกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษเป็นคนเลี้ยงช้างในปัจจุบันก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังสามารถอนุมานได้ถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในยุคสมัยนั้น ซึ่งน่าจะเป็นป่ารกทึบสลับป่าโปร่ง และมีทุ่งหญ้าที่กวางเขายาวและช้างป่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร มีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ ได้ค่าอายุ 2105 + 25 BP (ปีมาแล้ว) ปัจจุบันกระบวยสำริดดังกล่าว ได้จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี อ้างอิง : สุกัญญา เบาเนิด. โนนหนองหอแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย. เอกสารอัดสำเนา. 2558. : www.dnp.go.th>fca16>file : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/ubonratchathani/index.php/th/virtual-model-360/43-1-11.html
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนา นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
สาระสังเขป : เป็นหนังสือที่เขียนโดยศาสตราจารย์เซเดส์ ซึ่งตั้งปัญหาว่า ปราสาทหินเขมรสร้างเพื่ออะไรนั้นก็คือ โบราณสถานใหญ่ๆ ของเขมรนั้นได้สร้างขึ้นโดยหมายจะให้เป็นเทวาลัยหรือมฤตกาลัยผู้แต่ง : เทววงศวโรทัย, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นโรงพิมพ์ : กรุงเทพการพิมพ์ปีที่พิมพ์ : 2503ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.27บ73เลขหมู่ : 915.9603 ท643ปพ
เลขทะเบียน : นพ.บ.12/15ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 15หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.43/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 25 (244-253) ผูก 5หัวเรื่อง : อรรถกถาบาลี --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง นริศรานุวัดติวงศ์ , สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา
ชื่อเรื่อง จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพ ฯ
สำนักพิมพ์ บริษัทประชาช้าง จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2517
จำนวนหน้า 143 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เน้นอนุสรณืในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจเอก ขุนนครรัฐเมตต์ (สุนทร ตามไท)
จดหมายเหตุระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑ ของสมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงนิพนธ์ ในคราวเสด็จไปตรวจราชการในมณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร ในขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการและเป็นการไปตรวจ ความก้าวหน้าด้านไปรษณีย์ ( ๒๙ เม.ย. ๒๔๔๕ – ๒๗ ก.ค. ๒๔๕๕) หนังสือเล่มนี้เดิมเป็นเจ้าของหม่อนเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ต่อมาประทานให้กรมศิลปากร นำไปจัดพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๑๗ เล่มที่ ๑-๖ ( พ.ค. ๒๕๑๖ – มี.ค. ๒๕๑๗. )
เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา พร้อมด้วย นายนภสินธิ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ ลงพื้นที่ตรวจสอบการลักลอบขุดโบราณวัตถุ บริเวณพื้นที่เขตตำบลวังโรงใหญ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา พบร่องรอยการขุดเป็นหลุมกว้างประมาณ 2.5 เมตร x 3 เมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล เพื่อดำเนินคดีกับผู้ลักลอบขุดต่อไป
K.Kitiya.Green Industryอุตสาหกรรมสีเขียว.จันท์ยิ้ม.11:สิงหาคม 2559(14-15).
อุตสาหกรรมสีเขียว...เป็นการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการให้การเติบโต ทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีความสอดคล้องกับศักยภาพ และความเป็นไปได้ของระบบนิเวศ รวมทั้งความผาสุกของสังคม เพื่อพัฒนาให้การประกอบกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เราจะมาทําความรู้จักกับอุตสาหกรรมสีเขียวกัน
อุตสาหกรรมสีเขียว คืออะไร?
โครงการอุตสาหกรรมสีเขียวมีวัตถุประสงค์ ให้ภาค อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้นิยามไว้ว่า “อุตสาหกรรมสีเขียว คือ อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน”
อุตสาหกรรมสีเขียว มีผลดีอย่างไร?
เมื่อภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จะได้ ประโยชน์ตั้งแต่เริ่มลงมือทํา คือ การประหยัดพลังงาน ลดการใช้ ทรัพยากร และลดการปลดปล่อยมลพิษ ซึ่งจะทําให้ค่าใช้จ่าย ในเรื่องพลังงาน ทรัพยากร และการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมและชุมชนลดลงในด้านการสื่อสารระหว่างโรงงานและชุมชนเป็นไป ในเชิงเปิดมากขึ้น ทําให้ระดับความไว้วางใจและความเข้าใจกัน มีมากขึ้นด้วย เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและธรรมชาติให้อนุชนรุ่นหลัง ได้รับสิทธิ์ในการใช้ตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อการ ประชาสัมพันธ์เชิงการค้า ทําให้สินค้าเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เป็นต้น
อุตสาหกรรมสีเขียว ทําอย่างไร?
อุตสาหกรรมสีเขียวแบ่งเป็น 5 ระดับ ซึ่งโรงงานจะได้อยู่ใน ระดับใดนั้น จะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม
ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายใน องค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือการดําเนิน กิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สําเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตาม ประเมินผล และ ทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้าน สิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือการที่ทุกคน ในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดําเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือการแสดงถึง การขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและ พันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
เครื่องหมายอุตสาหกรรมสีเขียวจะแสดงได้ที่ไหน? อย่างไร?
โรงงานที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวเท่านั้น ที่จะมี สิทธิ์แสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอตสาหกรรมสีเขียวได้ ซึ่งโรงงาน
สามารถแสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อการ ติดต่อและส่งเสริมการขาย ทั้งนี้ต้องไม่ใช้ในกิจการนอกเหนือจากที่ ได้รับการรับรอง หรือทําให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในกิจการที่ได้รับการรับรอง การนําตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวไปใช้ร่วมกับ ผลิตภัณฑ์หรือบริการใด ๆ ต้องอยู่ในกิจการที่ได้รับการรับรองเท่านั้น การแสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้แสดงพร้อม ระดับอุตสาหกรรมสีเขียวที่ได้รับการรับรอง และเลขที่การรับรอง ซึ่ง สามารถอ่านได้ชัดเจน ตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว เป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อจดเป็นเครื่องหมาย ทางการค้าแล้ว จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า
ปัจจุบันคนเราหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ ในท้องตลาดที่มีเครื่องหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดี ดังนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัว ให้สามารถดําเนินกิจการควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อเป็นการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
วันพุธที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ประธานตรวจการจ้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้าง ตรวจรับงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ปรางค์ครบุรี(งวดที่๑) ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
วิทยาลัยครูนครราชสีมา. ข้อมูลพื้นฐานบ้านด่านเกวียน ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, 2530.307.72น123ข